Grab Holdings รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2024 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเป็น 716 ล้านดอลลาร์ มีกำไรสุทธิ 15 ล้านดอลลาร์ และมีการใช้จ่ายรวมทั้งหมดบนแพลตฟอร์มที่เป็นธุรกิจออนดีมานด์ (GMV) 4,659 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 15%
Anthony Tan ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Grab กล่าวว่าแพลตฟอร์มมีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำ 42 ล้านบัญชี และยังมีการเติบโตของ GMV ในธุรกิจออนดีมานด์
GMV ของธุรกิจเดลิเวอรีเพิ่มขึ้น 12% เป็น 2,965 ล้านดอลลาร์ จำนวนคำสั่งซื้อแบบ Saver คิดเป็น 32% ของธุรกรรมทั้งหมด ส่วนธุรกิจรถโดยสารมี GMV 1,694 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 20%
Disclaimer - Blognone เป็นบริษัทในเครือของ LINE MAN Wongnai
Grab Holdings รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2024 มีการใช้จ่ายสุทธิบนแพลตฟอร์มของธุรกิจออนดีมานด์ (GMV) เพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเป็น 4,434 ล้านดอลลาร์ จำนวนผู้ใช้งานทั้งแพลตฟอร์มเพิ่มเป็น 40.9 ล้านบัญชี คิดเป็นรายได้ของ Grab 664 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 17% EBITDA 64 ล้านดอลลาร์ และขาดทุนสุทธิ 68 ล้านดอลลาร์
ธุรกิจเดลิเวอรีมี GMV เพิ่มขึ้น 9% เป็น 2,850 ล้านดอลลาร์ เป็นสถิติสูงสุดของบริษัทจากจำนวนธุรกรรมและผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น จำนวนการสมัคร Saver ที่ช่วยลดค่าส่ง คิดเป็น 28% ของธุรกรรมเดลิเวอรีทั้งหมด ส่วนธุรกิจรถโดยสารมี GMV เพิ่มขึ้น 20% เป็น 1,584 ล้านดอลลาร์
Grab Holdings รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2024 มีมูลค่าการใช้จ่ายสุทธิบนแพลตฟอร์มจากธุรกิจออนดีมานด์ (GMV) รวม 4,242 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 18% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน แบ่งเป็น รถโดยสาร 1,547 ล้านดอลลาร์ (+27%) และเดลิเวอรี 2,695 ล้านดอลลาร์ (+13%) คิดเป็นรายได้ของบริษัท 653 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 24% มีกำไร EBITDA 153 ล้านดอลลาร์ และขาดทุนสุทธิ 115 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งานเฉพาะส่วนบริการออนดีมานด์มี 34.4 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 19% ในไตรมาสนี้ Grab ยังรายงานตัวเลขเงินค่าตอบแทนจูงใจหรือ Incentive โดยจ่ายส่วนนี้รวม 415.6 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นส่วนของพาร์ตเนอร์ 176.7 ล้านดอลลาร์ และส่วนของลูกค้า 238.8 ล้านดอลลาร์
Grab Holdings รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2023 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 30% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 653 ล้านดอลลาร์ มีกำไรสุทธิเป็นครั้งแรกที่ 11 ล้านดอลลาร์ ส่วนกำไร EBITDA เพิ่มขึ้นเป็น 35 ล้านดอลลาร์
ปริมาณการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น 9% เป็น 5,441 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นธุรกิจรถโดยสาร 1,474 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 32% ธุรกิจเดลิเวอรี 2,648 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4% ธุรกิจการเงิน 1,255 ล้านดอลลาร์ ลดลง 11% และกลุ่มธุรกิจใหม่ 64 ล้านดอลลาร์
Peter Oey ซีเอฟโอ Grab ยังประกาศแผนซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น Grab เป็นครั้งแรก ในวงเงินรวมไม่เกิน 500 ล้านดอลลาร์
Disclaimer - Blognone เป็นบริษัทในเครือของ LINE MAN Wongnai
