ไปเจอกระทู้ดราม่าในพันทิบแล้วสลดกับคนไทยบางคนค่ะ http://pantip.com/topic/33704765
แบบว่าเพื่อนร่วมอาชีพกันทำงานเพื่อการกุศล มีเงินก็ช่วยบริจาค ไม่มีเงินก็ช่วยใช้โปรแกรมเขาแล้วลงเครดิตให้ หรือช่วยรีวิว ช่วยบอกต่อ
เมื่อก่อนเคยคิดว่านักดนตรีเปิดหมวกมีแต่ในประเทศที่เจริญแล้ว ต้นปีไปห้างซีค่อนศรีนครินท์เห็นแบ่งพื้นที่เล่นกันบนสะพานลอยอยู่หลายคน
คือรูปแบบการหารายได้ของ software มันหลากหลายครับ
1. แจกฟรี คิดค่า support
2. แจกฟรี แต่มีฟีเจอร์บางอย่าง จ่ายเงิน
3. แจกฟรี มีโฆษณา หรือ ตัวติดตั้งมี pc faster
4. แจกฟรี แต่ถ้าใช้กับ commercial ต้องจ่ายตัง
5. แจกฟรี แล้วได้รายได้จากบริการอย่างอื่น เช่น Line เล่นฟรี รายได้จาก สติกเกอร์ ค่าโฆษณา ค่าเหรียญเกม
ฯลฯ
มันขึ้นกับเทคนิคการทำรายได้ การทำตลาด การวางแผนของคนทำมากกว่า
ขออณุญาติ ตัดคำพูดของคุณ lew มานะครับ
ความรู้ใหม่ประจำวันคือ สายสถาปนิกมีการกำหนดหลักการการคิดค่าบริการ เป็นส่วนหนึ่งของ "จริยธรรมวิชาชีพ"
ผลลัพธ์คือไม่มีใครจ้างเพราะคนสร้างบ้านต่ำกว่าสิบล้าน ซึ่งหมดไปกับค่าที่ดินและค่าก่อสร้างเกือบหมด ไม่พร้อมจะจ่าย % เพิ่มแน่ คนให้คำแนะนำเหมือนกันหมดคือมีแต่คนรวยมากๆ สถาปนิกต้องมานั่งหวังกับงานที่เจ้าของบ้านมีห้องเก็บไวน์และขับเฟอรารี่
ปัญหาแบบนี้ตรงข้ามกับโปรแกรมเมอร์สิ้นเชิง โปรแกรมเมอร์ไม่มีสมาคมวิชาชีพเป็นตัวเป็นตน มีเด็กใหม่พร้อมรับงานราคาถูกๆ เสมอ
ผลคืออะไร ผลคือธุรกิจเมืองไทยใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปกันแทบไม่ได้ ซื้อ package สำเร็จเมื่อไหร่ แก้กระจุยทุก module ทุกหน้าจอ
แต่ผลกลับเป็นผลดีกับเด็กใหม่ๆ พวกเขามีงานมากมาย โปรแกรมเมอร์ระดับทำงานได้แทบไม่เคยมีปัญหาว่างงาน (ไม่นับปัญหาเลือกงานหรืองานไม่ถูกใจ) เมื่อชื่อเสียงดีพอ พวกเขาก็ค่อยสามารถเรียกค่าแรงแพงขึ้นตามลำดับ ลูกค้าต้องเลือกเองว่าจะอยู่กับเด็กใหม่ๆ ที่ยอมรับค่าแรงต่ำหรือจะอยู่กับคนโปรไฟล์ยาวๆ ที่ค่าแรงสูงๆ (และเคยถูกลูกค้าโขกแทบไม่ได้นอนเป็นเดือนจนสาบานว่าจะไม่รับงานเหมือนเดิมอีกแล้ว)
บทเรียนสองฝั่งครับ สถาปนิกอยากให้เด็กๆ มีงาน ไม่ใช่ให้เด็กหัดออกแบบชั้นเก็บไวน์ครับ เลิกกำหนดค่าแรงซะ ปล่อยให้เด็กรับงานเล็ก รับงานถูก
