วันนี้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ยื่นจดหมายแสดงความคิดเห็นเรื่องการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอีก 4 เดือนข้างหน้า โดยดีแทคเสนอแนวทางที่ “น่าจะเป็นไปได้” สำหรับการประมูลในรอบนี้ขึ้นมาครับ
แนวทางที่ดีแทคเสนอ ประกอบด้วยราคาตั้งต้นในการประมูลรอบใหม่ที่ กทค. มีมติว่าใช้ราคาสุดท้ายของ JAS เป็นราคาตั้งต้น (75,654 ล้านบาท) ดีแทคมองว่าราคาดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริงสำหรับตลาดอุตสาหกรรม แม้จะเป็นผลดีต่อภาครัฐที่ได้รายได้จากการประมูลจำนวนมาก แต่ก็ส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมเช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งในแง่ของความเชื่อมั่นในการลงทุน และความกังวลเรื่องต้นทุนการให้บริการที่สูงเกินความจำเป็น ทำให้ที่ผ่านมามูลค่าต้นทุนต่อตลาดอุตสาหกรรมของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลทั้งหมดลดลงกว่า 5 แสนล้านบาท ในระยะเวลาประมูลเพียง 4 วัน
ดีแทคจึงเสนอให้ กสทช. พิจารณาปรับลดราคาตั้งต้นการประมูลลงมาเหลือ 16,080 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาตั้งต้นในกรณีที่มีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ราย ดีแทคชี้ว่าวิธีดังกล่าว จะช่วยให้ กสทช. ได้รับทราบราคาคลื่นความถี่ที่แท้จริง ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่ทำให้ราคาสูงเกินกว่าความเป็นจริงในตลาดอุตสาหกรรม
พร้อมกันนี้ดีแทคยังเสนอให้ออกข้อห้ามมิให้ผู้ชนะในการประมูลรอบที่แล้ว (TrueMove H) เข้าประมูลในรอบนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ว่า ผู้เข้าประมูลหนึ่งรายมีสิทธิ์ที่จะยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้ไม่เกินหนึ่งชุดความถี่ ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ กสทช. ตั้งเอาไว้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี และไม่เป็นการผูกขาดคลื่นความถี่ 900 MHz แต่เพียงรายเดียว
ดีแทคยังขอให้ กสทช. จัดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นการทั่วไปด้วย และดีแทคก็ยินดีที่เข้าร่วมรับฟังและให้ความคิดเห็นต่อการออกเงื่อนไขรอบใหม่ เพื่อให้การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz รอบใหม่สามารถสำเร็จได้อย่างลุล่วงครับ
ที่มา - จดหมายดีแทค
ดีแทค ไตรเน็ต ยี่นจดหมายแสดงความคิดเห็นต่อ กสทช. ประเด็นประมูลใหม่คลื่น900MHz ชุดที่ 1
22 มีนาคม 2559 – ดีแทค ไตรเน็ต ยื่นจดหมายแสดงความคิดเห็นต่อการนำคลื่น 900MHz ชุดที่ 1กลับมาประมูลใหม่ต่อการพิจารณาของ กสทช. แล้วในวันนี้ (22 มี.ค.)
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า“ดีแทคขอชื่นชม กสทช.ในการจัดการประมูลคลื่น 1800MHz และ 900MHz ที่ผ่านมาเพื่อให้มีแบนด์วิธตอบสนองความต้องการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นสูงเป็นอย่างมาก การมีคลื่นความถี่บริการอย่างพอเพียงทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ขยายประสิทธิภาพของบริการเพื่อรองรับการเติบโตได้ทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่าราคาคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ที่สูงมากจากการประมูลคราวที่แล้วจะมีผลกระทบต่อเนื่องต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะยาว นอกจากนี้ การที่ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถชำระค่าคลื่นความถี่งวดแรกรวมทั้งไม่สามารถวางหนังสือค้ำประกันค่าคลื่นความถี่ต่อ กสทช. ได้ตามกำหนดนั้น อาจพิจารณาได้ว่าในการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ได้เกิด “ความต้องการเทียม” ในการประมูลและเป็นปัจจัยหลักในการดันราคาการประมูลให้สูงเกินกว่าความต้องการที่แท้จริงของอุตสาหกรรม
· การประมูลคลื่นราคาที่สูงอาจจะมองได้ว่าเป็นผลดีต่อรัฐในช่วงสั้นๆ แต่อาจมีผลเสียในระยะยาวเช่นลดประสิทธิภาพในการลงทุนพัฒนาโครงข่ายของผู้ประกอบการ ลดความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพิ่มความไม่แน่นอนขึ้นในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งผลให้มูลค่าตลาด (Market Capitalization) ลดลงเป็นมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท ทั้งนี้อาจจะกระทบต่อการนำไปสู่การสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอาจกระทบต่อหลักสำคัญของความสำเร็จในการผลักดันนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ของรัฐบาล
· ดีแทค ไตรเน็ตขอสนับสนุน กสทช. ในการจัดประมูลคลื่น 900 MHz ชุดที่ 1 ใหม่ (Re-auction)ตามประกาศ กสทช. กฎการประมูลและเงื่อนไขการประมูลซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ด้วยการประมูลคลื่น 900 ชุดที่ 1 ใหม่เป็นการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประมูลคลื่น 900MHz คราวก่อน บริษัทฯ จึงเห็นว่าการประมูลคราวนี้ควรจำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมการประมูลที่เหลืออยู่จากการประมูลคลื่น 900 MHz คราวก่อนเท่านั้น นอกจากนี้ ราคาขั้นต่ำ (Reserve Price)ของการประมูลคลื่น 900 MHz ชุดที่ 1 ครั้งใหม่นี้ควรกำหนดที่ราคา 16,080 ล้านบาทเท่ากับการประมูลคลื่น 900 MHz คราวก่อน (ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ราย) ซึ่งโดยวิธีนี้ จะเป็นการประมูลแข่งขันที่จะเป็นการกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ 900 MHz ชุดที่ 1 ที่แท้จริงและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
· นอกจากนั้น ดีแทค ไตรเน็ต ขอเสนอให้ กสทช. จัดให้การรับฟังความเห็นสาธารณะเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียเป็นการทั่วไปด้วย โดยบริษัทฯ ยินดีให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ต่อ กสทช.ในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่จะมีขึ้นเพื่อนำไปสู่การจัดการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ชุดที่ 1 (Re-auction) ด้วยความสำเร็จลุล่วงด้วยดีต่อไป
Comments
โหๆๆ พูดจาเหมือนหล่อ สรุปแล้วก็เห็นแก่ตัว
สุดๆ
มากๆ
มาก จริงๆด้วย
press release ตัวนี้ทำภาพลักษณ์ป่นปี้หมด หลังจากที่ก่อนหน้านี้แป๊ปนึงดูเหมือนจะหล่อ..