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Grab และ GoTo ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสาร ได้กลับมาเจรจาควบรวมกิจการกันอีกครั้ง โดยตอนนี้การหารือยังเป็นขั้นต้น เพื่อพิจารณารูปแบบการควบรวมที่เป็นไปได้
ในรายงานบอกว่าแนวทางที่เสนอตอนนี้ เช่น Grab ซื้อกิจการ GoTo โดยจ่ายเป็นเงินสด, จ่ายเป็นหุ้น หรืออาจเป็นการรวมสองบริษัทเข้าด้วยกัน หรืออาจเป็นการทำข้อตกลงแยกแบรนด์ทำตลาดแต่ละประเทศ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ GoTo ได้ปิดดีลให้ TikTok เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทย่อย Tokopedia เพื่อให้บริการอีคอมเมิร์ซ TikTok Shop ทำให้ GoTo มีธุรกิจที่ยังเป็นเจ้าของหลักคือ บริการทางการเงิน GoTo Financial และบริการเรียกรถ-ส่งอาหาร Gojek
Grab Holdings รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2023 ปริมาณการใช้จ่ายในแพลตฟอร์ม (GMV) เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 5,341 ล้านดอลลาร์ เฉพาะที่เป็นของธุรกิจรถแท็กซี่กับส่งอาหารอยู่ที่ 4,015 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% จำนวนผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มรวม 36.0 ล้านบัญชี
GMV ธุรกิจส่งอาหารอยู่ที่ 2,608 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% ธุรกิจรถแท็กซี่ 1,407 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 30% ตามทิศทางการท่องเที่ยวเปิดเมืองที่กลับมา ธุรกิจการเงิน 1,275 ล้านดอลลาร์ ลดลง 15% และธุรกิจใหม่ 50 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4% ส่วนใหญ่มาจากโฆษณา
Delivery Hero บริษัทให้บริการส่งอาหารจากเยอรมนี ยืนยันแผนการขายกิจการธุรกิจเดลิเวอรีในเอเชียบางส่วน โดยมูลค่าของดีลยังอยู่ในขั้นตอนเจรจา
Wirtschaftswoche สื่อของเยอรมนีระบุว่าผู้ที่อาจจะซื้อกิจการนี้คือ Grab โดยซื้อกิจการ Foodpanda ในประเทศสิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ด้วยมูลค่าเบื้องต้น 1 พันล้านยูโร หรือประมาณ 3.86 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Grab ยังไม่ได้ให้ความเห็นต่อข้อมูลนี้
ทั้งนี้พื้นที่ซึ่ง Foodpanda ให้บริการอยู่ แต่ไม่ถูกระบุในดีลการขายนี้คือ ไต้หวัน ฮ่องกง ปากีสถาน บังกลาเทศ
ที่มา: Reuters
Grab Holdings รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2023 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 77% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 567 ล้านดอลลาร์ ขาดทุนลดลงเป็น 148 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปีก่อนที่ขาดทุน 572 ล้านดอลลาร์
Anthony Tan ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Grab กล่าวว่า การใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มสุทธิ (GMV) ของธุรกิจเดลิเวอรีเติบโตทำสถิติใหม่ เป็นผลจากการผลักดัน GrabUnlimited และทำให้จำนวน transaction ต่อเดือน ทำสถิติสูงสุดใหม่เช่นกัน ส่วนซีเอฟโอ Peter Oey ให้ความเห็นว่า EBITDA ปรับปรุงน่าจะเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเร็วกว่าคาดการณ์เดิมที่ไตรมาส 4
Grab ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อหุ้นทั้งหมดของ Trans-cab ผู้ให้บริการรถแท็กซี่รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 2003 มีรถยนต์ในฟลีตมากกว่า 2,500 คัน โดยดีลดังกล่าวรวมธุรกิจอื่นของ Trans-cab เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงรถ บริการเช่ารถส่วนตัว เข้ามาด้วย
Yee Wee Tang ผู้บริหาร Grab สิงคโปร์ พูดถึงดีลดังกล่าวว่าเป็นการจับคู่ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทำให้จำนวนคนขับรถบนแพลตฟอร์มมีมากขึ้น รองรับความต้องการของลูกค้าได้ดีมากขึ้น
ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่ The Straits Times อ้างแหล่งข่าวว่าอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านดอลลาร์
Anthony Tan ซีอีโอ Grab ออกอีเมลถึงพนักงาน ว่าบริษัทเตรียมปลดพนักงานประมาณ 1,000 ตำแหน่ง คิดเป็น 11% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด โดยระบุสาเหตุว่าเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สิ่งต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น Generative AI หรือต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งล้วนกระทบต่อการแข่งขัน
Grab ระบุว่าบริษัทจะปรับโมเดลในการบริหาร และปรับโครงสร้างต้นทุน เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว ทำให้องค์กรมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ซีอีโอ Tan ยังระบุว่าการปลดพนักงานนี้ไม่ใช่การเร่งให้บริษัทมีกำไรตามที่ประกาศก่อนหน้านี้ โดยบอกว่าแม้ไม่มีการปลดพนักงานบริษัทก็จะยังสามารถทำกำไรได้ตามแผนในปีนี้
Grab Holdings รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนมีนาคม 2023 รายได้รวมเติบโต 130% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 525 ล้านดอลลาร์ จากยอดการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มสุทธิ (GMV) 4,958 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการปรับโครงสร้างผลตอบแทน และปรับรูปแบบธุรกิจเดลิเวอรีในประเทศหนึ่งที่ทำตลาด สุทธิแล้วขาดทุน 250 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง Grab บอกว่าขาดทุนลดลง 43% จาก EBITDA ที่ดีขึ้น และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง
GrabFood เริ่มทดลองใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างภาพเพื่อสร้างภาพเมนูอาหารให้กับร้านอาหารที่ไม่มีภาพแสดงในแอปเวอร์ชั่นสิงคโปร์ โดยปัญญาประดิษฐ์จะสร้างภาพจากเมนูและคำบรรยาย จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบว่าภาพตรงกับคำบรรยายที่ร้านอาหารระบุมา
ทาง Grab ทดสอบฟีเจอร์กับร้านกลุ่มหนึ่ง โดยแจ้งล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์ ร้านอาหารที่ไม่ต้องการเข้าร่วมทดลองครั้งนี้สามารถแจ้งปฎิเสธการใช้งานได้แบบ opt-out และภาพที่แสดงก็ระบุบนภาพว่าเป็นภาพที่สร้างขึ้นมา
ผู้ใช้ที่เห็นภาพโฆษณาบางส่วนบ่นว่าภาพที่สร้างขึ้นมาไม่น่าทานนัก และดูเหมือนถ่ายจากอาหารปลอมมากกว่า ทางโฆษกของ Grab ระบุว่าผู้ใช้ต้องการเห็นภาพอาหารก่อน แต่ก็ยอมรับว่าควรทำได้ดีกว่านี้
จากประเด็นข่าวที่ผ่านมา เมื่อมีผู้ใช้งานแอปเดลิเวอรี่ ชื่อดัง ได้เข้าไปแก้ไขชื่อแผนที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ โดยมีการเปลี่ยนชื่อในสถานที่ต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยกบฏแห่งชาติธรรมศาสตร์, ลานประหารกบฏคอมมิวนิสต์ไทย เป็นต้น
ซึ่งเบื้องหลังคือ แอปเดลิเวอรี่ดังกล่าวดึงข้อมูลแผนที่มาจาก OpenStreetMap ซึ่งเป็นผู้ให้บริการฐานข้อมูลในรูปแบบของแผนที่ก่อตั้งโดย Steve Coast มีจุดประสงค์คือ แบ่งปันเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ฟรี โดยหน้าตาของ OpenStreetMap จะมีความคล้ายคลึงกับ Google Map ที่เราคุ้นเคยกัน แต่ต่างตรงที่ OpenStreetMap สามารถแก้ไขข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการและไม่สามารถเข้าถึงการดูผ่านดาวเทียมได้ ส่วน Google Map สามารถดูได้ละเอียดกว่า
Grab รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2022 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 310% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเป็น 502 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่าการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มสุทธิ (GMV) ที่เพิ่มขึ้น 11% เป็น 4,997 ล้านดอลลาร์ โดยขาดทุนสุทธิ 391 ล้านดอลลาร์ ลดลง 64%
