เมื่อคืนนี้ FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐอเมริกา ลงมติสนับสนุนกฎเกณฑ์ net neutrality ห้ามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) บล็อคหรือบีบความเร็วทราฟฟิกประเภทใดเป็นพิเศษ
ประเด็นเรื่อง net neutrality เป็นประเด็นถกเถียงในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว ที่มาของเรื่องนี้คือ ISP มักต้องการบีบทราฟฟิกของผู้ให้บริการออนไลน์บางประเภท (เช่น Netflix หรือ YouTube) ให้ส่งข้อมูลได้ช้าลง และขายสิทธิการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขึ้น (fast lane) ในแพ็กเกจที่ต้องจ่ายเพิ่ม
บริษัทสายไอทีอย่าง Netflix, Google, Facebook สนับสนุนนโยบาย net neutrality หรือทราฟฟิกทุกอย่างต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนบรรดา ISP และผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ๆ อย่าง AT&T, Verizon ต่อต้านนโยบายนี้
FCC เคยออกกฎ net neutrality มาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2010 แต่กฎเกณฑ์ไม่เข้มงวดมากนัก ทำให้ Verizon ยื่นฟ้องและชนะคดีจนกฎแทบไม่มีผลบังคับใช้ รอบนี้ FCC กลับไปทำการบ้านมาใหม่ให้กฎเข้มงวดขึ้น โดยปรับเงื่อนไขให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็น "สาธารณูปโภคพื้นฐาน" เทียบเท่าการโทรศัพท์คุยด้วยเสียง จึงถูกกำกับดูแลเข้มงวดกว่าตามกฎหมายโทรคมนาคมของสหรัฐ (Communications Act)
มุมมองเรื่อง net neutrality ภายใน FCC เองก็แยกเป็นสองฝ่ายชัดเจน โดยกรรมการเสียงข้างมากที่แต่งตั้งโดยพรรคเดโมแครตสนับสนุน net neutrality ส่วนกรรมการเสียงข้างน้อยฝ่ายรีพับลิกันคัดค้าน ผลการลงมติคือ 3-2 โดยฝ่ายเดโมแครต (รวมถึงประธาน FCC คือ Tom Wheeler) ลงมติ 3 คะแนนสนับสนุนกฎ net neutrality ฉบับใหม่
หลัง FCC ลงมติ 3-2 ทางบริษัทโทรคมนาคมทั้ง AT&T และ Verizon ก็ออกมาแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อมติครั้งนี้ โดยกรณีของ Verizon ไปไกลถึงขนาดแถลงการณ์เป็นรหัสมอร์ส มีเนื้อหาโจมตี FCC ว่ากำลังพาชาวอเมริกันย้อนยุคไปยังปี 1934 ปีเดียวกับที่กฎหมาย Communications Act ผ่านสภา (ใครอยากถอดโค้ดรหัสมอร์ส เข้าไปดูได้ที่ Verizon)
ที่มา - Ars Technica
Comments
เน็ตประเทศไทยไม่เคยคิดพัฒนาให้ดีขึ้น แถมอัพโหลดให้ 512 KB ในราคาเริ่มต้น ยุคนี้ มีอะไรก็ฝากไว้บน Cloud หมด
ผมว่าเน็ตประเทศไทยเราพัฒนาได้ดีพอตัวนะครับ เพจเกจบ้านเราก็พอๆกับต่างประเทศนี่ หรือผมผิดพลาดอะไร
http://www.verizon.com/home/highspeedinternet/
เห็นด้วยว่าพัฒนาดีขึ้นครั้บ แต่ยังไม่ดีพอ หากเปรียบเทียบกับญึปุ่น เกาหลี หรือสิงคโปร์ การแข่งขันอินเทอร์เน็๖ปัจจุบันดูเหมือนจะแข่งขันเสรี แต่ความจริงถูกผูกขาดจากกลุ่มทรู เนื่องจากการลงทุนโครงข่ายบรอร์ดแบนด์ต้องใช้เงินมหาศาล จึงมีเพียงไม่กี่บริษัทที่ให้บริการบอร์ดแบนด์ความรู้สูง ยิ่งขึ้นไประดับไฟเบอร์ออฟติก 100Mbps (ไม่พูดถึงโครงข่ายระดับ 1Gbps ที่ประเทศทางเอเชียเริ่มวางให้ประชาชนไปหลายปีแล้ว)หากมีการแข่งขันมากกว่านี้ ประเทศไทยควรมีความเร็วเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 30-40Mbps หรือมากกว่าปัจจุบัน 1-2 เท่าตัว