+900 +1800
ถ้าพูดว่าผมยอมจ่ายราคาสุดท้ายจะหล่อมาก
+infinity
+1 จากข่าวนี้ DTAC ทุเรศมากครับ ขอให้ราคาเริ่มต้น 16000 ล้าน คนอื่นประมูลไป 75000 ล้าน ขอให้ True ไม่เข้าร่วมจะได้ไม่มีคู่แข่ง สรุปเห็นแก่ตัว หน้าด้านมาก
ไม่ขอให้ยกคลื่นให้ไปเลยล่ะครับ
โดนใจสุดๆ
เริ่มใหม่ราคานี้ดูน้อยไปหน่อย สักครึ่งหนึ่งของ 7 หมื่นกว่าล้านก็ยังดี (เริ่มที่ 3 หมื่นกว่าล้าน)
ให้เหลือสองเจ้า เริ่มราคาตั้งแต่ต้นใหม่ ไม่ต้องออกความเห็นก็ได้นะdtac บอกไปเลยว่าขอถูกๆๆ ตังไม่เหลือแล้ว แถมปัญหาตามมาชัวร์ เรื่องอะไรทรูจะยอม
กสทช. ก็คงปวดหัวเหมือนกัน เพราะ 75,654 ล้านที่ true ซื้อแพงมาก ถ้าประมูลใหม่เลยก็คึงจะไม่ใด้มากเหมือนเดิม
แต่ท่าที่ กสทช. น่าจะไช้คือ รอ jas จ่ายเดือนเมษายน ส่วนในตลาดหลักทรัพย์ก็ SP ไปเรื่อยๆ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ไม่เห็นมีพูดถึงเลยว่าแล้วที่ทรูประมูลไปสูงกว่าชาวบ้านเค้าที่ 75,000 ล้าน จะให้ทำยังไง ประมาณว่าทรูซวยเองที่ประมูลได้ ช่วยไม่ได้ เหอๆๆ เห็นแก่ตัวเกินไปครับ DTAC ใจเขาใจเราหน่อย
นอกจากพระอรหันต์มีใครในโลกไม่เห็นแก่ตัวละครับ 7 หมื่นล้านนี่ก็เห็นแก่ตัว(กสทช - ไม่โดนฟ้อง) แถมเห็นแก่ทรู(ไม่มีคู่แข่งใช้คลื่น)
ผมว่าย่อหน้าสุดท้ายนั่นแหละประเด็น แต่กสทช กล้ารึเปล่า ถ้าเสียงโหวตออกมาว่าไม่เอาเริ่มที่ 7 หมื่นล้าน
ท่าที่ทุกคนปลอดภัย (ยกเว้นคนไทยซวยอดใช้คลื่น) คือดอง 900 นี้ทิ้งไว้เปล่าๆ แล้วทุกคนไปรอก้อนต่อไปประมูลกันระวังไม่กดเพลิน ราคาไม่เกี่ยวกัน
lewcpe.com, @wasonliw
เสนอได้เห็นแก่ตัวมาก
ถ้าดีแทคบอกว่า มันเกิด "ความต้องการเทียม" ระหว่างการประมูลคราวก่อน แล้ว กสทช. ยอมรับว่าจริง
ทรู ก็ควรได้รับการเยียวยา จากการประมูลในสถานการณ์ที่มี "ความต้องการเทียม" นั้นเหมือนกัน
โมฆะไปเลยมั้ย 2 ใบ 3 เจ้า เริ่มราคาแรกใหม่ แฟร์ๆ ฮ่าๆ
2 ค่ายเขาจัดการในกรฯีที่ไม่ได้คลื่นไปเยอะแล้วครับ จะมาบอกว่าประมูลไหม่ คือแฟร์ไม่ได้หรอก
ทุกคนเห็นแก่ตัวแหมดแหละครับ ผมว่านะ
ดีแทคควรภูมิใจที่ไม่มีหนี้ต่อไป.. เห็นตอนจบประมูลดีใจไม่ใช่เหรอ
จริงๆถ้าเริ่มใหม่ไปเลยก็โอเคนะครับ แค่ทรูควรแข่งได้ แล้วถ้ามากน้อยกว่าเดิมยังไง ถ้าทรูคิดว่าไม่เป็นธรรมก็ไปฟ้องไล่เอาเงินจาก JAS เอา
คิดว่าโอเคไหมครับ?
ปล่อยทรูไว้กลางดอย แล้วเรามาเริ่มกันใหม่ #FairFight ครับ
DTAC เสนอแบบนี้โคตรหน้าด้านเลย
ประมูล 7 หมื่นล้านไม่น่ามีเจ้าไหนเอาแน่นอน
เสียค่าปะมูลฟรีแน่ๆ ตรงนี้เรียกเก็บค่าเสียหานจาก jas ได้ไหม
หล่อจนอยากเอาใส้มาลาพื้นมากๆ
ราคาตั้งต้นอาจจะน้อยไปหน่อยแต่เห็นด้วยตรงที่ไม่ให้ทรูเข้าประมูลไม่งั้นอาจจะผูกขาดคลื่น 900 เจ้าเดียวได้
ถ้ามองแบบนี้ AIS ก็ใช้คลื่น 900 มาคนเดียว 20+ ปีนะครับ
คลื่น 900 ของ tot (ของชาติ) นะครับ ais จ่าย%ให้ tot ทุกบาทของรายรับครับ
ครับแต่ต้องมาดูว่าเหลือถึง "ชาติ" เท่าไหร่ หายไปกับ "TOT" เท่าไหร่ ?
ไม่งั้นเค้าจะเปลี่ยนมาเป็นระบบใบอนุญาติทำไมละครับ ?
ประเด็นคือ ทรูไม่ได้ทำผิดกฏอะไร จะไปห้ามเขาไม่ให้ประมูลได้อย่างไร ?