รายได้ที่เติบโตสูง Grab บอกว่ามาจากการเติบโตทั้งจากธุรกิจรถโดยสารและเดลิเวอรี เช่น การปรับลดส่วนแบ่ง และปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจในบางประเทศ ขณะที่มูลค่าการใช้จ่ายรวมเติบโตจากธุรกิจรถโดยสารและบริการทางการเงิน
Grab รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2022 มีมูลค่าการทำรายการผ่านแพลตฟอร์ม (GMV) 5,080 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน คิดเป็นรายได้ของ Grab 382 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 156% และขาดทุนสำหรับไตรมาส 342 ล้านดอลลาร์
รายได้ตามส่วนธุรกิจ เดลิเวอรีเพิ่มขึ้น 271% เป็น 171 ล้านดอลลาร์ และมี EBITDA แบบปรับปรุงเป็นบวกครั้งแรก ขณะที่ธุรกิจรถโดยสารมีรายได้เพิ่มขึ้น 101% เป็น 176 ล้านดอลลาร์ จากการฟื้นตัวของธุรกิจหลังโควิด 19 จำนวนผู้ขับรถตอนนี้คิดเป็น 80% ของช่วงก่อนการระบาดโควิด
Grab เปิดตัวบริการใหม่ GrabMaps บริการระบบแผนที่สำหรับลูกค้าองค์กร ซึ่ง Grab ระบุว่าตอนนี้ใช้งานแล้วในบริการของ Grab ใน 7 จาก 8 ประเทศที่ดำเนินการอยู่ และคาดว่าจะนำใช้งานได้ครบทั้งหมดภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ (ขาดอินโดนีเซีย)
จุดเด่นของ GrabMaps ที่ Grab อธิบายคือแผนที่ ซึ่งเข้าใจรายละเอียดในระดับท้องถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า โดยเฉพาะตรอกซอกซอย ที่แอปแผนที่รายใหญ่ไม่มีรายละเอียดส่วนนี้ แต่ Grab เก็บข้อมูลได้จากการเดินทางของไรเดอร์ และนำมาใช้ออกแบบเส้นทางเดินทางได้
Grab Holdings รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2022 มีรายรับสุทธิ (GMV) 4,805 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 32% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน แบ่งเป็นธุรกิจเดินทาง 834 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3% เดลิเวอรี 2,562 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 50% และธุรกิจการเงิน 1,357 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 23% มีจำนวนผู้ใช้งานรวม (MTU) 30.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10%
รายได้ส่วนของ Grab คิดเป็น 228 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6% ขาดทุนลดลงเป็น 435 ล้านดอลลาร์
Anthony Tan ซีอีโอ Grab กล่าวว่าผลการดำเนินงานที่ออกมาสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมองว่าแนวโน้มจะดีขึ้นต่อเนื่อง จากมาตรการผ่อนคลายของแต่ละประเทศ
Grab Holdings รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ซึ่งเป็นการรายงานผลประกอบการครั้งแรก หลังจากบริษัทเข้าตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐฯ ด้วยวิธี SPAC เมื่อปลายปีที่แล้ว รายรับสุทธิ (GMV) เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 4,501 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเดลิเวอรีเพิ่มขึ้น 52% ธุรกิจการเงินเพิ่มขึ้น 29% และรถโดยสารลดลง 11%
Grab Holdings ได้นำบริษัทเข้าตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐฯ ได้แล้วอย่างเป็นทางการด้วยวิธี SPAC ภายใต้สัญลักษณ์การซื้อขาย GRAB โดยวันนี้ราคาเปิดของหุ้นอยู่ที่ 13.06 ดอลลาร์
Grab นำบริษัทเข้าตลาดหุ้น Nasdaq ด้วยวิธี SPAC ผ่านการควบรวมกับบริษัท Altimeter Growth Corp. โดยดีลของ Grab ครั้งนี้ทำให้บริษัทมูลค่ารวมเกือบ 4 หมื่นล้านดอลลาร์
เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า Hillborough Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CRC จะเข้าซื้อหุ้นของ Porto Worldwide (Porto WW) คิดเป็น 67% ของหุ้นทั้งหมด มูลค่าการลงทุนไม่เกิน 4,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของสัญญาซื้อขายหุ้นเมื่อปี 2562 ที่ผู้ถือหุ้นเดิม OAL Holding ใช้สิทธิขายหุ้นได้
