ข่าวใหญ่วันนี้คือธนาคารกสิกรไทย ประกาศตั้งบริษัทลูก กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG (Kasikorn Business-Technology Group) โดยมีสำนักงานอยู่ที่เมืองทองธานี เพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ FinTech ที่กำลังถูกจับตามองอย่างมาก (จะเรียกว่า KBTG คือบริษัท FinTech ของกสิกรก็พอได้)
หลายคนอาจสงสัยว่าอะไรคือเหตุผลของการตั้ง KBTG กันแน่ ผมมีโอกาสสัมภาษณ์ คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน KBTG (เราเคยสัมภาษณ์คุณสมคิดไปแล้วครั้งหนึ่ง ตอนที่ธนาคารกสิกรไทยปรับปรุงระบบไอทีครั้งใหญ่) ถึงที่มาที่ไปในเรื่องนี้
มาถึงวันนี้ ระบบธนาคารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก จากสองปัจจัยหลัก อย่างแรกคือเทคโนโลยีเปลี่ยน อย่างที่สองคือตัวผู้บริโภคเปลี่ยน
เราต้องย้อนกลับมาดูที่พื้นฐานว่า โดยทั่วไปแล้ว "บทบาท" หรือ "หน้าที่" ของธนาคารที่มีต่อสังคมคืออะไร ในมุมของผม ธนาคารมีหน้าที่ช่วยให้การไหลเวียนของเงินสะดวกขึ้น ช่วยให้เงินเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ธุรกิจเกิดธุรกรรมได้ง่ายขึ้น ผลโดยรวมคือช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต
ในยุคนี้ ยุคของ FinTech ผมคิดว่า "บทบาท" ของธนาคารยังเหมือนเดิม แต่ "วิธีการทำงาน" ของธนาคารเปลี่ยนไปจากเดิมมาก
ถ้าเราดูพัฒนาการของธนาคารในอดีต วิธีคิดของธนาคารคือตั้งสาขาให้มากที่สุด เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด ในอดีตเราเน้นขยายสาขาไปยังพื้นที่ที่ลูกค้าอยู่ ต่อมาพอเริ่มมีระบบเครือข่าย เราก็วางเครือข่ายเชื่อมต่อแต่ละสาขาด้วยกัน ธนาคารสามารถให้บริการข้ามสาขากันได้ ช่วงหลัง แม้ว่าเรามีพวก cyber-banking เข้ามา ช่วยให้ลูกค้าสะดวกยิ่งขึ้น แต่ก็ยังอยู่บนวิธีคิดแบบเดิมคือเว็บเป็นอีก channel หนึ่งที่เข้าถึงลูกค้า ภายใต้ mindset แบบเดิมว่าเราต้องดึงลูกค้ามาเราผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง
แต่เมื่อเทคโนโลยี mobile เข้ามา วิธีคิดตรงนี้ต้องเปลี่ยนใหม่หมด เพราะมือถือติดตัวกับลูกค้าตลอดเวลา แม้ตอนนี้ธนาคารยังมองว่า mobile-banking ยังเป็นอีกแค่ channel หนึ่งในการเข้าถึงลูกค้า แต่อนาคตมันจะไม่ใช่แค่นี้
สถิติของธนาคารกสิกร มีคนใช้ mobile-banking อยู่ประมาณ 3 ล้านคน อัตรา active ที่ 70% ถ้าวันไหนคนใช้เยอะๆ จำนวน transaction วิ่งผ่านแอพอาจมากถึง 5-7 ล้านครั้งต่อวัน เทียบกับค่าเฉลี่ยของธนาคารในต่างประเทศก็ถือว่าเยอะมาก
แต่เราก็ยังไม่พอใจ ทุกวันนี้เราพูดคำว่า mobile-first แต่ผมคิดว่าอีกไม่ช้า มันจะกลายเป็น mobile-only สำหรับลูกค้าบางกลุ่มด้วยซ้ำ
และตลาด mobile-only ไม่ใช่มีแต่ธนาคารที่เข้ามาทำ เพราะเราเห็นบริการการเงินผ่านมือถือ จากบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารเข้ามามากขึ้น เช่น Alipay, Apple Pay หรือบรรดาสตาร์ตอัพทั้งหลาย
ดังนั้นธนาคารไม่สามารถทำงานแบบเดิมๆ ได้เลย ธนาคารต้องปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัล สิ่งที่ต้องทำมี 2 อย่าง
ปัจจัยสองข้อนี้ไม่สามารถทำได้ง่ายภายใต้โครงสร้างธนาคารเดิม นี่จึงเป็นสาเหตุที่ต้องตั้งบริษัท KBTG หรือ Kasikorn Business Technology Group ขึ้นมา
คำว่า Digital Mindset อธิบายง่ายๆ คือคิดแบบสตาร์ตอัพ ขั้นตอนต้องน้อย ทำงานเร็ว ยืดหยุ่น มีความคิดริเริ่มสูง
ส่วน Digital Capability เราเลือกเทคโนโลยีที่คิดว่าสำคัญมา 6 ประการ ถือเป็น priority สิ่งที่ KBTG ต้องรีบทำก่อน