ทรูควรประมูลได้ครับ แต่ถ้ามาป่วนราคา คงต้องเป็นไปตามกฏ
ส่วนตัวคิดว่าไม่เห็นด้วยครับ ถ้า กสทช. จะลดราคาลง ก็ควรลดราคาลงให้ทรูด้วย เพื่อความเป็นธรรม
เช่น ประมูลใหม่ ราคาเริ่มใหม่ แล้วประมูลจบที่เท่าไร ถ้าน้อยกว่า 75000 ก็ลดให้ทรูด้วย แบบนี้จะเป็นธรรมกับทรู
JAS ตัวป่วนเข้ามาดึงราคาให้สูงๆๆ แล้วจากไปแบบนี้ ไม่น่ารักเลย
ตอนที่ประมูลจบ ทรูบอกราคานี้ยังไงก็คุ้ม ลงทุนเครือข่ายประหยัดไป 45000 ล้าน ได้ตัดกำลังแถมแย่งลูกค้าจากเบอร์ 1 อีก ตั้งเป้าขึ้นเบอร์ 2 แทน DTAC
พอตอนนี้จะประมูลใหม่ สถานการณ์ใหม่ กลายเป็นไม่คุ้มแล้วเหรอต้องขอลดราคา
ผมกำลังจะบอกว่าตอนที่ทรูทุ่มเงินเอาคลื่นก็เป็นการตัดสินใจเชิงธุรกิจน่ะครับ เค้าก็กะทำลายคู่แข่ง เพราะเห็นโอกาสเค้าก็ยอมจ่ายเงินเพื่อชนะประมูล ซึ่งเบอร์ 1 เค้าก็ต้องแก้เกมเหนื่อยนะ เสียเงิน 7-8 พันล้านแจกโทรศัพท์ ไปขอโรมมิ่งกับเบอร์ 2 ผมมองว่า เกมแรกที่จบไป มันยุติธรรมกับทุกฝ่ายแล้วนะ ถ้าจะแข่งขันกันใหม่ไม่ว่าจะประมูล จบเท่าไหร่ทรูก็ควรจ่ายใบแรกเต็มจำนวนเท่าที่ประมูลได้ เพราะตัวเองยินดีจ่ายราคานั้นเองเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจ มันต้องรับความเสี่ยงต่อกรณีเกมพลิกแบบนี้ด้วยนะครับ ถ้าไม่พอใจก็ไปฟ้องศาลเอา ถ้ากสทช.ลดค่าประมูลใบแรกให้ทรู กสทช. ก็โดนฟ้องเหมือนกันนะครับมันจะวุ่นวายเปล่าๆ
คุ้มหรือไม่คุ้ม ผมไม่รู้ครับ ธุรกิจของทรูจะเป็นไงผมก็ไม่ทราบผมไม่ใช่ติ่งทรู แต่ผมคิดว่าถ้าลดราคาคลื่นลงใหม่ มันไม่เป็นธรรมกับทรูแค่นั้นครับ เพราะตอนประมูล เขาก็ไม่มีใครคิดว่า JAS จะยกเลิกหรอกครับ ถ้า JAS ไม่ยกเลิกแบบนี้ก็ปล่อยให้เขาเป็นไปตามธรุกิจไป แต่พอยกเลิก ราคาที่เขาแข่งกันจนสูงลิบลิ่วนั้น จะทำอย่างไรครับ
+1 ครับ ลองนึกภาพว่าของเหมือนๆ กันสองชิ้น ไปประมูลมา เราได้ชิ้นนึงสองล้านสอง อีกคนนึงได้สองล้าน เราก็โอเค ได้ของเหมือนกัน จ่ายแพงกว่าไม่เท่าไหร่ก็ยังภูมิใจอยู่ แต่อยู่ๆ อีกคนนึงไม่เอา เค้าประมูลใหม่ได้ราคาห้าแสน แต่เราต้องจ่ายสองล้านสองเหมือนเดิมนี่เศร้านะครับ
มีกรณีหลัง แบบที่คุณอธิบาย ปกติมากครับในการ บิดของใน ebay
บิดใน ebay คนชนะรอบแรกบิดได้อีกน่ะ #หรือเปล่า
สมมติว่าคุณเป็นตัวแทนของบริษัทแห่งนึงได้รับมอบหมายให้นำกล้องที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทสภาพเหมือนกันไปเปิดประมูล 2 ตัว แล้วเกิดเหตุการณ์เหมือนกันทุกอย่าง คุณจะทำไงครับถ้าคุณเป็นผู้ให้ประมูล จะบอกบริษัทต้นสังกัดและเพื่อนร่วมงานอย่างไร
บอกตามตรงนะครับ ดีแทคทำแบบนี้น่าเกลียดมาก เอาประโยชน์ตัวเองมาก เห็นแก่ตัวสุดๆ เอาแต่ได้
DTAC น่าเกลียดสุดๆ
+1
เพื่อประโยชน์ประชาชน ปล่อยคลื่นใช้ฟรี
Dtac ได้คลื่นฟรี ไม่เก็บค่าโทรและค่า net
เพราะไม่มีต้นทุนการประมูล
เอ่อ...ถ้าแบบนี้น่าสนแหะ 555
มีสิทธิ์อะไรมากีดกันทรู
เห็นอ้างจากกฎการประมูลรอบแรกนะครับว่า ได้กันแค่คนละ lot
คิดว่าถ้าให้ง่ายสุดก็รีเซ็ตใหม่หมด จัดประมูลใหม่ทั้ง 2 อันใหม่ ที่ทรูจ่ายแล้วถ้าทรูประมูลไม่ได้ก็คืนเงินไป ส่วนค่าใช้จ่ายค่าปรับค่าเสียหายเอากับ jas โมบายให้หมด ตังค์ไม่พอก็ฟ้องล้มละลายไป
จริงๆผมว่าไม่ต้องประมูลใหม่หรอก เอาคนที่เสนอราคาเป็นอันดับที่ 2 3 4 เรียกมาจ่ายตามที่ยื่นราคาไว้
ถ้าใครจ่ายไม่ไหวก็ฟ้องล้มละลาย ขายทรัพย์สินมาชดเชยความเสียหายให้หมด ถ้าชดเชยแล้วยังไม่พอก็ขึ้นบัญชีหนี้ผู้ถือหุ้น แบ่งหนี้กันไปตาม%หุ้นที่ถืออยู่ไปเลย มันจะได้ไม่มีใครเอาไปเป็นเยี่ยงอย่างอีก
ตอนประมูลไม่รู้จักคิด ต้องเอาให้หนักๆ
การประมูลไม่ผูกพันคนที่แพ้ประมูลนะครับ
แล้วเรื่องการรับผิดของถือหุ้นจะรับผิดไม่เกินจำนวนหุ้นที่ถือ พูดง่ายๆจะไปเอาผิดเกินกว่ามูลค่าหุ้นที่เขาถือไม่ได้ ต้องไปเอาผิดอีกฝ่ายซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของบริษัท เพราะบริษัทจำกัด มหาชน คนที่ถือหุ้นบางส่วนก็ไม่ได้มีอำนาจบริหาร
ดังนั้นสิ่งที่คุณเสนอมาไม่อาจทำได้และผิดกฎหมายครับ ถ้า กสทช. ทำลงไป กสทช. โดนฟ้องหลังอานแน่นอนครับ
ถ้าผลผูกพันธ์คนแพ้ประมูลนี่เรียกได้ว่าเป็นระบบที่แย่มากครับ เพราะคนแพ้ประมูลก็ต้องเอาเงินไปลงทุนอื่นๆเนื่องจากแพ้ประมูลไปแล้วอยู่แล้ว
กลายเป็นว่าลงทุนไปแล้ว สินค้าเก่าที่ประมูลกลายเป็นสินค้าด้อยค่า แต่จำเป็นต้องไปจ่ายราคาเต็ม? ผมว่าไม่ใช่แล้วครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
น่าเกลียดเกิน หน้าด้านด้วย
งานนี้เป็นอีกหนึ่งบนพิสูจน์การทำหน้าที่ของ กสทช. ว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
+1
เกิดหรือตาย อยู่ตรงนี้แหละ
เกิด ตาย วนเวียนครับ...
