ต่อจากร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กฎหมายอีกฉบับที่เห็นชอบหลักการไปพร้อมกันคือ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่แก้ไขฉบับเดิม
ตามร่างใหม่นี้ การแก้ไขสำคัญๆ ได้แก่
- แก้ไขมาตรา 14(1) ที่จากเดิมให้โทษหากมีการนำเข้าข้อมูล "โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น" มาเป็น "ทำให้ไปได้ซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่น" ส่วนนี้น่าจะชัดเจนขึ้น และทำให้มาตรา 14(1) ไม่ได้เป็นกฎหมายหมิ่นประมาทอีกต่อไป แต่สำหรับความมั่นคง ยังคงใช้คำว่า "โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคง" ต่อไป
- สำหรับผู้ให้บริการ มาตรา 15 เปิดให้รัฐมนตรีประกาศขั้นตอนการแจ้งเตือน และหากผู้ให้บริการได้ทำตามคำแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษแล้ว
- เพิ่มมาตรา 16(1) เรื่องภาพอนาจาร "บุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี" เป็นเรื่องของภาพอนาจารเด็กที่ใส่เข้ามาไว้ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่เสนอร่างกันมาหลายปี
- แก้ไขมาตรา 26 ที่เคยกำหนดให้เก็บล็อก 90 วัน เพิ่มการเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ "เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ" โดยต้องเก็บไว้จนกว่าผู้ใช้บริการจะเลิกใช้อย่างน้อย 90 วัน
- เจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จะถูกกำกับ ติดตาม และประเมินการทำงานโดยคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
เตรียมทำโมดูลขอบัตรประชาชน เอาไว้ในทุกเว็บกันได้ครับ
ที่มา - ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (PDF)
Comments
อีกหน่อยจะตอบคคห.ในเวบไทยๆ ต้องลงทะเบียนบัตรประชาชนกับเบอร์โทรศัพท์มือถือสิเนี่ย
ทุกวันนี้ ถ้าเชื่อมต่อ Internet ผ่านช่องทางปกติ ก็สามารถระบุตัวตนได้นะ แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการจะทำได้แค่ไหน มีโปรแกรมหรือใครไปอ่าน log นับล้านๆบันทัดแทนให้ไหม ประมาณนี้ กฏหมายเก่ากำหนดต้องเก็บ log อย่างน้อย 90 วันนิ แต่ถ้าอยากซ่อนตัวก็มีช่องทางลับที่หาได้กันทั่วไป
อ่านดูแล้วก็โอเคนะครับ
ข้อนี้ ผมโอเคนะ มันควรจะเป็นแบบนั้น
ปากบอกไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ไม่รู้จะกลัวอะไรกัน
แปลกดี
ก็มีหลายคอมเมนท์ที่อธิบายแล้วนะครับ
ถ้าคนบังคับใช้มันดี ก็ดีไปครับ
ไม่ ok ครับ
แล้วจะรู้ได้ไงว่าเลขบัตรที่เอามาลงทะเบียนนี้ คือ เจ้าตัว
pantip ใช้
1) ภาพ scan บัตรประชาชน
2) ภาพตัวเองถือบัตรประชาชนใบนั้น
เท่านี้ก็กรองได้มากพอสมควรแล้วครับ
ต่อไปก่อนจะส่งภาพให้เว็บไซน์ไหนคงต้องใส่ลายน้ำคาดหน้า เพื่อบ่งบอกว่าเราเอาไปใช้สมัครเว็บอะไรด้วย
A smooth sea never made a skillful sailor.
ยังไม่มีกฏหมายรองรับการรับรองตัวตนออนไลน์ครับ ขนาดบัตรประชาชน Smart Card ยังต้องถ่ายเอกสารแล้วเซ็นต์สำเนาถูกต้องเลยครับ
ป้องกันเผื่อไว้ก่อนครับ อาจมีคนเอารูปเราที่ถ่ายคู่กับบัตรประชาชนไปสมัครเว็บต่าง ๆ อย่างน้อยมีลายน้ำแล้ว คนที่คิดจะสวมรอยเป็นเราอาจจะไปหาเหยื่อรายอื่นที่ไม่มีการป้องกันอะไรเลย
ส่วนเรื่องบัตรประชาชน ผมเห็นว่ามีหนังสือเวียนมาแจ้งหน่วยราชการให้เลิกจัดเก็บสำเนาบัตรประชาชนแล้วนะครับ ประมาณช่วง พ.ย.-ธ.ค. 57
A smooth sea never made a skillful sailor.
