Ghost แพลตฟอร์มบล็อกที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในช่วงหลัง ประกาศย้ายตัวองค์กร Ghost Foundation จากสหราชอาณาจักรไปยังสิงคโปร์ จากกฎหมาย VATMOSS ของสหภาพยุโรปที่เปลี่ยนระบบการคิดภาษี VAT ของสินค้าดิจิตอลจากเดิมคิดตามประเทศผู้ขาย เป็นการคิดตามประเทศผู้ซื้อซึ่งทำให้ระบบภาษีซับซ้อนขึ้นมาก และทาง Ghost ต้องเขียนระบบออกใบเสร็จใหม่ไปแล้วสองครั้ง
นอกจากระบบภาษี VATMOSS แล้ว ทาง Ghost ระบุว่าสรรพากรของสหราชอาณาจักรเป็นองค์กรที่ไร้ประสิทธิภาพที่สุดองค์กรหนึ่งของโลก มีการเรียกเก็บภาษีผิดพลาดจาก Ghost แล้วหลายครั้ง และบ่อยครั้งที่ิติดต่อกลับก็มักจะติดต่อไม่ได้
ทาง Ghost เริ่มค้นหาประเทศที่จะย้ายองค์กรไป โดยต้องรองรับ Stripe สำหรับการจ่ายเงิน, ต้องอยู่นอกสหภาพยุโรป, จดทะเบียนโดยไม่ต้องถือสัญชาติได้, ระบบบัญชีไม่ยุ่งยาก, และรองรับโครงสร้างบริษัทจำกัดและองค์กรไม่หวังกำไร ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ผลกระทบต่อลูกค้าที่ซื้อ Ghost Pro ในการย้ายครั้งนี้คือทาง Ghost จะหยุดเก็บภาษี VAT ระหว่าง 17-27%
ผู้ร่วมก่อตั้ง Ghost คือ John O'Nolan อยู่ในไทย และ Hannah Wolfe อยู่ในสหราชอาณาจักร
ที่มา - Ghost
Comments
สิงคโปร์นี่เมืองหลวง it แถบนี้ชัดๆ เมื่อไหร่จะมีรัฐบาลวิศัยทัศน์ดีๆ แบบนี้บ้าง
มาเจอสรรพากรไทยมั้ยฮะ :v //เอ๊ะ หรือเจอมาแล้วหว่า
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ขอความรู้สาย web, front-end dev หน่อยครับ แพลตฟอร์มนี้ถือว่าน่าเข้าไปบุกเบิกไหมครับ
สรุปคือต้องการหนีVATซินะ
ประมาณโรงงานที่ย้ายโรงงานจากประเทศที่มีค่าแรงสูงๆมาประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า
รายละเอียดมีอยู่ในข่าวแล้วนะครับว่าเขาหนีความยุ่งยาก ลองจินตนาการดูครับว่าการแยกจ่ายภาษ๊คนละเรตให้กับลูกค้าในแต่ละประเทศมันจะวุ่นวายแค่ไหน
แล้วถ้าเค้าทำธุรกิจที่อเมริกาไม่หัวแตกตายเลยรึครับ
50รัฐเก็บภาษี Sale Tax ไม่เท่ากันเลย(บางเขตท้องที่ในรัฐเดียวกัน เมืองเดียวกัน ก็เก็บภาษีไม่เหมือนกันอีก สินค้าบางตัวก็เก็บเท่าน้ บางตัวก็เก็บอีกเรท)
ระบบภาษีVATที่เก็บเท่ากันทุกสินค้า/บริการขอแค่อยู่ในประเทศเดียวที่ยุโรปนี่เด็กๆไปเลย
สหรัฐเก็บตามผู้ซื้อด้วยเหรอครับ ถ้าจริงก็คงยุ่งอย่างที่ท่านว่าแหละแต่ถ้าเก็บตามผู้ขายเหมือนทั่วๆไปมันก็ไม่ยุ่งนะครับ
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จัดเก็บน๊ะครับ ไม่ได้ใช้คนทำรายการเหมือนเมื่อก่อน
เห็นตอนโปรโมทเทคโนโลยีด้านอื่นก็คุยว่าทำได้สารพัดอย่าง
พอเรื่องเก็บภาษีแยกประเทศ กลับคำนวณไม่ได้ซะงั้น มีแค่ + - x /
ไม่ได้ต้องใช้อัลกอลธึ่มพิศดาร มากแค่ข้อมูล
แต่ก็อย่าลืมว่ามันก็มากตามรายได้ที่บริษัทได้รับไม่ใช้หรือ
ผมมองว่าเป็นข้ออ้างเพื่อเลี่ยงภาษีมากกว่า พยายามโยนความผิดไปที่คนอื่น
เปลี่ยนนโยบายภาษีบ่อยแล้วเขารับผิดชอบค่าตัวคนเขียนโปรแกรมให้เปลี่ยนระบบให้ด้วยไหมครับ เขาดูแลเรื่องการตรวจสอบบัญชีที่พันกันไปพันกันด้วยไหมครับ ในเมื่อกฏหมายมีความไม่มั่งคงเปลี่ยนบ่อย มีผลกระทบกับการวางนโยบาย กับหารายได้ และกำไร เขาก็มีสิทธิ์เปลี่ยนครับ คุณจะบอกว่าเขาเลี่ยงภาษีไม่ได้ เพราะเขาจ่ายครับ แต่เขาไม่อยากจ่ายให้ประเทศที่เก็บภาษียุ่งยากเขาก็เลยย้ายไปหาประเทศที่โอเคสำหรับเขา
