พอดีวันนี้มีนี่ส่งมาถึงบ้าน (ทางแฟกซ์) และถึงเมลล์ เลยเอามาให้อ่านกันครับ โดยส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ และอยากจะรู้นโยบายกับเว็บต่างประเทศที่เล่นกันเกร่อ เช่น Hi5 Myspace MSN Space Facebook ว่าจะมีวิธีป้องกันอย่างไร หรือว่าก็ช่างมัน ไปมั่วต่างประเทศได้ มั่วในไทยไม่ได้ ไม่งาม?
เรียน ผู้ประกอบการ website
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอส่งประกาศคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ เรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของเด็กที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม ดังนี้
1. ผู้ให้บริการเว็บไซต์ จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่เมื่อเปิดเผยแล้วจะทำให้ผู้อื่นติดต่อเข้าถึงตัวเด็กได้ อันได้แก่
1.1 ภาพถ่ายของเด็ก ที่แสดงร่วมกับเบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ที่อยู่ ชื่อผู้ใช้ระบบสนทนาออนไลน์ เช่น MSN หรือชื่อโรงเรียน
1.2 อายุของเด็ก ที่แสดงร่วมกับเบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ที่อยู่ หรือชื่อผู้ใช้ระบบสนทนาออนไลน์
1.3 เพศของเด็ก ที่แสดงร่วมกับเบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ที่อยู่ หรือชื่อผู้ใช้ระบบสนทนาออนไลน์
(แค่สามข้อนี้ เว็บหลายๆ เว็บก็เจ๊ง ดำเนินกิจการต่อไม่ได้แล้ว)
2. ลักษณะการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ไม่อนุญาต ได้แก่
2.1 การแสดงข้อมูลส่วนตัวของเด็กในหน้าประวัติผู้ใช้ (Profile)
2.2 การอนุญาตให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลส่วนตัวของเด็กผ่านระบบค้นหา (Search)
2.3 การแสดงรายชื่อผู้ใช้ที่เป็นเด็กบนหน้าเว็บไซต์ที่ผู้ให้บริการสามารถควบคุมเนื้อหาได้ (สามารถกรองรายชื่อที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีออกได้) เช่น สารบัญผู้ใช้ ในลักษณะที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงข้อมูลส่วนตัวของเด็กได้ (Browse) (สรุปสามข้อนี้คือ เด็กต่ำกว่า 18 อย่ามีตัวตนในเน็ตไทยอีกเลย ถึงจะทำคุณงามความดียังไง เช่น แต่งนิยายชนะ ก็จะไม่มีใครรู้ชื่อจริง ติดต่องานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีอีเมลล์ สนุกจัง)
2.4 การเปิดเผยข้อมูลลักษณะอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเด็ก และอยู่ในวิสัยของผู้ประกอบการที่สามารถยกเลิก ป้องกัน หรือระงับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลงกระดานสนทนา (ระงับได้ยังไง? มีแบบฟอร์มให้ติ๊กว่า ไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 18 อย่างนี้เหรอ.. ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็อนาถ หรือต้องมานั่งกรองออก แต่คำว่า “ระงับ” คือ “หยุดก่อนที่มันจะเกิดขึ้น” นี่นา)
โดยขอให้ปฏิบัติตามภายใน 30 วัน หลังจากได้รับประกาศนี้ รายละเอียดตามเอกสารแนบ
