ในวันนี้ที่ประชุม กทค. ได้อนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนจะนำประกาศนี้ขึ้นที่ประชุม กสทช. ในวันที่ 14 กรกฎาคม ก่อนที่จะเข้าสู่การทำประชาพิจารณ์ในวันที่ 17 กรกฎาคมที่จะถึงนี้
สาระสำคัญของร่างประกาศนี้คือการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูล ซึ่ง คณะกรรมการ กทค. ได้ข้อสรุปว่าราคาเริ่มต้นการประมูลจะใช้ราคาที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ทำการสำรวจมาให้ คณะกรรมการ กทค. เมื่อปี พ.ศ. 2557 (MHz ละ 663 ล้านบาท) ก่อนที่ คสช. ได้ออกคำสั่งเลื่อนการประมูลออกไป หรือก็คือการประมูลรอบนี้จะประมูลทั้งหมด 2 ใบอนุญาต ปริมาณใบละ 12.5 MHz และมีราคาเริ่มต้นที่ 11,600 ล้านบาท หรือ 70% ของราคาสุทธิตามที่ ITU สำรวจมาให้เมื่อ พ.ศ. 2557 และถ้าเกิดว่ามีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต (ในที่นี้คือ 2 ใบ) ก็ให้กลับมาใช้ราคาเต็มคือ 16,575 ล้านบาท รวมถึงนำข้อเสนอเรื่องการถือครองคลื่นความถี่ไม่เกิน 60 MHz มาบังคับใช้ในร่างประกาศนี้ด้วย
โดยคณะกรรมการ กทค. ชี้ว่า ที่เลือกใช้ราคาตั้งต้นเดิมของเมื่อปี พ.ศ. 2557 เกิดจากการเห็นว่าความต้องการในการใช้คลื่นความถี่ของประเทศนั้นอยู่ในอัตราที่สูงมาก และถ้า กทค. ทำการลดราคาประมูล ตามที่ ITU ได้เสนอมาครั้งล่าสุด (MHz ละ 603 ล้านบาท) ก็จะเกิดข้อสงสัยแก่หน่วยงานตรวจสอบ จนอาจทำให้ คณะกรรมการ กทค. มีความผิดฐานเอื้อผลประโยชน์ให้กับเอกชนด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในขั้นสุดท้ายได้ หลังจากการทำประชาพิจารณ์ในวันที่ 17 กรกฎาคมนี้ ซึ่งถ้าผู้ใดไม่เห็นด้วย ก็ขอให้ชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในระหว่างการทำประชาพิจารณ์ด้วยครับ
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
Comments
ช่วยกันลงขันจ้างรายที่3 มาประมูลแข่งได้หรือเปล่าครับ ฮา
ได้สิครับ WIN-WIN-WIN
@TonsTweetings
น้อยกว่า 2 ก็เท่ากับว่ามี คนประมูลคนเดียวหรือเปล่าหว่า
น้อยกว่าหรือเท่ากับสองครับ
แต่หัวข่าว เขียนแค่ น้อยกว่า อย่างเดียว อาจจะทำให้หลายคนสับสน
เห็นด้วยครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
11600 x 70% = 8120
19720
เขาคำนวนกันท่าไหนได้แค่ 16,575 อะครับ
ส่วนเรื่องถือครองความถี่ไม่เกิน 60 MHz ผมคิดว่ายังไง DTAC ก็เข้าร่วมประมูลได้อยู่ดี โดยส่ง DTN เข้าร่วมประมูลเพราะตอนนี้ DTN มีความถี่อยู่แค่ 15 MHz คือย่าน 2100
เรื่องถือครอง กฎเช็คย้อนหลังตั้งแต่บริษัทเข้าประมูล บริษัทแม่ บริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งพฤตินัยและนิตินัย หรือก็คือกฎนี้ทำออกมากันดีแทคถือคลื่นมากกว่านี้ทุกทางครับ
ถามว่าลงได้ไหม อันที่จริงคือลงได้ครับ แต่ดีแทคต้องขอใช้สิทธิ์ถือครองเกินกำหนดก่อน แล้วเมื่อประมูลเสร็จ ถ้าได้ก็ต้องเดินเรื่องคืนคลื่นแก่เจ้าของ (CAT) ให้ไม่เกินตามที่กทค. กำหนดครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ประมูลได้ครับ
แต่มีเงื่อนไขคือ ถ้าประมูลได้คลื่น block ใหม่มาแล้ว จะต้องคืนคลื่นที่ถือครองอยู่ก่อนนั้น ไม่น้อยกว่า จำนวนที่ประมูลได้ในครั้งใหม่ครับ
ยกตัวอย่าง ประมูลปี 2558 นี้ สมมตินะครับ ว่า dtac ได้ 1800 ไป 12.5MHz แล้วยังได้ 900 ไปอีก 10MHz
สิ่งที่ dtac ต้องทำคือ คืนคลื่น ในที่นี่ผมขอทึกทักว่าเป็น 1800 25MHz ที่ไม่ได้ใช้งาน ไม่น้อยกว่า 22.5MHz กลับไปครับ
ข่าวเขียนไม่ตรงครับ (รบกวนผู้เขียนแก้ด้วย)
ถ้าตามต้นทางในประชาชาติฯ บอกว่า
ซึ่งก็คือ 11,600 เป็น 70% ของ 16,575 ครับ ไม่ใช่ขึ้นมา 70%
แก้แล้วครับ ขอบคุณครับ
สรุป คลื่น 1800MHz
AIS ลอยตัวได้ไปก่อนแน่ๆ อาจแพงหน่อยที่ราคา 16,575 ล้านบาท ลุ้นเจ้าอื่นๆเอาว่าจะลงไหม(ถึงมีคนแข่งแต่ AIS คงเอาแน่ๆ)
DTAC ถ้าอยากได้คลื่นของตัวเองก็ลงประมูลซะ จะได้ลงทุนจริงจังกับสัมปทานของตัวเองซักทีไม่ใช้ทำกั้กๆแบบทุกวันนี้ แต่ต้องแลกกับที่ได้มาจาก CAT
TRUE คงดูท่าที ถ้า DTAC ลงประมูล เดาว่า TRUE คงเอาด้วย อย่างถ้า DTAC ไม่สู้ราคาที่ต้องการก็เป็นตัดขา DTAC ไป แล้วยังได้คลื่นมาไว้ใช้ยาวๆ (ถ้ามีแค่ AIS ลง TRUE คงปล่อยให้ AIS เอาไปก่อน)
รอดู 4G AIS น่ะครับ เพราะยังไงผมก็ชอบบริการ AIS มากที่สุด (ถึงจะแพงกว่าชาวบ้าน) มาสักกุมภาปีหน้าครบโปร สุขคูณ3พอดีย้ายกลับแน่ๆ ตัดบัญชีโดนบิลมั่วมา2เดือน เซ๊งจริง