เค้าเลี่ยงภาษียังไง ก็ต้องมาจ่ายภาษีที่สิงคโปร์อยู่ดีนะครับ
onedd.net
อันนี้จากประสพการณ์ตัวเอง ภาษีเป็นโมดูลที่ซับซ้อนที่สุดในโลกการเงินตัวนึงเลยครับ เพราะว่ากฎหมายภาษีซับซ้อน กำกวม (นึกสภาพว่าแต่ละประเทศก็พยายามเขียนกฎหมายให้ชาร์จได้หนักที่สุดในขณะที่ต้องเขียนให้อ่านดูเหมือนว่าชาร์จน้อยที่สุดนะครับ) และเปลี่ยนทุกปี เป็นโมดูลที่มีคนอยากแตะต้องน้อยที่สุด และโค๊ดมักจะเน่าที่สุดในระบบ (นึกสภาพโปรแกรมที่โดนโมบ่อย ๆ จนเละละกันนะครับ)
แน่นอนว่ามีระบบคอมพิวเตอร์จัดการให้อยู่แล้วอันนี้ปรกติ แต่ตอนตรวจสอบบัญชีนี่มีอาเจียนกันบ้าง
กับสินค้าที่ขาย online แต่ไม่ใช่ digital content
ใน EU เขาทำแบบนี้กันมานานแล้วครับ ไม่เห็นมีใครบ่น
และคิดภาษีตามที่อยู่ผู้ซื้อ มันเป็น function ทั่วไปของ eCommerce นะครับ
เพิ่งทำครับ จริงๆ เขาบ่นเรื่องที่มันเปลี่ยนบ่อยด้วย สองปีเปลี่ยนสองรอบ
lewcpe.com, @wasonliw
พอจะมี reference ไหมครับ
คือผมเป็น outsource eCommerce ประเทศกลุ่มเยอรมัน มา 8-9 ปี
เรื่องกฎหมายน่ะเปลี่ยนบ่อยจริงครับ แต่เรื่องคิดภาษีสินค้าตามที่อยู่ผู้ซื้อ
มันเป็นมา มาตั้งแต่ผมเริ่มทำงานนี้แล้วน่ะครับ
เข้าใจว่า @lew น่าจะอ่านคอมเม้นผิดน่ะครับ
onedd.net
โอ้ แบบนั้นผมคงเข้าใจผิดบางอย่างเองครับ แต่ผมอ่านจากบทความต้นทางและใน TechCrunch กฎหมายที่มีปัญหา VATMOSS เพิ่งมีผลบังคับปี 2015 นะครับ ผมอ่านแล้วเข้าใจว่าก่อนหน้านั้นคิดตามประเทศผู้ขาย (techcrunch ก็ระบุแบบนี้)
lewcpe.com, @wasonliw
ก่อนหน้านี้อาจจะไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับ vat ของ digital content รึเปล่าครับ
แต่ vat ของสินค้าอื่นน่าจะมีมานานแล้ว
onedd.net
แต่ผมสนับสนุนนะ
คือต้องเข้าใจว่าประเทศแถบยุโรปเนี่ยภาษีโหดเกินความจำเป็นจริงๆ ยิ่งเก็บมากคนก็ยิ่งไม่กล้าทำงาน/ทำธุรกิจ อยากรู้ว่าผลดีหรือเสียมากกว่ากันก็ลองดูเศรษฐกิจยุโรปตอนนี้สิครับ
อันนี้ผมว่าคงต้องมองหลายๆ ด้านประกอบครับ
เก็บโหดแล้วให้อะไรคืนมาบ้าง? สมเหตสมผลหรือไม่?
ผมมีเพื่อนเป็นชาวอังกฤษอยู่คนนึง ทำงานอยู่ บ. BORN HEATER
รู้จักกันตอนเข้ามาทำงานในเมืองไทยเมื่อหลายปีแล้ว
เขาเล่าให้ฟังเรื่องภาษีเงินได้ที่เขาโดนรํฐบาลอังกฤษเรียกเก็บ(ตอนนั้น)
เรียกว่ามหาโหด(เมื่อเทียบกับของเรา) ฟังดูแล้วเหมือนระบบคอมมิวนิสต์ด้วยซ้ำ
คือรายได้กว่าครึ่งต้องส่งให้รัฐ เป็นภาษี
แต่่....
เดียวนี้เขาอายุเกิน 60 แล้ว ค่าใช้จ่ายที่เหลือของชีวิต
รัฐบาลออกให้เกือบหมด มาเที่ยวเมืองไทยทุกปี
ชอบพัทยาเป็นชีวิตจิตใจ
เห็นด้วยครับ นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผมเองก็ทราบดี แต่ว่าในอนาคตแล้ว ผมไม่คิดว่ารุ่นลูกหลานของเพื่อนคุณจะทำแบบนี้ได้นะครับ
ทั้งโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป วัยทำงานจะลดลงเมื่อเทียบกับสูงอายุ และการที่บริษัทเหล่านี้ซึ่งสร้างงานให้กับคนท้องถิ่นย้ายออกนนอกประเทศเรื่อยๆ รัฐบาลของเค้าก็ทราบดี แต่ในเมื่อประชาชนชินกับแบบนี้ก็เปลี่ยนลำบากครับ
ยกตัวอย่างเช่นในฝรั่งเศสรัฐบาลขอยืดเวลาการเกษียณอายุจาก 60 เป็น 62 ปี ก็โดนประท้วงซะเละ ทั้งๆที่สมัยนี้คนเราสุขภาพดีขึ้น อายุขัยยาวขึ้น ทำงานได้ถึงอายุ 60-70 สบายๆ
ที่ิ -> ที่