ผลจากดีลดังกล่าวทำให้ CRC จะถือหุ้นใน แกร็บแท็กซี่ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ผ่านการถือหุ้น Porto WW คิดเป็นสัดส่วน 40% โดย CRC มองว่าดีลนี้จะทำให้ Grab มาเสริมกับธุรกิจหลักสู่การเป็น Digital Retail ที่สมบูรณ์แบบ
Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Grab เตรียมเข้าซื้อหุ้น Ovo แพลตฟอร์มจ่ายเงินในอินโดนีเซียจาก Tokopedia และ Lippo ที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิม ทำให้ Grab เป็นผู้ถือหุ้นจากเดิม 39% เพิ่มเป็น 90% ของบริษัท
เหตุผลที่ Tokopedia ต้องขายหุ้น Ovo ออกไป เนื่องจากการควบรวมกิจการกับ Gojek เป็นบริษัทใหม่ GoTo ซึ่งกฎหมายของอินโดนีเซียไม่อนุญาตให้บริษัทประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มจ่ายเงินมากกว่าหนึ่งแห่ง GoTo ซึ่งมีทั้ง Ovo และ GoPayLater จึงต้องขายหุ้นบริษัทหนึ่งออกมา
ตัวแทนของ Ovo ยืนยันข่าวนี้โดยบอกว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล ในการปรับโครงสร้างกิจการ
Grab รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2021 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารในขั้นตอนการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น NASDAQ ผ่านวิธี SPAC โดยให้ Altimeter Growth Corp. เข้ามาซื้อกิจการ
บริษัทมียอดขายสุทธิ (GMV - Gross Merchandise Value) 3,644 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5% เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2020 บันทึกเป็นรายได้ 216 ล้านดอลลาร์ และขาดทุนสุทธิ 652 ล้านดอลลาร์ จำนวนผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มที่มีการใช้จ่ายใน 1 เดือน (MTU - Monthly Transacting Users) 23.8 ล้านบัญชี
ธุรกิจเดลิเวอรีมี GMV เพิ่มขึ้น 49% ส่วนบริการรถโดยสารมี GMV คิดเป็น 64% ของปี 2020
วันนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างกฎกระทรวงคมนาคมที่จะเปิดทางให้นำรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งมาให้บริการผ่านแอป เช่น GrabCar ได้อย่างถูกกฎหมาย
ร่างล่าสุดที่เปิดเผยออกมา มีการควบคุมการลงทะเบียน รถที่ใช้งานได้ต้องอายุไม่เกิน 9 ปี (อธิบดีกำหนดอายุได้) มีการติดเครื่องหมายแสดงการเป็นรถรับจ้างเอาไว้ที่ตัวรถ ตัวแอปต้องมีระบบคิดค่าโดยสารล่วงหน้า และเก็บข้อมูลย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ส่วนข้อบังคับเพิ่มเติมของผู้ขับขี่นั่นระบุให้แต่งกายสะอาด สุภาพ แนวทางนี้นับว่าคล้ายกับแนวทางของสิงคโปร์ แต่ไม่มีเงื่อนไขการสอบใบขับขี่แบบพิเศษแบบสิงคโปร์แต่อย่างใด
หลังจากลือกันมาสักระยะ วันนี้ Grab Holdings ประกาศแผนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ด้วยวิธีการ SPAC แทนการขายหุ้น IPO ตามปกติ
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่า Grab กำลังศึกษาวิธีนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นอเมริกา ผ่านวิธีการ SPAC ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมาก สำหรับบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดหุ้นอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา แตกต่างจากวิธีการขายหุ้นต่อสาธารณะหรือไอพีโอ
SPAC หรือ Special Purpose Acquisition Companies เป็นการจัดตั้งบริษัทที่ระดมทุนจากนักลงทุน มีเป้าหมายเพื่อซื้อธุรกิจสักอย่าง แล้วเปลี่ยนให้บริษัทที่ซื้อมาเข้าเป็นบริษัทในตลาดหุ้นแทน วิธีการนี้ช่วยลดขั้นตอนจากไอพีโอแบบเดิมซึ่งมีระยะเวลาและต้นทุน กรณีของ Grab นั้น มีรายงานว่าที่ปรึกษาทางการเงินทั้ง JPMorgan และ Morgan Stanley กำลังหาบริษัท SPAC ที่มีขนาดเหมาะสมในการซื้อกิจการอยู่