หนึ่งในปัญหาที่ถกเถียงกันสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์เวลาเกิดปัญหาทางกฎหมายขึ้นมา คือตัวเว็บไซต์หรือเจ้าของเว็บไซต์ จำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบต่อความเห็นที่อยู่บนเว็บไซต์ตัวเองหรือไม่ และจากคำตัดสินล่าสุดของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเมื่อวานนี้ ทำให้ระบุว่าเว็บไซต์นั้นต้องรับผิดชอบต่อความเห็นที่ถูกโพสต์ในเว็บด้วย
คำตัดสินของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เกิดจากกรณีที่เว็บท่า Delfi AS ของเอสโตเนีย มีผู้ใช้เข้าไปโพสต์ความเห็นที่ทำให้บริษัทขนส่งรายหนึ่งเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมถึงมีการขู่ผู้บริหาร ซึ่งทางเว็บไซต์ได้เอาความเห็นลงหลังจากได้รับการร้องเรียนหลังความเห็นถูกโพสต์ไปแล้วนาน 6 สัปดาห์ แต่ทางเว็บไซต์ถูกตัดสินลงโทษจากศาลของเอสโตเนียว่ามีความผิดร่วมเพราะปล่อยปะละเลยให้ความเห็นขึ้นอยู่เป็นเวลานาน ทำให้ทางเว็บยื่นร้องเรียนไปยังศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป แต่ทางศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการทำหน้าที่และการพิพากษาของศาลเอสโตเนียไม่ขัดกับอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากความเห็นของคุณ chayanin)
ผลกระทบจากคำตัดสินครั้งนี้ถือว่าสำคัญ เพราะย่อมทำให้ผู้ดูแลระบบต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลความเห็นก่อนจะเอาขึ้นเว็บไซต์ ทั้งนี้คำตัดสินดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับคำตัดสินในกรณีเว็บไซต์ประชาไทของไทย อย่างไรก็ตามการตัดสินนี้เป็นการตัดสินกระบวนการดำเนินการของศาลเอสโตเนียเท่านั้น และไม่มีผลบังคับใช้กับรัฐภาคีในอนุสัญญาอื่น
Comments
สาขัณฑ์โมเดลชัดๆ
อย่าลืมยื่นบัตร ปชช ก่อนสมัครสมาชิกเว็บนะครัช
hi, Facebook.
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เห็นด้วยครับ
พูดดีมีประโยชน์ พูดไม่ดีสมควรถูกดำเนินคดีครับ
เห็นด้วยครับ แต่ตาชั่งต้องตรง
Facebook จะล้มละลายมั้ยเนี่ย
การทำมาหากินบนสหภาพคงยากขึ้นอีกจมเลย อยากรู้ว่าจะแก้เกมยังไง
มันก็ถูกต้องแล้ว ถ้าเราเป็นเจ้าของบ้าน จะให้ใครเข้ามาอาศัยทำอะไร ก็ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้เข้ามาอาศัยด้วย ให้ที่พักพิงคนทั่วไปก็คงไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าให้ที่พักพิงผู้ร้ายย่อมมีความผิด
ผมว่าเปรียบเทียบแบบนี้น่าจะไม่ถูกต้องตรงสเกลนะครับ
คือถ้าจะเปรียบ น่าจะระดับ จังหวัด มากกว่า บ้านเราพูดถึงคนไม่ถึง 10 คน มันดูแลง่าย
แต่เวบนี่ (ผมไม่แน่ใจว่าเวบในเนื้อหาข่าวใหญ่แค่ไหน)
วันนึงมีคนเข้าไปโพส แค่ "หลักหมื่น" ก็อ๊วกแล้วครับ ถ้านะมานั่งดูตลอด
ต่ำกว่า10 = บ้าน
หลักร้อย = หมู่บ้าน
หลักพัน = ตำบล
หลักหมื่น = อำเภอ
หลักแสน = จังหวัด
ถ้าใช้สเกลตามนี้ผมว่าแฟร์นะครับ
