ร่างกฎหมาย Investigatory Powers Bill (IPB) ที่รวมเอากฎหมายความมั่นคงด้านการดักฟังเข้าสู่การพิจารณาของสภาอังกฤษในวันนี้ เสียงตอบรับจากฝั่งสื่อมวลชนและองค์กรสิทธิไม่ดีนัก ตัวร่างกฎหมายถูกตั้งชื่อเล่นเป็น Snooper's Charter หรือร่างก่อตั้งหน่วยงานดักฟัง
Theresa May รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษ ผู้ผลักดันกฎหมายฉบับนี้พยายามเน้นว่ากฎหมายฉบับนี้มีช่องทางการตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างรัดกุม โดยการดำเนินการทั้งหมดต้องได้หมายจากตัวรัฐมนตรีเองพร้อมกับตรวจสอบซ้ำจากตุลาการ และอนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน ยกเว้นภาวะฉุกเฉินที่ให้อำนาจรัฐมนตรีโดยตรงอนุญาตได้ไม่เกิน 5 วัน
อำนาจถูกแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การดักฟัง, การขอข้อมูลการสื่อสาร, การเข้ารบกวนอุปกรณ์ (แฮก), การดักฟังเป็นชุด, และการขอข้อมูลส่วนบุคคลเป็นชุด โดยสามอำนาจแรกจะให้กับหน่วยงานดูแลกฎหมายทั่วไป ส่วนสองอำนาจหลังจะให้กับหน่วยงานด้านความมั่นคงเท่านั้น
May แก้ข้อกล่าวหาที่ระบุว่ากฎหมายฉบับนี้จะห้ามไม่ให้มีการเข้ารหัสแบบ end-to-end โดยระบุว่ากฎหมายบังคับให้ผู้ให้บริการต้องช่วยเหลือหน่วยงานสอบสวน "อย่างสมเหตุสมผล" เท่านั้น
หลังการเปิดเผยเอกสารจำนวนมากของ Edward Snowden หน่วยงานด้านความมั่นคงสำคัญอย่าง NSA และ GCHQ พยายามปกป้องการดักฟังของตัวเองว่าสมเหตุสมผลและมีการตรวจสอบ เพื่อขอความชอบธรรมให้กับกิจกรรมการดักฟังของหน่วยงาน กฎหมาย IPB ก็ออกมาพร้อมกับรายงานความโปร่งใส และยอมรับว่าที่ผ่านมากระบวนการดักฟังเองก็มีความผิดพลาด เช่นในปี 2014 มีการตรวจสอบพบความผิดพลาด 60 กรณี เช่น ดักฟังผิดตัว, ข้อมูลมากเกินความจำเป็น, เก็บข้อมูลไว้โดยไม่มีอำนาจ, ไม่ทำตามกระบวนการยกเลิกการดักฟังอย่างถูกต้อง เป็นต้น
ที่มา - ร่างกฎหมาย IPB, The Guardian, ArsTechnica
"It's only communications data" = "It's only a comprehensive record of your private activities." It's the activity log of your life. #IPBill
— Edward Snowden (@Snowden) November 4, 2015
Comments
ตรงไหนคือ ล๊อกสองชั้นครับ อ่านแล้วงง
ขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีให้ออกหมาย แล้วตรวจสอบโดยตุลาการอีกชั้นครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ
ผมไปเข้าใจเป็นล๊อกอีกแบบเลย 555
เรื่องห้ามไม่ให้มีการเข้ารหัสแบบ end to end นี่มันห้ามได้จริงๆ หรือครับ?
ถ้าเป็นกรณีพวกแอพแชทต่างสัญชาติ เอาอย่าง WhatsApp หรือ iMessage ก็ได้ เขาเข้ารหัส end to end ไว้เป็นพื้นฐานของแอพอยู่แล้ว และใช้แบบนี้ทั่วโลก อยู่ดีๆ รัฐบาลอังกฤษบอกห้ามเข้ารหัสแบบ end to end นี่จะไปมีผลบังคับใช้กับเขาได้อย่างไรล่ะครับ?
ง่ายจะตายครับ เจ้าของบริการก็แค่ "ปิด service ไม่ให้คนในประเทศนั้นๆ ใช้"
ปัญหาของ end-to-end คือจริงๆ แล้วๆ ผู้ให้บริการเป็นแค่ผู้ "อำนวยความสะดวก" (ช่วยยืนยันตัวตน ฝังเขาไปกับซอฟต์แวร์) ครับ ทั้งหมดคือกุญแจสร้างที่เครื่องปลายทางสองข้าง แล้วคุยกันเอง
นึกสภาพ PGP/GPG ทุกวันนี้สามารถส่งผ่านบริการอีเมลได้ทุกเจ้า ผู้ให้บริการไม่ต้องทำอะไรก็ใช้งานกันได้อยู่แล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
ทำไมเก่งจังครับ ผมไม่รู้เรื่องเลย
เขียนได้ดีกว่าของไทยครับ แต่ยังไงก็ไม่ชอบอยู่ดี
ทางสายกลางระหว่าง
"การไม่มีสามารถดักข้อมูลใดๆได้เลย" จนกระทบต่อความมั่งคง และศักยภาพการพิสูจน์หาหลักฐานเพื่อใช้ในชั้นศาล
กับ
"การดักข้อมูลใดๆก็ได้ตามที่รัฐต้องการ" จนกระทบต่อความเป็นส่วนตัว
ก็คือ กฎหมายที่กำหนดขั้นตอน และ จำกัดการสิทธิในการดักนี่แหละ
เอาจริงๆ เรื่องนี้ไม่มีทางสายกลางครับ
ประชาชนที่มีความรู้จะรู้ดีว่าถ้า lock ในแบบที่ให้คนอื่นเปิดใด้ สุดท้ายช่องทางดังกล่าวก็จะโดนผู้ที่ไม่ประสงค์ดีแอบเอาไปไช้
ส่วนหน่วยงานที่ดักฟังก็ต้องการขอเพิ่มทีละนิด วันนี้ 50% พรุ่งนี้ 75% ไม่ก็รอให้เรื่องเงียบแล้วก็แอบผุดขึ้นมาใหม่อย่าง cispa
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
6 เดือน/5 วัน นี่ถือว่านานมาก อีกอย่างคือรัฐบาลเองมั่นใจแค่ไหนว่าตัวเอง+ลูกน้องตัวเองจะไม่ใช้อำนาจเกินที่มีอยู่? ได้ 5 วันยาวไปถึงเดือนนึงนี่เป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่มีใครบอก ไม่มีใครถาม เพราะอำนาจอยู่กับตัวเองอยู่แล้ว
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)