พร้อมโอนเงิน PromptPay กำลังจะเปิดลงทะเบียนเป็นทางการวันที่ 15 นี้ และจะเปิดโอนปลายเดือนตุลาคมนี้ ตอนนี้ก็เริ่มมีข้อสงสัยถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในระบบการโอนเงินใหม่นี้ เช่น บทความในผู้จัดการรายวัน และข่าวในเดอะเนชั่น ผมเองก็ตั้งข้อสังเกตไว้สามประเด็นหลัก ในบล็อกของผมเอง ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวของหมายเลขโทรศัพท์, อันตรายในกรณีที่หมายเลขโทรศัพท์ถูกขโมย, และกระบวนการเมื่อหมายเลขโทรศัพท์เปลี่ยนเจ้าของ
วันนี้ผมได้พูดคุยกับคุณนฤดม รุ่งศิริวงศ์ ทีมที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยข้อมูลของโครงการ National E-Payment ตอบข้อสงสัยที่ผมตั้งข้อสังเกตไว้ จึงนำมาสรุปอีกครั้ง บทความนี้ไม่ได้เขียนในรูปแบบถามตอบ แต่เป็นการอธิบายประเด็นที่ผมตั้งไปด้วยพร้อมๆ กัน เพราะเท่าที่ผมอ่านความเห็นดูมีการเข้าใจผิดไปพอสมควร
ประเด็นนี้ไม่ใช่ประเด็นความปลอดภัยโดยตรง แต่เป็นปัญหาความเป็นส่วนตัว ผมยกประเด็นนี้เนื่องจากคาดว่าสุดท้ายแล้วพร้อมเพย์จะมีผู้ใช้จำนวนมาก ข้อมูลจะถูกรวบรวมเอาไว้ที่เดียวกัน ควรตระหนักว่าบริการหลายบริการของธนาคารทุกวันนี้เปิดให้ค้นชื่อเจ้าของจากหมายเลขประจำตัวได้อยู่แล้ว เช่น หมายเลขบัญชี เมื่อเราจะผูกหมายเลขบัญชีเพื่อโอนไปฝั่งตรงข้าม เราก็เห็นชื่อเจ้าของบัญชีเช่นกัน
แต่ในกรณีของหมายเลขโทรศัพท์ มีความน่ากังวลเพิ่มเติม คือ ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถค่อยๆ รวบรวมรายชื่อเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรบกวนเจ้าของหมายเลขได้โดยเฉพาะหากเจ้าของหมายเลขเป็นคนดัง (เช่นกรณีแทยอน) อย่างไรก็ดีการโจมตีแบบนี้ไม่ใช่การกระทำในทันที ผมคาดหวังว่าธนาคารแทบทุกที่น่าจะจำกัดจำนวนครั้งในการค้นหาชื่อจากหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้กลุ่มผู้โจมตีเช่นนี้ต้องอาศัยบัญชีจำนวนมาก แบ่งช่วงหมายเลขกันค้นหาชื่อ และค่อยๆ สะสมฐานข้อมูลตามระยะเวลา หากธนาคารทุกแห่งมีระบบมอนิเตอร์ที่ดีพอและพบการใช้งานผิดปกติเสียก่อนการสแกนหาฐานข้อมูลทั้งหมดก็จะทำให้การสะสมฐานข้อมูลยากขึ้นมากจนอาจจะใช้ทำอะไรจริงจังแทบไม่ได้ ในทางกลับกันหากมีความผิดพลาดของธนาคารใดธนาคารหนึ่ง เปิดให้เข้าค้นชื่อเจ้าของหมายเลขได้โดยไม่จำกัด การแสกนหาข้อมูลจากจำนวนหมายเลขโทรศัพท์มือถือในไทยที่ใช้งานอยู่ระดับร้อยล้านหมายเลข ก็ไม่ใช่เรื่องยากนัก
นอกจากนี้คุณนฤดมยังยืนยันว่าในการแสดงผลชื่อผู้ใช้จริง จะมีการบังข้อมูลบางส่วนออกจากชื่อ และทางทีมงานตระหนักถึงเรื่องนี้อยู่แล้ว