พี่ไม่บอกว่าขอคลื่นมาใช้ฟรีไปเลยหล่ะครับ DTAC
เอาเลยครับผมเกลียดทรู นี่กะจะไปย้ายออกละเนี่ยห่วยมาก
ทำไมอยู่ดีๆ เอาคอมาพาดเขียงให้ประชาชีเขาสับเล่น หรือพรุ่งนี้อยากช้อนของถูก?
ยิ่งแนวทางนี้เป็นแนวทางที่ทำร้ายจิตใจประชาชนมากที่สุดด้วย
อยู่เฉยๆ ก็ได้ ให้ กสทช. เป็นผู้ตัดสินใจ ดี หรือไม่ดี โดนด่าหน่วยงานเดียว
ก็ปกตินะ ไม่เห็นน่าเกลียดตรงไหน แค่เอากฎของการประมูลรอบแรกมาใช้ใหม่
การประมูลรอบแรกมันจบไปแล้วน่ะสิครับ อันนี้พูดถึงการประมูลรอบต่อไปแล้ว ด้วยข้อเสนอนี้ผมว่าน่าเกลียด
แต่เห็นด้วยว่าไม่ควรให้ทรูมาประมูล แต่อยากให้ยืนราคาเดิมถ้าไม่มีใครประมูล รอ 3 ปีค่อยกลับมาประมูลใหม่ก็ได้
อาจจะต้องประมูลพร้อมกับคลื่นความถี่อื่น และราคาตั้งต้นน่าจะไม่ใช่เท่าเดิมแล้วด้วย เพราะอย่างที่เราเห็นว่ามูลค่ามันสูงกว่านั้นเยอะเลย
ถึงจะใช้ dtac แต่แสดงทรรศนะออกมาแบบนี้ ผมก็อวยพรให้เจริญลงๆ นะครับ รอบหน้าขอให้เจี๊ยบเชียร์ dtac ให้ได้คลื่นแล้วกันนะ
อ่านแล้วรู้สึกเห็นแก่ตัวชะมัด... ใช่ ทุกคนย่อมมีความเห็นแก่ตัวทั้งนั้นแหละ แต่ความเห็นแก่ตัวเก็บเอาไว้ภายในองค์กรเถอะครับ ไม่ใช่ press release ออกมาแบบนี้ให้ภาพลักษณ์ป่นปี้หมด พูดแต่เรื่องของตัวเองล้วนๆ ไม่ได้สนใจความถูกต้องอื่นเลย รวมถึงคู่แข่งด้วย ไม่เหลือแล้วครับ dtac ที่เคยมีภาพลักษณ์ดีๆ
สำหรับสารของ dtac ตัวนี้ อยากให้ กสทช. รวมทั้งคนในสังคม ignore ไปเถอะครับ สารแบบนี้ไม่ได้มีราคาให้ต้องรับฟังขนาดนั้น ปล่อยให้มันเป็นธาตุลมไป
ส่วนตัวผมว่าแนวทางของ กสทช. ณ ปัจจุบันคือเหมาะสมแล้ว เริ่มต้นประมูลที่ราคาล่าสุด ซึ่งแน่นอน คงไม่มีใครประมูลแล้วล่ะ ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีใครเจ็บตัว ทั้ง True และ กสทช. ไว้ประมูลอีกหนึ่งปีข้างหน้า แม้จะทิ้งคลื่นไว้เฉยๆ แม้ประมูลครั้งหน้ามูลค่ามันอาจจะลดลงอีก ก็เป็นสิ่งที่มันจะต้องเกิด เพราะสถานการณ์มันเป็นแบบนี้ไปแล้ว ส่วนเรื่องลดราคาให้ True ก็เป็นไปไม่ได้ รวมถึงการล้มโต๊ะด้วย เพราะถ้าทำแบบนั้น คณะกรรมการ กสทช. เจอฟ้องแน่ๆ
ถึงผมจะไม่ค่อยชอบ True เท่าไหร่ แต่ต้องยอมรับนะครับว่าทรูประมูลมาถูกต้องตามกติกาทุกอย่าง และเอาเงินเข้ารัฐจำนวนมหาศาลด้วย
ถ้าจะมาเล่นเหมือนเด็กขายขนม อ่ะ ขายไม่ออกก็ลดราคาหน่อยแล้วกัน ต่อไปการประมูลมันจะศักดิ์สิทธิ์หรือครับ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะเหลือหรือ บางทีเราก็ต้องคิดถึงผลกระทบในระยะยาวด้วย
ขอไม่สนับสนุนองค์กรที่เห็นแก่ตัว นึกถึงแต่ตัวเอง จะเอาแต่ได้อยู่ฝ่ายเดียว คนอื่นจะเป็นอย่างไรไม่สน องค์กรพวกนี้ไม่ควรจะได้รับการสนับสนุนจากสังคมเสียด้วยซ้ำ
ฝากคำเตือนถึง dtac ถ้ายังมีข่าวในทำนองนี้ออกมาอีก ผมคงต้องขอย้ายค่ายหนีไป AIS แล้วนะครับ รู้สึกว่าองค์กรแบบนี้ไม่ควรให้การสนับสนุนครับ ทุกวันนี้ดูแลลูกค้าไม่ดี สิทธิพิเศษไม่มียังทนไหว แต่ยังมาบีบองค์กรัฐแบบนี้ด้วย ผมจะไม่ทนครับ
ปล. เป็นลูกค้ารายเดือน เบอร์ 081 ใช้มา 15 ปีแล้ว เดือนละเฉียดๆ พัน
ทิ้งคลื่นไว้ 1 ปี ถ้าประชาชนสามารถฟ้องแจส หรือ กสทชได้ครับ รัฐเสียหายหลายอย่าง
พูดมาได้แบบนี้ คิดได้ไงครับ ขนาดผมเป็นลูกค้าของคุณ ผมยังเคืองเลยครับ
Get ready to work from now on.
แล้วที่โฆษณาว่า 72,000 ล้านบาททำอะไรได้บ้าง คือ ตอนนี้เหลือเท่าไหร่แล้ว
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ก็แค่ แกพูดแทนความในใจของเพื่อนร่วมวงการดังไปหน่อย หุๆ เลยกลายเป็นไม่หล่อเลย
และใครกันหนอที่เคยส่งคนไปล๊อบบี้ให้แบ่งคลื่นไปเท่าๆกัน ไม่ให้ประมูลแย่งกันตอนคลื่น 2100 ไม่งั้นขู่ว่าจะล้มโต๊ะ มาตอนนี้กลับคำพูด บอกว่าใครก็มีสิทธิ์ได้คลื่นไปทั้งหมดถ้ามีเงินพอ?
