ถ้าใครเคยไปไทเปจะพบว่าบัตร EasyCard นั้นใช้งานได้แทบทุกที่ ทั้งรถเมล รถไฟ และร้านสะดวกซื้อจำนวนมาก แต่ภายใต้นโยบายการรวมบัตรเงินสดเข้าไปหนึ่งเดียว ตอนนี้ EasyCard ที่เคยใช้งานได้ในไทเปเป็นหลักก็สามารถรวมระบบเข้ากับ iPass ที่ใช้งานในระบบรถไฟฟ้าจังหวัดเกาสงได้แล้ว
การรวมกันครั้งนี้ ผู้ถือบัตร iPass จะสามารถผ่านประตูของ MRT ในไทเปได้ทุกประตู รวม 1,337 ประตู หลังจากก่อนหน้านี้ MRT ไทเปเคยทดสอบด้วยการติดตั้งประตูรับ iPass เพียงสถานีละประตูมาก่อน ขณะเดียวกันระบบ MRT ของจังหวัดเกาสงที่ดำเนินการโดย Kaohsiung Rapid Transit Corp (KRTC) ก็จะรองรับบัตร EasyCard ด้วยเช่นกัน แต่ข้อจำกัดตอนนี้คือผู้ถือบัตร EasyCard จะไม่สามารถเติมเงินในสถานีของ KRTC ได้ ต้องเติมในร้านสะดวกซื้อเท่านั้น
ข้อจำกัดการเติมเงินในสถานี KRTC เกิดจาก EasyCard และ KRTC ไม่สามารถตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายตู้เติมเงินได้ โดย KRTC เรียกค่าติดตั้งตู้เติมเงินจาก EasyCard 20 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน จากค่าติดตั้งทั้งหมด 29 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน อย่างไรก็ดีทาง EasyCard ระบุว่าหากมีการใช้งาน EasyCard ในเกาสงเกิน 20% ก็จะมีการติดตั้งตู้เติมเงินภายหลัง
Taipei Rapid Transit Corp (TRTC) กลายเป็นแกนกลางของการรวมระบบบัตรเติมเงินโดยสารของไต้หวัน นอกจาก iPass และ EasyCard แล้ว ทาง TRTC ยังทดสอบบัตรค่าโดยสารกับอีกสองบริษัท คือ HappyCash และ icash หากทั้งสองบริษัททดสอบระบบส่วนลดการขึ้นรถเมลต่อจากรถไฟฟ้าผ่านไปได้ ระบบ MRT ของไทเปก็จะรับบัตรทั้งสองเพิ่มเติมอีกทาง
ที่มา - Taipei Times
Comments
เหมือนตั้งใจ
นั่นสิ เหมือนตั้งใจเลย
ดีจัง...
//นั่งมองกระเป๋าตัวเองที่เต็มไปด้วยเหล่าบัตร
ส่วนประเทศไทย:
แมงมุมลายตัวนั้น ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน...
Blog | Twitter
ประเทศไทยนี่สารพัดสัตว์จริงๆ
แต่กับใช้ร่วมกันไม่ได้ซะงั้น คนใช้ต้องเสียเงินกับเวลาไปออกบัตรใช้งาน
เหตุผลนะเหรอ การเมือง ผลประโยชน์ พวกพ้อง และความขัดแย้งล้วนๆเลย เห็นจนชินแล้ว
Get ready to work from now on.
เนื้อเรื่องในข่าวนี่ก็ผลประโยชน์ (มันระบบจ่ายเงินน่ะครับไม่ใช่การกุศล) พวกพ้อง (ท้องถิ่น) และความขัดแย้ง ครับ
การใช้เหตุผลแบบนี้มาอธิบายแบบด้วนๆ ผมมองว่าพูดกี่ครั้งมันก็ถูก แต่มันข้ามรายละเอียดไปเยอะมาก ว่าทำไมชาติอื่นๆ ถึงสามารถทำได้ เป็นการให้เหตุผลราวกับว่าชาติอื่นๆ เขาเป็นเทวดามาดูแลระบบ
ในโลกความเป็นจริงการต่อรองผลประโยชน์เป็นเรื่องซับซ้อน แต่การออกแบบแพลตฟอร์มให้ดีพอมันทำให้ระบบมันทำงานร่วมกันได้ภายใต้การต่อรองผลประโยชน์ ตัวอย่างของระบบนี้เช่น TfL ของลอนดอน ที่การต่อรองของแต่ละบริษัทซับซ้อนจนยากจะเข้าใจได้ว่าทำไมบางกรณีค่าโดยสารถึงถูกกว่ากรณีอื่นๆ แต่แพลตฟอร์มก็ยังทำให้การจ่ายเงินเป็นระบบเดียวกันได้ ปัญหาแบบบ้านเราไม่ใช่ปัญหาอยู่ที่เดียว แม้แต่ญี่ปุ่นที่เราว่าเจริญก็ยังแยกระบบจ่ายเงินระหว่าง JR กับ Tokyo Metro มานานจนเพิ่งรวมได้ไม่นานมานี้
lewcpe.com, @wasonliw
โห...เปิดหูเปิดตามากครับ เพิ่งรู้ว่าที่อื่นก็มีปัญหาหนักหน่วงเหมือนกัน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ใจเย็นครับ บัตรแมงมุมยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ตอนนี้หลังบ้านวุ่นวายมากครับ อดใจอีกนิด
ทำไมเค้าต้องออกบัตรแมงมุมมาใหม่ แล้วเค้าไม่อัพเกรดกระต่ายให้ใช้ได้ไปเลยอะครับ? เหมือนตอนแรกกระต่าย จะมีพันธกิจเหมือนแมงมุมเลย แล้วก็เงียบหายไป แล้วก็มีแมงมุมโผล่มา
ที่ผมทราบคือ Rabbit ประมูลไม่ได้ครับ
รถเมล์
เรือ
BTS
MRT
BRT
ทางด่วน
โทลล์เวย์
ึ7-11
.
.
.
.
.
.
.
ฯลฯ
รอพร้อมเพย์ครับ ปัญหาอาจหายไปหมดเลยก็ได้ /ฝันต่อ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
พร้อมเพย์ไม่ได้ออกแบบมาตอบโจทย์ปัญหานี้ครับ ต้องเป็นบัตรแมงมุม