แผนกวิจัยของซัมซุงตีพิมพ์ผลการวิจัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนรูปแบบใหม่ที่ผลลัพธ์ออกมาได้ความจุแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
วิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ของซัมซุงพัฒนานั้นทำโดยใช้ silicon anode ซึ่งจุแบตเตอรี่ได้มากกว่าลิเทียมไอออน ร่วมกับการนำผลึกแกรฟีนมาปิดทับที่พื้นผิวชั้นนอกสุด จากการทดสอบสามารถเพิ่มความจุแบตเตอรี่ได้มากถึง 1.5-1.8 เท่าจากแบตเตอรี่ในท้องตลาด
สำหรับคนที่หวังว่าจะได้เห็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่นี้กับสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ต้องรอกันนานเสียหน่อย เพราะตัวเทคโนโลยียังอยู่ในระหว่างวิจัย และอาจใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ตัวจริงได้ สำหรับคนที่สนใจรายละเอียดของงานวิจัยนี้สามารถหาอ่านได้ที่นี่ครับ
ที่มา - Business Korea
Comments
เห็นข่าวเทคโนโลยีแบตเตอรี่แล้วดีใจทุกที
อยากให้ถึงวันที่ smartphone สามารถใช้งานเป็นอาทิตย์ได้แบบโทรศัพท์สมัยก่อน
เกี่ยวกับแบตเตอรีที่ใช้ silicon anode และข้อเสีย และการแก้ปัญหาด้วยการใช้แกลบข้าวมาทำ silicon anode เพื่อแก้ข้อเสีย
สะพานเกลือจากแกรฟีน
ในเมื่อเอาผลึกแกรฟีนมาเคลือบรอบ silicon anode นี่ก็คือการใช้แกรฟีนมาเป็นสะพานเกลือด้วยรึเปล่าครับ? ตรงนี้ผมไม่แน่ใจ
เสริมเรื่องนี้นิดนึงครับ แบตที่ใช้ silicon anode จะมีความจุสูงอยู่แล้วแต่มีข้อเสียที่เสื่อมเร็ว ประจุไฟไป 50 รอบก็แทบจะเอามาใช้งานต่อไม่ได้แล้วจากการที่เก็บไฟได้แค่ 20-30% จากความจุเริ่มต้น ซึ่งในรายละเอียดของงานวิจัยของข่าวนี้ก็ได้ระบุว่าแบตในข่าวนี้สามารถจุไฟได้ 972 วัตต์ชั่วโมงต่อลิตร และยังคงจุไฟได้ 700 วัตต์ชั่วโมงต่อลิตรหลังจากประจุไฟไป 200 รอบ
จุดที่ทำให้แบตที่ใช้ silicon anode เสื่อมเร็วเกิดจากการแต่ปัญหาของซิลิกอนคือ มันจะขยายตัวอย่างมากขณะอัดประจุ ขั้วแอโนดซิลิกอนขณะอัดประจุอาจจะมีปริมาตรมากกว่าขณะคายประจุถึง 300% การบวมๆ หดๆ ของซิลิกาทำให้โครงสร้างขั้วแอโนดเกิดรอยร้าวหรือผิดรูปไป (ก็อบจากข่าวแรก) ซึ่งในข่าวแรกที่ลงก็เปลี่ยนไปใช้ silicon anode ที่เป็นรูพรุน ช่วยได้ตรงที่พอมันพรุนอยู่ เวลาขยายตัวมันก็ขยายแทนพื้นที่รูพรุน แล้วมันก็จะขยายออกมารอบตัวแค่นิดเดียวครับ
ส่วนในข่าวนี้เป็นการใช้แกรฟีนมาพันรอบ silicon anode ไว้ และในเมื่อแกรฟีนคือชั้นของผลึกคาร์บอนที่หนา 1 อะตอม ทำให้เมื่อ silicon anode ขยายตัวก็จะถูกกราฟีนนี้คุมไว้ไม่ให้เกิดการผิดรูปในขั้นขยายตัว โดยแกรฟีนจะเลื่อนเป็นชั้นๆ เพื่อรองรับการขยายตัวนี้ ตามภาพในที่มา
ไม่มั่นใจเท่าไหร่ ช่วยจับผิดด้วยครับ
*สองข่าวข้างต้นไม่ได้ลงเพื่อบอกว่าข่าวนีไม่ใช่ของใหม่นะครับ ข่าวนี้เป็นของใหม่แน่นอน
