ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ ตีพิมพ์งานวิจัยแบตเตอรี่ที่ใช้อะลูมิเนียมเป็นขั้ว anode และกราไฟต์เป็นขั้ว cathode
ทีมวิจัยกล่าวว่าแบตเตอรี่นี้จะไม่มีโอกาสระเบิดหรือร้อนจนผิดปกติ (overheating) ได้เลยเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ถึงแม้จะถูกทำให้เสียหายก็ตาม แบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยา (low reactivity) นี้ยังช่วยให้มันสามารถถูกขึ้นรูปบิดงอเข้ากับอุปกรณ์ที่มีรูปร่างที่ยืดหยุ่นได้
นอกจากความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น แบตเตอรี่นี้ยังรองรับการชาร์จไฟเต็มในเวลาเพียงหนึ่งนาที และรองรับการชาร์จซ้ำกว่าหลายพันถึงหลายหมื่นครั้งโดยไม่สูญเสียความสามารถในการเก็บประจุเลย ส่วนต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ก็ถูกลงด้วยการใช้อะลูมิเนียมแทนลิเทียม
ข้อเสียของแบตเตอรี่นี้คือให้แรงดันไฟฟ้าราวครึ่งเดียวของแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออนเท่านั้น
ที่มา: มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผ่าน PCWorld ผ่าน Engadget
Comments
ตรง "ไม่ไวต่อปฏิกิริยา (low reactivity)"
ไม่ = non
ต่ำ = low
รึเปล่าครับ
ถ้าจะเขียน "คุณสมบัติความไวต่อปฏิกิริยาต่ำ" ก็แปลกๆ
เวบไหนอ่ะครับที่มีคำว่า low activity
ใช่ครับ
Low = ต่ำ, น้อย คือยังมีแต่น้อย
Non = ไม่มีเลย
ไม่ไวต่อการทำปฏิกิริยา = มีการทำปฏิกิริยา แต่น้อย
ผมว่าแปลถูกแล้วนะ
แบเ => แบตเ
ข้อเสียของแบตเตอรี่นี้คือให้เอาต์พุทราวครึ่งเดียวของแบเตอรี่ลิเทียม-ไอออนเท่านั้น
จากที่มา
"Our battery produces about half the voltage of a typical lithium battery," he said.
ตรงนี้ผมว่า ถ้าเปลี่ยนเป็น "ข้อเสียของแบตเตอรี่นี้คือให้/แรงดันไฟฟ้า/ราวครึ่งเดียวของแบเตอรี่ลิเทียม-ไอออนเท่านั้น" จะตรงกว่า
ข้อเสียเท่านี้รับได้สบายมาก ถ้าชาร์จไวดั่งคำว่าจริง
2V ก็ไม่เลวนะ
@mamuang
ยอดไปเลยครับ ขอยกนิ้วให้
ขอให้พัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไปครับ
นิ้วอะไรครับ
ทำไมดูดีไปทุกอย่างถึงขั้นนั้นล่ะครับ มีข้อเสียอะไรมั้ยเนี่ย
เรื่องแรงดันไม่ใช่ปัญหาอะไรอยู่แล้วถ้าพลังงานทั้งหมดที่เก็บไว้ได้มันไม่น้อย
ไม่แน่ใจว่า คำว่าแรงดันไฟฟ้า แตกต่างจาก ความต่างศักดิ์ไฟฟ้า ไหม แต่มันก็ใช้โวลต์มิเตอร์ วัดได้เหมือนกัน
อันคำภาษาไทยว่า "แรงดันไฟฟ้า" คงต้องให้วิศวกรไฟฟ้าโดยตรงซึ่งแม่นกว่าผมมายืนยันว่ามันต่างจาก "แรงเคลื่อนไฟฟ้า" หรือไม่
แต่ถ้า "แรงเคลื่อนไฟฟ้า" ล่ะ เป็นคนละตัวกับ "ความต่างศักย์ไฟฟ้า" แน่นอนครับ (ถึงหน่วยเป็น Joules/Coulomb หรือ Voltage เหมือนกันก็ตาม) แรงเคลื่อนวัดที่ตัวเซลล์ไฟฟ้าโดยตรง ในขณะที่ความต่างศักย์วัดที่ V ตกคร่อมความต้านทานภายนอกที่เซลล์ไฟฟ้าจ่ายได้ครับ (∆V = Delta Voltage = ความต่างของศักย์) หน่วยเป็น Voltage ทั้งคู่ แต่คนละบริบทกัน
แต่ถ้าดูที่บริบทของตัวงานวิจัยและภาษาต้นฉบับแล้ว ผมตีความว่า น่าจะหมายถึง "แรงเคลื่อนไฟฟ้า" มากกว่าครับ (ผมว่า พูดเป็นไทยแล้วมันเข้าใจยากกว่า)
=== Edit เพิ่ม ===
ลืมไป... นึกขึ้นได้ ผมเลยหา Link ภาษาไทย สั้นๆ อ่านง่ายๆ ที่คนอื่นเขียนมาให้อ่านครับ ว่า แรงเคลื่อน กับ ความต่าง มันคนละบริบทกันแน่นอน
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/khonkhan/electric/content/8_1.htm
ใช้คำว่าแรงดันไฟฟ้าน่าจะถูกแล้วครับ มันหมายถึง ความต่างศักย์ระหว่างขั้วบวก และขั้วลบ(หรือกราวน์)
ความต่างศักย์ไฟฟ้ามันต้องมีจุดอ้างอิงครับ
เยี่ยมครับ แล้วกระแสไฟจุได้น้อยหรือเยอะกว่าลิเทียมครับ
ใช้อลูมิเนียม งั้นคราวนี้ก็ใช้ body โทรศัพย์เป็นแบตไปในตัวเลย (ใหญ่ขนาดนั้นน่าจะชดเชยเรื่องแรงดันไฟได้)
เปิดฝามาผงถ่านร่วง เอาแบตหมด ไปผ่าฟืนมาทำถ่านสิ!!!