ประเด็นนี้ไม่ใช่ความผิดของระบบพร้อมเพย์ เพราะหมายเลขโทรศัพท์ไม่ควรถูกขโมยกันได้ แต่ในความเป็นจริงเราก็พบกรณีความผิดพลาดของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเป็นระยะ (ยกตัวอย่าง dtac, AIS, True)
การขโมยหมายเลขโทรศัพท์ไม่ได้ทำให้เงินหายออกไปจากบัญชีของเหยื่อที่ถูกขโมยหมายเลขโดยตรง แต่หากหมายเลขที่ใช้เป็นหมายเลขที่มีเงินเข้าประจำต่อเนื่อง เช่น ร้านค้าออนไลน์ หากผู้ร้ายสามารถขโมยหมายเลขโทรศัพท์และสามารถผูกเข้ากับบัญชีธนาคารของตัวเองได้ ก็จะเหมือนการขโมยเงินที่กำลังเข้ามายังบัญชีของเหยื่อได้เหมือนกัน แต่การกระทำเช่นนี้จะเป็นไปได้ ผู้ที่ขโมยหมายเลขไปจะต้องสามารถถอนการผูกหมายเลขบัญชีออกจากหมายเลขโทรศัพท์ได้ด้วย ความน่ากังวลคือตอนนี้ยังไม่มีการชี้แจงรายละเอียดว่าขั้นตอนการขอถอนการผูกบัญชีพร้อมเพย์นั้นใช้เอกสารใดบ้าง และมีเงื่อนไขอย่างไร (ภาพตัวอย่างข้างบนเป็นประกาศของ SCB) หากสามารถถอนการผูกบัญชีด้วยหมายเลขโทรศัพท์อย่างเดียว ก็จะแสดงว่าคนร้ายที่ขโมยหมายเลขโทรศัพท์ไปได้
อย่างไรก็ดี คุณนฤดมระบุว่ากระบวนการถอนการผูกบัญชีพร้อมเพย์นั้น จะต้องทำที่ตู้เอทีเอ็ม หรือที่สาขาเท่านั้น ไม่สามารถถอนบัญชีได้ผ่านโทรศัพท์อย่างที่ผมกังวลแต่อย่างใด
ความกังวลประเด็นสุดท้ายของผมกระบวนการนำเบอร์โทรศัพท์กลับมาเวียนใช้ใหม่ ที่โดยทั่วไปมีหมายเลขโทรศัพท์ที่เลิกใช้งานถูกพักไว้ 180 วันแล้วจึงกลับมาเวียนขายใหม่อยู่เรื่อยๆ ในกรณีนี้หากเจ้าของเดิมผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้แล้วแต่ไม่ยอมไปถอนการผูกเมื่อเลิกใช้หมายเลขเดิม เจ้าของหมายเลขใหม่จะไม่สามารถผูกบัญชีได้ เพิ่มความเสี่ยงที่คนที่ต้องการโอนเงินให้เจ้าของหมายเลขใหม่กลายเป็นการโอนไปยังเจ้าของเก่าแทน
กรณีนี้ธนาคารต่างๆ ก็ออกมาเตือนผู้ใช้ว่าให้ดูชื่อผู้รับเงินก่อนโอนเงิน (ซึ่งนำมาสู่ข้อกังวลแรกของผมเอง) และกสทช. ก็ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ไปแล้ว ในรายละเอียดคุณนฤดมระบุว่าในอนาคตเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของหมายเลข ข้อมูลจะแจ้งไปยังพร้อมเพย์เพื่อถอนการผูกบัญชีอัตโนมัติ โดยระบบนี้จะเริ่มใช้งานต้นปีหน้า
น่าสนใจว่าหากค่ายโทรศัพท์มือถือพลาดทำเบอร์เปลี่ยนเจ้าของได้ในเวลาอันรวดเร็วแบบสมัยก่อนอีก จะมีผลอย่างไร การผูกพร้อมเพย์จะหลุดไปพร้อมกันเลยหรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้ เพราะการบังคับเปลี่ยนเจ้าของไม่ควรเกิดขึ้นตั้งแต่แรก
แม้ว่าผมจะแสดงข้อกังวลต่างๆ มากมาย แต่ผมก็ไม่ใช่กลุ่มคนต่อต้านพร้อมเพย์แต่อย่างใด การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ฟรีเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลในโลกยุคปัจจุบัน ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเดินหน้าโดยมีต้นทุนต่ำลง
