หลังผ่านกำหนดเส้นตายวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับให้ทุกธนาคารเปลี่ยนบัตรทีเอ็มเป็นแบบชิป ซึ่งได้สร้างความสับสนให้กับประชาชนทั่วไป ถึงการคิดค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตรและค่าธรรมเนียมรายปีแบบใหม่ของแต่ละธนาคาร โดยเฉพาะกรณีที่บางธนาคารระบุว่ายินดีเปลี่ยนให้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีเงื่อนไขและประเภทของบัตรที่ไม่มีการเปิดเผยให้กับประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยได้เผยแพร่ตารางอัตราค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนบัตรแต่ละธนาคารในทุกๆ ประเภทบัตร โดยข้อมูลเป็นข้อมูลที่อัพเดตล่าสุด ณ วันที่ 23 พฤษภาคมครับ สามารถดาวน์โหลดหรือเข้าไปดูได้ที่นี่เลยครับ
ที่มา - Bank of Thailand
Comments
ทำบัตรธรรมดาดีใหม่ ไม่ต้องเสียค่าอะไรทั้งสินเลย
นอกจากไม่เสียค่าอะไรแล้ว ยังไม่มีบัตรด้วย :p
ไม่มีบริการนะครับ ไม่ใช่ไม่มีค่าบริการ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ชื่นชมครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เธอควรจะกำหนดว่าเท่าไหร่เท่าไหร่ ไม่ใช่ให้เธอมาบอกว่าเขาเก็บเท่าไหร่ วุ๊
คหสต.
มันอาจจะเกินขอบเขตธปท.ไปนะครับ
คือถ้ารัฐฯถือหลักการแข่งขันอย่างเสรีอะนะ
ปล.แต่ธนาคารได้ค่าอย่างอื่นเยอะมากๆอย่างเช่นค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างๆ
มันควรจะยกเลิกไปได้แล้วนะค่าออกบัตรกะรายปีเนี่ย
ถ้าเกิด กสทช สามารถกำหนดอัตราค่าบริการมือถือได้ ธปท ก็ทำได้ครับ"ในยุคนี้"
กสทช. กำหนดมานานแล้วครับ (ตั้งแต่สมัยประมูล 3G) เป็นเงื่อนไขล่วงหน้า "ก่อน" เข้าประมูล และยังคงเป็นเงื่อนไขการประมูลถัดๆ มา
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าเป็นบัตรเอทีเอ็มพื้นฐาน ควรจะกำหนดนะ เพราะเป็นอะไรที่เบสิกที่ทุกคนควรเข้าถึงได้
ลองนึกภาพว่ารัฐเข้ามาจำกัด "เงินเดือน" ของคุณดูสิครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ตัวอย่างข้างบนอาจจะเทียบกันไม่ได้เสียทีเดียว แต่ต้องลองนึกภาพว่าธนาคารพาณิชย์ในไทย มีต่างชาติมาถือหุ้นเยอะนะครับ ล่าสุดก็เพิ่งขนเงินเข้ามาเปิดสาขาอยู่ 2 ธนาคาร 40,000 ล้านบาท ถ้ารัฐออกกฎห้ามนั่นห้ามนี่ แบงก์บอกงั้นชั้นไม่ทำละ ขายหุ้นกลับบ้านดีกว่า หรือไม่ออกผลิตภัณฑ์มาเสียเลย ผลเสียอาจจะมากกว่าผลดีก็ได้ครับ อันนี้พูดให้ลองมองต่างมุมนะครับ
เรื่องตัวธรรมเนียมผมก็เห็นด้วยแหละว่าแพง แต่มันยังมีตัวเลือกหลายแบงก์หลายผลิตภัณฑ์ ก็ยังดีกว่าไม่มีให้เลือกนะครับ
ปล. ส่วนตัวผมผูกเอทีเอ็มกับบัตรเครดิต ถ้าจำไม่ผิดไม่เสียค่าบัตรนะครับ (ถึงเสียก็เลือกแบบถูกสุด แบงก์อ้างว่าไม่มีบัตรก็ไม่ได้) แต่เสียรายปีปกติครับ