ผมว่าถ้าใช้ฝาหลังที่เป็นอลูมิเนียมมาทำเป็นแบตจะมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่าครับ
ถ้างันAppleอาจจะทำบอดี้อุปกรณ์ทุกตัวให้เป็นแบตได้
พวก iMac / Mac mini / Mac Pro อาจจะได้บอดี้เป็นUPSในตัว
Macbook iPhone iPod iPad อายุการใช้งานแบตก็นานขึ้น
ดีๆๆ
แรงดันต่ำกว่า
ผมยอมใช้แบตเตอรี่นี้ ก็เอามาอนุกรม 2 ก้อนก็ได้แล้ว
ความจุต่ำกว่าแบตลิเทียมอย่างน้อยครึ่งนึงเทียบกับน้ำหนักในPC world เขียนไว้ น่าจะเพราะเลขมวลต่ออะตอมสูงกว่า แต่ถ้าชาร์จเร็วกว่ามาก เรื่องแบตจุต่ำนี่จิ๊บๆ
จริง ๆ ก็ไม่น่าจะจิ๊บ ๆ เท่าไหร่นะครับ ลองคิดถึง Apple Watch ความจุเป็นเรื่องใหญ่ พอ ๆ กับ น้ำหนักเลยล่ะครับ
ผมไม่ได้คิดถึงนาฬิกาเลย ถ้าเป็นมือถือแทบเบล็ตที่ใช้ได้ครึ่งวันแต่ชารจระหว่างวันนาทีเดียวเกือบเต็มผม happyมากนะ ขับรถทีก็ชาร์จที นั่งโต๊ะทีก็ชาร์จที
charge 1 นาทีที่ความจุแบตเท่าไหร่ครับ?
ตอบโจทย์เรื่อง mobility ไม่ได้ สำหรับผมถือว่าไม่เหมาะกับอุปกรณ์พกพา ถ้าเอาไปใช้กับแลปท็อปก็ว่าไปอีกเรื่อง
ยังไงอ่ะครับ?
จ่ายแรงดันได้ครึ่งเดียวก็ต้อง 2 ก้อนอนุกรมครับ หมายถึงขนาดที่ใหญ่ขึ้น
ถ้าอยากได้ขนาดเท่าเดิมแต่ละก้อนก็ต้องมีความจุต่ำลงครึ่งนึงง่ะ
จริงๆ แล้วสมมติว่าจ่ายแรงดันที่ครึ่งนึงของปกติ ความจุ 2000 mAh
ถ้าเอามาพ่วงกัน 2 ก้อน แรงดันก็เป็น 2V กินกระแสมากขึ้น ความจุก็กลายเป็น 0.5C ด้วยครับ
พอดีว่าตอนนี้ยังไม่รู้ความจุจริงๆ เสียด้วยสิครับ ก้อนนึงอาจจะแรงดันแค่ 2V แต่อาจจุพลังงานได้ใกล้เคียงของเดิมก็ได้นะครับ
เท่าที่อ่านต้นทาง จุพลังงานได้เท่าเดิมครับ แต่ว่าถ้าจะให้ได้แรงดันเท่าเดิมก็ต้องประมาณ 2 ก้อนอนุกรมกัน
หรือไม่ก็ต้องจุพลังงานได้มากกว่า 2 เท่าของ LI-ON ในขนาดที่เท่าเดิมครับ
ผมชอบแบตอึดๆ มากกว่า
ผมเข้าใจว่าจุได้ไม่ถึงครึ่งซะอีก โดยมวล
ขนาดเท่าเดิมที่ว่าคือปริมาตรหรือเปล่าครับ
ใช่ครับ หมายถึงขนาดของแพ็คมัน
ขอบคุณครับ ผมไม่ได้อ่านต้นทาง อาหารเป็นพิษตั้งแต่เมื่อคืน ตอนนี้ปวดหัวตุบๆๆ เลย (T^T)
ถือว่าน้อยพอสมควรเลยนะครับนั่น แต่ก็ดูเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ไม่รู้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะพอใช้ด้วยไหวมั้ย คุ้มกับน้ำหนักและขนาดรึเปล่า (ตัวนี้ 1kg กับสิงโต 1kg นี่ปริมาตรตัวไหนเยอะกว่า?)