พูดตรงๆ สองค่ายที่แพ้ประมูล ลงทุนขยายโครงข่ายเดิมทดแทนด้วยเม็ดเงินนับหมื่นล้านไปแล้วนะครับ จะให้ประมูลราคาเดิม ก็ไม่แฟร์กันสักเท่าไร
ป.ล. แต่ทำนายได้เลยว่า องค์กรอิสระ คงลอยตัว ไม่มีคนเข้าร่วมประมูลราคาเดิม ก็เลื่อนไปเรื่อยๆ ไม่แก้ไขอะไรทั้งนั้น กลัวโดนฟ้อง ส่วนประชาชนในชาติจะเสียโอกาสก็ช่าง? ส่วน JAS อาจโดนม.44เล่นงานแทน เพราะไม่มีเงื่อนไขในการประมูลที่จะเอาผิดมากกว่าการยึดเงินที่วางไว้ได้เลย..
บ้าไปแล้ว ถ้าจะให้ลดราคาลงก็ต้องลดราคาให้ true ด้วยซิครับ เอาเปรียบคนที่เขาประมูลได้ในรอบก่อนเห็นๆ
ควรจะฟ้องแพ่งแจส ถ้าไม่มีตังจ่ายก็ล้มละลาย ไม่ก็ขาย AIS ไป
มีกลิ่นนะครับ อิอิ เอไอเอสตอนนี้รุกตลาดไฟเบอร์อย่างหนักเลย ถ้าได้ 3BB ไปนี้ ครบสูตร
จริงๆ เงินประกันมันไว้สำหรับจ่ายค่าความเสียหายจากการชิ่งอยู่แล้ว กสทช กำหนดไว้น้อยเกินไปหรือเปล่า และถ้าไม่ได้ประกาศไว้ว่าจะทำอย่างไรกับผู้เบี้ยวประมูล ก็น่าจะทำได้แค่ยึดเงินประกันแหละครับ ทำเกินนั้นผมว่าก็ไม่ fair กับผู้ร่วมประมูลเหมือนกัน เค้าทำผิด ก็เสียเงินประกันตามกติกาที่ตกลงกันไป
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ก็ประมูลใหม่ ราคาไหนก็ว่ากันอีกที ให้ทรูประมูลด้วยถ้าทรูอยากประมูล
ส่วนคลื่นก้อนแรกที่ทรูจ่ายไป มันเป็นการแข่งขัน ใครจะไปรู้ว่าน้องมะลิจะเป็นแบบนี้ ก็เห็นกดกันยับทั้งสามเจ้า ทรู มะลิ เอไอเอส เพียงแต่เอไอเอสยอมแพ้ตอนสุดท้าย
ก้อนที่ทรูจ่ายไปราคามันสูงเพราะมีการแข่งขันกระทบมาจากอีกก้อนนึงด้วยนะครับ
จากกรณีนี้ เห้นได้ว่า พังกันไปหมดทุกฝ่าย
True ก็พัง เพราะไปสู้ราคากับคนที่มาป่วนราคา
AIS DTAC ก็พัง เพราะพอแพ้เขาก็ต้องวางแผนเอาเงินไปทำอย่างอื่น แล้วจู่มากลับไปกลับมา เอาใหม่ได้ยังไง เขาก็เสียหาย
ประเทศชาติ ก็พัง เสียเวลาและเสียโอกาสตีเป้นเงินมหาศาล
ออกหน้าไหน ก็ไม่แฟร์กับทุกคนทั้งนั้น จะรีเซต จะเริ่มใหม่ที่ราคาของJAS พังกันถ้วนหน้า
ค่าปรับ 6ร้อยล้าน จิ๊บจ๊อยมาก เมื่อเทียบกับความเสียหาย
สงสารประเทศไทย มีเวรมีกรรมอะไรหนักหนา
ประเทศแห่งความเฮงซวยจริงๆ ครับ โอกาสดีๆ เราทำมันพังหมด
Get ready to work from now on.
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเทศเลยครับ มันก็แค่กฎเกณท ที่ตั้ง มันห่วย ไม่เพียงพอที่จะป้องกันพวกบริษัทที่ การบริหาร และธรรมภิบาล ตำ่เรี่ยดิน เข้ามาวุ่น
Dtac ออกมาทำตัวเองแท้ ๆ คิดว่าทุกวันนี้ยังดังไม่พออีกเหรอ
วิสัยแบบนี้ไม่น่ารักเลย
ผมว่าจริงไม่ควรต้องประมูลอีกรอบนะ น่าจะให้คลื่นนี้กลับ DTAC ไป ที่ 70,180 ซึ่งเป็นราคาสุดท้ายที่ DTAC bid มาโดยส่วนต่างของ 75,654-70,180 = 5,474 ก็ฟ้องเรียกเก็บจาก JAS เป็นค่าปรับ
เข้าใจว่าแม้ว่าไม่ยุติธรรมนักสำหรับ DTAC แต่การ bid ทุกครั้งมันเป็นการ commit ว่าคุณยินยอมที่จะจ่าย ณ ราคานั้นๆ ไปในตัวอยู่แล้ว
พูดง่ายๆ คือ DTAC ได้คลื่นไป แถมจ่ายในราคาที่ตัวเองยอมที่จะจ่ายคือ 70,180 ส่วน JAS ไม่ได้คลื่นไรเลยแต่ต้องจ่าย 5,474 พันล้านบาทเป็นค่าปรับแทน
ฟ้องศาลไม่รู้จะชนะไหมนะครับ มันไม่ได้อยู่ใน กฎ และสัญญาอะครับ และอีกอย่างก็ไม่ได้อยู่ใน กฎ และ สัญญา อีกว่าอันดับสองต้องเอา นี่แสดงให้เห็นความไม่รอบคอบของ กสทช ในหลายๆเรื่องมากๆเลยครับ
มีข้อสงสัยว่าทำไม lot 2 อันดับ 1 2 มันห่างแค่ 322 ล้าน ก็คือ เคาะเดียว
แต่ทำไม lot 1 อันดับ 1 2 มันห่างกันตั้ง 5474 ล้านอะครับ JAS เคาะเพิ่มไปเอง 17 รอบหรอครับ?