มท. แจ้งอีกครั้ง สั่งทุกจังหวัด ยกเลิกขอสำเนาบัตร ปชช.-ทะเบียนบ้าน
บางส่วนของกฎหมายก็ดูดีขึ้น แต่แค่การครอบครองภาพอนาจารอายุตำกว่า 18 ปี ที่อ่านใน iLaw ดูน่ากลัวชอบกล แค่มีอยู่ก็ติดคุกถึง 6 ปีเลยทีเดียว แถมบางภาพดูเหมือนต่ำกว่า 18 แต่ไม่ใช่ก็มี ดูสุ่มเสียงมากยังไงชอบกล
ปล. การมีรูป วีดีโอ หรือสื่อลามกส่วนตัวนี่ แม้ไม่ได้ขาย หรือแจกจ่าย ก็ผิดกฎหมายไทยหรือเปล่าครับ
Get ready to work from now on.
ประเด็กที่ยังไม่มีคำตอบ ภาพตัวเองแก้ผ้าตอนเด็ก หรือลูกตัวเองตอนเล็กๆ เข้าข่ายผิดภาพอนาจารของเด็กหรือไม่?
เพราะการตีความว่าอนาจารหรือไม่ ไม่ใช่เจ้าของภาพ แต่เป็นจนท.?
และภาพที่ไม่ใช่ภาพคนจริงๆ เช่นภาพวาดล่ะ? แล้วจะตัดสินอายุอย่างไร?
กฎหมายที่ร่างในช่วงรัฐบาลทหารนั้นส่วนใหญ่เขียนมาแบบตีความครอบจักรวาล
สิ้นหวังตั้งแต่รู้ว่าใครเป็นคนร่างแล้วครับ
กฏหมายมันตีความแบบนี้มาตั้งนานแล้วครับ ผมว่าไม่เกี่ยวกับทหารเลยอย่าโยงการเมืองเลยครับ
ทำไมจะไม่เกี่ยว โทษมันแรงกว่าข้อหาเผยแพร่สื่อลามกอนาจารนะครับ นี่แค่มีก็จบ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องกลั่นแกล้งอีก เพราะแบบนี้ข้อหาคล้ายคดียาเสพติด คือแค่มีก็จบ ไม่ต้องสืบหาว่าเอามาจากไหน ถ้าไม่มีหลักฐานเห็นตอนใครแอบมายัดก็จบข่าว
ผมจบกฎหมายโดยตรงถกกับผู้พิพากษามาก็มากเรื่องที่ผมพูดนี่กรองหลายรอบแล้วครับจะบอกไม่เกี่ยวกับทหารก็ไม่ใช่เพราะนักกฎหมายบางคนไปทำงานเป็นมือเป็นเท้าให้เขา
มันยังมีเรื่องในมุมมืดอีกเยอะครับที่ผมพูดนี่ก็มาจากประสบการณ์ตรงก็เยอะ
จะอ้างว่ากฎหมายไม่เกี่ยวกับการเมืองนี่ผิดตั้งแต่คิดแล้วครับ
กฎหมายเกี่ยวกับการเมืองโดยตรงเพราะถ้าไม่มีการเมืองเข้ามายุ่งก็ผ่านกฎหมายออกมาไม่ได้
ยิ่งถ้าเรียนรู้กฎหมายวิธีสบัญญัติ ยิ่งต้องเข้าใจการเมืองในยุคที่ผ่านกฎหมายฉบับนั้นๆออกมาว่าทำไมเนื้อหาจึงได้มีปัญหาและควรปรับปรุงแก้ไขตรงไหน ผมเองอธิบายเหตุผลไปในข่าวก่อนหน้านี้แล้วว่า ยุครัฐบาลทหารนั้นการตรวจสอบกลั่นกรองกฎหมายและการมีส่วนร่วมตรวจสอบของประชาชนนั้นไม่มีเลยหรือถึงมีก็น้อยมาก
ผมถามจริงๆครับคุณรู้รึเปล่าว่ามีกฎหมายที่บังคับใช้แล้วในยุครัฐบาลทหารนี้กี่ฉบับแล้วคุณได้มีโอกาสเห็นเนื้อหาร่างกฎหมายกี่ฉบับ มีกี่ฉบับที่อยู่ๆโผล่มาเลยแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ถ้าคุณตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้แสดงว่า คุณไม่เข้าใจกฎหมายและการตีความกฎหมาย
หลายคนยังไม่รู้ตัวอีกว่าที่แตกแยกกันทุกวันก็เพราะการบังคับใช้กฎหมายที่หามาตรฐานไม่ได้และกฎหมายบางฉบับเนื้อหาเอื้อให้เกิดการรีดไถจากเจ้าหน้าที่รัฐได้จะบอกวากฎหมายไม่เกี่ยวกับการเมืองไม่ได้เพราะการเมืองคือ นิติศาสตร์+รัฐศาสตร์ คุณแยกมันออกจากกันไม่ได้
+1 ตรงใจผมจังเลย ผมละเซ็งพวกชอบพูดว่าอย่าโยงเข้าการเมืองทั้งที่ชีวิตคนเราเกิดยันตายมันก็มีการเมืองยุ่งทั้งนั้น
มันไม่เกี่ยวกับทหารมาตั้งแต่แรกแล้วเพราะ พรบ นี้ ร่างมาหลายปีแล้ว ไม่ได้เพิ่งจะมาร่างเอาซะหน่อย
- -" ไปดูวันที่ฉบับร่างก่อนๆดูแค่ตัวเลขก็จบแล้วว่าไม่เกี่ยว เนื้อหาก็ประมาณนี้
