หลังจากที่กรมการขนส่งทางบกเชิญ Grab มาร่วมหารือเรื่องบริการ GrabBike ในกรณีที่บริการดังกล่าวทำผิดกฎหมายหลายข้อ ล่าสุดมีการสั่งยุติการให้บริการออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
ประเด็นที่กรมการขนส่งทางบกยกขึ้นมาเป็นประเด็นมีหลายเรื่องด้วยกัน ได้แก่ ป้ายทะเบียนรถที่ GrabBike ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลในการให้บริการ ผู้ขับขีไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ไม่มีข้อมูลผู้ขับขี่ในศูนย์ข้อมูลผู้ขับขี่รถสาธารณะ ไม่ได้วิ่งอยู่ในเส้นทางหรือท้องที่ที่ได้รับอนุญาต รวมถึงไม่ได้เป็นกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้รับการจัดระเบียบจาก คสช. เมื่อครั้งที่ผ่านมา
หลังจากนี้ กรมการขนส่งทางบก จะดำเนินการเทียบปรับสูงสุดกับผู้ขับขี่ GrabBike ทุกรายในกรณีที่ยังมีการรับผู้โดยสารตามปกติ และจะประสานงานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามกฎหมายทุกขั้นตอนครับ
ที่มา - TNN Thailand
Comments
ผู้ขับขี => ผู้ขับขี่
เทียบปรับ => เปรียบเทียบปรับ
ดีครับ ช่วยควบคุมบังคับใช้กับทุกเจ้าอย่างเป็นธรรมด้วยนะครับ รวมทั้งวินธรรมดาด้วย
มองไปที่ Uber.... เพื่อนยังใช้กันถ้วนทั่ว...
แต่ห.... /เดี๋ยวนะ นึกว่าเพจมิตรสหาย
เข้าเรื่อง.. โอเคกับเรื่องป้ายดำ แต่แทบจะไม่ได้แตะบริษัทเอกชนที่อยู่ในระบบเลย กลัวลูกปืนเขารึ?
แล้วแมสเซนเจอร์ที่มาวิ่งวิน เค้ามีใบขับขี่สาธารณะกันมั้ยน่ะ
"Digital Economy"
ทำอย่างไรถึงจะมีทางออกที่ดีสำหรับทุกฝ่าย
ปล. ปรับทั้งที รัฐบาลต้องปรับการทำงาน กวดขันอย่างจริงจังด้วยสักที แน่นอนว่าต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดไปด้วย เห็นหย่อนยานเหลือเกิน ไม่เด็ดขาดเหมือนในต่างประเทศ แถมของถูกกฎหมายยังห่วยกว่าของผิดกฎหมายเสียอีก เช่น Taxi และ วินมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น
Get ready to work from now on.
uber? grab car?
วินทุกวันนี้ สถานการณ์ปกติยังคุมราคาให้เป็นไปตามกฎ 2 กม. 25 บาทไม่ได้เลย
~___~) เขามีหมวกกันน็อคให้ด้วยอ่ะ แต่วินถูกกฏหมายไม่มีให้
ต่อให้มีก็ไม่กล้าใส่ กลิ่นนี่สุดยอด
ผมก็กำลังมองอยู่เหมือนกันว่า Grab Bike เค้ามีวิธี control หมวกกันน็อคยังไงให้ไม่มีกลิ่นเหมือนวิน
น่าจะเอามาปรับใช้กับวินไทยได้นะครับ
ถ้าเรื่องบริการและความปลอดภัย Grab Uber เหนือกว่าระบบของรัฐมากครับ
แต่เรื่องการควบคุม และรายได้เข้ารัฐ พวกนี้ไม่มีแบ่งเลย ก็ต้องโดนเป็นธรรมดา
คือ ผมสงสัยมานานแล้วว่าทำไมทั้ง Uber , Grab Bike พวกนี้เค้าปรับตัวเองให้เป็นไปตามกฏหมายไทยไม่ได้เหรอครับ
แบบว่าใครจะรับจ๊อบจาก Uber , Grab Bike ก็ไปสอบใบขับขี่ อัพเกรดทะเบียนรถ ฯลฯ ให้หมด
หรือว่าถ้าจะทำได้ต้องมีใต้โต้ะ เหมือนกรณีSolar Farm
มันยุ่งยาก วุ่นวายครับ ถ้าไม่คิดจะขับจริงจังคงไม่ทำ สุดท้ายแล้วจะมีไม่กี่คนที่ไปสอบแล้วมาวิ่ง แล้วพอรถน้อยคนก็ไม่มาใช้บริการ มันผิดคอมเซป Sharing Economy น่ะครับ ที่ว่าเรามีทรัพยากรเหลือแล้วก็เอามาแบ่งปันกันคนใช้ก็ได้ของดีราคาถูก คนแบ่งก็ได้รายได้เพิ่ม
ถ้าจะไปสอบใบขับขี่สาธารณะ ไปเปลี่ยนป้ายทะเบียนรถตจัวเองเป็นรถสาธารณะ คยคงไม่ทำกัน
ลองคิดเล่น ๆ ครับว่าเรามีรถคันนึงแล้วต้องเปลี่ยนรถตัวเองเป็นป้ายเหลือเพื่อรับงาน Uber Grab แล้วเวลาธรรมดาล่ะ? เราก็ต้องขับรถผ้ายเหลืองไปทำงาน ส่งแฟน มันดูไม่ดีเลยครับผมว่านะ
ผมว่า uber นี่ก็ผิด concept sharing economy ไปไกลแล้วนะครับ
กลายเป็นบริษัทให้บริการ(ไม่ใช่ IT) มีนายจ้าง/ลูกจ้าง นายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างออกได้, etc.