ชาร์ตเต็มเร็ว แต่ถ้าความจุแบตใส่ได้น้อยกว่ามาก คงไม่ได้เห็นในผลิตภัณฑ์ Apple แน่ๆ
ทุกวันนี้ก็พยายามตัดทุกอย่างออกไปเพราะเรื่องน้ำหนัก + ความจุแบตรัวๆ
แบตไม่มีทางเสื่อมเลยหรอครับ
ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกไหม
"ข้อเสียของแบตเตอรี่นี้คือให้แรงดันไฟฟ้าราวครึ่งเดียวของแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออนเท่านั้น"
ถ้าเราปรับมือถือมาให้ใช้แรงดันไฟฟ้าแบบที่แบตทำได้ ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยใช่ไหมครับ?
แรงดันต่ำมาก อาจจะทำให้เกิด Bit Error Rate สูงขึ้นก็ได้ครับ
ผมพยายามไปหาข้อมูลให้ว่าทำไมต้อง 5V หรือ 3.3V แต่ว่าหาคำตอบไม่ได้ครับ ถ้าใครพอทราบว่าใช้ Vin ต่ำๆ กว่านี้จะได้รึเปล่า ต้องขอรบกวนด้วยครับ
1.8 ครับ
ผมเข้าใจว่ามี 5, 3.3, 2.5, 1.8 แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่ทำอุปกรณ์ที่ 1.8 ไปเลยล่ะครับ
รบกวนขอความรู้หน่อย
วงจร Digital ส่วนใหญ่ใช้ค่า Voltage เป็นตัวกำหนด bit 0 - 1 ครับ แต่มันก็มีช่วงให้รองรับ tolerant อยู่ค่านึง
เช่น ที่วงจร 5 V
3.0 - 6 V เป็น bit 1
0.0 - 2.1 V เป็น bit 0
ช่วงตรงกลางนั้น เป็นช่วง gap เอาไว้น่ะครับ กันผิดพลาด
ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกัน Noise ที่จะเกิดขึ้น อย่างกรณี วงจร 5 Volt จะส่ง bit 1 ที่ 4.5 Volt และ bit 0 ที่ 1.2 Volt ถ้าเกิดมี Noise ขึ้นมา มันก็จะแกว่งแต่ยังอยู่ใน Region ที่แปลค่าออกมาได้ครับ
แต่พอปรับมาเป็น Volt ที่น้อยลง Region มันก็แคบลง ทำให้วงจรต้องมีความแม่นยำมากขึ้นนั่นคือต้องมี Noise ลดลงมากขึ้น ถ้าส่งไปไกล ๆ ยิ่งมี noise เยอะ ดังนั้นเมื่อก่อน CPU ใช้ 3.3 แต่พอส่งออกไปด้านนอกก็เลยใช้ 5.0 แทนเป็นต้นครับ
การทำอุปกรณ์ที่มี Noise ต่ำ ๆ อาจจะมีราคาแพงอะไรประมาณนี้ครับ
อาจจะมีผิดบ้างนะครับ แต่หลัก ๆ ก็จะอารมณ์นี้
ส่วนทำไมต้อง 5 3.3 2.5 1.8 อันนี้น่าจะเป็นเรื่องของ Compatibility ด้วย
เพราะถ้าเราใช้ 3.3 สำหรับ Core ก็ต้องให้มัน Drive อุปกรณ์ด้านนอกที่เป็น 5V ได้ด้วยครับ
มันก็เลยเป็น Step ลดหลั่นกันลงมา
ขอบคุณครับ เดาไว้แล้วว่าน่าจะเกี่ยวกับ noise เพราะถ้าแรงดันเลี้ยงวงจรมันต่ำมากๆ ก็มีสิทธิจะไปมั่วกับ bit 0 ได้
ขอบคุณอีกทีครับ
ปล.
สำหรับค่า ลดหลั่นนี่อีกส่วนผมว่ามันคือประมาณว่า Vh ที่รองรับได้ต่ำสุดจะอยู่ที่ประมาณ 60% ของ Vcc น่ะครับ
แล้วมันก็เลยต้องดีไซน์เผื่อ 10% ก็เลยมาเป็นค่าประมาณ 66% ของ Vh ต่ำสุด
อย่างเช่น 5v ก็จะมี Min Vh อยู่ที่ 3.0V ก็เพิ่มมาสัก 10% ก็จะประมาณ 3.3V อ่ะครับ
อันนี้แอบเดานะครับ เพราะผมจำไม่ได้จริง ๆ ที่อาจารย์สอน (คืนอาจารย์ไปหมดละ)
พอทำแบบนี้ได้ปุ๊บ วงจรมันก็จะใช้ร่วมกันได้เลย เพราะถ้า CPU ส่ง ออกมา 3.3v หรืออย่างร้ายก็ 3.0 มันก็จะยังขับ วงจร 5V ได้ปกติครับ
ขอบคุณมากๆครับ นี่คือความรู้ที่น่าจดจำมากๆ +5Volt
ลบทิ้ง