ส่วนพวกที่มีปัญหาทำไมไม่ไปช่วยเค้าร่าง เขาร่างกันมานานแล้วนะ
งงสุดคือพวกที่กลัวๆนี่กลัวอะไรกัน
อารมประมาณมี พรบ ทารุณสัตว์ ก็กลัวว่าถอยรถไปเหยียบหมาแถวบ้านแล้วโดนจับ
โวยวายกันเพราะแถวบ้านหมาเยอะ พารานอยกันไปเองรึปล่าวไม่รู้
ที่เขากังวลกันก็คือไม่มีการตรวจสอบ เขาพูดภาพรวมของรัฐบาลทารเพราะ สภาที่ร่างกฎหมายพวกนี้เกิดมาจากทหาร จะอ้างว่าทหารไม่เกี่ยวไม่ได้ แตกต่างจากรัฐบาลปกติ ที่สภาตอนนั้่นจะหน้าบางกว่า สภาตอนนี้ อยากร่างอะไรก็ตามใจแป๊ะ สมัยคมช.ก็มีบทเรียนมาแล้วเรื่องการตรวจสอบการผ่านกฎหมายในสภา ยังไม่เข็ดกันอีก
ที่เขากลัวคือร่างออกมาไว้เป็นเครื่องมือหากินของตำหนวดแบบ พรบ.ภาพยนตร์ ผมพูดดักไว้ตั้งแต่แรกแต่ไม่มีใครเชื่อสุดท้ายมันก็เกิดขึ้นจนได้คือผมอ่านนิสัยตำนวดที่ไม่ดีออก
ถ้าคุณเคยเจอแบบผมที่ตำหนิพรบ.แต่แรกๆแล้วโดนคนรุมด่า ว่าบ้า ว่ามั่วจนสดท้ายมันเป็นตามที่ผมพูดทุกอย่าง
คุณจะเข้าใจเองครับว่าทำไมเขาไม่กล้าค้านก็เพราะมันมีพวกเลือดไม่ตกยางไม่ออกไม่รู้สึกนี่แหละ
พรบ.ร่างมาหลายปีแล้วแต่ที่มันผ่านเข้ามาไม่ได้เพาะคนจับตาดูอยู่ แต่ในสภาวะตามใจแป๊ะแบบนี้คงรู้นะครับว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น
สรุปก็ยอมรับใช่ปะคับว่ามันร่างมาหลายปีแล้ว ไม่ได้เพิ่งจะมาร่างเอาตอนนี้
ดังนั้นจะเกิด 22 /5 รึป่าวมันก็จะมีร่างออกมาให้คนด่าอยู่ทุกปีเหมือนเดิม
ตำรวจไม่ดีก็ไปจับตามระเบียบราชการ คนละเรื่องกัน
ไม่งั้นก็ต้องถามว่าทนายความหลอกคนจ้าง
ควรระงับตั๋วทนายอิสระให้ใช้แต่ทนายรัฐเท่านั้น ดีป่าว ?
same คับ
อันนี้ขอข้อมูลฉบับร่างหน่อยครับว่าเริ่มร่างครั้งแรกโดยมีเนื้อหาสาระสำคัญที่เป็นปัญหาเมื่อไหร่ เพราะผมเห็น draft ฉบับนี้อยู่ที่วันที่ 20141218 หน่ะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ร่างปีก่อนคนก็โวย สรุปมีโวยทุกปี ต่อให้เนื้อหาเป็นแบบใหนคนก็บ่น
เพราะทำแล้วดูเท่ เรากำลังต่อต้านองกรชอกเกอร์นะ บลาๆ
ปัญหายังไม่เกิด คนอุปาทานอนาคตไปเอง
หาฉบับร่างไม่เจอ เจอแต่มติ ครม. ให้ดำเนินการแก้ไขตั้งแต่ปี 2556 ครับ
เรื่อง การทบทวนกฎหมายที่ตราโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2550
เนื่องจากเนื้อหาเรื่องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับจึงส่งไปหลายหน่วยงาน ผมเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นะครับ
1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เสนอความคิดในส่วนที่เกี่ยวข้อง เมื่อ 25 ม.ค. 2556
2. ครม. มีมติวันที่ 20 ส.ค. 2556 ให้ปรับปรุงกฎหมาย
ป.ล. ในเนื้อข่าวข้างต้นก็มีเชื่อมไปยังหน้าร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ.2556 ตรง "เสนอร่างกันมาหลายปี" นะครับ
ขอบคุณมากครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
แน่ใจนะครับ ว่าก่อนหน้านี้ หน้าบางกว่า
ลองนึกดูดีๆ ครับ
เรื่องจะร่างกันมากี่ปีนี่คงไม่สำคัญเท่าใครออกครับ เพราะร่างมีเปลี่ยนตลอดเวลา
