เหลือเวลาอีกสองวัน ก็จะถึงวันประมูลคลื่น 900 MHz ซึ่งนับเป็นการประมูลที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่สองในปีนี้ แต่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา แจ้งผลวินิจฉัยข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอที (สรท.) ว่าทีโอทีเป็นผู้มีสิทธิ์ในคลื่นความถี่ดังกล่าว
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินชี้ว่า คลื่น 900 MHz ที่หมดสัญญาสัมปทานไปนั้น ถือว่าเป็นสิทธิ์ของทีโอที เพราะทีโอทีต้องใช้คลื่นดังกล่าวในการบริหารโครงข่ายและให้บริการลูกค้า AIS 2G ที่รับโอนมาจากเอไอเอสต่อไป และจากการที่ กสทช. ออกข้อกำหนดให้กับคลื่นที่หมดสัญญาสัมปทาน เหมารวมถึงการหมดสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่โดยเจ้าของสัญญาสัมปทาน และต้องเข้าสู่กระบวนการจัดสรรคลื่นใหม่โดย กสทช. นั้น ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ของทีโอทีโดยปริยาย
ทั้งนี้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ขอให้ทีโอที และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรีบปกป้องสิทธิ์โดยชอบธรรมของตัวเอง ด้วยการให้ทีโอทีดำเนินการฟ้องศาลปกครองด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นผู้เสียหายโดยตรง โดยถ้าหากทีโอทีเพิกเฉย ไม่สนใจ และไม่ป้องกันบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ผู้ตรวจการแผ่นดินก็จะถือว่าผู้บริหารของทีโอทีทุกคนมีความผิดตาม พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ต่อไปครับ
ที่มา - หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Comments
อ้าว
โหดจริงๆครับ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่อย่างว่า ว่า TOT เป็น รัฐวิสาหกิจ
เค้าก็ต้องปกป้องสิทธิ ของเค้า นับถือนะ (y)
คนนี้มายังไง ตัวละครลับ?
อันนี้ในข่าวตอนแรกตกประเด็นสำคัญไปครับ คือ สหภาพ TOT ไปร้องผู้ตรวจฯ ก่อน คราวนี้ผู้ตรวจฯ เลยส่งหนังสือกลับมาหาทุกคนครับ
รวมหัวกันแล้วครับ...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
มาตามนัด
โอยยยย สับสนงงงวยไปหมด
อย่าเอาคลื่นไปทิ้งเปล่าฟรีๆให้กับ TOT เลย
มายังไงเนีย
ทันมั้ย อีก 2 วันจะประมูลแล้ว
ิยากให้ประชาชนมีสิทธิ์ยื่นฟ้องหรือระงับยับยั้งหน่วยงานที่กำลังนำทรัพยากรของชาติไปใช้อย่างไม่เกิดประโยชน์ได้ย้างจัง
ปัญญาอ่อน ได้คลื่นก็ไม่ทำอะไร ส่วนสำนักฯ ก็เข้าข้างแต่ราชการทั้ง ๆ ที่รู้ว่าหน่วยงานไร้ประสิทธิภาพ ไม่มีการพัฒนา ประเทศชาติจะเจ๊งก็เพราะเรื่องพวกนี้เนี่ย
Get ready to work from now on.
สิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของชาติตกอยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรที่ไร้ความสามารถ
อืม แล้วข่าวเก่านี่หละ นายก ท่านว่าไง
นายกรัฐมนตรีสั่งเดินหน้าแผนการประมูลคลื่นความถี่, หากใครขัดขวาง "ผิดกฎหมาย"
ชิวๆ เดี๋ยวถ้าฟ้องชนะ แล้ว MVNO กับ AIS ต่อ เชื่อผม ผมเรียนมา อิอิ
เหลืออีก 2 วันเพิ่งจะมาตระหนักรู้ ? ไม่อยากจะแสดงความคิดเห็นใส่ความใคร แต่เอาเป็นว่ารู้กันว่าเพราะอะไร
That is the way things are.
จากรายได้การประมูลของ 1800MHz แบบสูงลิ่ว ผมเชื่อว่าท่านผู้นำจะหงายการ์ด ม.44 ออกมาครับ
มีข่าวตั้งแต่วันที่ 11 แล้วครับ
วันที่12 กสทช ออกมาเตือนแล้วว่า
ใครได้ใบอนุญาติไปห้าม ให้บริษัทอื่นดำเนินการแทน
เหมือนช่องทีวี ตามมาตรา 46
เพื่อป้องกันการฮั๊วกัน เช่น ให้true
ประมูลได้แต่ 3 บ. เอาคลื่นมาแบ่งกัน
แบบนี้ทำไม่ได้
หมายความว่า tot ได้คลื่นไม่มีใบอนุญาติ
ก็ให้บริการไม่ได้ หักคอให้ กสทช. ออกใบให้ จะจ้างใคร
หรือสัมปทาน ประกอบการแทนก็ทำไม่ได้ นะจ๊ะ...