ทีนี้มองง่ายๆคงไม่มีจังหวัดไหนป้องกันให้ไม่มีอาชญากรรมได้ 100% ผมหมายถึงไม่มีเกิดขึ้นเลยนะครับ แต่มันมีกระบวนการคือ ถ้าเกิดอาชญากรรมแล้วไปแจ้งตำรวจได้ แล้วทีนี้ถ้าตำรวจทำงานช้าถึงมีความผิด
ถ้านำมาประยุกต์ใช้ก็ง่ายๆ มีการทำผิดที่เจ้าของเวบไม่รู้ ก็รีพอร์ตได้ แต่ถ้ารีพอร์ตแล้วไม่ทำอะไรในระยะเวลาเท่าไรว่าไป(อาจจะ 24 ชม) ก็ถือว่าเวบมีความผิด
กรณี facebook ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ส่วนนึงผมคิดว่าระบบ รีพอร์ต ของเค้าค่อนข้างดีนะครับโดนแบนไวมาก
+1 ตามนั้นครับ
ความคิดเดิมที่ฝังรากลึกว่า internet เป็นโลกเสรีมันไม่มีอยู่แล้ว ตราบเท่าโลก internet นี้มีอิทธิพลต่อความคิดมากเท่าไหร่ สุดท้ายก็จะมีคนคิดที่จะควบคุมมัน
เพื่อรักษาความสงบสุขโดยรวม ผมว่าควรมีการควบคุมบ้างครับ ตราบใดที่คนใช้ internet มีทั้งคนดีและคนเลว
ไม่ว่าอะไรก็ตามมันก็จะต้องมีกฎเพื่อทำให้ระบบโดยรวมสมดุลครับ
อันนี้ ฝาก nrad6949 แก้:
European Court of Human Rights ไม่ใช่ศาลของสหภาพยุโรปนะครับ เป็นศาลที่ตั้งจาก European Convention on Human Rights ที่มีทุกรัฐใน Council of Europe เป็นเข้าร่วม (Council of Europe มีสมาชิก 47 ประเทศ รวมพวกรัสเซีย ยูเครน สวิตเซอร์แลนด์ มาซิโดเนีย ฯลฯ เป็นสมาชิกทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับสหภาพยุโรป)
อธิบายเพิ่มเติม:
ศาล ECHR นี้ หน้าที่หลักๆ คือตัดสินว่า การกระทำของรัฐต่างๆ ที่ลงนามในอนุสัญญา ขัดต่อเนื้อหาของอนุสัญญาหรือไม่
ในกรณีนี้ เว็บไซต์ Delfi ถูกตัดสินลงโทษในเอสโตเนีย ทางเว็บไซต์เลยอุทธรณ์ไปยังศาล ECHR ว่า ที่เอสโตเนียทำ ขัดต่ออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป
ซึ่งสิ่งที่ศาลตัดสินคือ การบังคับใช้กฎหมายเอสโตเนีย "ไม่ขัด" กับอนุสัญญานี้ ไม่ได้ทำหน้าที่ตัดสินตัวเว็บไซต์ และไม่มีผลว่ารัฐสมาชิกอื่นจะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายแบบเดียวกัน
นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้เคยมีคดีในอีกศาลหนึ่ง European Court of Justice (อันนี้ของ EU ดูตามกฎหมาย EU) ที่ตัดสินอีกแบบว่า การบังคับให้ hosting service จะต้องคอยสอดส่องและกลั่นกรองเนื้อหา ขัดกับกฎของ EU ไม่สามารถบังคับได้ (ซึ่ง Ars ก็วิเคราะห์ว่า ถ้า Delfi ยื่นไปศาลนี้ได้ ก็อาจจะได้คำตัดสินว่าการบังคับใช้กฎหมายของเอสโตเนียขัดกับกฎ EU เหมือนกัน
โอ ขอบพระคุณครับ แก้เรียบร้อยแล้วนะครับ ต้นทางทำให้เข้าใจว่าศาลพิพากษามาตรงๆ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
อ่านแล้วเข้าใจชัดเลยครับ
ขอบคุณครับ
อือหือ คนทำเวปท่า ต้องคอยเช็คตลอด มันนับเวลาการแจ้ง หรือนับจากที่เริ่มโพส
Rollback to Web 1.0 อ่านอย่างเดียวพอไม่ต้องแสดงความเห็นใดๆ ทำง่ายดีแถมไม่ต้องเอาขาข้างหนึ่งเข้าตารางด้วย หึหึ
ลาออกจากการเป็นศาล "สิทธิมนุษยชน" เถอะแบบนี้
ผมว่าประเทศ Estonia ประเทศเขาเล็กและประชากรค่อนข้างน้อย
แต่เป็นประเทศที่ค่อนข้างไปไกลด้าน IT การตัดสินแบบนี้คงต้องการควบคุมทุกอย่างของสื่อแบบจริงจังล่ะมั้งครับ