อย่างร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับแรกๆ สมัยก่อนปี 2549 ก็ไม่เคยได้ยินว่ามีเรื่องเนื้อหา มาตรา 14/15 ที่มีปัญหา (และแก้ออกไปบ้างในร่างนี้) แต่ก็ใส่เข้ามาแล้วโหวตผ่านเป็นฉบับแรกของสนช. ในยุคนั้น
ออกมาโวยนี่ล่ะครับ คือ กระบวนการ "ช่วยเขาร่าง" ที่คุณว่า ถ้าคนร่างสนใจว่ากฎหมายมันต้องดูว่าใครได้ประโยชน์เสียประโยชน์อย่างไร กระทบใครบ้าง ต้องมาเก็บข้อมูลพวกนี้ไปหรือมาเปิดรับความคิดเห็นเป็นเรื่องเป็นราว มีช่องทาง
ของพวกนี้เขาไม่ลองๆ กันไปก่อน เพราะเวลากระทบใครมาทีมันหมายถึงว่ามีชีวิตคนๆ นึงกลายเป็นอาชญากรทั้งๆ ทำเรื่องปกติสุข ไม่ได้กระทบใคร เว็บมาสเตอร์ไทยโดนคดีอาญาขึ้นศาลไปแล้วกันหลายคน อย่าง 212Cafe เปิดเว็บบอร์ดมีคนมาโพส ลบเร็วไม่ทันใจก็โดนจับ, หรือคนเก็บขยะขายซีดี
เวลาคุณบอกว่าพารานอยไปเอง คุณไม่เห็นหัวคนโดนกระทำพวกนี้
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณที่ช่วยอธิบายครับบางคนยังไม่เข้าใจสิ่งที่ผมสื่อ
ทุกครั้งที่ผมบ่นเรื่องนี้ก็จะมีคนต่อว่าผมแบบเดิมและครั้งนี้ก็เหมือนเดิม
จนเบื่อแล้วครับเดจาวูประจำ
ขอบคุณที่ช่วยอธิบายครับ
อ่านแล้วขำ เพราะพาลนึกไปถึงว่า "ถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร"
คือสิ่งที่เคยทำประจำในชีวิตประจำวัน จู่ๆ ก็กลายเป็นความผิดและต้องรับโทษ
ก็เลยขำ ...
การออกกฎหมายมันย่อมกระทบกับประชากรอยู่แล้วนิคับ เพราะกฎหมายมีไว้คุมคน เพื่อประโยชน์ของคนด้วยกัน เป็นเจตนาเดิมอยู่แล้ว แต่ผลกระทบในด้านบวกทางสังคม เช่นการชำระอาชญากรรม เทียบกับน้ำหนักผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนน้อย เทียบจำนวนเคสที่ประชากรได้รับความสะดวก เทียบกับความไม่สะดวกของคนกลุ่มน้อย อย่างใดมีมากกว่ากัน
เวบมาสเตอร์ก็คือผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี หากละเว้นภาระหน้าที่ หรือละเลยการปฎิบัติหน้าที่ ก็ควรได้รับโทษ
เหมือนกับการที่เจ้าหน้าที่รัฐละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ แต่กรณีนี้ลักษณะการดูแลเวบไซต์มันมีลักษณะปิด (คนเข้าไปแก้ได้เฉพาะคน)
ความรับผิดชอบจึงต้องอยู่กับผู้ดูแลอย่างเลี่ยงไม่ได้
ภาระในการลงทุนดูแลก็เป็นภาระของเจ้าของกิจการนั่นเอง เช่นจ้างคนมาดูเวบ ทำระบบคัดกระทู้เสี่ยง etc
เมื่อไม่ลงทุนก็เกิดความเสี่ยงเป็นธรรมดา เพราะได้ประโยชน์มากก็มีสิทธ์เสียประโยชน์มากเช่นกัน
อย่างถ้าผมเอาบันไดไปพิงไว้ริมกระทรวงการคลัง แล้วดันมีคนปีนบันไดไปขโมยของ
ผมก็สามารถอ้างได้ว่าผมทำเรื่องปกติสุข ไม่ได้กระทบใคร แต่ในแง่มุมของการวิเคราะห์แล้วคำพูดของผมอาจเป็นแค่การแก้ตัวก็ได้
คนเอาบันไดไปพิงอาจมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิดก็ได้ เพราะบันไดเป็นรูปแบบของการสนับสนุนให้เกิดการกระทำ ผมอาจพิงบันไดเพราะจินตนาการแกล้งคนบนตึก จากจิตใจที่ต้องการให้คนอื่นเสียหายก็ได้ หรืออาจพิงบันไดเพราะมีส่วนรู้เห็นจริงก็ได้ หรืออาจพิงบันไดเพราะความเคยชินก็ได้ หรืออาจจะพิงจนเคยชิน โดยมีเจตนาแกล้งคนบนตึก พร้อมด้วยมีส่วนรู้เห็นครบสามประการก็ได้ด้วย
