เมื่อไม่กี่วันก่อน SpaceX เพิ่งประกาศแผนให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ที่จะใช้เงินลงทุนมากถึง 10,000 ล้านเหรียญ ตอนนี้เริ่มมีรายละเอียดเพิ่มเติมแล้วว่าเงินก้อนนี้มาจากไหน หลังจากเว็บไซต์ The Information ออกมาเผยว่ากูเกิลนั่นเองที่อาจเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของโครงการนี้
แหล่งข่าววงในเผยว่ากูเกิลตีค่าของโครงการนี้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีในการทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น อย่างที่เคยทดสอบกับโครงการของตัวเองอย่าง Project Loon ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านบอลลูน รวมถึงก่อนหน้านี้เองกูเกิลก็สนใจลงทุนใน SpaceX เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับรอบนี้ที่ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญอีกด้วย
สำหรับแผนการใช้ดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตของ SpaceX นั้นจะใช้ดาวเทียมที่ความสูง 750 ไมล์ (ประมาณ 1,200 กิโลเมตร) โดยข้อดีของวิธีนี้คือได้พื้นที่ครอบคลุมกว้างกว่า และได้ความเร็วที่สูงขึ้นจากการที่แสงสามารถเดินทางได้เร็วขึ้น 40% ในสุญญากาศเมื่อเทียบกับไฟเบอร์ออฟติก
ที่มา - The Wall Street Journal
Comments
และได้ความเร็วที่สูงขึ้นจากการที่แสงสามารถเดินทางได้เร็วขึ้น 40% ในสูญญากาศ
ผมว่าดาวเทียมไม่น่าใช้แสงนะ... แถมยังไงlatencyก็เยอะกว่าใช้สายแน่ๆ
ขอลบนะครับ
ไหน ๆ ก็เขียนข่าวเป็นภาษาไทยแล้ว ช่วยแปลงหน่วย mile เป็น kilometer ให้หน่อยไม่ได้หรือครับ
= =''
ให้เค้าใช้หน่วยตามต้นทางของข่าวเถอะครับ เดี่ยวจะลำบาก 55
สนใจเรื่องความเร็วในระดับผู้บริโภคมากกว่า อยากรู้ว่าจะได้เท่าไรในราคาเท่าไรเทียบกับการลงทุน
แสงจากพื้นโลกสู่ดาวเทียม หรือ แสงจากดาวเทียวลิงค์ดาวเทียมแต่ละดวงด้วยแสง ?
การสือสารกับดาวเทียมเขาใช้แสงหรอ หรือว่าใช้คลื่น
ระบบการสื่อสารด้วยแสงใช้ในอวกาศแทนคลื่นวิทยุใช้ในดาวเทียม พึ่งเริ่มพัฒนาเองนิครับ
ผมเห็นทดลองใช้แล้วครับ เคยอ่านข่าวนานแล้ว น่าจะจาก popsci แต่ต้นทุนมันยังแพงอยู่ เขาอาจจะหาทางลดต้นทุนลงได้แล้วก็ได้
ทำไมอ่านคอมเม้นท์แล้วผมสงสารคนเขียนข่าวนี้จริงๆ -..-'
my blog
เคยคิดว่า grammatically correction โหร้ายแล้ว
เจอ theoretically correction นี่โหดร้ายกว่าอีกครับ
ในขณะที่ GPS เป็นการสื่อสารทางเดียว
แต่อินเตอร์เน็ตเป็นการสื่อสารแบบสองทาง
อุปกรณ์โมบายล์จะส่งสัญญาณขึ้นดาวเทียมได้อย่างไร สงสัย?
ในข่าวบอกว่าใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์
To คุณ Blitz
ผมอ่านข่าวตอนแรกแล้วตกใจว่าแสงเดินทางในสูญญากาศเร็วกว่าในอากาศถึง 40% เลยหรือนี่
แต่พอไปอ่านบทความแล้วคือ “The speed of light is 40 percent faster in the vacuum of space than it is for fiber,”ฺ ซึ่งอันที่จริงแล้วคุณ Blitz ก็ได้เขียนถึงไฟเบอร์ออฟติกไว้แล้ว แต่ผมขอเสนอให้แก้ไขเป็นแบบนี้ไม่รู้ว่าเห็นด้วยมั๊ยครับ
ดั้งเดิม: โดยข้อดีของวิธีนี้คือได้พื้นที่ครอบคลุมกว้างกว่าไฟเบอร์ และได้ความเร็วที่สูงขึ้นจากการที่แสงสามารถเดินทางได้เร็วขึ้น 40% ในสูญญากาศ
ข้อเสนอ: โดยข้อดีของวิธีนี้คือได้พื้นที่ครอบคลุมกว้างกว่าและได้ความเร็วที่สูงขึ้นจากการที่แสงสามารถเดินทางได้เร็วขึ้น 40% ในสูญญากาศเมื่อเที่ยบกับไฟเบอร์ออฟติก (หรือจะใช้คำว่าใยแก้วนำแสงน่าจะดีกว่า)
สูญญากาศ => สุญญากาศ
ขอบคุณที่ช่วยแก้ไขครับ ^_^
ทาง technic ยิงแสงลงไปใน สาย fiber optic มันจะสะท้อนไปมา อยู่ภายในตัวสายครับ
ทำให้ สัญญาณในสาย เดินไปที่ปลายทางช้ากว่า บีมแสง laser แล้วยิง ผ่านศูนย์ญากาศ
ไปที่ตัวรับสัญญาณ ตรงๆ ราวๆ 30%
... - .- -.--
stay?
-- --- .-. ... . -.-. --- -.. . .. ... - .... . -... . ... - .-.-.-
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
.-- - ..-. / .- .-. . / -.-- --- ..- / .--. .-.. .- -.-- .. -. --.
นึกถึง IPstar โครงการที่ไม่รู้ตอนนี้ไปถึงไหน ตอนนั้นฝันไว้สูงมากเป็นดาวเทียมinternet ที่ครอบคลุมพื้นที่อุษาคเนย์!
ราคามันสูงคนเลยไม่ค่อยใช้น่ะสิครับ แต่เห็นโรงเรียนบนเขาบนดอยใช้กันอยู่ โอเคดีนะครับ โทร VoIP ได้ไม่รู้สึกดีเลย์เท่าไหร่ (เพราะที่ผมไปนั่นมันไม่มีสัญญาณโทรศัพท์สักเจ้า (T^T) )
ipstar.com ลองดูพวก Press release ก็ได้ครับ