ข้อเสนอเพิ่มเติมที่น่าจะช่วยลดความกังวลได้ ผมเสนอดังนี้
Comments
ที่ UK มี Paym ใช้หมายเลขโทรศัพท์เปิดตัวเมื่อสองปีที่แล้ว แต่จำกัดวงเงิน จำกัดการใช้งานได้ผ่าน App เท่านั้น
ที่น่าสนใจคือระบบจะให้คุณระบุ "ชื่อ" ที่คุณเลือกที่จะใช้เอง เช่น John Doe จะใส่ว่า Doey ก็ได้
ตอนแรกทีมงานเสนอว่าเป็นชื่ออะไรก็ได้ แต่ทางสมาคมธนาคารไม่อยากวุ่นวายเรื่องการแย่งกันเป็นเจ้าของชื่อ และเพื่อให้ง่ายจึงขอใช้เบอร์โทรครับ ส่วนเลขประจำตัวประชาชนตั้งใจใช้กับ Government e-Payment อยู่แล้ว
RX78-2
ห่วงเรื่องแย่งชื่อ แต่ไม่ห่วงเรื่องอื่น อืม... ความคิดเค้า
ดูตัวอย่างชื่อfacebookก็ได้
ชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อปลอมเต็มไปหมด
จะรู้ได้ไงว่าโอนถูกคน
ใช่ครับผมอยากให้ใช้เป็นชื่อจริงแทนการใช้ชื่ออะไรก็ได้ ตามปกติเวลาผมโอนเงินผมจะเช็คเบื้องต้นว่าข้อมูลชื่อในระบบนั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าชื่อถูกต้องก็โอนได้อย่างสบายใจ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเวลาโอนไปธนาคารไหนที่ไม่มีชื่อขึ้นมาให้ตรวจสอบนี่ผมว่ามันทำให้การใช้งานค่อนข้างลำบาก ต้องมาไล่ดูว่ากรอกบัญชีธนาคารถูกต้องแล้วหรือไม่อย่างน้อย 2-3 รอบ ซึ่งตรงนี้ผมว่ามันค่อนข้างกินเวลา หรืออย่างเวลาใช้บริการ ATM ส่วนหนึ่งที่หลายคนใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็นก็น่าจะเนื่องมาจากตรงนี้
ชื่อจริง ไม่ดีตรงไหน?
ชื่อจริง มันซ้ำได้นะครับ
จำได้ว่า มีชื่ิอนายสมชาย ทองคำ อยู่หลักพันคน [ข้อมุลหลายปีแล้ว]
ถ้าใช้จริง ต้องมี ชื่อ ตามด้วยตัวเลขอีก
ผมว่าเบอร์โทรก็ ok แต่การสมัครและเปลี่ยนแปลง
อยากให้ใช้บัตรจริง เจ้าของตัวจริง ในการยืนยันเท่านั้น
ถ้ามี pin และลายนิ้วมือด้วยก็จะปลอดภัยขึ้น
อันนี้เผื่อท่านอื่นไม่ทราบ user นี้คือคุณนฤดมที่ผมคุยด้วยวันนี้นะครับ ต้องขอบคุณมากครับที่มาตอบในนี้ด้วย
ผมปรับเป็น Contributor จะได้ไม่มีข้อจำกัดจำนวนคอมเมนต์นะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
แล้วต่างชาติที่อ่านไทยไม่ได้ จะทำยังไงเวลาอ่านชื่อไทย
อันนี้น่าคิด
ก็กรณีเดียวกันกับคนไทยที่อ่าน ENG ไม่ได้แหละครับ ไม่เห็นมีปัญหาอะไร
ตรงนี้คงไม่ใช่ปัญหาอะไรก็น่าจะใช้ลักษณะเดียวกันกับบัตรประชาชนในตอนนี้นะครับ ที่มีทั้งไทยและอังกฤษกำกับไปเลย
กลัวจะปลอมชื่อกันได้น่ะซิครับ ใช้ชื่อจริงแบบไทยปลอดภัยกว่าแน่นอน