ที่ไม่ชอบอีกอย่างคือ.. เป็นการแก้ปัญหา”เฉพาะหน้า”เกินไปหน่อย ถึงแก้แบบนี้ ต่อไปเด็กที่มันอยากเล่น อยากเผยจริงๆ มันก็สามารถปลอมอายุได้อยู่ดี แล้วจะเอาทรัพยากรที่ไหนมาตรวจ? เห็นแล้วก็พาลให้คิดว่า คนออกกฏต้องไม่ใช่’คนเล่นเนต’แหงๆ
update: เื่ผื่อใครสงสัยว่านี่เป็นการ “ขอความร่วมมือ” หรือ “ผูกมือ” ขอตอบว่า เค้าเขียนมาว่า “ถ้าฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดและมีโทษตามมาตรา 27 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2546 ซึ่งมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชน หรือสื่อสารสนเทศประเภทใดซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ และถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
อ่านกฏหมายแล้วดูก็โอเคดี เพราะว่ามีคำว่า “เจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายทางจิตใจฯลฯ” แต่การตีความกฏหมายแล้วเอามาเหมารวมแบบนี้นั้นมันแย่
ปล. ก๊อปเนื้อหามาจากบล็อกตัวเอง ขออภัยในความไร้มารยาทมา ณ ที่นี้ แต่อยากให้ได้อ่านกันเยอะๆ
ปล2. ทำไม firefox ไม่ตัดบรรทัด ทั้งๆ ที่เว้นวรรคแล้ว
เพราะมันอยู่ในแท็ก pre อ่ะดิ
iPAtS
iPAtS
แก้ละ ขอบคุณมาก
"โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ" <--- ตรงนี้ ถ้าสมมติเราทำช่องบังคับให้ user ติ๊กว่ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลตัวเองได้ แล้วมันจะยังผิดกฏหมายอยู่หรือเปล่าคะ? หรือว่าอายุต่ำกว่า 18 ไม่มีสิทธิตัดสินใจเองได้เลย?
ปัจจุบันเว็บต่างๆ ก็คือมีช่องนี้อยู่แล้วนะครับ ดังนั้นผมคิดว่าความหมายที่เค้าต้องการสื่อคือ"เด็กอายุต่ำกว่า 18 ยังไม่มีวิจารณญาณ ดังนั้นทุกคนต้องปกป้อง"
แปลว่า ถ้าเด็กยืนยันว่าตัวเองต้องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง
อย่างพวก blog ที่เด็กสมัครเข้ามาใช้บริการเอง แล้วเอารูปตัวเองลงพร้อม MSN (เห็นมีอยู่มากมาย)
แล้วแบบนี้ถ้าโดนฟ้องศาล แล้วเด็กยืนยันว่าตั้งใจทำเองด้วยตัวเองด้วยความสมัครใจ
แล้วเจ้าของระบบก็ยังจะโดนเหรอคะ?
จากที่อ่านข้างบน ไม่มีเงื่อนไขว่า "เผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอม" แต่เป็น "เผยแพร่" เฉยๆ ดังนั้นถ้าตามข้างบน ก็ต้องผิดครับ -_-"
ก็เหมือนกับที่ "คนไทยทั้งประเทศไม่มีสิทธิในการตัดสินใจเองได้เลย" เรื่องดูภาพโป้ก็ไม่ให้ดู เซนเซอร์โน่นนี่ สารพัด เกิดเป็นคนไทยไม่มีสิทธิ ต้องเปลี่ยนจาก Thailand เป็น ไพร่land แล้ว
@TonsTweetings
วิกิซอร์ซ: พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
ถ้าอายุ(จากวันเกิดที่ผู้ใช้กรอก)ไม่ถึง 18 ==> บังคับไม่แสดงข้อมูลส่วนตัวในโปรไฟล์
ถ้าอายุ 18+ ==> มีช่องให้เลือกว่าจะแสดงหรือไม่
ดูท่าจะทำได้แค่นั้นแหละ :-P
———————
คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
เห็นด้วยว่าคงทำได้มากสุดเท่านั้น
แต่ส่วนเนื้อหานี่คงรับผิดชอบไม่ได้ิจริงๆ อะครับ อย่างตัวอย่างที่เขาแจ้งมาว่า "เนื้อหาในกระทู้ เป็นการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว" อันนี้จะใช้อะไรมาจับ??
