Tags:
Node Thumbnail

เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Innsbruck และ Austrian Academy of Science ประเทศออสเตรียประสบความสำเร็จในการจำลองการเกิดอนุภาคและคู่ปฏิยานุภาค (antiparticle) ของมันโดยใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัม

ทีมนักวิจัยสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมโดยใช้แคลเซียมไอออนเรียงแถวหน้ากระดาน 4 ตัวแทนคิวบิต ซึ่งทั้งหมดถูกดักจับ (trapped) ไว้ในสูญญากาศด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คอมพิวเตอร์จะประมวลผลด้วยการยิงแสงเลเซอร์ไปที่ไอออนดังกล่าว เพื่อให้เกิดปรากฏการณ์ quantum fluctuation (เป็นปรากฏการณ์ที่ยอมให้พลังงานจำนวนเล็กน้อยโผล่ออกมาจากความว่างเปล่าเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะหายไป พลังงานดังกล่าวอาจแปลงไปเป็นอนุภาคและคู่ปฏิยานุภาคที่มีอายุสั้นได้ — อ้างอิงจากฟิสิกส์ราชมงคล) หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์จะอ่านค่าตัวเลขจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อดูว่ามีอนุภาคและคู่ปฏิยานุภาคเกิดขึ้นหรือไม่ ผลการจำลองที่ออกมาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่ทฤษฎีทำนายไว้

ทางทีมวิจัยเปิดเผยว่า ในอนาคตจะทดลองนำเทคนิคดังกล่าวไปจำลองโมเดลของแรงนิวเคลียร์แบบเข้มของอนุภาค (strong nuclear force) โดยจะต้องสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีจำนวนคิวบิตมากกว่านี้ และอาจจะต้องพัฒนาอัลกอริทึมควอนตัมเพื่อจำลองโมเดลนี้เพิ่มเติม Christine Muschik นักฟิสิกส์ทฤษฎีแห่งมหาวิทยาลัย Innsbruck หนึ่งในทีมวิจัยเสริมว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่สร้างขึ้นยังคงมีข้อจำกัดในการเพิ่มจำนวนคิวบิตในการใช้งานเข้าไป ทางทีมจึงมีแผนที่จะพัฒนาเทคนิคการจัดเรียงไอออนเป็น 2 มิติเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจเพิ่มเติม งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature แล้วครับ

งานจำลองปรากฏการณ์ด้านฟิสิกส์ควอนตัม (quantum simulation) ถือเป็นงานที่ท้าทายนักวิทยาศาสตร์และมีความสำคัญ เนื่องจากจะช่วยทำให้พวกเขาสามารถศึกษาปรากฏการณ์ฟิสิกส์ควอนตัมเพิ่มเติมได้ ทว่า คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพไม่มากพอที่จะทำงานเหล่านี้ได้ นักวิทยาศาสตร์จึงฝากความหวังทั้งหมดไปที่คอมพิวเตอร์ควอนตัม (ผมพบว่าบทความที่เขียนถึงงานวิจัยในข่าวนี้โดย Erez Zohar ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ quantum simulation ได้ดีครับ)

No Descriptionภาพจำลองการเกิดอนุภาคและปฏิยานุภาคจากปรากฏการณ์ quantum fluctuation (ที่มาภาพ - Harald Ritsch บน IQOQI)

ที่มา - Nature, MIT Technology Review, Phys.org

ป.ล. ผมไม่มีความรู้ด้านฟิสิกส์พลังงานสูงหรือฟิสิกส์อนุภาค หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถคอมเมนต์ได้ครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 28 July 2016 - 23:57 #928831
Holy's picture

ผมขอยืนยันเช่นเดิมว่าบทความประเภทนี้ น่าจะไปอยู่ใน Jusci มากกว่าครับ (ช่วยทำให้มันหายร้างทีเถอะ T_T)

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 July 2016 - 01:35 #928836 Reply to:928831
hisoft's picture

ข่าวแบบนี้นี่ลงสองเว็บเลยได้ก็ดีครับ ;)

อยาก + ในวงเล็บแรงๆ (T-T)

By: tanapon000 on 29 July 2016 - 07:47 #928856 Reply to:928831
tanapon000's picture

Jusciผมว่าช่วงนี้มันร้างมากเลย

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 29 July 2016 - 11:48 #928909 Reply to:928831

เว็บนั้นยังอยู่เหรอครับ TT^TT


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: SpeedEX
AndroidWindowsIn Love
on 29 July 2016 - 11:53 #928911 Reply to:928831

+1
อ่านๆดูยังไงก็เป็นข่าวฟิสิกส์ มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นิดหน่อยที่เป็นควอนตัมคอมพิวเตอร์

By: movement41
Windows PhoneAndroidWindows
on 29 July 2016 - 11:57 #928912 Reply to:928831

+1

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 29 July 2016 - 12:03 #928914 Reply to:928831
Noblesse's picture

ผมเองก็เคยคิดมานานแล้ว หลายข่าวเลย เมื่อวานก็เข้าไปเช็ค JuSci ก็ยังเป็นข่าวเดิมอยู่เลย คิดว่าคงร้างแล้วจริงๆ RIP JuSci T_T

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 29 July 2016 - 14:05 #928941 Reply to:928831
lew's picture

ตอนนี้ต้องบอกว่า Jusci อยู่ในโหมด หาคนมา co-maintenance ครับ ในแง่คนดูแลเว็บ ถ้าเอาไปลงเว็บเฉพาะแล้วปรากฎว่าคนเข้าถึงได้น้อยกว่า มันก็เสียแรงคนเขียนบทความมาเหมือนกัน

ระหว่างนี้ถ้ายังไม่มีใคร commit ว่าจะช่วยเขียนสม่ำเสมอ ผมคงเน้นให้เขียนใน Blognone ไปก่อน


lewcpe.com, @wasonliw

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 31 July 2016 - 18:08 #929315 Reply to:928831
Sephanov's picture

ลืมไปละนะว่ามีเวปนี้ด้วย

By: 100dej
AndroidWindows
on 29 July 2016 - 11:33 #928906

ทำไมเรายังไม่ วาร์ป