จากมุมมองของบุคคลที่ 3 นั้นตัวบุคคลที่ 1 ก็เป็นบุคคลที่ 3 ในมุมมองของเขาเหมือนกัน ดังนั้นถ้าใครจะบอกว่าเขาแค่ใช้ชีวิตปรกติสุขเฉยๆ อยู่ๆกลายเป็นคนร้าย ก็ต้องคำนึงว่าคำพูดนั้นเป็นเพียงคำพูดจากมุมมองของฝ่ายเขาเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรเชื่อได้จากการอ่านกลภาษา แต่ควรเชื่อได้ไม่ได้จาก สภาพการณ์รอบๆ และสิ่งที่เป็นวัตถุ
สรุป ไม่เกี่ยวกับทหาร แค่บอสปีนี้เท่กว่าทุกๆปี คนเลยเอาไปโยง จะได้ผู้กล้ามาปาร์ตี้เยอะๆ
รัฐที่ดีเขาไม่ตีความรับผิดชอบ (โดยเฉพาะความรับผิดอาญา) ไปกว้างแบบที่คุณว่าครับ ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการมีได้ แต่ต้องชัดเจนว่าจะให้ทำอะไรจะได้ไม่ผิด อย่างระบบคัดกรองที่คุณว่ามานี่คุณคิดเอาเองว่าจะลดความเสี่ยง แต่ตามกฎหมายไม่มีอะไรรับประกันแม้แต่น้อย ผมทำแล้วแต่รัฐบอกว่าเรื่องนี้ผิดทั้งๆ ที่ระบบคัดกรองไม่รู้จักก็ผิดอยู่ดี
จะเอาผิดอาญาเขาต้องตีความหมายให้แคบ คนต้องทำอะไรก็บอกให้ชัด โรงแรมต้องจัดเก็บรายชื่อคนเข้าพักก็ต้องบอกแบบนั้น บริษัทแท็กซี่ต้องให้คนขับสอบใบขับขี่รถสาธารณะก็ต้องชัด ไม่ใช่ไปบอกว่าดูแลให้ดีอย่าให้มีคนตีกันหรือฆ่ากันในโรงแรม หรือบอกกว้างๆ ว่าหาคนขับแท็กซี่ดีๆ ใครขับไปชนเมื่อไหร่ก็ลุ้นๆ เอาว่าคนให้เช่ารถจะโดนเล่นงานไหม
ถ้าตีความกว้างได้ไม่จำกัดว่าคนละเลยไม่ทำหน้าที่ (ที่ไม่ชัดเจนว่าต้องทำอะไร) เราคงจับทุกคนเข้าคุกได้หมดล่ะครับ ตีความว่าเมืองไทยมีคนฆ่ากันตายเพราะ สารวัตท้องถิ่นไม่ตรวจตรา หรือผบ.ตร. ไม่ดูแลก็คงได้
lewcpe.com, @wasonliw
ระบบคัดกรองนั้นเป็นคนละ module กับระบบพิจารณาคับ
การตีความให้แคบย่อมแปลว่าสามารถเกิดการหลีกเลี่ยงด้วยเทคนิคเฉพาะทาง
จนหลบเลี่ยงกฎไปได้ แล้วคนก็จะมาโวยวายว่ากฎหลวมจนเกิดความเสียหายขึ้น
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วกว่ากฎหมาย
พรบ เค้าเลยต้องเขียนเป็น abstract class ให้ครอบคลุมไม่ใช้เพียงปัจจุบัน
แต่เพื่อให้ครอบคลุมอนาคตด้วย พรบ ออกมาจะได้ใช้ยาวๆ ไม่ใช่มือถือจะได้ออกใหม่ทุกปี - -")
เรื่องยกตัวอย่างนั้น เพราะการฆ่าคนตายเกิดจากเจตนาภายในของผู้กระทำคับ ตร ในเขตหนึ่งจึงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเจตนาภายในนั้น แต่ถ้าเหตุไปเกิดในบ้านของ ตร ก็ต้องพิจารณาต่อว่า ตร มีส่วนรู้เห็นหรือไม่
แต่กรณีของอินเตอร์เนต ผู้ดูแลระบบเป็นผู้ถือกุญแจที่มีอย่างจำกัด และได้ประโยชน์จากกิจการส่วนตน
การแก้ปัญหาต่างๆ จำกัดต่อบุคคลเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เมื่อละเลยการแก้ปัญหาจึงต้องพิจารณาว่าเจตนาเป็นอย่างไร เพราะการถืออำนาจเฉพาะเท่ากับถือความรับผิดชอบเฉพาะไปด้วย ถ้า ตร มีกุญแจบ้านของตนเพียงผู้เดียว แล้วเหตุไปเกิดในบ้านของตน ก็ถือเป็นลักษณะของอำนาจเฉพาะต่อสถานที่ และความรับผิดชอบเฉพาะก็ต้องตามมาเช่นเดียวกันกับผู้ดูแลระบบ
อย่างกรณีผับไฟไหม้เจ้าของผับก็ต้องรับผิดชอบ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ ไม่ได้เป็นคนคิดไอเดียจุดไฟก็ตาม
your argument is invalid in so many possible way and so many level.