ถ้ากฏนี้ใช้ทั่วโลก Facebook คนใช้ลดลง 50%
@TonsTweetings
เท่าที่อ่านสรุปว่า ถ้าต่ำกว่า 18 อย่าแสดง รูป, อายุ, และเพศ ในหน้าโปรไฟล์ หน้าค้นหา (ห้ามค้นเจอ) และหน้าที่มีลิสต์รายชื่อ ส่วนเรื่องที่จะให้ควบคุมการแสดงเนื้อหาในหน้าอื่น ๆ นี่ลำบากใจเหมือนกัน
ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ดูเหมือนไม่ได้ห้าม เช่นอีเมล เบอร์โทร MSN ที่อยู่ โรงเรียน แต่อันที่จริง ก็รู้กันว่าไม่ควรแสดงอีเมล เบอร์โทร และที่อยู่โดยละเอียดอยู่แล้วนิ (ตามมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)
กรณีเด็กเก่งอย่างที่จขกท.ว่ามา คิดว่ายังไงก็ไม่ควรให้เด็กเป็นคนรับการติดต่อเองครับ ควรเป็นโรงเรียน ครูประจำชั้น หรือพ่อแม่ผู้ปกครองดีกว่าครับ
--
--
ที่ผมลำบากใจจริงๆ คือ ตรงที่บอกว่า
การเปิดเผยข้อมูลลักษณะอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเด็ก และอยู่ในวิสัยของผู้ประกอบการที่สามารถยกเลิก ป้องกัน หรือระงับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลงกระดานสนทนา
อยากถามคนออกกม. ว่า การโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลงกระดานสนทนา ที่ยกตัวอย่างมานี้ ป้องกัน หรือระงับได้ด้วยหรืออะครับ
นั่นแหละครับ ยังหนักใจ
--
--
ถ้าเด็กโพสเองก็ห้ามอะไรไม่ได้หรอกครับ ถึงมีเรื่องพอถึงชั้นศาลก็ไม่เป็นไรอยู่ดี
"โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ"
หวังว่าจะตีความว่า ถ้าโพสโดยรู้ตัว และยินยอมเผยแพร่ แล้วเราจะไม่ผิดเหมือนกันครับ
เหมือนกับมีกฎหมายออกมาว่า "เด็กควรระวังการพูดคุยกับคนแปลกหน้านะจ๊ะ ห้ามให้ที่อยู่หรือรูปถ่าย หรือพูดเรื่องส่วนตัวให้คนแปลกหน้าฟัง มิฉะนั้นผู้ปกครองจะมีความผิดนะจ๊ะเด็กโง่"
PoomK
ตอนผม ม.4-5 (ประมาณ 16-17) ก็รับทำ freelance บ้างแล้ว ซึ่งก็ไม่เห็นน่าเป็นห่วงอะไร
ข้อบังคับนี้ทำให้ ชุมชนออนไลน์ ห้ามให้มีเด็กต่ำกว่า 18 ใช่รึเปล่า?
แล้วเว็บต่างประเทศ ถ้าไม่ทำตามจะโดนบล๊อคมั้ยครับ :P
คิดไปคิดมาแล้ว ผมว่าคำว่า "เด็ก" ในไทยเรา มัน "แก่" ไปหน่อยแฮะ อายุ 15 ผมก็ว่าโตกันแล้วนะ
PoomK
เห็นด้วย
ส่วนตัวคิดว่าอายุเกิน 12 ก็โอเคแล้วกับหลายๆเรื่องๆ
เด็กอายุ 15 มันก็ตัดสินใจเองได้แล้วตั้งหลายอย่าง
อย่างกรณีนี้อยากให้ลดอายุเป็น 12 จะพอทำใจรับได้
สรุปแล้ว นี่อาจเป็นเหตุผลนึงที่เด็กไทยไม่ยอมโต จริงๆแล้วเพราะผู้ใหญ่ไม่ยอมให้โตนั่นเอง
ต้อง Fax สำเนาบัตรปชช. ให้ Hi5 หรอครับ