อยากให้ซื้อมาแล้วไม่ต้องชาจทั้งชาติ
แบบชาร์ทไร้สายระยะไกลไง ไฟฟ้าวิ่งไปในอากาศได้ไกลแบบคลื่นวิทยุ ญี่ปุ่นทดลองทำได้แล้ว 1 เมตร คงต้องรอนานหน่อยมั้งกว่าจะไปได้ไกลกว่านี้ - -
เอาแบบ วิทยุแร่ไหมครับ ^ ^'' วิทยุแบบไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
อันนี้น่าเป็นไปได้มากสุด https://en.wikipedia.org/wiki/Atomic_battery
กำลังจะมาบอก ต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์แล้วล่ะ
มันระเบิดได้ไหม =_=
ลองแบบ Ulysse Nardin Chairman ทำดูเป็นไง
เอาตัว Automatic Winding แบบในนาฬิกามาติดใส่มือถือแล้วให้มันไขลานชาร์ตแบตมือถือไปเองในตัวเวลาที่เราขยับเคลื่อนไหวใส่กระเป๋าไปไหนต่อไหน หลักการทำงานเหมือน Automatic Winding ของนาฬิกาเลย
แต่ตอนนี้ทำได้แค่แบบ hybrid เพราะแบตเตอรี่หลักก็ยังต้องชาร์ตสาย USB อยู่ดี
ถ้าในอนาคตทำให้เป็นตัวชาร์ตหลักได้ คราวนี้ก็ไม่ต้องชาร์ตตลอดไปเลย ^_^"
มีแบบรับจากประจุไฟฟ้าในอากาศแล้วครับ แต่พลังงานต่ำมาก
ลิเธียม => ลิเทียม
ต้องสร้าง ตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้องให้ได้ก่อน ถ้าได้แล้วจะถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมเลยทีเดียว อุปกรณ์ไฟฟ้าจะใช้พลังงานที่ต่ำมากๆ เพราะจะไม่เสียไปกับความร้อนอันเกิดจะความต้านทานของไฟฟ้า ประมาณว่า มือถือจะผลิตไฟฟ้าเองได้เพียงพอกับการใช้งาน แบตเตอรี่จะเป็นเพียงพลังงานสำรอง คล้ายๆกับนาฬิกาโอโตนั่นแหละ
ตอบ reply comment แต่ดันได้ comment ใหม่เพราะมีคนตอบ comment ก่อน ลบก็ไม่ได้
นอกจากจะสร้างได้แล้ว ต้องสร้างให้ได้จำนวนมาก และจะดีขึ้นถ้าได้จำนวนมากในราคาไม่สูงมากนะครับ ;)
ตัวนำยิ่งยวด ผมว่ายังอีกนาน ไม่รู้จะได้อยู่ทันเห็นหรือป่าว ฮ่าๆๆๆ
ถ้าพูดให้ถูก "ตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้อง" เพราะตัวนำยิ่งยวดจริงๆแล้วมันก็มีมาเป็นร้อยปีแล้ว ที่สำคัญ ตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้อง ก็ทำได้แล้วด้วย https://jusci.net/node/3385 ทีนี้เหลือแต่ลุ้นให้ทันได้เห็นก่อนตายแค่นั้น
ตามหลักอะไรที่เพิ่งค้นพบจะต้องรอไปประมาณ 10 ปีถึงจะวิจัยจนสามารถเอามาใช้งานจริงในระดับแมสได้
รอแก่งั่กเลยทีเดียว
แต่ตอนเปิดตัวมือถือใหม่ ทุกคนหวังได้มือถือขนาดเท่าเดิมที่มีความจุจาก 2500 เป็น 5000
กลับได้มือถือที่บางลง 3 มิลแต่ความจุ 2500 เท่าเดิม
คำถามคือ...เพื่อ? ทำไมไม่หนาเท่าเดิม แต่เพิ่มความจุ...
เท่าที่สังเกตเห็นมือถือแบรนด์ดัง ๆ เน้นดีไซน์ เอาความบางสู้กัน
(แล้วก็มาอวยกัน นี่นะ มันบางลงเหลือ 2.71 มิล ในขณะที่แบตความจะเท่าเดิมเชียวนะ ใช้หั่นหัวหอมได้ด้วย)
แต่มือถือจีนเน้นยัดแบต จนแบบเรียกได้ว่าเหมือนมีพาวเวอร์แบงค์แปะอยู่หลังมือถือ ฮา ๆ