โทรศัพท์มือถือทุกวันนี้หาพิกัดนอกอาคารได้แม่นกว่าในอาคารมากเพราะมี GPS การใช้ Wi-Fi แม่นยำขึ้นเรื่อยๆในช่วงหลัง (จากการที่กูเกิลเก็บข้อมูลไปเป็นจำนวนมาก) แต่ก็ยังผิดพลาดทีละหลายสิบเมตร ตอนนี้มีโครงการ Pozyx ระดมทุนใน KickStarter เพื่อผลิตบอร์ดหาพิกัดในอาคารด้วยความแม่นยำสูง ผิดพลาดเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น
Pozxy อาศัยจุดอ้างอิงเรียกว่า anchor เป็นกล่องปล่อยสัญญาณแบบเดียวกับ GPS วางไว้ในตำแหน่งที่รู้พิกัดล่วงหน้า 4 จุด บอร์ด Pozyx เองออกแบบมาเป็น Arduino shield จะรายงานพิกัดออกมาทั้ง 3 แกน x, y, z ได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้บนบอร์ดยังมี accelerometer, gyroscope, และ magnetometer เพื่อคำนวณทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนที่
ชุดเริ่มต้นมาพร้อมกับบอร์ดหาพิกัดสองบอร์ดไม่มีจุดอ้างอิง ราคา 179 ยูโร ชุดสำหรับหาพิกัดได้ต้องมีจุดอ้างอิงสี่จุด ราคา 449 ยูโร
ตัวบอร์ดเปิดให้เข้าถึง API ระดับล่างและข้อมูลดิบ สามารถใช้ทำวิจัยการหาพิกัดกันได้ด้วย
ที่มา - KickStarter
Comments
เยี่ยมครับ :)
การระบุพิกัดของตำแหน่ง Anchor ก็จะกลายเป็นตัวปัญหาซะเองว่าจะระบุตำแหน่งของตัวมันเองได้แม่นยำแค่ไหน ถ้าตำแหน่ง Anchor ผิดก็รวนหมดเหมือนกัน เช่น ตำแหน่งที่วาง Anchor ไว้ ผู้ระบุตำแหน่งบันทึกใน Anchor พลาดไป 10 เซ็น ความแม่นยำก็ไม่แม่นแหล๋ว
+1
และผมกำลังคิดว่าใช้อุปกรณ์ขนาดนี้แล้วไม่น่าได้แต่สิบเซนต์เลย มันควรจะได้เซนต์เดียวหรือระดับมิลด้วยซ้ำนะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
คลื่นวิทยุไม่ใช่เลเซอร์นะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ระบบระบุพิกัดบนโลกทั้งหลายที่ใช้อยุ่ปัจจุบันนี้ก็ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวนำนี่ครับ ไม่ได้ใช้เลเซอร์นะ ส่งสัญญาณมาตั้งไกล (นอกโลก) ยังคำนวณพิกัดได้แม่นระดับเมตรได้ ใกล้ ๆ แค่นี้ ไม่มีตัวรบกวนอะไร แทบไม่ต้องปรับแก้ค่าอะไรเลย ควรจะได้ละเอียดกว่าเยอะหรือเปล่าครับ?
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
นึกถึงหุ่นยนต์ทำงานในอาคารที่ใช้ในคลังสินค้าอมาซอน ถ้าเปลี่ยนจากแทร็กโดยเส้นเป็นจากสัญญานน่าจะลดเวลาในการทำเพื่อสำหรับแทร็กไปได้มากเลย (แถมปรับเปลี่ยนได้ใน software โดยไม่ต้องทำเส้นใหม่)
ถ้าสามารถระบุตำแหน่งในอาคารได้แม่นยำจริงๆล่ะก็ เยี่ยมสุดๆ