Tags:
Node Thumbnail

Yuri Milner มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เจ้าของบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ Mail.ru Group และบริษัทลงทุน DST Global ที่ลงทุนในสตาร์ตอัพทั่วโลกจำนวนมาก (ซื้อหุ้น Facebook ตั้งแต่ปี 2009) ประกาศความร่วมมือกับ Stephen Hawking นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง และ Mark Zuckerberg แห่ง Facebook เปิดตัวโครงการวิจัยชื่อ Breakthrough Starshot มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนายานอวกาศที่มีความเร็ว 20% ของความเร็วแสง

Breakthrough Starshot จะพัฒนายานอวกาศอัตโนมัติขนาดเล็กเรียกว่า nanocraft ข้างในมีแผงวงจรขนาดเล็ก มีกล้องถ่ายภาพ ใช้วัสดุแขนงใหม่ที่มีน้ำหนักเบามากๆ (น้ำหนักวัดเป็นกรัม) และราคาถูกประมาณ iPhone หนึ่งเครื่องเมื่อผลิตในปริมาณมากๆ มันจะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเรียกว่า Light Beamer หรือใช้พลังงานแสง (โฟตอน) รวมกันเป็นเลเซอร์ ขับเคลื่อนยานที่มีน้ำหนักเบาไปอย่างรวดเร็ว (เรียกว่า Light Sail หรือ Solar Sail)

No Description

โครงการจะขนยาน nanocraft จำนวนหลายพันตัวขึ้นไปบนอวกาศ แล้วปล่อยออกด้วยวิธี Light Sail ยิงเลเซอร์จากพื้นโลกเพื่อดันให้ยานเร่งความเร็วขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดูวิดีโอประกอบครับ) ยานมีเป้าหมายเดินทางไปที่ระบบดาว Alpha Centauri ที่อยู่ห่างไป 4.37 ปีแสง ถ้าเดินทางด้วยยานอวกาศปกติจะต้องใช้เวลา 30,000 ปี แต่การเคลื่อนที่ด้วย Light Sail จะใช้เวลาประมาณ 20 ปี จากนั้นให้ยานถ่ายภาพแล้วส่งกลับมาที่โลกด้วยวิธี Light Sail ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี

โครงการนี้ต้องการช่วยสำรวจระบบสุริยะจักรวาล ด้วยการสร้างกล้องโทรทรรศน์เสมือนที่มีขนาดใหญ่รวมกันเป็นหลักกิโลเมตร และหวังว่าการไปถึง Alpha Centauri จะช่วยให้มนุษย์ทราบว่ามันสามารถอาศัยอยู่ได้จริงหรือไม่

Breakthrough Starshot ได้ Pete Worden อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัย NASA AMES มาเป็นหัวหน้าโครงการ มีบอร์ดกำกับดูแล 3 คนคือ Yuri Milner, Stephen Hawking และ Mark Zuckerberg รวมถึงมีนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังมาเป็นที่ปรึกษาอีกจำนวนมาก

Yuri Milner

No Description

ผู้บริหารและที่ปรึกษาของโครงการ (ยกเว้น Zuckerberg ที่ติดธุระไปงาน F8)

No Description

ตัวของ Milner มีความสนใจเรื่องอวกาศมานานแล้ว เขาตั้งโครงการชื่อ Breakthrough Initiatives ค้นคว้าวิจัยเรื่องอวกาศ มอบรางวัล Breakthrough Prize แก่นักวิจัยมาก่อน และปีที่แล้วเขาเพิ่งประกาศสนับสนุนเงิน 100 ล้านดอลลาร์ ผลักดันโครงการค้นหาสิ่งมีชีวิตจากนอกโลก

แนวคิดของ Breakthrough Starshot คือฉีกวิธีคิดของการสร้างยานอวกาศแบบเดิมๆ โดยเปลี่ยนมาเป็นยานที่มีขนาดเล็กมากๆ ซึ่งเกิดได้จากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และวัสดุศาสตร์ที่ก้าวหน้าขึ้น (Milner เรียกว่า spacecraft on a chip) อย่างไรก็ตาม Milner ยอมรับว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่ดีพอ และเขาจะลงทุน 100 ล้านดอลลาร์เพื่อสานฝันนี้ให้เป็นจริง