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จะว่าไปก็จริงนะครับ 55555 แต่ในมุมมองของคนที่มาขับ Uber ก็ยังเป็น Sharing economy อยู่นะครับผมว่า เพียงแต่ มีบริษัท Uber เป็นคนจัดการ ซึ่งในแง่ความเป็นบริษัทก็คงต้องจัดการให้เป็นรูปแบบจริงจัง
คือผมก็ยังเห็นหลายคนที่มาขับทำงานปกติและมาขับ Uber เป็นรายได้เสริมน่ะครับ ก็ยังถือว่าตรงคอนเซป (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางคนออกรถมาเพื่อขับ Uber เลย อันนี้ผิดหลักแน่ ๆ)
ผมว่า พรบ. ที่เกี่ยวกับรถรับจ้างเนี่ย มันโบราณมากแล้วครับ
ไม่ใช่ว่าไม่เคยเปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนมาครั้งนึงช่วงที่เปลี่ยนจากแท๊กซี่แบบเหมา ให้กลายเป็นแท๊กซี่มิเตอร์ทั้งหมด และตอนเปิดเสรีแท๊กซี่ ซึ่งที่ว่ามานี้ ผมว่าอายุกฏหมายมันประมาณ 25-30 ปีแล้วแหละ และก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
แท๊กซี่ที่ถูกกฏหมายจริงๆ ข้อกำหนดเยอะครับ เช่นด้านสเป็คและอายุของตัวรถ (เช่น ต้องเครื่อง 1.5 ขึ้นไป / Vios, City ไม่ได้ เพราะจริงๆ เครื่องมันไม่ถึง 1.5 ดี) การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ บนรถ การทำสีตกแต่งต่างๆ ไปจนถึงตัวคนขับเอง
ไม่แปลกว่าเราจึงเห็นแท๊กซี่มันเหมือนๆ กันหมด แม้แต่ All Thai Taxi ที่เค้าตั้งใจทำให้มันเหนือกว่าแท๊กซี่ทั่วไป แต่หลายๆ อย่างก็ยังมีเหมือนแท๊กซี่ปกติ เพราะเป็นข้อกำหนดใน พรบ. นั่นเอง
ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับ Sharing economy ที่คนทั่วไปจะปฏิบัติตามข้อกำหนดยุบยับเหล่านี้เพื่อให้กลายเป็นรถสาธารณะที่ถูกต้องตามกฏหมายได้ ตัวคนขับ Uber อาจสอบใบขับขี่สาธารณะเช่นเดียวกับโชว์เฟอร์แท๊กซี่ได้ แต่เรื่องรถก็กลายเป็นเรื่องยากแล้วในการเอารถบ้านมาจดทะเบียน ไหนจะต้องเป็นรุ่นที่เครื่องยนต์ตามกำหนด (พวก B-segment อย่าง City Vios หมดสิทธิ์) อายุจะรู้สึกไม่เกิน 3 ปีถึงจดทะเบียนได้ (Uber ยืดหยุ่นกว่ามาก) ไหนจะต้องทาสี ตอกป้ายทะเบียนข้างในประตู เจาะติดอุปกรณ์มิเตอร์ ใส่ป้าย Taxi Meter บนหลังคา (เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของรถรับจ้างส่วนบุคคล) โอ้ย แค่คิดก็ใจหายสำหรับเจ้าของรถแล้วครับ ใครจะทำล่ะครับแบบนี้
แล้วถ้าต้องทำอะไรเยอะแยะแบบนี้ สู้ซื้อรถที่ทำมาเพื่อเป็นแท๊กซี่โดยเฉพาะ แล้วขับเป็นแท๊กซี่จริงจังไม่ดีกว่าหรือครับ สุดท้ายมันก็วนลูบมาปัญหาเดิมๆ นี่แหละ