ทำธุรกิจนะครับ ไม่ใช่เล่นขายของ ถ้าเขายังได้กำไรก็ไม่หนีไปไหนหรอก ส่วนที่คุณเอามาเทียบกับเงินเดือนนี่เทียบยังไงครับ ผมนึกไม่ออกว่าเหมือนกันตรงไหน
ผมจะสื่อถึง"รายได้"ครับ รายได้ของมนุษย์เงินเดือนคือเงินเดือน รายได้ของธุรกิจก็คือดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม etc. นั่นแหละครับ แต่อย่างที่บอกว่าเทียบกันไม่ได้เสียทีเดียว ผมเข้าใจว่าผลกระทบมันต่างกัน ผมเลือกตัวอย่างได้แย่เอง
ส่วนที่บอกว่า "ถ้าเขาได้กำไรก็ยังไม่หนีไปไหนหรอก" ถ้าเขามีเงินก้อนเดียวและที่อื่นได้กำไรมากกว่า หรือเท่ากันแต่กฎเกณฑ์ง่ายกว่า เปิดกว้างกว่า เขาคงไปที่นั่นแต่แรกทำให้อนาคตไม่มีคนมาลงทุน หรือถ้าย้ายไปคุ้มเขาก็ไปนะครับ
อันนี้จริงๆ น่าสนใจว่าการกำกับดูแลไม่ดูแลราคานัก แถมตลาดมีผู้เล่นมากราย (เกินสิบ) ทำไมราคาจึงยังไม่ลง ทั้งกระดาน แถมรอบนี้มีขึ้นราคากันบ้างอีก
lewcpe.com, @wasonliw
ผมเข้าใจว่าครั้งหนึ่ง ธปท. เคยแนะนำ (แบบไม่เป็นทางการ) กับแบงก์ด้วยซ้ำว่า สามารถเพิ่มรายได้ตัวเองด้วยการหันไปเพิ่มรายได้ค่า fee ซึ่งช่วงนั้นแบงก์ยังไม่ได้สนใจ พอลองมาทำแล้วพบว่าความเสี่ยงน้อยกว่า กฎเกณฑ์น้อยกว่าเลยติดใจ ทุกแบงก์เลยเหมือนกับเพิ่งพบว่า "แบบนี้ก็ได้เหรอ" ก็เลยรวมหัวกันกลายๆ
ธปท. เองก็คงดูตามทฤษฎีมากไป คิดว่าผู้แข่งขันเยอะจะมีการคานอำนาจกันเอง สรุปกลายเป็นรวมหัวกันฮั้วซะงั้น ซึ่งก็เริ่มมาตั้งแต่ตอนแบงก์ขายประกัน ใครไม่ขายก็แพ้ชาวบ้านเขา ซึ่งประเด็นนี้ผมก็ไม่เห็นด้วยมากๆ ไม่ค่อยเข้าใจด้วยว่าได้รับเสียงด่าขนาดนี้ ธปท. ยังทำเฉย ไม่ค่อยขยับตัวได้อย่างไร
หลังจากนั้นแบงก์เลยเพิ่มค่า fee มันทุกทางที่ทำได้ รวมถึงค่าบัตรนี้ด้วยนี่แหละครับ
ค่าบัตร tmb ถูกสุดๆ เลยแฮะเริ่มต้นที่ 200 บาทห้าปี ถูกกว่าของแบ้งเล็กๆ อย่าง lhbank, tisco ซะอีก
ค่ารายปีหรืออะไรครับ ก็มีรายปี 200 ตั้งหลายธนาคาร ส่วนค่าแรกเข้า 100 บาทก็มีนะครับ
หรือซิตี้แบงค์ไม่มีรายปีเลย (ถ้าจำไม่ผิดฝากขั้นต่ำ 100k)
ค่าแรกเข้า 200 ไม่มีรายปี (เสีย 200 ใช้ยาวไป 5 ปีเลย)
ผมอ่านไม่ดีเอง อันนี้บัตร tmb lite สินะครับ แต่มันกดได้แต่ตู้ tmb เทียบกับ lhbank กดฟรีทุกตู้นะครับ
SCB ขึ้นค่าธรรมเนียมแบบนี้ จะไม่ต่อที่เขาแล้วครับ
TMB น่าสนใจครับ
ที่บอกว่า ค่าธรรมเนียม ATM แบบชิป "ไม่มีบริการ" หมายถึงบังคับให้ใช้แบบ เดบิต นะเนี่ย
ทำไมต้องบังคับกันด้วย
ไม่ใช่นะครับ อย่างธนชาติก็ให้บริการเป็นเดบิตอย่างเดียว (เพียงแต่สามารถตั้งวงเงินเป็น 0 ทำให้รูดไม่ได้) ก็ยังขึ้นในตารางนี้
lewcpe.com, @wasonliw
ผมเข้าใจผิดหรอครับที่ว่า บัตร ATM = บัตรเดบิต ?