ที่มา - Breakthrough Initiatives, Gizmodo, Ars Technica

Get latest news from Blognone

Comments

By: zyzzyva
Blackberry
on 13 April 2016 - 12:27 #903211

น่าจะส่งเข้าหลุมดำแล้วส่งข้อมูลกลับโดยแรงโน้มถ่วง

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 13 April 2016 - 15:49 #903250 Reply to:903211
ZeaBiscuit's picture

แล้วเราจะส่งข้อมูลกลับมายังไงดีละครับ ขนาดแสงยังหนีออกมาไม่ได้เลย

By: sunVSmoon
Windows
on 13 April 2016 - 16:08 #903256 Reply to:903250

แต่ว่าความรัก...สามารถส่งผ่านได้ครับ

interstellar

By: zyzzyva
Blackberry
on 13 April 2016 - 16:11 #903257 Reply to:903250

ลองอ่านประโยคผมใหม่ดูนะครับ

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 13 April 2016 - 20:22 #903297 Reply to:903257
ZeaBiscuit's picture

ขยายความด้วยครับ ผมคงเรียนไม่ถึงเรื่องการสื่อสารด้วยแรงโน้มถ่วง

By: aeksael
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 13 April 2016 - 21:08 #903313 Reply to:903257
aeksael's picture

ดูหนังมากไปหรือเปล่าครับ singularity ยังเป็นจุดที่อธิบายด้วยวิทยาการยุคนี้ไม่ได้เลย(ไม่มีใครหรืออะไรรอดกลับมาได้)


The Last Wizard Of Century.

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 13 April 2016 - 21:50 #903323 Reply to:903257
MaxxIE's picture

ผมเข้าใจ ใจความที่เจ้าของเม้นจะสื่ออยู่นะครับ
แต่อย่าลืมว่าทุกวันนี้ เรายังไม่สามารถทำการศึกษาหลุมดำในบริเวณที่อยู่ถัดจากขอบฟ้าเหตุการณ์(Event Horrizon)ได้นะครับ เรื่องการเดินทางเข้าไปนี่ ณ ตอนนี้ลืมไปได้เลย ส่วนการสื่อสารด้วยแรงโน้มถ่วงข้ามกาลอวกาศผ่านทฤษฎีเส้นเชือกแบบในหนังก็ยิ่งแล้วใหญ่เลยครับ ถ้าปัจจุบันทำแบบนั้นได้แล้วเราก็คงสามารถสื่อสารกับมนุษย์ในโลกอนาคตได้แล้วละครับ สื่อสารไปถามเลยดีกว่าว่าสมัยนั้นสำรวจจักรวาลไปถึงไหน ขอแบบแปลนยานอวกาศ หรือขอข้อมูลการสำรวจจากมนุษย์ในอนาคตไปโต้งๆเลยดีกว่า ไม่เปลืองเงินมาจัดงานแข่งขันกันวิจัยด้วย

By: toyspeed.p
AndroidWindows
on 13 April 2016 - 18:48 #903285 Reply to:903211

หมายถึงคลื่นความโน้มถ่วง? ที่เหมือนแสงที่เป็นคลื่นที่ส่งผ่านแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้าหรอครับ

By: movement41
Windows PhoneAndroidWindows
on 13 April 2016 - 19:03 #903287 Reply to:903211

แรงโน้มถ่วงขึ้นอยู่กับมวลไม่ใช่หรอ

By: bahamutkung
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 13 April 2016 - 21:28 #903317 Reply to:903211
bahamutkung's picture

คลื่นความโน้มถ่วงระดับที่ตรวจจับได้ต้องเกิดจากการปะทะของมวลที่ใหญ่พอครับ แค่นี้ดักไม่ได้หรอก


"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 13 April 2016 - 23:09 #903346 Reply to:903211