ผมไม่คิดว่า JAS เคาะเองเรื่อย ๆ ถึง 17 รอบนะ ถ้าผมเดาไม่ผิดหลังจาก 70,000 ล้าน
lot 2 AIS เคาะสลับกับ TRUE
lot 1 JAS เคาะสลับกับ TRUE โดย DTAC หยุดไปตั้งแต่ 70,000 ล้าน
แต่เพราะ TRUE ชนะใน lot 2 เลยไม่สามารถเป็นอันดับ 2 ได้ใน LOT 1 ครับ
ผมว่ามันขึ้นกับกติกาการประมูลที่แจ้งไว้นะ อยู่ดีๆ จะไปบังคับไม่ได้ เพราะพอเค้าไม่ได้เค้าเอาเงินไปทำอย่างอื่นแล้ว
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
การ bid คือการยืนยันว่าจะจ่าย"ในรอบการประมูลนั้นๆ"ครับ
การประมูลจบไปแล้วไม่มีผลผูกพันและไม่ควรมีผลผูกพันครับ จะไปบังคับให้รับนี่ไม่ได้แน่ โดนฟ้องกลับก็แพ้
+1 ครับ หมดรอบแล้วจะมาบังคับอะไรอีก เสียหน้ารอบที่ไม่ได้คลื่น ยังต้องมาตามเก็บของเก่าเขาเหรอ ไม่ใช่หละ
pr อันนี้ dtac อ้างกฎของกสทชเองทั้งนั้นเขาผิดตรงไหนครับ แล้วกฎไหนที่บอกว่าต้องเห็นใจทรู??????? ทรูเขากดเองนะครับ
ตอนแรกๆผมก็ชอบครับที่ให้ทรูเข้ามาประมูลได้ ผมอยากให้รัฐได้เงินเยอะๆ และชอบแนวคิดที่ผู้ให้บริการสามารถถือคลื่นได้มากกว่า 1 ใบอนุญาต เพื่อให้เครือข่ายนั้นมี internet ให้บริการได้เร็ว แบ่งเยอะๆมันไม่เร็ว ติดอันดับต้นๆของโลกไม่ได้ อยากให้ไทยมีชื่อกระฉ่อนแบบเกาหลีในเรื่องความเร็ว LTE บ้าง เข้าใจว่าเสี่ยงต่อการผูกขาดแต่คิดว่าทรูและ AIS ยังมีทรักยภาพมากพอที่จะแข่งกันเองได้โดยที่จะไม่เกิดการผูกขาด และชอบแนวคิดที่ประเทศเดียวควรมีแค่ 3 เครือข่าย กำลังพอดี เท่านี้คลื่นก็ถูกแบ่งเยอะมากเกินแล้ว ยิ่งสถานการณ์แบบในไทยที่หวงคลื่นมากแต่ตัวเองก็ไม่ได้ใช้นี่ไม่รู้เมื่อไหร่จะไปแบบเกาหลีใต้ได้ คลื่นว่างน้อยเหลือเกิน
สถานการณ์ทรูตอนนี้ผมยังมองไม่เห็นเลยว่าทรูอยากได้ 900 อีก จริง รอบที่แล้วยังต้องแบ่งกู้ 6 ธนาคาร ถ้าเข้ามาประมูลได้อีกก็เข้ามาป่วนแน่ๆ เรายังต้องการ JAS 2 อีกหรอครับ? ถ้าไม่ชอบที่ JAS เข้ามาป่วน ทำไมรอบนี้ถึงยอมให้ทรูเข้ามาป่วน ใช่ อาจจะเป็นการดีมีคนเข้ามาป่วน รัฐได้เงินเยอะ แล้วแบบนี้แฟร์กับผู้เล่นรายอื่นๆไหมครับ?
หน้าที่คือ กสทช คือจัดประมูล ไม่ใช่หน้าที่มาสงสาร true กฎไม่ได้เขียนเลยว่าให้ใช้ราคาสุดท้าย อยากให้รัฐได้เงินมาก ผมก็อยากให้เป็นเช่นนั้น แต่สถานการณ์ตอนนี้ทั้งสองเครือข่ายก็ชัดแล้วว่าราคาของ JAS นั้นไม่เอา จะดื้อด้านใช้ราคานี้ต่อไปแล้วถ้าไม่มีใครเข้าประมูล 900 จะทำยังไงครับ รอต่อไปเรื่อยๆคลื่นก็ลดมูลค่าลง เพราะมี 700 850 1800 2600 เข้ามาอีก และ 2300 ก็ยังรอคนไปทำดีลอยู่ แบบนี้มูลค่า 900 ยังไงก็ลด หรือถ้าใครมีแนวคิดว่า กสทช ควรหักดิบยืดระยะเวลาจัดประมูลคลื่นอื่นๆออกไปอีกเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์สินค้าล้นตลาด แบบนั้นน่าจะทำไม่ได้ และไม่ควรทำนะครับ หน้าที่ของ กสทช คือเอาทรัพยากรตรงนี้ให้ทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
แล้วยังมีปัจจัยที่คลื่น 900 lot แรก พิการอีกด้วย ใช้ได้ไม่เต็ม 10MHz ถ้าไม่มีอุปกรณ์มาจัดการเรื่องการกวนสัญญาณ คลื่น lot นี้จึงไม่ควรแพงขนาดนี้ ต้องมีต้นทุนในเรื่องอุปกรณ์เพิ่มเข้ามาอีก
ตอนนี้ความต้องการ 900 ของ AIS ลดลงมากๆแล้วด้วย แผนธุรกิจเปลี่ยนไปแล้ว คลื่นพิการอีก AIS อาจจะไม่อยากได้คลื่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสลบที่ได้คลื่น 900 มาแต่ไม่ทำ 2G ต่อก็ได้นะครับ และ dtac ก็ไม่พร้อมที่จะทุ่มที่ราคานั้นแล้วด้วยครับ แผนธุรกิจเขาก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ลงทุนในด้านอื่นๆไปแล้ว
ถ้าอยากให้รัฐได้เงินจาก 900 lot นี้ "บ้าง" และยังมากอยู่ ยังไงก็ต้องเริ่มประมูลที่ราคาตั้งต้นเดิมครับ ความน่าดึงดูดของ 900 พิการๆ lot นี้มันไม่ได้มากเหมือนอย่างวันนั้นแล้ว และไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรอ 4 เดือน นานเกินไปมากเลยครับ ยิ่งยืดนานมูลค่ามันก็ลดลงไปเรื่อยๆ
อีกเรื่องที่ควรมาคิดคือระยะเวลาของใบอนุญาต ถ้าจะให้หมดตามเวลาเดิม แบบนี้คลื่นก็ควรจะถูกลงด้วยครับ
หรือจะคงระยะจำนวนปีแบบเดิมไว้ ถ้าแบบนี้ก็หมดอายุไม่พร้อมกันแบบที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกนะครับ
ใช้เหตุผลกันเยอะๆ ต้องดูกฎ และยึดตามความเป็นจริงด้วยนะครับทุกท่าน
+1 ครับ ก็ไม่มีใครเอา
ต้องตัดสินใจหละครับ ประเทศชาติได้เงินน้อยลง กับ ประชาชนเสียประโยชน์