กรณีนี้ครอบคลุมแค่ระบบสัมปทานใช่ไหมครับ ไม่ได้คลุมถึงคลื่นที่ tot ถืออยู่ซึ่ง tot สามารถเอาไปให้ชาวบ้านเขาเช่าได้โดยไม่ผิด
หน้าที่ของผู้ตรวจการ?
ถ้าใช่ ทำไมต้องส่งหนังสือถึง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอทีด้วย
คือจะเอาพวกเข้าข่มอีกละสิ เบื่อ ยุบๆไปเถอะ ทั้งสหภาพ ทั้ง tot เลยอยู่ไปก็ไร้ประโยชน์
มาจากไหนนี่
เพิ่มข่าวเก่าด้วยก็ดีครับ
ทีโอที ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน สอบ กสทช.ทำรัฐเสียหาย 6.3 หมื่นล.
คหสต. มองว่าผู้ตรวจการแผ่นดินก็ต้องทำตามหน้าที่ของเขา
เดี่ยวๆ TOT มีสภาพเป็นบริษัทมหาชนสามารถใช้พรบ.นี้บังคับได้ด้วยเหรอ?
เป็นบริษัทที่ส่วนราชการถือหุ้นรวมมากกว่าร้อยละห้าสิบ หรือรัฐวิสาหกิจครับ
นั่นสิ เป็นแค่บริษัทที่มีรัฐถือหุ้นนี่ ไม่ได้เป็นราชการ
แล้วตอน 1800 ผมว่าเคสก็น่าคล้ายๆกันนะครับ
ทำมไผู้ตรวจการแผ่นดินถึงไม่สั่งบ้าง?
+1 ต่างจาก 1800 อย่างไร
ถ้าสำเร็จ การยกเลิก 2G ก็จะล่าช้าไปอีกหลายปี ม่ายๆๆๆ.
รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ เขาได้กำหนดบทบาท อำนาจ และหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นของ กสทช. ไว้อย่างไรครับ?
ก็ถือว่า กสทช. มีอำนาจเต็มในการบริหารคลื่น และจัดประมูลได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดบทบาทไว้เลย
อยู่ดีๆ มีตัวละครลับโผล่มา มาบอกว่า TOT มีสิทธิ์โดยชอบธรรมในคลื่น แถมบอกว่า กสทช. ละเมิดสิทธิ์โดยชอบธรรมของ TOT เนี่ยนะ แบบนี้ก็ไม่สนกันแล้วใช่มั้ยว่ากฏหมายสูงสุดของประเทศ เขาบัญญัติกันไว้ยังไง
เข้าใจว่าสำนักงานตรวจการแผ่นดินก็ได้ทำตามหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์องค์กรของรัฐ แถมบีบให้ทางผู้บริหาร TOT ฟ้องศาลปกครองอีกไม่งั้นจะมีความผิด จะแบบนี้เหลือหรือครับ ยังไงผู้บริหารก็ต้องออกมาฟ้องสิ ให้ทางซะขนาดนั้น
แต่ฟ้องไปยังไงก็แพ้ (รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่ายังไง) แถมจะทำให้กระบวนการประมูลล่าช้าไปเปล่าๆ แบบนี้สำนักงานตรวจการแผ่นดินพร้อมจะรับผิดชอบมั้ยครับ กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจและรายได้ของรัฐทางตรงที่ได้จากการประมูล? ตัวเลขไม่รู้ตั้งเท่าไหร่กับค่าเสียโอกาสหากการประมูลต้องเลื่อนออกไป ซึ่งสุดท้ายคลื่นก้อนนี้มันก็ต้องถูกประมูลอยู่ดีเพราะถูกกำหนดไว้แล้วโดยรัฐธรรมนูญ แค่จะเล่นเกมยื้อเวลา(เจ๊งของ TOT)กันเท่านั้นเอง