แล้วกรณีที่มีข้อตกลงในการสมัคร (ที่ดังสุดคงของกสิกร) ไม่รับผิดกรณีถูกแฮก (และมี พนง. อ้างว่ามาจากทาง ธปท.) ไม่ทราบว่า โครงการ National E-Payment ชี้แจงกรณีนี้ด้วยมั้ยครับ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เรื่องของแต่ละธนาคาร ไม่สามารถตอบแทนได้นะครับ ฉบับของทางธปท ไม่มีครับ มีแต่ของทางชมรมกฏหมาย สมาคมธนาคาร เป็นเพียงข้อแนะนำในการออกข้อความยอมรับในการสมัครพร้อมเพย์ ซึ่งไม่มีข้อความเหล่านั้น
RX78-2
ขอบคุณมากครับ
แสดงว่าเป็นเรื่องของแต่ละ ธ. ปัดความรับผิดชอบกันเอง
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
สุดท้ายรัฐบาลก็จะสามารถเข้าไปดูความเคลื่อนไหวทั้งหมดในบัญชีที่ผูกกับ promptpay ได้ทันที ผลลัพท์อย่างดีที่สุดก็คือการหนีภาษีของพวกขายของออนไลน์จะทำได้ยากขึ้น อย่างแย่ที่สุดก็... เดาเอาเองแล้วกัน :P
เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงครับ ทำได้อย่างมากที่สุดคือดู Trail (ไม่รู้จะแปลภาษาไทยว่าอะไร น่าจะเป็นร่องรอย) เฉพาะการโอนเข้าบัญชีเท่านั้น การทำการอย่างอื่นจะไม่เห็น
RX78-2
PromptPay รัฐคงยังได้ข้อมูลแบบไม่สมบูรณ์
แต่เท่าที่เดา นี่น่าจะเป็นโครงการเฟสแรกอยู่
มันน่าจะมีโครงการอื่น ๆ ตามออกมาอีก เป็นเฟสสอง เฟสสาม
โดยรัฐจะค่อย ๆ สร้างแรงจูงใจ ให้ผู้คนเข้าไปยังโครงการต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ
ตัวจิ๊กซอว์ก็น่าจะครบมากขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อได้ข้อมูลมาครบ ก็น่าจะเช็คเส้นทางวิ่งของเงินตราได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
เก็บภาษีได้ละเอียดขึ้นกว่าเดิม (ถ้าลูกค้าส่วนใหญ่ใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ ร้านค้าก็ต้องปรับตัวตาม)
และที่น่าสงสัยมากที่สุดคือ จะมีการวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางมากขึ้นกว่าเดิม?
(เช่น ส่วนกลางมีข้อมูลอย่างละเอียดมาว่านี้ ๆๆๆๆ ดังนั้น ส่วนกลางจะวางแผนทำแบบนี้ ๆๆๆๆ เชื่อเรา เรามี big data อยู่ในมือ)
สำนักคิดที่ชื่นชอบแนวคิดแบบกระจายศูนย์ กับ สำนักคิดที่ชื่นชอบแนวคิดแบบรวมศูนย์ จะมีความเห็นต่อเรื่องนี้กันอย่างไรบ้าง
พอเปิด AEC สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือคนจะไปเปิดบริษัทที่สิงคโปร์ครับ เพราะอัตราภาษีอยู่ที่ 17% (https://www.iras.gov.sg/irashome/Businesses/Companies/Learning-the-basics-of-Corporate-Income-Tax/Corporate-Tax-Rates--Corporate-Income-Tax-Rebates--Tax-Exemption-Schemes-and-SME-Cash-Grant/) ดังนั้นถ้าจะดึงการลงทุนให้อยู่ในไทย เราต้องลดภาษีให้เท่าสิงคโปร์ นั่นหมายความว่าถ้าลดภาษีแล้วคนยังอยู่นอกระบบภาษี เห็นทีจะไม่รอดกันทั้งหมด (ผมอาจจะมาลบความเห็นนี้ถ้าภายหลังเห็นว่าเกิดผลเสียต่อตัวผมนะครับบอกไว้ก่อน)
RX78-2
แสดงว่ามีการปรึกษาเผื่อเกิดกรณีแบบนี้มาแล้วใช่ไหมครับ?