ประเด็นคือ Sharing economy เนี่ยคือให้ใครที่มีเวลาว่าง มีรถบ้านจอดเฉยๆ อยู่ มาวิ่งขับทำรายได้เสริม แต่กฏหมายแท๊กซี่มิเตอร์เนี่ย มีข้อกำหนดจริงจังเลยตั้งแต่รถยันคนขับ แค่นี้มันก็ไปด้วยกันไม่ได้แล้ว
ไหนจะเรื่องราคาอีก ที่ Uber คิดเรทราคาของตัวเอง แต่ใน พรบ. กำหนดอัตรามิเตอร์เดียวตายตัวเท่านั้น ถ้าจะเข้าระบบ ก็ต้องคิดตามราคาที่รัฐกำหนดครับ
สำหรับคำถามว่าพวก Uber ทำไมเค้าปรับตัวให้เป็นไปตามกฏหมายไทยไม่ได้ล่ะ ก็ต้องมีคำถามว่ากฏหมายไทยมีการปรับตัวและยืดหยุ่นตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของสังคมในปัจจุบันได้มั้ยล่ะครับ มันก็ต้องปรับตัวเข้าทั้งสองฝ่ายทั้งรัฐและเอกชนนั่นแหละ หลายอย่างก็ล้าสมัยแล้วอย่างการต้องใช้รถเครื่อง 1.5 ขึ้นไป (ต่างประเทศแถวนี้เอา Vios มาวิ่งเป็นแท๊กซี่กันปกติ) หรือการที่ว่าแท๊กซี่ต้องเป็นพิมพ์เดียวกันหมด (เช่นตอกป้ายข้างประตูเนี่ยนะ ใครจะทำแบบนั้นกับรถส่วนตัว) และไม่ใช่ว่ากฏหมายแตะต้องไม่ได้ แต่กฏหมายปรับปรุงให้ทันสมัยได้เสมอครับ อย่างที่ว่าเคยเปลี่ยนมาแล้วสมัยเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ และการเปิดเสรีแท๊กซี่ แต่ก็ถูกแช่แข็งมานานแล้ว ผมว่าถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้วครับ
มันก็โบราณจริงๆแหละ
เป็นผม ผมก็ไม่ทำแบบนี้กับรถผมเหมือนกัน 555
ถ้ากฏหมายไม่แก้ เราก็คงต้องแก้ที่การเรียกUberแล้วกัน คือ ห้ามเรียกว่าแท๊กซี่Uber เปลี่ยนมาเรียกว่า "เรียกคนพาเราไปส่งโดยเราตอบแทนด้วยสินน้ำใจ" แทน(ยาวชิบ)
วันก่อน ThaiPBS ทำรายการแนวสืบสวนเรื่องนี้พอดี
ทุกวันนี้ วินที่วิ่งปกติทั่วไป ส่วนใหญ่ยังผิดเลยครับ
ทั้ง
- ป้ายขาว
- เสื้อวินปลอม
ถามว่าทำไม ไม่ไปสมัครที่กรม ขนส่งทางบก
เพราะว่ากรมขนส่งทางบกไม่เปิดรับสมัคร ทำให้เสื้อและป้าย ขาดแคลนมาก
แต่ตำรวจก็ไม่จับนะครับ เพราะว่า ตำรวจคุมวิน เก็บค่านั่งวินเป็นรายเดือน
ลอง หาดูย้อนหลังครับ ผมจำได้ว่าเพิ่งออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี่เองครับ
ว่าแต่ปกติผมใช้ Grab รับส่งของ ไม่ได้นั่งไปด้วย โดนมั้ยอ่ะ
ทุกวันนี้ช่วยจับ taxi ปฏิเสธผู้โดยสารให้ดูหน่อยเถอะครับ ก็รู้อยู่ว่าผิดกฏหมายแต่ก็ยังเจออยู่ทุกวัน
จากใจคนใช้แท็กซี่ครับ พักนี้เริ่มน้อยลงแล้วครับ ยกเว้น สถานที่ที่เป็นแหล่งของเขา เช่น ที่ๆ ชอบรับชาวต่างชาติ ยังเป็นอยู่บ้าง หรือวิ่งเฉพาะใกล้ๆ เพราะเตรียมกลับบ้านครับ