เอาแค่เรื่องของ abstract class นี่ก็ผิดมากๆ แล้วครับ โดยเฉพาะที่พูดถึงเรื่องการวางหมากไปถึงอนาคต ซึ่งมันคือการวางแผนและการคาดการณ์ที่จะทำให้กฏหมายใช้ได้โดยไม่ต้องแก้ให้นานที่สุด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการ "เหวี่ยงแห" เพื่อให้มันครอบคลุมทุกกรณีนะครับ จำนวนกับระยะเวลา ต้องแยกกันให้ออก
กรณีนี้แทบจะ SELECT * FROM table เลยด้วยซ้ำ ฮ่า ฮ่า ใช้ WHERE CLAUSE + เลือก column บ้างเถอะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ผมอ่านแล้วนึกถึง Dagonknight จัง
^
^
that's just my two cents.
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Laws_regarding_child_pornography ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกตินะครับ?
ไม่เชิงครับ กฎหมายจะต่างออกไปแต่ละประเทศ
อย่างกฎหมายที่ห้าม "ครอบครอง" (ซึ่งรุนแรงสูงสุดแล้ว ไม่เผยแพร่ ดูคนเดียวก็ไม่ได้) ไม่ได้กำหนดต่ำกว่า 18 เสียทุกประเทศ อย่างสหรัฐฯ อายุจะอยู่ที่ 12 ปี คือเป็นภาพอนาจาร "เด็ก" เลย ไม่ใช่เยาวชน
นึกภาพคลิปหลุดวัยรุ่นที่ส่งๆ ต่อกัน ถ้าเจอว่าเป็นเด็กอายุ 17 ก็เข้าเกณฑ์ข้อนี้หมด
lewcpe.com, @wasonliw
http://www.justice.gov/criminal/ceos/subjectareas/childporn.html ผมหาได้ว่าเป็น 18 เหมือนกันนะครับ? (หัวข้อแรก ย่อหน้าแรก)
ผมผิดเองครับ จริงๆ ต้องบอกว่าโทษไม่เท่ากัน และโทษจะรุนแรงขึ้นมากเมื่ออายุต่ำกว่า 12 ปี
Sex Offenses Against Children: Findings and Recommendations (PDF)
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ
ญี่ปุ่นก็ไม่ครอบคลุมภาพวาด หรือภาพที่ไม่ใช่คนจริงครับ
ประเด็นคือการนิยาม อย่างของสหรัฐที่โทษแรงๆ ก็จำกัดแค่เด็กไปเลย ไม่ได้รวมวัยรุ่นแบบของไทย
จากที่อ่านดูในร่างฉบับที่ Thainetizen นำมาเผยแพร่มีการระบุในมาตรา 16/1(5) ว่า "เพื่อวัตถุประสงค์แห่งการค้าหรือเพื่อหากำไร" ด้วยนะครับ ไม่เหมือนกับฉบับ สพธอ. 2556 ที่ถกกันใน iLaw ครับ
แต่ยังมี (4) ด้วยครับ "จัดหามาให้ซึ่งรูปภาพลามกอนาจารของบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น"
แปลว่าแค่ดาวน์โหลดก็ผิดแล้วครับ :P
ที่มา: https://thainetizen.org/wp-content/uploads/2015/01/computer-related-crime-bill-cabinet-approved-20150106.pdf หน้า 5 (Dropbox ของคุณ lew traffic เกินอะครับ ผมเลยไปดูตรงนี้แทนครับ)
ผมกำลังคิดว่าในกรณีที่บังเอิญ ("บังเอิญ") ... เปิดเฟสบุคไปเจอภาพของน้องคนนั้นคนนี้ที่อายุไม่ถึง 18 ปี
แล้วมันดันเก็บภาพลงแคชของเบราว์เซอร์ วันดีคืนดีโดนตรวจเจอในแคช แบบนี้เราจะโดนเล่นมั้ยครับ?
(อย่างน้อยๆ น่าจะได้นอนคุกแล้วก็ไปสู้กันในศาล)
ย้ายไปอยู่ cloud นอกประเทศ ก็จะไม่มีผลต่อกฎหมายนี้
ง่ายกว่าครับ
ถ้าตัวคุณ หรือบริษัทคุณ อยู่ในเมืองไทย เค้าก็ "ขอความร่วมมือ" มาทางคุณ ให้ "กระทำการใดๆ" (เอาข้อมูลให้เค้า) ได้อยู่ดีครับ ถ้าจะไปนอก ต้องไปทั้งตัวคนและเซิฟเวอร์
ผมโอเคกับทุกข้อนะยกเว้น
"เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ"
หมายความว่าทุกเว็บไซต์ในไทยต้องยืนยัน/ลงทะเบียน user ด้วย identity card เสมอ ?