ผิดครับ
บัตร ATM = ไว้กดเงินจากตู้ ATM เท่านั้น
บัตรเดบิต = ไว้ใช้รูดซื้อสินค้าคล้ายกับบัตรเครดิต แต่จะหักเงินในบัญชีเราเลย ไม่ได้มีวงเงิน (เครดิต) ให้ ซึ่งบัตรเดบิตมักสามารถนำไปใช้กดเงินจากตู้ ATM แบบเดียวกับบัตร ATM ปกติได้ด้วยครับ
คิดอีกที รายปี 200-300 ก็ถือว่าไม่แพงนะ แลกกับความสะดวกที่เขาลงทุนระบบตู้ให้เรากดเงินได้ 24 ชม.และมีตู้วางหลายๆที่
เพราะจริงๆเงินฝากออมทรัพย์จำนวนเงินน้อยๆนี่ไม่ควรจ่ายดอกเบี้ยด้วยซ้ำ มันเป็นภาระธนาคาร
บอกมาเลยธนาคารไหนที่คิดว่าเป็นภาระ
ช่วงยี่สิบสามสิบปีทีแล้ว พนักงานธนาคารนี่ละคอยตามตื้อให้เปิดบัญชี
ทุกธนาคารที่เก็บ "ค่าธรรมเนียมรักษาบัญชี" เช่นประมาณว่า "เงินเหลือต่ำกว่า 1,000 บาท และไม่เคลื่อนไหวนานเกิน 6 เดือน ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีเดือนละ 500 บาท" อะไรแบบนี้ นี่แหละที่เขาจะสื่อว่ามันเป็นภาระเขาครับ
ขนาดแบงก์ออมสินยังมีเก็บเลยครับ สำหรับบัญชีบางแบบ
ค่าบริการ จะกำหนดให้เท่า ๆ กันนี่ผมว่าไม่แฟร์ เพราะแต่ละธนาคารมีตู้ ATM มากน้อยต่างกัน (คือ Coverage มันไม่มีการกำหนดให้เท่ากัน)
คือจะมากำหนดตายตัวให้เท่ากันเหมือนมือถือก็ไม่น่าจะได้ ที่สำคัญ ธุรกรรมไม่จำเป็นต้องมีบัตร ATM ด้วยครับ
อีกทั้งถ้าเจ้านึง ค่าบัตร ATM มันแพงจริง ๆ เราสามารถย้ายไปใช้อีกเจ้าหนึ่งก็ได้เช่นกัน ถ้ามาตรฐานบริการมันเท่ากันนะ แต่ในความเป็นจริงมันไม่เท่ากัน เราถึงได้ยอมใช้เจ้าที่แพงกว่าได้
การย้ายค่ายของธุรกรรม มันไม่ต้องรอ 90 วัน เปิดบัญชีเช้านี้ บ่ายปิดบัญชีย้ายไปอีกธนาคารได้ง่าย ๆ เลย
อยากย้ายค่าย เลขบัญชีเดิม บัตรเดิม ฮ่าๆ
^
^
that's just my two cents.
อยากได้บัตร ATM แบบชิป ไม่มีให้ทำเลย ธนาคารใหญ่ๆทุกเจ้ารวมหัวกันหมด
บัตรเดบิตไม่ได้ใช้เพราะมีบัตรเครดิตอยู่แล้ว แถมกรณีบัตรเดบิตมีความเสี่ยงสูงเพราะเงินจริงถูกโอนออกไปเลย คาดว่าเร็วๆนี้ คงมีข่าวถูกแฮกตามมาอีกมาก