เห็นด้วยนะครับ พักนี้เริ่มน้อยลงแล้วครับ ส่วนนึงเพราะผมนั่งแทกซี่เป็นสัดส่วนที่น้อยลงมากจริง ๆ จากเดิมเกือบทุกวันมาเป็นอาทิตละครั้งตั้งแต่มี Uber
แต่ตอนที่เรียกก็ไปในการเรียกไม่เกิน 3 คันครับ ถือว่าดีกว่าเมื่อก่อนที่ 5-7 คัน แต่สถิติที่เคยเจอนี่เยอะสุดที่ 30-40 คันครับระยะเวลา 2 ชั่วโมง ไม่ไปเลย หน้าสยามพารากอน วันศุกร์ เงินเดือนออก คนรอคิวอย่างเยอะ และคันที่ไม่ไปก็ไปเลียบ ๆ เคียง ๆ ตะโกนถามฝรั่งที่อยู่ในแถวว่าจะไปไหน ทั้งที่คนรอคิวข้างหน้าไม่รับ บางคนตะโกนออกมาเลยว่า ผมจะไป..... ใครจะไปบ้าง จนผมไม่แน่ใจว่านี่แทกซี่หรือรถเมล์ 5555 มีการกำหนดเส้นทางด้วย
สุดท้ายเรียก Uber ถึงได้กลับบ้าน เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตเลยครับ- -ว่าจะเรียก Uber แทนแทกซี่
ได้ยินแบบนี้ก็ถือว่าน่ายินดีครับ ไม่แน่ใจว่าถูกกดดันจากบริการที่ดีกว่าอย่าง uber หรือเปล่า
ส่วนตัวผมเคยเจอครั้งหนึ่งคือ ตอนเย็นเรียกรถแถวเอกมัยจะไปงานแต่งงานญาติที่โรงแรมอินเตอร์คอนฯ เรียกอยู่สองชั่วโมงกว่าจนงานแต่งงานเลิกยังไม่ได้รถแท็กซี่เลยครับ ขนาดว่าโทรหาศูนย์เรียกรถควบคู่กันไปด้วย ที่ศูนย์ฯ บอกว่าเขาไม่อยากไปเพราะรถติด
เห็นด้วยครับ เดี๋ยวนี้แท๊กซี่ดีขึ้นจริงๆ จากประสบการณ์ที่ใช้แท๊กซี่ประจำ ช่วงหลังดีขึ้นมาบ้างละ ไม่รู้กรมการขนส่งไปทำอะไรเข้า อาจจะปรับจริงจัง มีคนร้องเรียนบ่อยจนเข็ด หรืออาจจะเพราะปรับค่าแท๊กซี่ขึ้น หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ต้องให้เครดิตที่แท๊กซี่ทำตัวดีขึ้นนะครับ
แต่ตามแหล่งที่รับต่างชาติเฉพาะก็อย่าไปยุ่งเลยครับ เราก็ต้องรู้งาน เรียกแท๊กซี่ที่วิ่งจรไปมาเอาดีกว่า
แต่ก็นับว่ายังห่างไกลจาก uber และประสบการณ์เก่าๆ ยังคงหลอกหลอนอยู่ดี ถ้าเป็นไปได้ผมก็ยังจะใช้ uber อยู่ดีครับ
ทำไมผมรู้สึกว่ามันเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยน.. 555
ช่วยจัดการวินที่ถูกกฏหมายด้วย ตอนบีทีเอสทีปัญหาขึ้นราคาเต็มที่จากไม่หี่สิบบาทเป็นหลักร้อย แถมบางคนพูดจาไม่สุภาพอีก เคยจะเรียกแท๊กซี่แล้วมีมอเตอร์ไซค์ผ่านมาเรียกเรา แต่เราไม่ไปแจกกล้วยให้อีก ไม่เห็นขนส่งจัดการ ถ้าจะจัดการก็ทำกับวินาี่ถูกกฏหมายด้วย
ที่ผมงงที่สุดคือ ไปคุยกับทางกรมการขนส่งทางบกอีท่าไหนถึงสามารถผ่านได้ แล้วตอนช่วงเปิดบริการแรก ๆ ก็เป็นรถป้ายเหลือง (มีเพียงส่งของที่ป้ายดำ) แล้วผ่านมาไหงเป็นอย่างนี้ได้?