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
กรณีเชื่อมโยงข้อมูลกับสรรพากร ภาครัฐจะเห็นภาพรวมของ Transaction ทั้งหมดแบบ Bitcoin หรือเปล่าครับ และเราจะเคลียร์ได้อย่างไร ว่าเงินตัวนี้เป็นเงินที่มาจากการยืม, การขายของมือสอง อะไรประมาณนี้ครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ข้อมูลส่วนนี้จะเป็นข้อมูลส่วนของการโอนเงิน ซึ่งทราบดีไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นการชำระเงิน ดังนั้นข้อมูลหลักที่สรรพากรใช้จะมาจากโครงการ e-Taxation อีกหนึ่งโครงการของ National e-Payment เป็นข้อมูลจาก Electronics Invoice และ Receipt ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ส่วนข้อมูลส่วนนี้ใช้ในกรณีที่สืบหาในกรณีที่ Invoice และ Receipt ไม่สอดคล้องกัน
RX78-2
ความเห็นของคุณดูงงมากครับ ใช้พร้อมเพย์อย่างไรก็ลดค่าธรรมเนียม การใช้หรือไม่ใช้หมายเลขโทรศัพท์เกี่ยวอะไรด้วย
lewcpe.com, @wasonliw
1 พพ. จะบังคับให้ใช้ทางช่องทาง ATM/Mobile/Internet เท่านั้น หากใช้ช่องทางอื่นๆ เช่น ไปจ่ายที่สาขาให้โอนไปเบอร์โทรศัพท์/เบอร์ปปช จะมีค่าธรรมเนียมปรกติ (ต่างธนาคาร 35 บาท ต่อ 50,000 บาท)
2 ถ้าไม่ยอมใช้ เบอร์โทรศัพท์ หรือ บปชช จะมีค่าธรรมเนียมปรกติ (ต่างธนาคาร 35 บาท ต่อ 50,000 บาท)
พร้อมเพย์ตอนนี้ไม่ต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์อยู่แล้วครับ ใช้หมายเลขบัตรประชาชนได้
lewcpe.com, @wasonliw
บปชช = หมายเลขบัตรประชาชน
ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุด น่าจะออกมาจาก Kbank ซึ่งดู active สุดในธนาคารต่างๆแต่ขณะเดียวกัน
ก็ต้องเข้าใจว่า Kbank น่าจะเป็นผู้ที่เสียประโยชน์มากที่สุด และต้องรักษาผลประโยชน์ตัวเองมากที่สุดเช่นกัน
(เช่นดูได้จาก Disclaimer ของ Kbank ที่ดูมีปัญหาที่สุด)
จะใช้แทนเงินจริงได้ยังไงนะ
อย่าง อยากฝากเด็กไปซื้อน้ำ 2 ขวด
ใช้เงินจริงคือให้เงินเด็กไปซื้อ
แต่พร้อมเพย์ จะเข้ามาแทนยังไง
การใช้พร้อมเพย์ในตลาดสดจะเป็นยังไง
ยังนึกภาพไม่ออกครับ ทำเป็นคลิป การใช้งานจริงออกมาจะช่วย ประชาชนได้เยอะเลยครับ ว่ามันใช้ทำอะไรได้บ้าง
การจ่ายด้วยเงืนจริงยังสะดวกกว่าพร้อมเพย์อยู่นะครับ หรือไม่ได้สร้างมาแทนการใช้เงินสด แต่สร้างมาเพื่อการเก็บภาษี
ถ้าอยากให้คนใช้เยอะ ลดขั้นตอนมันลงหน่อยครับ
เช่น ไปกินข้าวร้านอาหาร เสร็จจะจ่ายเงิน ต้องคอยถามเบอร์ กดเบอร์โทรที่จะโอน กดผิด กดถูก สัญญาณไม่ดี โอนผิดเบอร์ โอนเงินเกิน โอนขาด
การจ่ายเงินจริง ยังสะดวกกว่า ครับ
จริงๆ ยืนบัตรประชาชนให้เขาไปเสียบกับเครื่องแทนบัตรเครดิตครับ
ผมว่ากรณีที่คุณยกตัวอย่างมา มันก็เทียบเคียงได้กับบัตรเครดิตนะแหละครับ เปลี่ยนคำว่าพร้อมเพย์เป็นบัตรเครดิตแทน
ผมมองว่าเค้าทำมาเพื่อ Online Transaction มากกว่านะ แต่ใครจะไปรู้ มันอาจไปได้ดีกับ Offline ด้วยก็ได้ เหมือน Apple Pay , Samsung Pay , Android Pay
ถึงจุดนึงที่ทุกคนรับจ่าย e-money ได้หมดมันก็จะสะดวกเองครับ
รัฐถึงต้องกวาดต้อน(โน้มน้าว)ให้คนมาใช้กันเยอะๆ rate of adoption สูงๆมันถึงจะคุ้มในการลงทุน infra
ความสะดวกแลกมาด้วยความเสี่ยง คงต้องลองช่วงแรกก่อนถ้ามันไปได้ดีจัดการปัญหาที่จะตามมาได้ และคนใช้เยอะ มันก็จะพัฒนาไปได้เอง