คงไม่มีอุปกรณ์ใด ในเอกภพจะคงสภาพได้ภายในหลุมดำ เมื่อมันคงสภาพไม่ได้ มันก็ทำงานไม่ได้ อย่างอื่นก็ไม่ต้องคิดต่อ

By: Bluetus
iPhone
on 13 April 2016 - 12:31 #903213
Bluetus's picture

มีตามาร์ค มาเป็นบอร์ดด้วย *0*

By: Jaddngow
AndroidUbuntuWindows
on 13 April 2016 - 12:33 #903215
Jaddngow's picture

เครื่องยิงเลเซอร์น่ากลัวมาก นกบินผ่านทีคงไหม้

By: HeavenDrive
Windows PhoneAndroidWindowsIn Love
on 13 April 2016 - 12:42 #903217

น่าจะ 4.37 ปีแสงนะครับ ไม่ใช่ล้านปีแสง

5*4.37 = 21.85 ปี พอดี

By: peecee
iPhoneWindows PhoneWindows
on 13 April 2016 - 12:45 #903218 Reply to:903217

กำลังจะบอกเลย ตอนอ่านก็งงๆ แสงใช้เวลาเดินทาง 4 ล้านปี ทำไมยานอวกาศปกติใช้เวลาแค่ 30,000 หรือยานที่จะสร้างนี้ถึงใช้เวลาแค่ 20 ปี

By: tgst
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 13 April 2016 - 12:47 #903219 Reply to:903217
tgst's picture

อ้างอิงจาก Wikipedia ยืนยันตามนี้ครับ

By: satchkid
ContributoriPhone
on 13 April 2016 - 12:48 #903220
satchkid's picture

4.37 ปีแสงนะครับไม่ใช่ 4.37 ล้าน

By: qo
iPhoneUbuntuWindows
on 13 April 2016 - 12:58 #903222
qo's picture

4.37 ปีแสงครับ ไม่ใช่ 4.37 ล้านปีแสง

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 13 April 2016 - 13:04 #903223
TeamKiller's picture

แต่การเคลื่อนที่ด้วย Light Sail จะใช้เวลาประมาณ 20 ปี จากนั้นให้ยานถ่ายภาพแล้วส่งกลับมาที่โลกด้วยวิธี Light Sail ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี

ไปก็ด้วย Light Sail ส่งกลับด้วยวิธี Light Sail นี่ ไงหว่า ห่าง 4 ปีแสง ส่งกลับใช้เวลาประมาณ 4 ปี นี่น่าจะสัญญาญาณวิทยุธรรมดาหรือเปล่า

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 13 April 2016 - 13:53 #903231 Reply to:903223

สงสัยเหมือนกันเลย

By: rnunin
AndroidWindows
on 13 April 2016 - 14:07 #903235 Reply to:903223
rnunin's picture

เหมือนจะส่งผ่านเลเซอร์กลับมาครับ
คล้ายขาไปที่ยิงไปใส่ยาน แต่อันนี้ยานเป็นคนยิงกลับมาแทน

By: aeksael
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 13 April 2016 - 21:12 #903314 Reply to:903223
aeksael's picture

ก็ตัวยานเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว20%ของความเร็วแสงจึงใช้เวลา5เท่า ประมาณ20ปีครับ

แต่ขาส่งข้อมูลกลับตัวยานไม่ได้กลับมา ส่งแต่ข้อมูลกลับมาเท่านั้นด้วยความเร็วแสง


The Last Wizard Of Century.

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 April 2016 - 13:18 #903225
lew's picture

What's the outcome of 100M investment? I think it can't be one time payment. SpaceX is more than 60M per flight.


lewcpe.com, @wasonliw

By: anu
Contributor
on 13 April 2016 - 23:43 #903362 Reply to:903225

A lot in such a small size.

