จากร่างกฎหมายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลชุดใหม่ 10 ฉบับ ที่เพิ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถ้าอ่านร่างกฎหมายอย่างละเอียด (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Thai Netizen)จะพบว่าหน่วยงานด้านไอซีทีของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เนื่องจากรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมีมากพอสมควร ผมขอสรุปเป็นแผนผังและข้อมูลคร่าวๆ ตามนี้ครับ (หมายเหตุ: ผมอ่านกฎหมายแล้วมีความเห็นต่างจาก แผนผังของ Thai Netizen อยู่บ้างบางจุด แต่หลักๆ แล้วเหมือนกัน)
ตอนนี้ (ก่อนร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมีผลบังคับใช้) ประเทศไทยมีหน่วยงานด้านไอซีที 2 หน่วยงานคือ
โครงสร้างของกระทรวงไอซีทีในปัจจุบัน สามารถดูได้จาก เว็บไซต์กระทรวงไอซีที
กระทรวงไอซีทีมีส่วนราชการ 4 ส่วนคือ
รัฐวิสาหกิจในกำกับดูแล 3 หน่วย
องค์การมหาชนในกำกับดูแล 3 หน่วย
ภาพอาจเล็กไปหน่อย คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
จะเห็นว่ามีรายละเอียดเพิ่มเข้ามามากมาย จะค่อยๆ อธิบายไปทีละส่วนครับ
กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลชุดใหม่จะตั้ง "คณะกรรมการระดับชาติ" ชื่อข้างต้น มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการระดับรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง และภาคเอกชนเป็นกรรมการ (เดี๋ยวจะเขียนเรื่องนี้แยกเป็นอีกบทความหนึ่ง)
หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้คือเป็นหน่วยงานสูงสุดที่กำหนดนโยบายด้าน "ดิจิทัล" ของประเทศ โดยต้องออก "นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" เป็นนโยบายด้านดิจิทัลระดับสูงสุดของประเทศ เพื่อบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ถ้าไม่ทำ ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าหน่วยงานจะมีความผิดทางวินัยด้วย
รายละเอียดเรื่องนี้อยู่ใน ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงดิจิทัลจะมาแทนที่กระทรวงไอซีทีเดิม จุดต่างไปคือมีส่วนราชการเพิ่มเข้ามา 1 ส่วนคือ "สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม"
สำนักงานดิจิทัลฯ มีหน้าที่ใหญ่ๆ 2 ประการคือ
รายละเอียดอยู่ใน ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..)
นอกจากตัวกระทรวงดิจิทัลแล้ว หน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลจะถูกตั้งใหม่และแปรรูปเพิ่มเติมดังนี้
หน่วยงานตั้งใหม่ 3 หน่วยงาน ได้แก่
หน่วยงานทั้ง 3 หน่วยนี้มีสถานะเป็น
"หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น"
อธิบายง่ายๆ คือมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่ใช่ราชการ ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่องค์การมหาชน (น่าจะมีสถานะเหมือน กสทช. หรือ สวทช.)
กล่าวโดยสรุปคือเราจะมีหน่วยงานใหม่ 3 แห่ง กำกับดูแลโดย 4 บอร์ด และโอนย้ายหน่วยงานบางส่วนของกระทรวงไอซีทีเดิมมาอยู่กับหน่วยงานเหล่านี้
สังเกตว่าหน่วยงานใต้กำกับดูแลของกระทรวงไอซีทีเดิมที่ไม่ถูกแก้ไขเลยคือ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ส่วนรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 รายยังอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับใหม่) แก้โครงสร้างของ กสทช. ไปพอสมควร (ไว้จะเขียนเรื่องนี้โดยละเอียดอีกครั้ง) โดยสรุปคือ
กองทุน กทปส. ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบตาม ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยโอนทรัพย์สินเดิมไปให้ กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ตั้งขึ้นใหม่ มี "คณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" มาบริหาร ส่วนงานสำนักงานจะมอบหมายให้ "สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ของกระทรวงดิจิทัลมาทำหน้าที่แทน
อย่างไรก็ตาม กสทช. ยังมีหน้าที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเหมือนเดิม โดย 50% จะเข้ากองทุนดิจิทัล และอีก 50% ส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
จากโครงสร้างใหม่ข้างต้น จะเห็นว่า
บทความตอนต่อๆ ไปจะเขียนถึงคณะกรรมการเหล่านี้ รวมถึงโครงสร้างที่เปลี่ยนไปของ กสทช. ด้วยครับ
Comments
รู้สึกถึงค่าจ้างมหาศาลที่ตั้งใหม่ขึ้นมาเลยแหะแต่ทำไมไม่มีอะไรโคกับกระทรวงพาณิชย์เลยอะแล้วมันเศรษฐกิจแบบไหนละเนี่ยอินดี้จัง
เขาเคยซื้อของออนไลน์ เคยจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ กันหรือป่าวยังไม่รู้เลยครับ แต่นั่งเทียนมโนขั้นเทพมาเขียนร่าง พรบ.กัน 8 ฉบับโดยคนในวงการไม่รู้ได้นี่ไม่ธรรมดานะครับ
มันแปลกตั้งแต่ให้ทหารขึ้นมามีอำนาจเขียนรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแล้วละครับ ชีวิตตัวเองนอกจากเลือกตั้งเคยทำอะไรที่เรียกได้เป็นประชาธิปไตยหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถึงจะบอกมอบให้สนช สปช แต่สุดท้ายคนที่มีอำนาจเคาะมันออกมาก็มีแต่ท่านผู้นำผู้เดียวแหละครับ
ปล.นั่งละคนที่เข้าไปนั่งเขียนอยากให้ทหารยึดอำนาจทัืงนั้นเฮ้อ
เท่าที่ดู "เหมือน" จะดูเป็นอิสระมากขึ้นนะครับ แต่ในทางปฏิบัติเป็นไงคงต้องดูกันต่อไป
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
พูดถึงกระทรวงก็ต้องขึ้นกับรัฐมนตรีกับนายกอะครับ แต่ดูจะลดอำนาจแล้วเพิ่มทหารเข้าไปเต็มเลย
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ => ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
อิเล็กทรอกนิกส์ => อิเล็กทรอนิกส์
หลังวงเล็บปิดตรง "Thai Netizen)จะ" เว้น 1 เคาะ
เป็นห่วงการทำงาน กสทช ที่ต้องขออนุมัติก่อน จะโดนเตะถ่วงหรือเปล่าหนอ
ดูแล้วเหมือนให้ความสำคัญกับการควบคุมดิจิทัลมากกว่าส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลนะครับ
onedd.net
ใครหนอที่เขียนแผนฯเหล่านี้ เคยคิดสักนิใหมว่า จะเอาบุคลาดรที่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องดิจิตัลจากไหนมาบริหารงานตามแผนนี้
1 ในส่วนสำคัญของการปรับครั้งใหญ่ขนาดนี้น่าจะเป็นการอยากเอาเงินในกองทุนดิจิตอลฯ ออกไปใช้ด้วยละมั้ง
แยกย่อยมากมายแต่อำนาจเป็ดเสร็จอยู่ที่คณะกรรมการดิจิตอลฯ บางเรื่องถ้าถูกดองยาวก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ตั้งมาแล้วก็จะให้โอกาสทำงาน อย่าให้เห็นว่ามีโครงการทิ้งขว้างสูญเงินเปล่าล่ะ
ส่วนเรื่องคณะกรรมการฯ คงไม่ใช่ว่าดึงมาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 2 รายนั้นหรอกนะ ไม่งั้นได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงเป็นกระทรวงอนาล็อกแน่