การลงมือขโมยเงินด้วยการใช้ข้อมูลบัตรเครดิตที่ถูกขโมยมาในญี่ปุ่นครั้งใหญ่ มีข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาแล้วในวันนี้ โดยบัตรทั้งหมดเป็นบัตรเครดิตที่ออกโดย Standard Bank ในแอฟริกาใต้ ทางธนาคารระบุว่าความเสียหายรวม 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่ายอดที่มีการกดเงินออกไปจากญี่ปุ่น โดยทางธนาคารระบุว่าลูกค้าจะไม่ต้องจ่ายเงินเหล่านี้แต่อย่างใด จนตอนนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่าข้อมูลบัตรเหล่านี้ได้มาจากแหล่งใด อาจจะเป็นการแฮกเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลบัตรหรือใช้ skimmer รวบรวมข้อมูลมา
กลุ่มอาชญากรเลือกกดเงินตั้งแต่ตีห้าในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคมตามเวลาญี่ปุ่น ไปจนถึงแปดโมงเช้า ขณะที่เป็นเวลาสี่ทุ่มวันเสาร์ของแอฟริกาใต้ ทำให้กระบวนการตรวจสอบความผิดปกติทำได้ล่าช้า โดยสุดท้ายธนาคารแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นเป็นผู้รายงานความผิดปกตินี้
ตู้เอทีเอ็มที่ถูกกด กระจายตัวไปในโตเกียว, คานากาว่า, ไอจิ, โอซาก้า, ฟุกุโอกะ, นางาซากิ และเขตอื่นๆ รวม 16 เขต
ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในห้าชาติที่ VISA ให้เวลากำหนดเงื่อนไขความรับผิดชอบต่อการฉ้อโกงบัตรเครดิตในกรณีที่ไม่รับบัตรชิป (liability shift) เป็นกลุ่มสุดท้ายไปจนถึงเดือนตุลาคม 2017 ในกลุ่มนี้ได้แก่ ไทย, ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย, และสหรัฐฯ
ที่มา - ArsTechnica
ภาพจาก Pixabay
Comments
หมายความว่าเงินจำนวนนี้ ใครจะต้องเป็นคนจ่าย?
ประกัน?
น่าจะมีเรื่องของประกันในรูปแบบเดียวกับเวลาโดนโจรปล้นทั่วไป
ถ้าธนาคารมีเงินสำรองจ่ายมาจากรายได้ กำไร ค่าธรรมเนียม ส่วนได้จากการลงทุน หรือเงินสำรองของธนาคารเองในปริมาณที่มากกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว ผมว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหาครับ
Get ready to work from now on.
ถ้าตามคืนไม่ได้ ตอนนี้ Standard Bank รับผิดชอบจ่ายครับ แล้วธนาคารค่อยไปเรียกจากประกัน (ถ้าทำไว้) แทน
ถ้าเป็นหลังตุลาคม 2017 ทางผู้ให้บริการตู้เอทีเอ็มจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ/ร่วมรับผิดชอบครับ ยกเว้นว่าจะเปลี่ยนไปเป็นแบบ Chip Card แล้ว
โอ ขอบคุณครับ สรุปว่าต้องเป็น Standard Bank รับผิดชอบ แล้วค่อยไปเรียกเอากับประกันอีกที
ธนาคาระบุว่า => ธนาคารระบุว่า
อาจจะโดน สกิมเมอร์ รวบรวมไว้ เพราะ แฮก อาจจะไม่ได้ รหัสผ่าน ?
แต่ ถ้าจะขนาดนี้ ผมวา แฮกเกอร์ นี่อดทนมากๆ เลยนะ ...
แถมบางข่าวรายงานว่า พอโดนกดเงินแล้ว คนกด ก็เผ่นออกจาก ญี่ปุ่นทันที ....