นอกจากนี้ การให้บริการที่ความเร็วยิ่งสูง ยิ่งมีต้นทุนสูงทั้งโครงข่ายในประเทศและต่างประเทศ ผู้ให้บริการบรอดแบรนด์ จึงไม่ปรับความเร็วในแต่ละปีเพิ่มขึ้นมากนัก อีกทั้งยังล็อคสปีดความเร็ว ทั้งการดาวน์โหลด การเปิดวีดีโอสครีมมิ่ง (ซึ่งก็พอเข้าใจ แต่บางทีก็ล็อกไว้มากไป จนคุณภาพบริการลดลงอย่างเห็นได้ชัด)
ไม่ต้องถึงขนาดอเมริกา เพียงยกระดับการให้บริการมากกว่านี้ ก็ดีใจแล้วครับ (นี่ยังไม่พูดถึงฝั่งมือถือนะครับ อันนี้ก็อย่างโหดกับคนใช้เหมือนกัน)
เสือกระดาษบ้านเราก็ขยันทำโปรถูกต่อไป มาสนใจเรื่องคุณภาพบางสิ
ในแถบอาเซียนนี่ผมว่าบ้านเราเป็นรองแค่สิงคโปร์นะครับทั้งมีสายและไร้สาย ไปอินโดมาปีที่แล้วห่วยโคตรทั้งมีสายและไร้สาย ไปอังกฤษมา3เดือนปีที่แล้วผมว่าบ้านเราเครือข่ายโทรศัพท์มือถือดีกว่ามากๆๆไบ้านนอกๆเรายังมีสามจีมีเอจ ไปนั่นโนซิกแนลคับ ไปลอนดอนนี่ขนาดอันเดอกราวยังไม่มีสัญญาณเลยแค่ก้าวลงจากสถานีคิงครอสไปใต้ดิน6-7ขั้นบันไดสัญญาณหายหมดแล้ว เป็นบ้านเรานี่ด่าลงพันทิปละ
ไม่รู้สิครับผมข้ามเจ้าพระยาแล้วล่มเลยทั้งเป็นที่โล่งระยะไม่ถึงกิโลจากฝั่ง
อังกฤษเดินขึ้นรถเมล์สัญญาณก็หายแล้วครับ ห่วยของจริง
ผมว่าเน็ตบ้านเรา ทั้งสายและไร้สาย ไม่เป็นรองใครเลยนะครับ
อาจจะไม่ดีสุดๆ แต่ไม่แพ้ใครเหมือนกัน
อย่างที่มาเลย์ที่ผมอยู่ตอนนี้เน็ต 10 M นี่ยังขึ้น โฆษณา กันอยู่เลย แพงด้วย
ถึงะมี 4G แล้วแบบเยอะๆ
แต่ผมเลือกแบบบ้านเรามากกว่าครับ
ถ้าไม่เอาไปเทียบกับโปรเจ็กต์เวอร์วังอลังการดาวล้านดวงอย่าง Google Fiber ผมว่าเน็ตบ้านเราก็โอเคเลยนะ ฟิลเตอร์ไม่เข้มเหมือนญี่ปุ่นด้วย (แต่จะไปดักจับข้อมูล'เฉพาะด้าน'มากกว่า) แต่ที่น่าติก็น่าจะเป็นค่าอัพโหลดนี่แหละ FCC เพิ่งประกาศนิยามของ Broadband ว่าต้อง 25/3 Mbps เป็นอย่างต่ำ แล้วโดนด่าสองเด้ง เด้งแรกก็พวกผู้ให้บริการหน้าเลือดนี่แหละครับที่อยากจะยึดติดกับ 10Mbps ต่อไป เด้งสองคือ well-educated user ล้ำสมัยที่บอกว่า asymmetric bandwidth เป็นเรื่องของอินเตอร์เน็ตในชาติที่แล้ว ชาตินี้ต้อง symmetric bandwidth เท่านั้น
ประชดขนาดเอกสารฉบับแปลยังเป็นตัวพิมพ์ดีดเลย //ฟอนต์พิมพ์ดีดไทยแบบจากของจริงนี้มีมั้ยครับนอกจาก พส. พิมพ์ดีด
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เห็นแต่บริษัทที่ขายข้อมูลใหญ่ ๆ ทั้งนั้นเลย fb gg
Youtube, Netflix ที่ว่าสูบเยอะแล้ว Bittorrent สูบจนเกลี้ยงไปเลย
ผมไปอ่านเรื่องนี้บนบล็อกของ Cloudflare นะ เค้าบอกว่าเค้าสนับสนุนกฎนี้ แต่ว่ากฎหมาย Communication Act มันเก่ามาก เทียบไปก็เหมือนเอา Node.js ไปคอมไพล์บน MS-DOS เลยทีเดียว เค้าก็เลยอยากให้ประธาน FCC ออกเป็นแถลงการณ์มากกว่า