ผมว่าเรื่องน้ำ 2 ขวดจะยังใช้พร้อมเพย์แก้ปัญหาไม่ได้นะครับ แต่ระบบนี้ช่วยสำหรับการจ่ายเงินสดมูลค่าสูงได้
เช่น หอบเงินสดไปซื้อมือถือราคาหมื่นนึง
แทนที่จะต้องกลัวโดนจี้หรือทำเงินหายระหว่างทาง ก็จ่ายค่าธรรมเนียมไป 2 บาท จบเลย
ในอนาคตถ้ามีคนใช้ระบบนี้มากขึ้น พวกค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ จะลดลงเยอะครับ อาจจะมีบริการอื่นๆ เพิ่มเข้ามาเสริมด้วย
อย่างที่ UK จะมีบัตรเดบิตแบบกดรหัส (สมัครฟรีไม่เสียรายปีใดๆ) ซื้อของร้อยบาท ก็เสียบบัตร กดรหัส แล้วจบเลย
ต่อให้เป็นร้านเล็กๆ เขาก็จะขวนขวายหาซื้อเครื่องเสียบบัตรเอง เพราะคนส่วนใหญ่จ่ายบัตรกันหมด
เดาว่าน่าจะเป็นแบบนี้
ต่อไป ประชาชนทุกคน มีบัตรอิเล็กทรอนิกส์
เด็กน้อย ก็มีบัตรเช่นกัน น่าจะต้องให้ผู้ปกครองเป็นผู้ไปเปิดบัตรให้
พ่อแม่จะให้ลูกไปซื้อน้ำสองขวด
เด็กน้อยมีบัตร แต่บัตรเด็กน้อย ไม่มีตังค์
ดังนั้น พ่อแม่โอนเงินค่าน้ำสองขวด ผ่านพร้อมเพย์ไปให้ลูก
ลูกเดินไปที่ปากซอย นำบัตรเด็กน้อยไปจิ้มเครื่องอ่าน เพื่อซื้อน้ำ 2 ขวดให้พ่อแม่
ขอย้ำอีกครั้งว่า เดาล้วน ๆ
คลายข้อสงสัยได้ในบางประเด็น
พร้อมเพย์ มันเป็นแค่ช่องทางที่เพิ่มขึ้นมาในการรับเงินนี่ครับ เหมือนจะคิด+กลัวกันไปไกลล่ะ
ช่องทางในการเอาเงินออก ยังเป็นปกติ ทำรายการผ่าน e-banking , mobile-banking , atm , counter ของธนาคาร
ผมคิดว่าผมอธิบายข้อกังวลผมค่อนข้างละเอียดนะครับ ถ้าได้อ่าน และผมไม่ได้พูดถึงเรื่องช่องทางเอาเงินออกแต่อย่างใด
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าบัญชีไหนผูกกับพร้อมเพย์แล้ว การชำระเงินผ่าน e-banking หรือ mobile-banking เช่น ชำระค่าบัตรเครดิตที่ยอดเงินเกิน 10,000 บาท ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2 บาท รึป่าวครับ เพราะเดิมไม่ต้องเสีย
ไม่ใช่ครับ ขณะนี้ใช้ได้เฉพาะการโอนบุคคลต่อบุคคลครับ โดยบัญชีผู้รับต้องเป็นบัญชีที่ผูกกับพร้อมเพย์
RX78-2
จริงๆ อยากใช้นะ แต่ก็ยังอดห่วงไม่ได้
ถ้าจะใช้ ต้องตั้งหน่วยอาชญากรรมพร้อมเพย์ขึ้นมารองรับเป็นพิเศษ มือถือหาย โอนผิด หลอกลวง
จริงๆอยากได้ศูนย์กลาง ร้องเรียน กรณีกระเป๋าเงินหาย มือถือหาย สามารถแจ้งทีเดียวล๊อคได้ทุกบัญชี บัตรเครดิต ล๊อคซิม
ถ้ามีเหตุเกิดขึ้นจากการโอนผู้โอนให้ติดต่อธนาคารของบัญชีที่ทำการโอนออกไป ผู้รับพร้อมเพย์หากไม่ได้รับให้ติดต่อธนาคารที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์ครับ มีการตกลงที่จะประสานกันเหมือนการโอนปกติครับ หากได้รับเงินที่ไม่รู้ที่มาให้ติดต่อธนาคารที่ผูกบัญชีเช่นกัน อย่าทำการโอนต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้แจ้งว่าโอนผิดเพื่อป้องกันการโดนผู้ที่ต้องการฟอกเงินผ่านบัญชีท่าน หรือโกงเงินผ่านบัญชีของท่าน
RX78-2
fact :
ปัญหา + ข้อสงสัย
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ติดขัดเรื่ิองเกี่ยวกับพร้อมเพย์ สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้คำปรึกษา และดูแลเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทางการเงิน สายด่วย 1213 ครับ
https://www.1213.or.th
RX78-2