ผมไม่เข้าใจตรงย่อหน้าสุดท้าย
ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในห้าชาติที่ VISA ให้เวลากำหนดเงื่อนไขความรับผิดชอบต่อการฉ้อโกงบัตรเครดิตในกรณีที่ไม่รับบัตรชิป (liability shift) เป็นกลุ่มสุดท้ายไปจนถึงเดือนตุลาคม 2017 ในกลุ่มนี้ได้แก่ ไทย, ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย, และสหรัฐฯ
เท่าที่อ่านจากที่มา ทาง Visa ต้องการให้ทุกประเทศหันมาใช้บัตรแบบ Chip Card ครับ (เพราะปลอมยาก) โดยการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดชอบที่ว่า หากผู้ให้บริการเอทีเอ็มยังไม่ยอมหันมารับบัตรชิป ถ้าเกิดความเสียหายจากการใช้บัตรปลอม ทางผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบเอง ซึ่งประเทศกลุ่มสุดท้ายที่ผ่อนผันให้ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบก็คือกลุ่มประเทศข้างต้น กลุ่มนี้ถ้าเจอบัตรปลอม ความรับผิดชอบก็ไปตกกับคนออกบัตรแทน ซึ่งผ่อนผันถึงตุลาคม 2017 ครับ หลังจากนั้นหากยังไม่ยอมเปลี่ยนตู้ก็ต้องรับผิดชอบเองถ้าโดนบัตรปลอม
ไทย, ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย, อเมริกา เป็น 5 ประเทศสุดท้ายที่ VISA ประกาศว่าให้เปลี่ยนระบบไปรองรับบัตรชิปการ์ดครับ โดยต้องเปลี่ยนให้เสร็จก่อนเดือนตุลาคม 2017 (ประเทศอื่นโดนบังคับให้เสร็จก่อนหน้านั้นแล้ว)
ซึ่งถ้าเกิดโดนโกงขึ้นมาก่อนเดือนตุลาคม 2017 - ธนาคารต้นทางรับผิดชอบ(กรณีนี้คือ Standard Bank ที่เป็นผู้ออกบัตร)
โดนโกงหลังตุลาคม 2017 แต่ยังเปลี่ยนระบบไม่เสร็จ - ธนาคารเจ้าของตู้ ATM หรือเครื่องรูดบัตรเครดิตต้องรับผิดชอบร่วม หรือซวยสุดๆ คือต้องรับผิดชอบทั้งหมด
โดนโกงหลังตุลาคม 2017 แต่เปลี่ยนระบบเสร็จแล้ว - ธนาคารต้นทางรับผิดชอบ ไม่ว่าจะโดนโกงด้วยบัตรแม่เหล็กหรือบัตรชิปการ์ด
โดนโกงหลังตุลาคม 2017 แต่เปลี่ยนระบบเสร็จแล้ว - ธนาคารต้นทางรับผิดชอบ ไม่ว่าจะโดนโกงด้วยบัตรแม่เหล็ก เท่านั้นครับ เพราะ chip-and-pin ยังโกงไม่ได้โดยผู้ถือบัตรไม่เป็นคนกด หรือให้ความร่วมมือ
เข้าใจแล้ว ขอบคุณที่ขยายความ ผมก็ไม่เข้าใจส่วนนี้เหมือนกัน
มาช้าไปหน่อย โดยรวมๆ คือ VISA/MasterCard กำหนดหลักว่าต้องถ้าเกิดความเสียหาย ใครต้องรับผิดชอบครับ เมื่อก่อนธนาคารผู้ออกบัตร (Issuer) รับหมด หลังจากนี้ถ้าบัตรมีชิปหรือข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตรมีชิป ถูกนำไปฉ้อโกงโดยที่เครื่องอ่าน อ่านได้แต่ข้อมูลแถบแม่เหล็ก ร้านค้าที่รับบัตรต้องรับไปเอง
อ่านข่าวเก่า 1, 2
lewcpe.com, @wasonliw