ทางไหนก็เจ็บครับ ก็พิจาราณาหละกัน ว่าใครทำให้เจ็บ รอบหน้า คงต้องรัดกุมกว่านี้
ผมว่าออกกฎ ปรับ 20% สำหรับคนที่ประมูลไม่ได้เนี่ย กับ ต้องจ่ายส่วนต่างของ คนที่ประมูลใหม่ได้ก็พอแล้ว
สำหรับรอบนี้ ก็ต้องเจ็บกันไปครับ
ส่วนตัว ผมก็มองว่ามันแพงไปตั้งแต่แรกแล้ว คิดง่ายๆ คลื่น capacity แค่นี้ เอามาทำอะไรถึงจะต้องได้กำไรขนาดนั้น อย่าลืมว่าประมูลคลื่น ยังไมไ่ด้รวมค่าติดตั้งเสา ค่าบริหารระบบต่างๆ ล่อไปแสนล้าน แล้วไปอ่านดู Demand สิครับ
มีแต่อยากได้ถูกๆทั้งนั้น เก็บคนละ 300-500 บาท ต่อเดือน เมื่อไหร่จะได้กำไร จะพอจ่ายดอกเบี้ยหรือเปล่าเหอะ
จริงๆ ถ้า True ไม่แถลงว่าคุ้มผมว่าก็น่าเห็นใจ แต่พอ ชนะเสร็จบอกคุ้ม ... แล้วตอนนี้ จะมาเรียกร้องอะไรหละครับ ก็คุณบอกคุ้มไปแล้วนิ
ส่วนเจ้าอื่น เขาก็แถ ลงชัดเจนแล้ว ว่าเอาเงินไปทำอย่างอื่นคุ้มกว่า เนื่องจากแพ้ไปแล้ว
เห็นด้วยกับความเห็นนี้ครับ เพราะดูจะอิงบนหลักเหตุผลมากที่สุด นอกนั้นเหมือนใส่อารมณ์ล้วนๆ คนที่บอกว่า Dtac เฮงซวยยังงั้นยังงี้ ก็ไม่ได้เสนอโซลูชั่นอื่นอะไรนอกจากไปลดราคาให้ทรูด้วยอีกตะหาก ซึ่งถ้าทำจริงคงเป็นมิติใหม่ของวงการประมูลไปเลยครับ
+1
ผมว่ามองว่าเป็นการประมูลล็อตใหม่ไปเลย
ไม่ต้องห้ามทรูนะครับ เพราะยังไงทรูก็น่าจะไม่มีเงินพอแล้วล่ะ
จำนวนคลื่นต่อจำนวนคนประมูลเป็น N-1 ก็ทำให้เกิดการแข่งขัยแล้ว
อีกนิดนึง ผมว่าที่dtac ไม่อยากให้true เข้าร่วม เพราะกลัวจะเข้ามาดันราคาอย่างเดียว แต่ไม่ได้คิดจะเอาจริงๆมากกว่า
ถ้ามีประมูลรอบใหม่ คงต้องให้วางเงินมัดจำ 50%ของราคาตั้งต้นแล้วล่ะมั๊ง
100% ของราคาตั้งต้นเถอะครับ แพ้ก็คืนนิ ถ้าเล่นประมูลแล้วไม่เอา ทิ้งเงินมัดจำ ติดปัญหาอะไรอยู่ก็บอกเงียบและทิ้งไปเฉยๆ แบบนี้มันไม่โปร่งใส
ดันได้ก็ดันไปสิครับ ถ้าบิดแล้วไม่มีใครสู้ ก็ต้องเอาไป มันเป็นกติกา แต่ว่ารอบนี้ควรตั้งค่าปรับให้โหดกว่าเดิมกรณีที่ กดแล้วไม่เอามากกว่านี้ครับ อย่างที่บอก สัก 20% ของราคาประมูลได้ขั้นสุดท้าย + ส่วนต่างที่เกิดขึ้น เอาให้หนักกว่าเดิมสิครับ คนที่คิดจะกดเล่นๆ เอามันส์จะได้เลิกกดแบบนี้ ความเสียหายมันไม่ใช่เหมือนเล่นขายของเฉยๆนะ
ถ้ามองในแง่ผลประโยชน์รวมของประเทศ วิธีนี้ดีที่สุดแล้วครับ
จะปล่อยคลื่นลอยไปเฉยๆเพราะกลัวเอกชนเจ้านึงเสียประโยชน์(ทั้งที่แถลงข่าวไปเองแล้วว่าคุ้ม) หรือกลัวเอกชนเจ้านึงได้ประโยชน์(ทั้งที่ทั้งสองเจ้าที่เหลือเอาเงินไปทำอย่างอื่นเพื่อชดเชยส่วนนี้ไปแล้ว) ไม่ควรเป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระหรือประชาชนชนเลย
Maximize Profit สำหรับประเทศชาติ น่าจะเป็นการที่เราได้ใช้ทรัพยากรของชาติอย่างเต็มประสิทธิภาพนครับ
คือถ้าประมูลแค่คลื่นของ JAS แล้วไม่ให้ True เข้าร่วมเพราะจะมาปั่นราคา คุณลองนึกภาพว่าคุณเป็นทรูดูครับ จะรู้สึกยังไง ตอนนี้มันไม่ใช่เงินของคุณจะพูดยังไงมันก็พูดได้ ทรูอยากเคาะเอง มันก็ใช่แต่ถ้าหาก JAS ไม่มาป่วน ราคามันจะขนาดนี้มั้ย ทุกอย่างอยากให้มีการแข่งขันแบบเป็นธรรม ผมเชื่ออย่างนั้น
วิธีที่ผมแนะนำ (แต่มันทำได้ยาก) ก็คือ
ยกเลิกการประมูลครั้งที่แล้ว ทรูจ่ายเงินไปแล้วมันก็คืนได้ แล้วให้ JAS จ่ายค่าเสียหาย ทั้งค่าใช้จ่ายในการประมูล ค่าใช้จ่ายที่ค่ายต่างๆที่ประมูลไม่ได้ ต้องออกมาตรการไปเยียวยาลูกค้า เนื่องจากไม่สามารถประมูลคลื่นได้ แล้วจัดการประมูลกันใหม่ตั้งแต่ต้น อันนี้แฟร์สุดแล้ว แต่ไม่น่าจะมีใครทำหรอก
ส่วนเรื่องที่ห่วงว่าคลื่นจะถูกปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ประชนชนเสียประโยชน์ อันนี้เป็นหน้าที่ของ กสทช โดยตรงที่ต้องจัดการ เพียงแต่ว่าควรจะให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
อันนี้ความคิดส่วนตัวนะ
..: เรื่อยไป
เรื่อง JAS ป่วนราคา ผมมองงี้ครับ (คหสต)
TRUE อ่ะแข่งกับ AIS slot2
JAS แข่งกับ DTAC slot1
ถ้าจะมองว่า JAS ป่วน ก็คือมาป่วน DTAC แต่สำหรับทรูจริงๆทรูไม่ขาดแคลนคลื่นเลยครับเข้ามาประมูล slot2 แข่งกับ AIS ดันราคาสูงๆ มองว่าตอนแรกทรูตั้งใจป่วน AIS ให้มีต้นทุนสูงๆเป็นไปได้ไหม