อันนี้อ้างจากถาม-ตอบกับผู้บริหารตอนเปิดบริการ GrabBike ในไทย (อันนี้มาจาก MacThai นะฮะ)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
อันนี้ลิงก์นะฮะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เห็นคนบ่นในเพจ grab ว่า grabbike บางคนขึ้นราคาเอาเอง หรือราคาไม่ตรงกับแอพบ้าง เลยยังไม่เคยเรียก ตอนนี้เรียก grab eco เฉพาะจำเป็น สะดวก สบาย ราคาตรงเป๊ะ แม้ติดไฟแดงหรือรถติด :)
นึกถึง Uber เลย
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
อืมมมมม ได้เมลมาว่า GrabBike ลดราคาครึ่งนึง หึหึ
ตบหน้า “ขนส่งฯ-ทหาร” GrabBike ให้บริการต่อ เปิดโปรลด 50%
แผ่นดินมีค่าเป็นเงินเป็นทองหมดแหละ ไม่แบ่งก็โดนซะ
ชอบเรทใหม่ของ Grab Bike มาก หวังว่าจะไม่ขึ้นราคาไปแบบเดิม คือเรทนี้ดีมาก คนจนสามารถขึ้นได้ ไม่เหมือน BTS MRT
ผิดกฎหมายจริงๆ ในอเมริกาเองก็มีปัญหา แต่บางเมืองคนใช้เยอะ รัฐจำยอมอนุโลม ส่วนหนึ่งคือ แท๊กซี่ในอเมริกาเองก็มีการ link กับมาเฟียอยู่แล้ว
ตอนนี้ที่อเมริกากำลังดัน พรบ การจัดระเยียบ shareride ทั้งหลายอยู่ ซึ่ง Uber เองก็ดันเต็มที่ เพราะโดยรวมมัน win-win คิดว่า grab กับ uber ไทย น่าจะมาสู้ด้านนี้มากกว่า
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
อีกค่ายยังวิ่งประจำ?
เรื่องกฎหมายล้าสมัยหรือไม่ ก็ขึ้นกับมุมมอง อันที่จริง sharing economy ฟังดูสวยหรู แต่จริงๆใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย เพื่อเลี่ยงภาษี และข้อบังคับในกฎหมายเฉพาะทั้งนั้น
คนใช้ชอบ เพราะถูกกว่า คนให้บริการชอบ เพราะไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องทำตามกฎข้อบังคับเฉพาะใดๆ คนกลางชอบ เพราะไม่ต้องลงทุนสินทรัพย์ แต่ทำระบบจัดหา matching และทำการตลาด(ดูแล้วน่าจะหนักค่าโฆษณาและmarketing มากกว่า)
ส่วนรัฐ ไม่ชอบ เพราะไม่ได้ภาษี และถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นมา ก็โดนด่าก่อนใคร...
อย่าลืมว่ากฎหมายที่ดูโบราณ แต่จริงๆก็เพื่อหวังคุ้มครองผู้ใช้(แม้จะไม่ค่อยบังคับใช้หรือเข้มงวด) เช่นใบขับขี่สาธารณะ หรือการต้องขอใบอนุญาตเฉพาะ เพื่อคัดกรองคนส่วนหนึ่ง ส่วนsharing economy นี่ใครสมัครก็ได้ แม้บางคนอาจจะบอกว่ายังมั่นใจระบบคัดกรอง ระบบเก็บประวัติมากกว่ารัฐ แต่ใครจะรับรองถึงอนาคตได้ล่ะ?