By: zerost
AndroidWindows
on 13 April 2016 - 13:29 #903226
zerost's picture

ถ้าทำได้นี่ยานสตาร์เทรกจะตามมาไหมนะ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 13 April 2016 - 13:40 #903228

มีคำถามครับ : จะรับมือกับฝุ่นขนาดเล็กในอวกาศอย่างไรครับ

By: obnetarena
Windows PhoneWindows
on 13 April 2016 - 14:48 #903246 Reply to:903228

คิดว่าคงปล่อยไปหลาย ๆ ตัวน่ะครับ ตัวไหนพังก็พังไป มันต้องมีรอดบ้าง

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 13 April 2016 - 23:11 #903348 Reply to:903228

เห็นว่าจะปล่อยที หลายตัว. อาจจะมากกว่า10

By: skuma
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 13 April 2016 - 14:10 #903236
skuma's picture

ผมว่าน่าจะทำได้นะ แต่มันอาจจะวิ่งไปชนไรก่อน TT

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 13 April 2016 - 23:13 #903349 Reply to:903236

เน้นปล่อยทีละ เยอะๆครับ. ถ้ารอด เมฆอ้อด ไปได้ ก็สบายแล้ว. เพราะ อวกาศ กว้างมาก. ที่ๆบอกว่าอยู่กันอย่างหนาแน่น ก็ยังห่างกัน หลายร้อยกิโล

By: aouaou
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 13 April 2016 - 16:01 #903255
aouaou's picture

nanocraft เป็นดาวเทียม ใช่มั้ยครับ ถ้าใช้คนขับยาน ‘อีเอ็มไดรฟ์’หรือ 'เอมไดรฟ์' ความเร็วต่างกันมั้ยครับ
ข้อมูล อีเอ็มไดรฟ์จาก
http://news.mthai.com/hot-news/general-news/455257.html
http://www.soccersuck.in.th/boards/topic/1256725
http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1407235934

By: 255BB
Android
on 13 April 2016 - 23:25 #903356

alpha centauri มันเป็นดาวฤกษ์เหมือนดวงอาทิตย์นี่แหละ ไม่น่าจะอาศัยได้นะ เว้นแต่จะไปหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบๆ

By: peecee
iPhoneWindows PhoneWindows
on 13 April 2016 - 23:49 #903364 Reply to:903356

เค้าส่งยานไปสำรวจระบบดาวครับ เหมือนระบบสุริยะของที่นั่นนั่นแหละ คงไม่ใช่ส่งไปที่ alpha centauri

By: ginhub
ContributoriPhoneWindows
on 13 April 2016 - 23:26 #903358

ดาวดวงนี้เห็นได้ด้วยตาเปล่านะครับ เคยดูตอน ม ต้น ตอนนั้นซื้อแผนที่ดาวมาหัดดู

ู คุ้นๆว่าเป็นดาวฤกษ์ใกล้สุด 4.3 ปีแสง
แต่เค้าน่าจะเลือกดาวฤกษ์ที่มีบริวารคล้ายโลก ที่อยู่ใกล้ที่สุดด้วยนะครับ

แต่นี่เหมือนจะเลือกแค่ว่าเป็นดาวฤกษ์ที่ใกล้ที่สุด เพราะที่เค้าจะไป ไม่เคยเจอว่าทีดาวเคราะห์คล้ายโลก

http://m.pantip.com/topic/30027591?

By: 7
Android
on 14 April 2016 - 09:35 #903413
7's picture

อันที่ถืออยู่ในมือนั่นเหรอ แบบนี้ก็ส่งทีเป็นหมื่นๆอันได้สิ กระจายสำรวจไปทั้งจักรวาลเลย

By: MrThursday
ContributorRed HatUbuntuWindows
on 15 April 2016 - 00:40 #903606 Reply to:903413

ขยะทั้งนั้น...

By: 7
Android
on 16 April 2016 - 11:04 #903866 Reply to:903606
7's picture

อันเท่านิ้วมือแค่นั้น หมื่นอันยังน้อยกว่าดาวเทียมดวงนึงด้วยซ้ำ

By: gift099
Windows PhoneAndroidWindowsIn Love
on 14 April 2016 - 23:23 #903594

หาดาวนาแม็กให้ด้วยนะ