ผมมองว่าแต่แรกจริงๆ JAS ตั้งใจทำธุรกิจนะแต่คงคำนวณมาไม่ดีเกมพลิกผู้ร่วมทุนชิ่ง JASเลยต้องชิ่ง แต่ JAS ชิ่งได้เพราะยังไม่เริ่มไงไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย แล้วทรูล่ะตอนแรกคงมั่นใจว่า AIS เท่าไหร่ก็สู้แน่ๆกะจะพาเค้าไปติดดอย ปรากฏเค้าหมอบเพราะคำนวณแล้วไม่คุ้ม ลึกๆทรูอาจจะอยากชิ่งก็ได้นะครับใครจะไปรู้ ไม่งั้นจะยื้อเลื่อนนัดจ่ายเงินแล้วจ่ายเงินอีกเพราะจะรอดู JAS นั่นแหล่ะ แต่เค้าชิ่งไม่ได้เพราะถ้าชิ่งไปโดนถอนใบอนุญาตเค้าเจ๊งยับเลยนะก็เลยต้องกัดฟันจ่ายเงินไป
ไม่เห็นด้วยครับ ว่ายกเลิกประมูลแล้วจัดใหม่
ถามว่า แล้วคนแพ้คราวที่แล้ว เอาเงินไปลง แผน B หมดแล้วจะทำไงครับ รอบนี้จะกลายเป็น True ลดต้นทุนลงไปเห็นๆเลย เพราะลงทุนไปแล้ว แต่ได้ราคาต่ำลง แต่ AIS DTAC จะกลายเป็นต้นทุนสูงขึ้นทันที จากที่เอาเงินไปลงใน แผน B แล้ว
+1
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
"แล้วให้ JAS จ่ายค่าเสียหาย ทั้งค่าใช้จ่ายในการประมูล ค่าใช้จ่ายที่ค่ายต่างๆที่ประมูลไม่ได้ ต้องออกมาตรการไปเยียวยาลูกค้า เนื่องจากไม่สามารถประมูลคลื่นได้"
ให้ JAS จ่ายไงครับ
..: เรื่อยไป
เงินที่ค่ายต่างๆใช้จ่ายไม่ได้มีแต่ค่าเยียวยานะครับ มีทั้งค่าลงทุน ทำนู่นทำนี่ จะให้ Jas จ่ายเงินที่บริษัทอื่นลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทตนเอง ผมว่ามันไม่ใช่นะครับ
การประมูลก็คือการประมูลครับ วาระอยู่ที่การประมูล กฎตั้งมาแบบไหนก็ต้องตามนั้น กฎไม่รอบคอบ กสทชก็รับกรรมไป จะโยกกรรมไปให้คนอื่นแล้วบอกว่าเราไม่ผิด คุณต้องรับผิดชอบ การประมูลแบบนี้ไม่ควรมีอยู่ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1 กำลังงงว่าจะเอาอะไรไปบังคับจ่ายด้วยครับ แล้วถ้า Ais Dtac Make มั่วๆขึ้นมาหละ ใครจะตรวจสอบ แถมคคิความแบบนี้ กว่าจะได้เงิน ผมว่า ดีไม่ดี ผ่านไปครึ่งทางเลยด้วยหละมั้ง
เห็นด้วยที่ กสทช เป็นคนผิด ที่ปล่อยให้มีผู้เข้าร่วมประมูลที่ไม่มีความสามารถในการชำระเงินเข้าร่วมด้วย แต่อย่าลืมว่าคนที่่รับกรรมไม่ได้มีแค่ กสทช ไง ทรูก็ต้องรับกรรมไปอีกคน การประมูลที่ผู้ประมูลชักดาบ ผมว่ามันก็ไม่ควรจะมีอยู่เช่นเดียวกัน ตอนประมูล ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ต่างอยากรู้ว่าใครจะได้คลื่นไป จะทำธุรกิจยังไง มากกว่าจะมาลุ้นว่าได้ไปแล้วจะมีเงินจ่ายป่าวว๊าหรอก
ผมแค่จะบอกว่าถ้าจะให้ยุติธรรมมันควรจะเป็นยังไง แต่สุดท้าย มันก็ก็ต้องยึดตามกฏแหละ
..: เรื่อยไป
ทรูรับกรรมยังไงเหรอครับ เพราะว่ามันแพงหรือเปล่า?
การที่ทรูบิดจนเป็นผู้ชนะในรอบนั้น มันแปลว่าทรูยินยอมที่จะจ่ายนะครับ ไม่ได้ถูกบังคับจ่าย
บิดเสร็จก็ได้มาจริงๆ ไม่ใช่ไม่ได้มา ถ้าบิดแล้วไม่ได้มาเนี่ยถึงควรจะเรียกว่ารับกรรมครับ
คนละกรรมคนละวาระกันนะครับ ไม่ควรจับมันมารวมกันไม่งั้นเรื่องมันจะยุ่งไม่หยุด
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
โดยส่วนตัวเห็นว่าควรปรับ Jas เท่าที่ตั้งกติกาไว้นั่นแหละ แล้วประมูลรอบใหม่ก็ให้ทรูร่วมด้วย ส่วนราคาเริ่มต้นจะเป็นเท่าไหร่คงต้องวิจัยกันอีกครั้ง
แล้วก็ตั้งกติกาใหม่ให้รอบคอบขึ้นกว่าเดิม
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1 ต่างกรรม ต่างวาระรวมกันไม่ได้ ประมูลได้ไปแลว้ก็ได้ไป มันจบไปแล้ว
ทรูยินดีจ่ายแน่ๆ เพราะไม่งั้นไม่กด
สมมุติว่าราคาที่วิ่งขึ้นมานี้ แค่สมมุตินะครับ JAS เป็นคนกด ซึ่งถ้า JAS ไม่มากด แปลว่าเค้าอาจจะ (ย้ำว่าอาจจะ เพราะไม่รู้ว่าที่เคาะมา lot เดียวกับ True เนี่ย AIS หรือ Dtac หรือ JAS เป็นคนแข่ง) ได้ราคาที่ต่ำกว่านี้ ผมว่ามันก็ตรรกกะแบบตรงไปตรงมานะ
คือผมไม่ได้เชียร์ทรู ไม่มีหุ้นทรู แต่ผมแค่มองตามหน้าเสื่อว่าแบบนี้มันไม่แฟร์กับเค้าเหมือนกัน ซึ่งแน่นอนสุดท้ายมันก็ต้องเอาตามกฏ และยังยืนยันว่าถ้าการประมูลผลมาออกมาแบบนี้ มันไม่แฟร์
ขอปิดประเด็นเนอะ แค่นี้ก็ยาวละ
..: เรื่อยไป
เอาอะไรไปบังคับ JAS จ่ายละครับ ในเมื่อข้อตกลงแค่ยึดเงินประกัน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
คือตอนประมูลรอบแรกอ่ะ แต่ละเจ้ามีเป้าหมายยังไงเราก็ไม่รู้หรอก อาจจะอยากได้คลื่นจริงๆ หรือมาปั่นราคาเพิ่มต้นทุนให้คู่แข่ง แต่ในเมื่อมันเกมการแข่งขัน ความเสี่ยงก็คือถ้าคุณปั่นแล้วคุณได้ ก็ต้องมีเงินจ่าย ตอนนี้ผมมองว่า JAS เข้ามาเคาะตัวเลขที่ตัวเองรับผิดชอบไม่ไหว ถือว่าไม่มืออาชีพ
..: เรื่อยไป
ดีแทคควรออกแคมเปญใหม่แทนที่ "ยิ่งอยู่นานยิ่งรักกัน"
คือ "ยิ่งอยู่นานยิ่งเหนียวตังค์"