หนังสือพิมพ์ The Guardian ตีพิมพ์ข้อเขียนของ Evgeny Morozov บรรณาธิการนิตยสารวิชาการด้านการเมืองระหว่างประเทศ Foreign Policy และนักวิชาการรับเชิญ (visiting scholar) ของมหาวิทยาลัย Stanford ที่สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าต่อไปในอนาคต บริษัทไอทีขนาดใหญ่ในโลกตะวันตกจะมีความสำคัญมากกว่ารัฐ (the state) และรัฐบาล ที่กำลังเผชิญหน้าวิกฤตความชอบธรรมในการปกครองอยู่ในเวลานี้
Morozov ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันหลายรัฐทั่วโลกไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น การอพยพข้ามแดน หนี้สาธารณะ หรือสภาวะเงินเฟ้อ และยิ่งแสดงตัวรวมถึงใช้อำนาจจัดการกับปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่สามารถทำตามหลักการอย่างเช่นความยุติธรรม หรือความเท่าเทียม จนเกิดสิ่งที่นักปรัชญาชาวเยอรมัน Jurgen Habermas เรียกว่า 'วิกฤตความชอบธรรม' ของรัฐ ซึ่งสิ่งที่รัฐทำได้นั้นเป็นเพียงการ "ซื้อเวลา" ออกไปเรื่อยๆ เท่านั้น
Morozov ระบุว่าเทคโนโลยียุคใหม่อย่าง Big Data จะเข้ามาช่วยทำให้ปัญหาเหล่านี้บรรเทาลงด้วยการคาดการณ์ล่วงหน้า ทำให้รัฐต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ (ตัวอย่างเช่น Palantir ที่เป็นระบบช่วยจับและวิเคราะห์การเกิดอาชญากรรม) และในที่สุดเมื่อถึงจุดหนึ่งในอนาคตที่บริษัทเหล่านี้ ขยายบริการจนกระทั่งไปถึงระดับพื้นฐานและมีอำนาจต่อรองมาก บริษัทไอทีเหล่านี้จะมีความสำคัญมากกว่ารัฐ ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือ นอกจากจะต้องยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้น
ที่มา - The Guardian
Comments
อีกหน่อยวัดค่า Psycho-Pass ได้ ใครสูงกว่า 300 ยิงทิ้งเลย?
เกรงจะเหมือนใน Dimension W มากกว่าครับ บริษัทไอทีครองโลกอยู่เหนือรัฐแทน แต่จะมีสภาพแบบ Summer wars ที่ทุกอย่างถูกผูกเอาได้โดยบริษัทไอทีไม่กี่เจ้า(ซึ่งผมคิดว่าในปัจจุบันทั้ง Microsoft และ Google เองก็พยายามทำแบบนี้อยู่)
ส่วนตัวผมว่ามันแปลกตั้งแต่ที่เรายอมให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บอย่างเฟสบุคหรือเบอร์โทรศัพย์กับอีเมลทั้งหลายแล้วละครับ เรามีส่วนทำให้ข้อมูลและบริการที่เดิมไม่ค่อยมีความสำคัญกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นถึงกับต้องยอมให้ข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวเพื่อได้มาซึ่งสิทธิ์ในการใช้งานอย่างเช่น Gmail/Hotmail ที่จำเป็นต้องให้เบอร์โทรศัพย์ก่อนถึงจะสามารถใช้งานได้ต่างจากเมื่อก่อนที่แค่สมัครก็ได้เลย หลายคนถูกล็อคอีเมลซึ่งแทนที่จะทิ้งไปสมัครใหม่ก็กลับต้องยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมเนื่องจากไปสร้างเงื่อนไขผูกพันให้บริการเหล่านี้มีความสำคัญเช่นการใช้เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสารติดต่อหรือการใช้เป็นคลังเก็บเอกสารจดหมายสำคัญโดยมิได้มีการสำรองข้อมูลใดๆ เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงกลายเป็นว่าบริการไอทีเหล่านี้มีตัวประกันที่เราเป็นคนมอบให้เองอยู่ในมือซึ่งสามารถใช้ต่อรองเพิ่มความสำคัญของบริการเหล่านั้นเหนือกว่าอำนาจการตัดสินใจของเราได้
หลังจากนั้นต้องตามหาเจเนซิสแล้วกำจัดทิ้งซะ //อ้าวไม่ใช่หรอ
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
เรื่องนี้ผมดูผ่านๆเห็น สตีฟจ๊อบ ด้วยนะเนี่ย ฮาเลย
ทำไมบทความไม่คิดว่ามันสามารถเปลี่ยนบทบาทจากต้องพึ่งเอกชนเป็นรัฐทำใช้เองได้ เทคโนโลยีที่ช่วยในการตัดสินใจเหล่านั้นก็ตั้งเป็นกระทรวง Big Data ไปเลยซิ
ชอบไอเดียนี้ ++
โดยธรรมชาติของรัฐเปรียบเหมือน สล๊อต ซึ่งไม่มีทางตาม บริษัท IT เหล่านี้ทัน
+1m
1+ รู้หมือไร่
+เยอะๆๆๆ
ก็เหมือนเว็บทั่วไปนั่นแหละ ใครทำผิดกฏ มีการพิพากษาไต่สวนหรือเปล่า ไม่มีหรอก แบนทิ้งทันทีไง
พล็อตหนังชัดๆ
ชอบและเห็นดีด้วย
แต่ขอให้มีการแข่งขันบ้างอย่างน้อยสัก 3 เจ้า
ไม่งั้นลำบาก
จริง ๆ หน้าที่รัฐมีเพียงแค่ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมในทุกตลาดผลิตภัณฑ์และบริการ
พอบริษัทไอทีมีอำนาจมากๆก็ให้ AI ที่เรียนรู้ทุกอย่างในประเทศแล้วมาบริหารประเทศแทน แต่กว่าจะได้รับการยอมรับคงอีกนาน
ถ้าหากเป็นรัฐใหญ่ๆ ที่มีความเข้มแข็ง(ที่ไม่ได้แปลว่าสามัคคี)
อาจจะสามารถต่อรองอำนาจกับธุรกิจเหล่านี้ ด้วยกลไกของรัฐเองได้
แต่กับบางรัฐ แค่เด็ดหัว กลไกป้องกันตนเองของรัฐ ก็ไม่ทำงานแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับรัฐเล็กๆที่ ปกติกลไกเหล่านั้นก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่แล้ว
รัฐเหล่านี้จะทำอย่างไร ในสถานการณ์แบบนี้
PIRON / SadTech?
แล้วก็จะเริ่มมีกองกำลังของตัวเอง
Shinra co.
ต่อไปคงมี AI สำหรับบริหารประเทศ ควบคุมระบบของทุกกระทรวง ผ่าน AI Center เจ้าหน้าที่มีหน้าที่แค่ Monitor ว่ามันมีอะไรผิดปรกติหรือเปล่า