แต่ยุคนี้ เชื่อว่ารัฐบาลอยากได้เงินก้อนจากการประมูลมากกว่า นายกมีอำนาจแบบนี้ จบเกมได้ไม่ยาก ขออำลา TOT ไว้ล่วงหน้าเลยแล้วกัน บ้ายบาย
ถ้าฟ้องปุ๊ป ศาลปกครองจะออกมาตรการคุ้มครอง การประมูลคลื่นความถี่ก็ต้องยืดออกไปอีก
ผู้บริหาร TOT เคยลาออก ยกชุดมาแล้วครับ ตอนที่สหภาพบีบให้ ฟ้อง AIS เหยียบแสนล้าน
จน AIS เบื่อส่งคืน ทั้งคลืนและ hard ware ให้ทั้งหมดครับ ไม่กี่เดือนมานี่เอง
ชุดปัจจุบัน คือ ชุดที่เหมือนเลื่อน ตำแหน่งขึ้นมาเป็น บอร์ด
ยังมีเวลาพรุ่งนี้อีก 1 วัน ตัดสินใจยื่นใบลาออกยกชุด ยังทันครับ
ไม่งั้นจะมีปัญหาทางกฏหมาย ใส่ตัวเยอะจนอาจจะต้องเดิน
เข้าๆ ออกๆศาล ตลอดอายุที่ยังเหลืออยู่ครับ
http://pantip.com/topic/34247073
ตามนี้ครับ
ไม่ว่าจะยังไง ก็ไม่เกี่ยวกับ AIS ครับ เพราะส่งคืนหมดแล้ว มีคลื่น 1800 แล้ว
เราสองคนก็จบกันฮะ TOT
LOL
ง่าวไปเลย tot จะฟ้องเขา เขาเลยคืนให้หมดเลยอดฟ้องไม่พอสถานการณ์ บ.ตัวเองยิ่งเตี้ยลงสาละวันเตี้ยลง
สุดท้ายต้องกลับมาง้อเขาให้เช่าคลื่นเราใหม่นะเตง
ลิงได้แหวน ไก่ได้พลอย
ถ้าฟ้องได้แล้วคลื่น 900 กลับมาเป็นของ tot ผมว่า ais ยิ้มครับ
เพราะเหมือนกับตัวเองสามารถเช่าคลื่นนี้มาใช้ได้เลย tot ก็ยิ้มเหมือนกันว่าได้เป็นเสือนอนกินต่อไป
ผู้ตรวจมาเกือบจะไม่ทัน งานนี้มีลุ้นว่าจะประมูลสำเร็จหรือเปล่า
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ทำไมผมได้กลิ่น Fast 7
ถือว่าเป็นอัลติม่าเวพ่อนไหมครับ
เคสนี้ไม่น่ามีปัญหาหรอกครับ การ์ดกับดักเบอร์ 44 หมอบรออยู่แล้ว
มองในแง่ความถูกต้อง มันก็ควรเป็นของ TOT นะครับ สมมุติคุณมีทรัพย์สินอยู่แล้วให้คนอื่นเช่า แล้วสัญญาระบุไว้ว่าหมดสัญญาให้ส่งทรัพย์สินคืนให้คุณเอาไปใช้ต่อ แต่พอหมดสัญญาจะเอาคืนมาใช้ดันโดนผู้มีอำนาจริบไปซะงั้น
ปัญหาคือ กสทช มีสิทธิไปริบคลื่นที่เค้ามีเจ้าของอยู่ได้หรือเปล่า ถ้าริบได้แล้วโดนเขาฟ้องเรียกค่าเสียหาย กสทช จำเป็นต้องจ่ายไหม ??
ปล. ทุกคนก็พอจะรู้ว่าถ้า TOT ได้ไป จะบริหารให้เกิดประโยชน์สู้เอกชนคงทำไม่ได้ อารมณ์เหมือนได้ไปเสียของ การตัดสินคดีนี้อาจจะต้องเลือกระหว่างความถูกต้องหรือผลประโยขน์เป็นหลัก
ตกลงคลื่นเป็นของประเทศหรือขององกกรค์ TOT ครับ?
คลื่นในปัจจุบันถือเป็นทรัพย์สินของประเทศครับ ไม่มีเจ้าของ มีแต่ให้สิทธิ์ใช้งาน
อันนี้ตามหลักจริยธรรมนะครับ
อันนี้ตามหลักกฎหมายนะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ชัดเจนที่สุดแล้ว
ตอนนี้ถ้าผู้บริหาร TOT ไม่ยอมลาออกก็ต้อง ฟ้องให้แพ้ เพราะศาลคงจะยินกฏหมายสูงสุด ทีนี้ TOT ไม่มีความผิดให้ ผู้ตรวจการฯ ฟ้องแน่ๆ เพราะศาลตัดสินแล้ว
ตามความเป็นจริง กสทช. มีสิทธิ์และอำนาจเต็มในการริบคลื่นครับ
หากมองแบบผิวเผินและไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด หลายคนอาจคิดว่าคลื่นนี้เป็นสมบัติของ TOT และเหมือนว่ามี กสทช. เป็นตัวละครร้ายจะมาฉกชิงเอาคลื่นไป แท้จริงแล้วคลื่นนี้ไม่ได้เป็นสมบัติของ TOT มานานจะร่วม 20 ปีแล้วล่ะครับ
เพราะ รัฐธรรมนูญ ตั้งแต่สมัยปี 2540 กำหนดให้ คลื่นความถี่ ถือเป็น "สมบัติของชาติ" โดยจะต้องมีองค์กรอิสระที่คอยกำกับดูแลจัดสรรและให้สิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ และพอกลายเป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็สานต่อเจตนารมย์เดิม โดยรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้บัญญัติไว้ว่า
"คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ซึ่งก็กลายมาเป็น พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และกำเนิดองค์กรกำกับดูแล คือ กสทช. ในปัจจุบันอย่างที่เราทราบกันนั่นเอง (หลักการและเหตุผลคือ คลื่นวิทยุเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด จึงต้องตกเป็นสมบัติของชาติ และได้รับการจัดสรรอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ องค์กรใดจะมายึดครองเอาไว้เองไม่ได้)
ดังนั้น ความเป็นเจ้าของคลื่นของ TOT และ CAT จึงตกไปโดยปริยาย ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมา องค์กรเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ถือครองคลื่นเองได้อีก (รวมทั้งคลื่นคงามถี่ต่างๆ ที่ครอบครองโดยทหาร และองค์การสื่อสารมวลชนต่างๆ ด้วยเช่นกัน) และคลื่นต้องตกเป็นสมบัติของชาติ โดยมี กสทช. เป็นองค์กรที่ได้รับอำนาจในการกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่โดยชอบธรรมตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
ความถูกต้อง คือต้องยึดกฏหมายสูงสุดของประเทศเป็นหลัก คือรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ได้กำหนดไว้ว่า กฏหมายอื่นใด จะมาขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ ในเมื่อกฎหมายสูงสุดของประเทศกำหนดไว้แบบนี้ ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม จะอ้างว่าตัวเองเป็นเจ้าของคลื่นมาก่อนและจะไม่ยอมคืนก็ไม่ได้แล้วครับ
โดยหลักการแล้ว ย้อนไปในสมัยนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เช่นนี้ องค์กรที่เคยถือครองคลื่นเอาไว้ก็ต้องหมดสิทธิ์ในคลื่นนั้น และคลื่นทั้งหมดก็ต้องส่งคืนให้องค์กรที่กำกับดูแลเพื่อให้มีการจัดสรรใหม่ แต่ในความเป็นจริง คณะผู้ร่าง พรบ. กสทช. เขาก็เข้าใจถึงสถานการณ์ในตอนนั้น คือทั้ง CAT และ TOT ยังพึ่งพาคลื่นในการให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนอยู่ และเป็นการติดสัญญาระยะยาวกับทางเอกชนด้วย จึงกำหนดให้องค์กรเหล่านี้ยังมีสิทธิ์ในการถือครองคลื่นเพื่อการสัมปทานต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน หลังจากนั้นต้องส่งคลื่นคืนให้ กสทช. มาจัดสรรใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้บัญญัติชัดเจนไว้ใน พรบ. แล้ว
องค์กรอย่าง CAT และ TOT ก็ทราบมานานหลายปีแล้วว่าจะต้องเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการ "หยวน" ให้แล้ว กสทช. ไม่ได้ริบคลื่นในทันที และให้เวลาในการเปลี่ยนผ่านมานานพอสมควร มีเวลาหลายปีในการปรับตัวขององค์กรที่พอหลังจากหมดอายุสัมปทานนี้ไป ก็จะต้องส่งคลื่นคืนรัฐ และองค์กรเหล่านี้จะต้องร่วมประมูลเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการใช้คลื่นสำหรับประกอบกิจการเองเฉกเช่นเอกชนรายอื่นๆ ทั่วๆ ไป คำถามคือ TOT พร้อมสำหรับการปรับตัวตรงนี้ไหม หรือเวลาที่ผ่านมาหลายปีไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วพอถึงเวลาจะต้องส่งคืนคลื่น ก็ดันเล่นตุกติกนอกกติกาที่จะยื้อคลื่นไว้ให้นานที่สุด ตรงนี้สังคมคอยตั้งคำถามอยู่ครับ
จะเห็นข่าวที่ผ่านมาว่าผู้บริหารของ CAT ยอมคืนคลื่น 1800 ให้กับ กสทช. แต่โดยดี จนมาสู่การประมูลคลื่น 1800 ที่ผ่านมาในที่สุด เพราะผู้บริหาร CAT คงทราบดีแล้วว่าไม่มีประโยชน์ที่จะไปงัดข้อกับ กสทช. ส่วนผู้บริหาร TOT ก็คงจะทราบดีเช่นกันว่างัดข้อไปก็ไม่สำเร็จ เลยนิ่งเงียบมาโดยตลอด แต่ที่ออกมาเคลื่อนไหวตลอดคงเป็นสหภาพ TOT ที่รู้ตัวว่าสภาพบริษัทตัวเองกำลังสั่นคลอนและส่งผลถึงความมั่นคงในหน้าที่การงานตัวเองด้วย เลยออกมาเปิดเกมสุดตัวอย่างที่เราเห็นกัน
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ คงจะพอสรุปได้ว่าหาก TOT ฟ้องไปยังไงก็ไม่ชนะครับ ทุกอย่างมันก็จะต้องเป็นไปตามนั้นอยู่แล้ว ไม่เห็นทางที่ศาลจะให้ TOT ถือครองคลื่นได้ต่อไปเลยในเมื่อ รัฐธรรมนูญและ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่บัญญัติไว้ชัดเจนขนาดนั้น ศาลท่านก็ต้องยึดตามกฎหมายเป็นหลักแหละครับ นี่ก็เป็นแค่เกมยื้อเวลาตาย ดิ้นเฮือกสุดท้ายของสหภาพ TOT เท่านั้น เพราะถ้าเขายื้อไว้ไม่สำเร็จ ก็จะเป็นการเริ่มนับเวลาถอยหลังที่องค์กรของพวกเขาจะล้มแล้วล่ะครับและพวกเขาจะต้องตกงาน เพราะองค์กรพวกเขายืนด้วยขาตัวเองแทบไม่ได้แล้ว เคยนอนกินมาโดยตลอดนั่นเอง
คลื่นเตยเป็นสิทธิ์ของTOT สมัยยังเป็นองค์การโทรศัพท์ครับ แต่พอมีกสทช. เป็นองค์กรอิสระ เขามีอำนาจเต็มในการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ทั้งหมดอยู่แล้ว
จริงๆTOT เป็นหน่วยงานย่อยระดับเล็ก จะไปแย่งอำนาจเรื่องนโยบายจากองค์กรอิสระโดยตรงได้อย่างไร?
แปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ก็ต้องแข่งขัน ไม่ใช่คิดจะใช้อำนาจสิทธิพิเศษเพื่อนอนกินหัวคิวไปเรื่อยๆ
เรื่องตลกคือสมัยแปลงสัญญาสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ที่ทักกี้โดนฟ้องหาว่าขายชาติเอื่อประโยชน์ตัวเอง แต่ข้อเท็จจริงรัฐดันได้เงินส่วนแบ่งมากกว่าเดิม เพราะโดนหักหัวคิวน้อยลง?
ถ้าผู้ตรวจมีอำนาจเหนือกสทช. ก็ไม่ต้องทำอะไรกินแล้วล่ะครับ มันผิดหลักการไปแล้ว ผู้ตรวจไม่มีอำนาจแทรกแทรงองค์กรอิสระ จริงๆการส่งหนังสือบอกให้ฟ้องก็ถือเป็นการแทรกแซงแบบหนึ่งแล้วเช่นกัน
ว่าแล้ว ต้องสกัดพี่ A จนวินาทีสุดท้าย
ทุกวันนี้ 900 ที่โดนระงับไปคือ
tot resales ด้วยชื่อ ais นะครับ
ถ้า กสทช ออกใบอนุญาติให้ใหม่
ห้ามจ้าง ais ในแบบเดิมที่ผ่านมา
แล้วก็ขายด้วยชื่อ ais ครับ
การที่ais โยนทุกอย่างคืนให้tot
แสดงว่าเค้ามองเกมส์นี้ออกตั้งแต่กลางปี
แล้วครับมีแต่สหภาพเท่านั้นที่ยังมึนส์ๆอยู่
ผ.ต.ก. ไม่ไปตรวจข้างใน "ตด" เล่นๆมั่งหรือครับ?
http://www.dailynews.co.th/it/366942
ลาก่อนครับ tot หวังว่า เราคงจะไม่ได้พบกันอีกนะครับ