ถ้าเป็นเช่นนั้นเว็บไซต์ในไทยคงจะน่าใช้งานมากครับคงจะไม่มีเกรียน / โลกสวยกันทั้งนั้น
ในทางปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ของไทยยังถือว่า 1 หมายเลข IP คือ 1 บุคคลอยู่ครับ ไม่แน่ใจว่ามีการตัดสินเรื่องนี้ในไทยบ้างรึยัง แต่เบื้องต้นเก็บแค่ IP + เวลาก็พอครับ
ถ้า Server อยู่นอก แต่คนอยู่ไทยแล้วไม่ทำตาม ก็คงโดนเล่นงานอยู่ดี
ขอต่อรองเป็น"บุคคลอายุไม่เกิน 15 ปี" ได้ไหม
ผมขอไม่เกิน 12 ได้มั้ย
กะไล่บริษัท IT ต่างชาติ?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
บริษัทไทยก็ด้วยครับ
I need healing.
ผมเคยอ่านเจอว่ามานุษยวิทยาสอนให้เรารู้ว่า "คนปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และดำรงค์ชีวิตในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ แม้จะยากลำบากขนาดไหนก็ได้เสมอ"
ผมเชื่อว่ามันไปได้แหละครับ แต่จะสภาพไหนนี่อีกเรื่องนะ แบบว่าไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต แขนขาดขาหัก ฟันหลอ ฯลฯ
ปล. ส่วนตัวผมคิดว่าลำบากขนาดนี้ตรูจะอยู่ไปทำไม ไปที่อื่นดีฝ่า เดี๋ยวน้ำท่วม เดี๋ยวพิษการเมือง ฯลฯ
"แก้ไขมาตรา 26 ที่เคยกำหนดให้เก็บล็อก 90 วัน เพิ่มการเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ "เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ" โดยต้องเก็บไว้จนกว่าผู้ใช้บริการจะเลิกใช้อย่างน้อย 90 วัน"
ถามความเห็นครับว่า ข้อนี้มีประโยชน์กว่าแบบเดิมอย่างไรครับ เพราะรู้สึกว่าถ้าเก็บแบบนี้ผมตีความได้ว่าต้องเก็บ Log ของลูกค้าหรือพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้าระบบจนกว่าจะออกจากระบบไป 90 วัน ซึ่งถ้าเกิด User อยู่ในระบบนานหลายปี เช่นผมเป็นลูกค้า boardband internet เจ้านึงนานๆ หรือเป็นพนักงานบริษัทนึงนานๆหลายปี ก็ต้องเก็บทั้งหมดเลยเหรอครับ ถ้าแบบนั้น Log น่าจะใหญ่ขึ้นมาก แถมข้อมูลที่เก็บนานเกินปีก็มีแนวโน้มว่าจะไร้ประโยชน์ซะด้วยสิ
ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าอ่ะ
กฎหมายใหม่ ต้องเก็บตลอดไป ถ้าuserนั้นยังactive อยู่ เพราะบอกให้เก็บ 90วันหลังเลิกใช้งาน ก็ต้องเก็บย้อนไปทั้งหมดแทนการเก็บย้อนหลังแค่90วันแบบเดิม?
งี้logล้นแน่ๆ
คนละเรื่องครับ log เก็บแค่ 90 วันครับ ส่วนที่เก็บตลอด+90 นั่นคือข้อมูลผู้ใช้ครับ
น่าจะไม่ใช่มั้งครับ น่าจะเป็นการเก็บข้อมูลว่าผู้ใช้บริการเป็นใครมากกว่า ซึ่งผมว่าปกติก็น่าจะเก็บกันอยู่แล้ว แต่กฏหมายนี้กำหนดว่าให้เก็บข้อมูลของผู้ใช้คนนั้นไว้อย่างน้อย 90 วันหลังจากเค้าเลิกใช้แล้ว
ถ้าแบบนั้น แสดงว่า Log เก็บ 90 วันเหมือนเดิม แต่ข้อมูลผู้ใช้ต้องเก็บจนกว่าจะเลิกใช้ไปแล้ว 90 วันแบบนี้ใช่มั๊ยครับ
แล้วกรณีเลิกใช้นี้ เค้าเอาแค่ inactive เกิน 90 วันเหรอครับ หรือว่าต้องมีการเอกสารยกเลิกการใช้บริการอย่างเป็นทางการ
กฎหมายมาก็ทำตาม ไม่ชอบก็ทำตาม ถ้ามีเหตุผลพอ ก็อธิบายว่าทำไมต้องลงทะเบียน ทำไมไม่ต้องลงทะเบียน
สรุปว่าจะมีหรือไม่มีเหตุผลก็ต้องทำตาม?
