เทคโนโลยีการผลิตชิปประมวลผลอุปกรณ์พกพายังคงเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ซัมซุงที่เพิ่งใช้ชิปขนาด 14 นาโนเมตรกับสมาร์ทโฟนเรือธง Galaxy S6 ไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน ตอนนี้ประกาศความพร้อมการผลิตชิปที่ขนาด 10 นาโนเมตรแล้ว
ในการเผยแผนสู่ 10 นาโนเมตรของซัมซุง บอกว่าชิปบนเทคโนโลยีใหม่จะกินพลังงาน และใช้พื้นที่น้อยลง แต่ได้ประสิทธิภาพที่มากขึ้น โดยก่อนหน้านี้เอง ซัมซุงก็เป็นรายที่สองของโลกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ FinFET บนสถาปัตยกรรมขนาด 14 นาโนเมตร รองจากอินเทลเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น โดยซัมซุงจะเริ่มเดินเครื่องผลิตในปี 2016 แต่ยังไม่มีกำหนดการชัดเจนออกมา
ทางฝั่งคู่แข่งประเทศใกล้เคียงอย่าง TSMC ก็เคยประกาศแผนการผลิตชิปขนาด 10 นาโนเมตรเช่นกัน โดยจะเริ่มผลิตจำนวนมากช่วงปลายปีนี้ ทดสอบช่วงกลางปี 2016 และน่าจะใช้ในผลิตภัณฑ์จริงช่วงปลายปี รวมถึงขยับไปทำชิปขนาด 7 นาโนเมตรในปี 2017 อีกด้วย
ช่วงปลายปี 2016 ทั้งสามผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่างอินเทล ซัมซุง และ TSMC คงปล่อยชิปบนสถาปัตยกรรมขนาด 10 นาโนเมตรมาพร้อมๆ กันเลยครับ
Comments
ที่ 10nm เท่ากัน x86 กับ arm ใครมีประหยัดพลังงานกว่ากัน
น่าจะใช้คำว่าใครใช้พลังงานต่อประสิทธิภาพได้มากกว่าครับน่าจะยังคงเป็น x86 นะ
ปล.ใครประหยัดกว่าถ้าผมทำ CPU 1 Hz ผมก็ประหยัดที่สุดอะครับ
AMD ไปหนายยย
AMD จ้างผลิตไงครับ ไม่ลำบากต้องอัพเกรดโรงงาน แค่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมา แล้วหาพันธมิตรให้ได้ หน้าที่ผลิต ก็แล้วแต่ deal ไหนให้ดีสุด ก็รับไป
AMD กับ Nvidia เหมือนกันครับออกแบบอย่างเดียวไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง
ถ้าสองเจ้าที่ผลิตออก 10nm มาทันคราวนี้ศึก AMD ปะทะ Intel ก็สนุกแล้วครับ FinFET ทั้งคู่
intel ชักช้าจนตามกันทันหมด
intel เน้นยึดตาม tick - tock ของเขาไงครับ คิดอย่างไง AMD ก็ตามไม่ทันแน่นอน
แต่ตอนนี้พอดี เจอ พวก Arm มาอย่าง ก้าวกระโดดมากๆๆ ปกติ 1 ขนาดการผลิตปกติ intel จะใช้ประมาณ 2 ปี แต่ ตอนนี้อยู่บน 22 nm เกือบ 3 ปีแล้วด้วย เพราะว่า 14 nm ยั่งไม่พร้อมที่จะผลิตชิปขนาดใหญ่
ขณะที่ samsung พึงทำ 20 nm ได้ปีที่แล้ว แล้วก็ใส่มาใน Note 4 กับ Apple A8 พอถึง S6 ชิ่งเปลี่ยนเป็น 14 nm เลย
22/14nm อินเทลยังนำอยู่เยอะนะครับ เพราะอีกสองเจ้าลดแต่ขนาด feature ไม่ได้ลดระยะห่าง เลยไม่ไดพื้นที่ซิลิกอนเพิ่ม (ปัญหาที่เจอตอนนี้กันคือ electron มัน tunnel ข้ามสายไฟ)
อยากรู้ว่าจะลดขนาดไปได้ถึงขนาดไหนกันเชียว
นึกถึงกรณีเครื่องยนต์ F1 เลยครับ ที่ค่ายรถนึกอะไรไม่ออกก็เพิ่มรอบเครื่องยนต์อย่างเดียว จนสมาคมต้องออกข้อกำหนดไม่ให้ใช้วิธีรอบเครื่องยนต์สูงขนาดนั้น เพราะวงการยานยนต์จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการเพิ่มรอบสูงขนาดนั้น
ข้อดีของการลดขนาดคือ พื้นที่น้อยลง กินไฟน้อย ความร้อนลดลง เพิ่มทรานซิสได้มากขึ้น เพิ่มวงจรประมวลผลใหม่ๆได้มากขึ้น ไม่ใช่อยู่ๆนึกอยากจะลดก็ลดนะครับวิจัยมหาศาลเลย