ส่วนลูกค้าซอฟต์แวร์ครับ โปรแกรมเมอร์ค่าตัวมันแพงมากไม่ใช่มานั่งบ่นๆ ว่าให้รับงานถูกๆ ครับ ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปซะ ไม่ถูกใจก็เจอค่าปรับแต่งแพงๆ ปรับไม่ไหวก็ต้องใช้ไปอย่างนั้น
Post เดิมของคุณ lew
เจ้าของกระทู้เป็น Interior designer รับงานออกแบบ Interior designer น่าจะเป็นงานสาย art ค่ะเพราะตอนเรียน ปวช. เราเรียนแผนกออกแบบได้เรียนออกแบบตกแต่งภายในเสีย 50% ของ ชม. เรียนทั้งหมด แต่ดันมีบางเม้นคิดว่าเขาเป็นสถาปนิค บางเม้นบอกว่า Interior designer ก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ซึงเราไม่แน่ใจเหมือนกัน
ผมว่ากรณี "แจกฟรี" มันต่างกับกรณี "ตัดราคา" อยู่พอสมควรเลยนะครับ ไม่น่าลากไปดราม่ากันได้แบบนั้น ยิ่งในต้นทางนี่ แจกฟรีจำกัดจำนวนด้วยซ้ำ
ป.ล. สะพานลอยผมว่าไม่ใช่ที่ที่ควรไปเล่นดนตรีเปิดหมวกเลย ถ้าคนเดินผ่านแล้วหย่อนเงินให้นี่กึ่งๆ ขอทานแล้วครับ ไม่ได้ยืนฟังเพลงเลย แต่ถ้าคนยิ่งมายืนฟังเพลงด้วยนี่ เกะกะทางเดินชาวบ้านครับ สะพานลอยมันแคบอยู่นะ (หรือสะพานลอยที่ว่านี่กว้างมาก จัดไว้สำหรับคนมาแสดง-ขายของโดยเฉพาะ?)
ไม่ค่อยมีคนหยุดฟังจริงๆค่ะ แต่สะพานลอยกว้าง เดินเรียงหน้ากระดานได้ 5 คน เห็นได้เงินเยอะพอควร แต่ถ้าฝีมือได้มาตรฐาน ไม่มีพูดขอว่าทำบุญทำทานหน่อยครับ เราก็ไม่นับเป็นขอทานค่ะ
ผมอาจจะใช้คำแรงใช้ประโยคงงไปหน่อย แต่ไม่ได้ว่าคนที่มาเล่นดนตรีนะครับ หมายถึงคนให้ - -"
เป็นปรกติของประเทศที่ ไม่ให้ราคากับ ฝีมือแรงงานครับ
เช่น UK ในยุคปี 70
ถ้าคุณทำงานในโรงงานผลิตรถยนต์ คนงานไม่ว่าอายุงานเท่าไหร่ มีฝีมือการประกอบรถดีแค่ใหน
คุณก็จะถูกมองเป็นประชากรณืชั้น 2 ทันที แรงงานคุณมีค่าเท่า ค่าแรงขั้นต่ำ
แต่ ใน Germany, Italy, Switzerland หรือ Japan
ถ้าคุณทำงานในโรงงาน มีอายุงาน และมีฝีมือการทำงานสูง คุณจะได้เป็นอีก ชนชั้นนึง
ได้ค่าแรงอีกแบบนึง บางโรงงาน อย่างโรงงานปืนของ Baratta ใน Italy
บางครอบครัว ทำงานในโรงงานต่อกันมา สาม-สี่ ชั่วอายุคน คุณไม่มีวัน หาจ้างงานได้คนงาน แบบนี้ได้แน่นอนอ่ะ
ของไทย คุณลองนึกเล่นๆ ดู
จ้างช่างมาเดินสายไฟ ฉาบฝาบ้าน ก่ออิฐ 9ล9
คุณไม่มีวัน หาคนที่ทำงานได้คุณภาพดีในราคา วันละ 300 บาท แน่นอน
แล้วจริงๆ คุณอยากได้ ต่ำกว่า 300 บาทด้วย
อารมณ์ว่า จ้างคนมาเทปูนหน้าบ้านซัก 30 ตรว. เรียก 10,000 บาท คุณก็ไม่เอาแล้ว
คนงานก่อสร้างเก่งๆ มันถึงหนีไปอยู่ เกาหลีใต้ กับ ดูใบ กันหมดไงครับ เหอะๆ
แล้วตอนนี้ช่างก่อสร้างบ้านเรามันเลยกลายเป็น พม่ากับเขมรกันหมดเลย เดือนที่แล้วผมเพิ่งจ่ายค่าแรงช่างพม่าที่มาเทปูนให้ที่ทำงาน วันละ 500บาทครับ ส่วนช่างฝีมือคนไทยระดับหัวหน้างานเขาเอาวันละ 900 แล้วนะครับ
Freeware สำหรับผมมีอยู่ 2 อย่างคือ
1. หนูลองยา (เจ้าของทำมาแจก ใช้แล้วพังไม่รับผิดชอบนะ แต่ถ้ามีปัญหาที่ตัวโปรแกรมแจ้งมาถ้าว่างจะแก้ไข)
2. เอาแบบมาสร้างต่อเอง(Open source แบบ MIT ได้จะดีมาก)
(ผมไม่นับกลุ่มที่หารายได้จากผู้ใช้ว่า Freeware ผมมองว่าเป็น Adsware, Donationware มากกว่า)
ซึ่งผมรับได้ทั้ง 2 อย่างเพราะถือว่าฟรีแล้วดีเลิศอีกฝั่งไม่ได้อะไรไม่มีในโลก ของฟรีอยากให้ดีก็ต้องลงมือทำเอาเอง
freeware อะไรไม่ได้น่ากลัวอะไรนะครับ เพราะมันไม่สามารถตอบสนองความต้องการ software ในขั้นซับซ้อน หรือความต้องการะเฉพาะได้ครับ
ส่วนใหญ่ freeware จะทำเพื่อแก้ปัญหาของคนทำเอง แล้วมาแจกจ่าย ปัญหาคือ ส่วนมากทำไว้ให้พอแก้ปัญหาให้ตัวเองได้ ก็จบ ไม่ได้ต้องการคุณภาพมากมาย
หรือถ้าเป็น opensource project ที่จะได้รับการ maintenace ดีๆ ก็จะต้องเป็น project ที่แก้ปัญหาของคนหมู่มากจริงๆ ปัญหาแบบเฉพาะทาง คนกลุ่มน้อย ก็จะได้ project ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนช่วยออกแรงขัดเกลากันนัก
เพราะงั้นยังไง ก็ยังต้องมีการจ้างผลิต tailor-made software อยู่ดีครับ
หรือต่อให้มี opensource ที่ทำงานดีมากในงานนั้นๆ มันก็ต้องการคนฝึกอบรม หรือ support อยู่ดีครับ เพราะต่อให้ดีแค่ไหน มันก็ต้องใช้เวลาศึกษาการใช้งาน และคนทั่วไปก็ไม่ได้อยากจะออกแรง ก็เกิดธุรกิจอีกแบบ
ก็เลยไม่ได้รู้สึกน่ากลัวอะไรเท่าไหร่ win-win
ไม่เคยกลัวฟรีแวร์ครับ กลับกันสามารถเอาฟรีแวร์หลายๆ ตัวมาประกอบกันแล้วเสนอลูกค้าได้
สามารถคิดเงินลูกค้าเป็นงาน Support ได้ เหมาะกับกลุ่มที่งบไม่มาก และโอเคกับ Workflow ที่เรานำเสนอ (ไม่เรื่องมาก ขอแค่ตอบโจทย์ได้ระดับนึงพอ)
แถมในฐานะผู้ใช้งานยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีก ต้นทุนหายไปเยอะครับ จะไม่ดีได้ไง :)
กรณีกระทู้นี้ผมมองเป็นค่าการตลาดมากกว่านะ ทำฟรีแล้วได้ชื่อ
ดราม่าแบบนี้มีทุกวงการครับ "[[[ฟรี]]] ใครยังไม่มีช่างภาพรับปริญญาเชิญทางนี้ครับ" ถ้ามีฝีมือจริงๆ กับการวิเคราะห์ตลาดเป็นก็สามารถหาทางออกได้เองครับ