เมื่อพูดเรื่อง FinTech หลายคนมักมองว่าบริษัทด้าน FinTech จะมาโค่นธนาคาร ซึ่งจริงๆ แล้วธนาคารต่างหากที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโลก FinTech เพราะธนาคารมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ยังมีจุดแข็งเรื่องการประเมินความเสี่ยงที่บริษัทรายย่อยไม่มี คำถามคือทำอย่างไรธนาคารถึงจะอยู่ร่วมกับบริษัท FinTech ได้ สามารถผลักดันวิธีการใหม่ๆ ให้ประสบความสำเร็จได้
KBTG มองว่าเราเตรียมคนของเราให้พร้อมก็จริง แต่อยู่คนเดียวไม่ได้ เราต้องมีพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วย ตัวเราเองต้องเป็นองค์กรที่เปิดรับไอเดียใหม่ๆ ทั้งจากคนข้างในเอง และจากคนข้างนอกด้วย
เรายังไม่ได้คิดถึงแผนเรื่อง acquisition หรือการซื้อกิจการ แต่มีงบประมาณเตรียมไว้สำหรับการทำ joint venture
Comments
ล้ำหน้าไปอีกขั้น เพื่อการให้บริการ
เม็ดเงินรายย่อย ๆ มันจะไปหมุนอยู่ที่พวกบริการต่าง ๆ เช่นทรูมันนี่ ในบัตรพลาสติกอื่น ๆ ที่ไม่ผ่านธนาคารอะไรแบบนี้หรือเปล่า เห็นธนาคารหลายแห่งกำลังกังวลเรื่องนี้
รับเข้ากลุ่ม สมาชิกตลอดชีพ บัตรทรูมันนี่ 200 เท่านั้นค่ะ ด่วนนะคะก่อนกลุ่มจะเต็ม อัพเดตทุกวันค่ะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มาแนวเดียวกับ SCB เลย แต่ดูหัวข้อที่สนใจแล้วอันนี้ล้ำกว่านิดนึง
คิดถูกแล้วที่ทำอย่างนี้ ถ้ายังอยู่ในระบบธนาคารเดิม วัฒนธรรมเดิม มันก็ยากจะเปลี่ยน เทคโนโลยีด้าน Finance มันมาจ่อหน้าประตู ถ้าไม่ขยับก็สภาพเดียวกับยักษ์ล้ม มาเร็วพัดเร็ว ควบคุมยาก สู้ทำตามตามลม แล้วสอยของที่ลอยตามลมมาพัฒนา หรือถ้าแจ๋วจริงก็ซื้อเลยดีกว่ามานั่งทำเองซึ่งไม่ทันรอบของเทคโนโลยีแน่นอน ผมว่า KBank ดีไม่ดีอาจเห็นการลดขนาด KBank เน้นเรื่อง Electronic Banking มากยิ่งขึ้นในเร็ววันนี้
เคยคุยกับใครหลายๆคนว่าธนาคารจะลงมาเล่นระบบธุรกรรมการเงินเอง และเขาควรจะรีบวิ่งหนีมันด้วยข้อได้เปรียบของความเป็นเอกชนที่เคลื่อนไหวง่ายและกฎเกณฑ์ไม่ซับซ้อน
แบรนด์ของธนาคารเองก็ได้เปรียบกว่าหลายอย่างโดยเฉพาะความน่าเชื่อถือ (ปัจจัยหลักว่าคนจะใช้หรือไม่ใช้) ส่วนเรื่องจำนวนสาขาถ้ามองแค่ Physical ธนาคารก็มีทั้งสาขาและตู้ ATM แต่จริงๆแล้ว ก็ไม่ควรนับแค่นั้นเพราะมันจะไปอยู่บนมือถือของทุกคนต่างหาก ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียม ธนาคารเป็นผู้ให้บริการเอง อย่างไรก็ได้ถูกกว่ายี่ปั๊วที่ไปเชื่อมเขาอีกที
อันนั้นมุมของผู้ให้บริการธุรกรรมการเงิน แต่ในมุมของคนทั่วไปหรือร้านค้า ผมแอบปลื้มปริ่มมากนะ ที่ธนาคารมาเล่นเอง จะได้มีอะไรสนุกๆให้เล่น โดยเฉพาะคนในวงการ E-Commerce ที่คอขวดของชาติเราอยู่ที่ การจ่ายเงินออนไลน์และการขนส่ง
ที่จริงแล้ว"ธนาคาร"มีกฎเกณฑ์ซับซ้อนยุบยิบหยิมย่อยเยอะสุดๆ เลยครับ = =" บางงานให้ยี่ปั๊วทำแล้วไป Outsource เขาอีกทีคุ้มกว่าเยอะ บางงานยังมีการรับจ้างข้ามแบงก์กันเลยเพราะทำเองไม่คุ้ม (เช่น รถขนเงิน)
แต่เห็นด้วยว่าเรื่องระบบธุรกรรม เรื่อง Fintech พวกนี้แบงก์ต้องลงมาเล่นเองแล้วล่ะ เพราะมันเริ่มเข้ามากินส่วนแบ่งเยอะขึ้นเรื่อยๆ อีกหน่อยจะกู้เงิน สมัครบัตรก็ไปกรอกข้อมูลในเว็บเอาเลย ไม่ต้องฟังมาร์เก็ตติ้งโทรมาให้หงุดหงิด
พนักงานบริการจะย้ายไปขายประกันกันหมดไหม
ทำธุรกิจ online แต่คงใช้เวลาเปลื่ยนผ่านสัก 10 ปี ได้ คนแก่ตามเปลื่ยนไม่ทัน. ต้องให้ลูกช่วยดัน
มันดีนะครับ. ไม่ต้องมีปัญหาตามหนี้ และปัญหาด้านการเงินของธุรกิจ อีกหลายอย่าง.
เดินเกมถูก แต่จะพัฒนาได้ดีไหม. ผมเชื่อคนกสิกรเก่ง