ถ้ามันเป็นกฎหมายแล้วก็ต้องทำตามสิครับ
ต้องทำตามไปก่อนครับ ถ้าเห็นว่ามันขัดรัฐธรรมนูญก็ร้องให้ยกเลิกกันไป แต่ในขณะที่ยังไม่ยกเลิกก็ต้องทำตามไปก่อน
ยกเลิกปุุ๊บก็ล้มล้างรัฐธรรมนูญสิครับ กำลังด่ากันมันเลยในสภา:P
เท่าที่เห็นในปัจจุบันก็เป็นแบบนั้นอยู่แล้วอ่ะครับ อิอิ
กฎมีไว้แหก เคยได้ยินคำพูดนี้ตอนเด็กๆ ตอนนี้เลยเกือบจะเป็นกลียุคกันเลยไงครับ อย่างที่ท่านนหนึ่งกล่าวไว้ก่อนหน้าครับ ถ้าขัดกับกฎหมายสูงสุดเดี๋ยวก็ต้องยกเลิก อีกข้อหนึ่งถ้าเอาข้ออ้างว่ามันไม่ถูกใครก็อ้างได้ครับถ้าอยากแหก ประเทศอื่นก็ไม่น้อยหน้าหรอกนะแล้วผิดกฎทีก็ลงโทษโหดด้วย อย่างอเมริกา ประเทศแห่งเสรีภาพ เป็นไงครับ คนผิวสีออกมาประกาศแล้วก้าโดนกดดันเกินไปแล้ว ประเทศต่างๆเขาก็มีเรื่องแนวๆนี้ทั้งนั่นแหล่ะ เพียงแต่ถ้าไม่ใหญ่จริงก็อยู่แต่ในประเทศเขานั่นแหล่ะ เช่นค้ายา พกอาวุธปืนกราดยิงกัน ทุกประเทศไม่ได้สวยงามขนาดนั้นหรอก มีโซนอันตรายกันทั้งนั้น แม้แต่ลิงค์โปรเกาะเล็กๆก็มีที่เปลี่ยว พลาดก็อาจเป็นศพได้ครับ
กฎมีไว้แหก
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตามตาม
ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง (ผมจำถูกมั้ยเนี่ย)
และอีกหลายๆ คำสอน ที่สอนมาแบบไม่ลึกจริงแล้วเอาไปใช้กันในทางที่ช่วยประเทศชาติ (ให้พัฒนาไม่ขึ้น)
คือมันลักลั่นไงครับ
คนที่ทำลายกฎสูงสุด ออกมาบอกให้คนอื่นเคารพกฎที่ตัวเองตั้ง
ฯลฯ
ทหารก็ทำงานแบบทหาร จัดการปัญหาแบบทหาร โดยเฉพาะทหารผู้ใหญ่ก็เคยแต่สั่งคนนั้นคนนี้ สั่งซ้ายคือซ้าย ขวาคือขวา ตัวเองผิดก็ห้ามด่า ลูกน้องทำดีถือเป็นผลงานตัวเอง ห้ามหืออือ ไม่เชื่อฟังก็จับขัง ลงโทษ ลงทัณฑ์
ปกติต่างประเทศเค้าต้องขอ บัตรประชาชน ไหมครับ ผมว่าไม่เคยเจอ
ถ้านับจีนเป็นต่างประเทศก็ตอบว่าใช่ครับ อิอิ
เกาหลี(เหนือ)ก็น่าจะใช่ ฮ่าๆๆ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
เกาหลีใต้ ใช้ครับ แต่ไม่ถึงขั้นบัตร แค่เลข กับชื่อ วันเกิดอะไรพวกนี้ มันจะ check กับ db กลางของรัฐบาลครับ
55555
เหมือนบ้านพี่เมืองน้อง
ลาก่อน K-tributeบรรยากาศการลงทุนด้านsoftwareคงจะรุ่งโคตรๆเลยครับ(ประชด)
ผมนี่ร้องไห้เลย
งงนิดหน่อยตรงที่บอกว่า อีกหน่อยเว็บคงต้องทำโมดูลขอบัตรประชาชน หมายถึงเจ้าของเว็บต้องเป็นคนขอข้อมูลจากสมาชิกที่จะมาโพสต์ ใช้หรือครับครับ
Edit : อ้ะ ผิด node
กฎหมายออกในช่วงรัฐบาลทหาร ทำให้เกิดความสงสัยว่า จะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้าง คนเห็นต่างหรือไม่
ต้องรอดูครับ พูดไปก็เท่านั้น คาดการณ์พฤติกรรมลำบาก
เผื่อคนดาวน์โหลดไฟล์จาก dropbox ไม่ได้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้อัพโหลดไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของเขาแล้วครับ ดูได้ที่เครือข่ายพลเมืองเน็ต ในส่วนสรุปร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง