ปีที่แล้ว รัฐบาลมีแผนการใหญ่เรื่องไอซีที ทั้งกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลชุดใหม่, โครงสร้างหน่วยงานแบบใหม่ และการตั้ง "คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ"
แต่หลังเปลี่ยนตัวรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ข้อเสนอนี้ดูจะเงียบหายไปจากหน้าสื่อ แต่ทางคณะทำงานของกระทรวงไอซีที ยังเดินหน้ารวบรวมความเห็นเพื่อจัดทำ แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาโดยตลอด และวันนี้ (12 ก.พ.) ทางคณะทำงานก็จัดประชุมรับฟังชี้แจงสาระสำคัญและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนฉบับนี้แล้ว (มีถ่ายทอดสดบนเว็บกระทรวงไอซีทีตอนบ่ายวันนี้ เผื่อใครสนใจ)
ตัวเอกสารเผยแพร่บนเว็บไซต์ Digital Economy Thailand เรียบร้อยแล้ว และเราขอเชิญทุกท่านมาร่วมอ่านข้อมูลในแผนฉบับนี้กันครับ
เพื่อความง่ายและประหยัดเวลา ขอเริ่มจากเอกสารนำเสนอเป็นสไลด์ของทางคณะทำงานก่อน
ตัวแผนแบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ระยะเวลาการขับเคลื่อนแบ่งออกเป็น 4 ระยะในอีก 20 ปีข้างหน้า
ส่วนคนที่อยากอ่านตัวแผนฉบับเต็มก็ข้างล่างนี้ครับ (เนื้อหาส่วนแผนเริ่มที่หน้า 25)
ถ้าใครอยากได้ไฟล์ PDF โหลดไปอ่านกันเองก็เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ Digital Economy Thailand ครับ
ขั้นถัดไปคือทางคณะทำงานจะรับฟังความเห็นต่อแผนฯ เพื่อปรับปรุง ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และนำร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไปในเดือนมีนาคม 2559
Comments
1.5 ปีแรกไปเน้นโครงสร้างพื้นฐานซะส่วนใหญ่เลย (ซึ่งจริง ๆ กสทช. เขาก็ทำหน้าที่เขาอยู่ ซึ่งก็ดีในระดับหนึ่งนะ และกลไกการตลาดมันบังคับพอสมควรอยู่แล้วว่าต้องขยายไปเรื่อย ๆ) ผมกลับมองว่าส่วนที่ต้องเร่งด่วนสุด ๆ คือหน่วยงานภาครัฐนี่แหละ เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอล 100% หรือซัก 70-80% ก็ยังดี ขอร้องล่ะ ซึ่งจะเปลี่ยนได้ระดับนั้น ต้องเริ่มให้เร็วที่สุด ไม่งั้นเอกสารกระดาษก็จะกองสุมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป ค่าใช้จ่าย (ทั้งแรงงาน เงิน และเวลา) ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
ซึ่งหน่วยงานรัฐไม่พร้อมเรื่องดิจิตอล หน่วยงานเอกชนก็ทำอะไรลำบากเป็นบ้า เพราะไปติดความล่าช้าและยุ่งยากที่หน่วยงานรัฐนี่ล่ะ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าไปกรมที่ดิน ต่อให้มีเอกสารพร้อม ก็ต้องรอเจ้าหน้าที่เข้าห้องไปค้นหาโฉนดที่ดิน (ข้างเคียงหรือไม่ก็ยืนยันต้นฉบับว่าตรงกันอะไรทำนองนี้) อีกอย่างนาน เอกสารตรงนี้เสร็จ เอาไปยื่นชั้นบนนะ นัดเจ้าหน้าที่รังวัด กลับลงมาจ่ายเงินชั้นล่าง เอาใบเสร็จไปยืนยันชั้นบนใหม่ บลาๆๆ
หมดวัน... ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง Zootopia เลยให้ตายสิ แต่ผมไม่ได้โทษเจ้าหน้าที่เขาหรอกนะ ผมโทษระบบที่มันวางมาแบบนี้ ซึ่งมันแก้ได้ด้วยดิจิตอลนี่แหละ ขั้นตอนจะลดลงเยอะมาก และรวดเร็วขึ้นมากเลย ลองคิดดูว่าถ้าทุกหน่วยงาน ทุกระบบของรัฐมันดิจิตอลได้หมดแล้ว ต่อไปจะง่ายขนาดไหน เผลอ ๆ ทำที่บ้านได้เลย (เหมือนระบบภาษี) แล้วเศรษฐกิจจะไม่ดีขึ้นได้ยังไง ในเมื่ออะไรมันก็ง่ายและรวดเร็ว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เพิ่งเจอกับตัวเลยครับ ตอนไปสำนักงานที่ดิน สำหรับคนที่ไม่ได้เข้าไปใช้บริการบ่อยคงจะงงกับขั้นตอนเหมือนกันไปถ่ายเอกสารที่มีให้บริการในสำนักงาน ยื่นเรื่อง > พิจารณา > ถ่ายเอกสารเพิ่มเติมเนื่องจากเอกสารไม่เพียงพอ > จ่ายเงิน > รับใบเสร็จ > ยื่นใบเสร็จสีเหลือง (มีสองในแนบมาด้วยกันจำไม่ได้ชัวร์ๆ ว่าสีอะไร) เพื่อดำเนินการต่อ คร่าวๆ น่าจะประมาณนี้
เจอมากะตัวพาเพื่อนไปโรงพยาบาลรัฐ ใช้สิทธิ์ 30 บาท แล้วปรากฏว่ารอหลายชม.เพราะเจ้าหน้าที่ตกหล่นไม่หยิบสมุดประวัติผู้ป่วยมาให้จนโดนลัดคิว ทั้งที่มีระบบประวัติผู้ป่วยในคอมฯแล้วประวัติก็ใช้เป็นกระดาษให้หมออ่าน พอหมอคนละคนอ่านลายมืออ่านยากสั่งจ่ายเลือดผิดหมู่ โชคดีพยาบาลเห็นก่อนเกือบตายฟรีแล้ว
ผมเห็นด้วย และขอเล่าประสบการณ์ idiot ที่เจอล่าสุดบ้าง
ปีที่แล้ว ผมไปดำเนินการโอนสิทธิบัตรให้เป็นของนิติบุคคล (บริษัท) ซึ่งต้องไปดำเนินการที่กรมทรัพย์ ชั้น 1 ที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ ถ้าใครเคยไปติดต่อธุรกรรมที่นั่น จะทราบว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็อยู่ที่นั่น ชั้น 1 เช่นเดียวกัน ในตึกเดียวกัน ประตูอยู่ตรงข้ามกัน เป็นกระจกใสๆ ทั้งสองกรม เห็นกันชัดๆ ตรงๆ ที่สำคัญ ทั้งสองกรมอยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกันอยู่แล้ว แต่... ที่ผมเจอคือ...
โอเค เข้าใจได้ครับ ก็เดินออกประตูมาประตูตรงข้าม ขอหนังสือรับรอง จ่ายตังค์ รอแป้บ ก็ได้หนังสือรับรองแล้ว อันนี้ต้องขอชม ว่าเร็วกว่าสมัยก่อนมากๆ
ที่นี้ ขอให้ผู้อ่านทำความเข้าใจกันสักนิด ว่าหนังสือรับรอง คืออะไร? มันคือเอกสารรับรองการมีตัวตนของนิติบุคคล (บริษัท) อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งเราผู้เป็นเจ้าของบริษัท ไม่สามารถรับรองบริษัทของตัวเองได้อยู่แล้ว มันต้องเป็นกระทรวงพาณิชย์นี่แหละรับรอง
เอาล่ะ แค่ตรงนี้ผมก็ตะหงิดแล้ว ว่าผมมายื่นเรื่องที่กรมทรพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกลับต้องแนบหนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ของกระทรวงพาณิชย์ (เดียวกัน) ไปด้วย
ไม่เป็นไร แค่ตรงนี้ผมยังพอเข้าใจได้ ว่ามันอาจเป็นเพราะว่าต่าง "กรม" กัน กรมทรัพย์อาจไม่มีสิทธิ์เข้าถึงฐานข้อมูลของกรมพัฒน์ฯ เพื่อเช็คได้ว่า ไอ้บริษัทเลขทะเบียนเนี้ยนะ มันมีตัวตนจริงๆ ในฐานข้อมูลหรือไม่? (แค่ SELECT เดียวเนี่ยแหละ ก็ไม่มีสิทธิ)
แต่ที่ผมว่า idiot ก็คือต่อจากนี้ครับ...
หลังจากนั้น ผมก็ข้ามฝั่ง Floor กลับมากรมทรัพย์ฯ เพื่อยื่นเอกสารที่ขาด ซึ่งก็คือหนังสือรับรอง เจ้าหน้าที่กลับขอให้ผมและผู้มีอำนาจลงนามคนอื่น เซ็นต์รับรองพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย!
ผมใบ้กินครับ... หนังสือรับรองของอีกกรมหนึ่ง ในกระทรวงเดียวกับคุณ มันควรชัดเจนแล้วในการรับรองตัวตนของบริษัท ไอ้ลายเซ็นต์เจ้าของพร้อมตราประทับมันไม่ควรมีอิทธิฤทธิ์ไปรับรองหนังสือรับรองนั้นได้อีกที
ที่จริงหนังสือนั้นต่างหาก ที่รับรองอำนาจของเจ้าของบริษัทและตราประทับ
ผมขำไม่ออกครับ ต้องกลับออกมา เสียเวลาไปถึงสนามบินน้ำ ต้องกลับมาให้ผู้มีอำนาจลงนามกันครบ+ประทับตรา แล้วให้ลูกน้องบึ่งรถไปยื่นแทนในอีกเดือนครึ่งต่อมา (เพราะหาเวลาไปเองอีกไม่ได้ จนเอกสารมันจะ expire เลยต้องให้คนอื่นไปแทน)
=== เพิ่มเติม ===
อันที่จริง ผมคิดว่า เฉพาะส่วนของการรับรองนิติบุคคลนี้ มันคือข้อมูลที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะชนอยู่แล้ว เราต้องยินยอมตั้งแต่เมื่อตอนที่เราจัดตั้งบริษัทโน่นแล้ว ผมคิดว่า ควรยกเลิกเรื่องหนังสือรับรอง (อันเป็นกระดาษ) บ้าบอคอแตกนี่ได้แล้ว ตัวบริษัทผมเอง ผมไม่ได้ขอดูหนังสือรับรองของคู่ค้าเลยมาได้ราว 4-5 ปีแล้ว เพราะบนเวปของกรมพัฒนาธุรกิิจการค้าก็มีให้สมัครสมาชิก แล้วก็สามารถตรวจสอบได้ทุกบริษัทอยู่แล้ว ผมจึงไม่มีความจำเป็นต้องขอให้คู่ค้าส่งหนังสือรับรองใดๆ อีก คงเหลือแต่ให้ส่งใบสำคัญ ภพ.30 แสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ กรมสรรพากร ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงพาณิชย์เหมือนกัน น่าจะทำให้ตรวจสอบจากเลขประจำตัวผู้เสียภาษีบนเวปได้แล้วเช่นกัน จะได้ไม่ต้องมาขอให้ส่งเอกสารแบบนี้อีกต่อไป
กว่าจะเปิด PO กันได้ ต้องมารอเอกสารเหมือนยุค 2520 โน่นเนี่ยนะ!
มาเลยครับ จัดมากันเยอะ ๆ สามคอมเมนต์ สามวงการเลย ผมเชื่อว่ามีแทบทุกวงการนั่นแหละ ราชการไทยยังคงอนุรักษ์ระบบการทำงานเดิม ๆ แม้โลกจะหมุนไปเป็นล้านรอบแล้ว อ่านแต่ละคอมเมนต์แล้วละเหี่ยใจจริง ๆ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มาแปะให้อีกอัน, เผื่อใครสนใจดูควบคุ่กันไป .. (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 - 2561), โดย สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ./EGA
https://www.ega.or.th/th/content/890/8323/
via .. https://www.facebook.com/groups/OpenDataInTh/993253347387412/
พูดถึงระบบไอที ในวงราชการดูจะไม่ค่อยชอบอ้างว่ายุ่งยากต้องปรับวิธีการทำงานให้เข้าระบบไม่งั้นการนำอุปกรณ์มาใช้ก็เสียเปล่า เท่าที่เห็นมาคือถ้าระบบมาเต็มตัวเจ้าหน้าที่จะรู้สึกหมดคุณค่า(หมดอำนาจ ปกติแฟ้มต้องถูกขนมารอที่โต๊ะ รอพิจารณา รอแล้วรอ) ถูกลดทอนไปโดยกระบวนการพิจารณาแบบอัตโนมัติตามประมวลกฎหมาย กรณีไม่เปิดให้ใช้ดุลยพินิจจนท.อาจจะลงแดง 55
กูเกิลจะ "คำนึงถึงความรู้สึกดีๆ" รึยังน้า.. ใช้บริการของกุเกิลแทบจะทั้งเวบเลย :P
จิงๆ ถ้าใช้ youtube ด้วยก้อน่าจะดี.. ของ CAT นี่ดูย้อนหลังยังไงหว่า ?