อย่าลืมประเด็นเรื่องคุณภาพด้วยครับ ณ ตอนนี้ถ้าเป็นบริการขนส่งสาธารณะ ผมว่าพวกที่เป็นทางเลือกเหล่านี้โดยรวมยังคงมีคุณภาพดีกว่าแบบดั้งเดิมอยู่
ที่ยังดูดี เพราะได้ค่า intensive และต้นทุนต่ำกว่า(ไม่ต้องจดป้ายเหลือง ไม่ต้องมีใบขับขี่สาธารณะก็ยังได้) เห็นกระทู้รีวิวหรือบ่น ในรัชดาจากมุมของผู้ให้บริการประจำ ว่าที่ไปทำกันเยอะ เพราะได้ค่าintensive หรือ promotion จากการวิ่งเทียวเยอะในเวลาจำกัด เลยรับหมดไม่ปฎิเสธ
แต่บางอันไม่คุ้มก็มีคนให้บริการน้อยลง เช่นคู่แข่งของค่ายในข่าวนี้ที่เป็นมอไซด์ เห็นบ่นว่าไม่คุ้มกัน
ในอนาคต ถ้าผู้ให้บริการเยอะ สุดท้ายก็ไม่ต่างจากtaxi เพราะดูแลไม่ทั่วถึง ไม่มีกฎหมายบังคับ และรายได้ไม่จูงใจพอ(เพราะหมดช่วงโปร) หรือบ.ขาดทุนจากการแข่งขันมากๆก็เลิกทำ แบบจากข่าวในจีน?
ใช่ครับผมถึงได้บอกว่าตอนนี้ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมามันเกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างในด้านความต้องการของผู้บริโภคอยู่ครับ เมื่อไหร่ที่สูญเสียตรงนั้นไป และเป็นเหตุให้ระบบนั้นๆ ล่มก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
จ่ายภาษียังไงในเมื่อใช้สาธารณูปโภคที่เป็นของส่วนรวม
ใช้ช่องโหว่เพื่อเลี่ยงภาษี อ่านแล้วไม่รู้หมายความว่าไง ขณะที่วินคุณจะรู้ได้ไงว่าเค้ามีรายได้เท่าไหร่ ต่อผู้โดยสาร ต่อวัน ขณะนี่พวก grab uber มันมีบันทึกคนขับทุกคน นอกจากประเมินรายได้ของคนขับทุกคนได้แล้ว ยังตรวจสอบรายได้บริษัทได้ด้วย แต่วิน 1 แสนคน เค้าจ่ายภาษีกันยังไง ประเมินรายได้กันยังไงก็ไม่รู้นะ
และถ้าพูดถึงถาษีป้ายเหลือง หรือรายได้ของขนส่ง ผมว่าเค้าออกกฎเก็บรายได้จากรถพวกนี้ได้นะ เพียงแต่จะหาวิธีไม๊เท่านั้นแหละ
พูดถึงการคุ้มครองผู้โดยสาร ระบบ grab uber เค้ามีตรวจประวัติอาชญากรรมก่อนให้ขับนะ ไม่ใช่ใครอยากมาขับก็ทำได้ แล้วทุกงานมาตรวจสอบเส้นทางย้อนหลังได้ เพราะมี gps กำกับทุกงาน แถมบริษัทพวกนี้ยังมีประกันอุบัติเหตุให้ผู้โดยสารด้วย วินมอไซค์มีไม๊ครับ
คือ แค่อยากให้มีข้อมูลกันครบๆ แล้วค่อยออกความเห็นครับ
ประกันที่ทำน่ะ ประกันส่วนบุคคลหรือประกันรถสาธารณะ? ราคาเบี้ยก็ต่างกันนะครับ และมีข้อยกเว้นถ้าใช้รถผิดประเภทด้วย...
เรื่องภาษี บ.ผู้ให้บริการไม่ได้จดทะเบียนในไทย....
ตรวจประวัติอาชญากรรมน่ะ ถ้าทำใบขับขี่สาธารณะก็ต้องตรวจเหมือนกัน ตรวจที่่เดียวกันนี่แหละ
อยากถูกกฎหมาย บ.เอกชนต้องเข้าหารัฐ ขอให้ออกกฎรองรับครับ เช่นบางเจ้าเขาไปผูกกับเรื่องค่าบริการโทรเรียกtaxi ที่มีเป็นกฎหมาย กฎกระทรวงอยู่แล้ว ไม่ใช่อ้างว่า กฎหมายไม่รองรับเอง แบบนี้เขาเรียกว่าหาช่องโหว่
ตอนนี้ก็ดีดี เพราะของใหม่ คนน้อย แล้วอนาคตล่ะ? มองในมุมลูกค้ามันก็ดี เหมือนยักษ์ค้าปลีกแข่งกันถล่มราคา ทุ่มราคา จนคู่แข่งตายหมดไง ทุกวันนี้ห้างค้าปลีกมีโปรน้อยกว่าเมื่อก่อนเยอะ เพราะเขาถล่มคู่แข่งไปหมดแล้ว...