SolidEnergy ห้องแล็บพัฒนาแบตเตอรี่ของ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี่แบบ Lithium-metal ซึ่งสามารถจุไฟฟ้าได้มากกว่าแบตเตอรี่แบบ Lithium-ion ในปัจจุบันได้ถึง 2 เท่า
ประเด็นสำคัญของการจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อยู่ที่การเปลี่ยนวัสดุของแอโนด (anode) จากกราไฟต์ (graphite) มาเป็นฟอยล์ lithium-metal ซึ่งมีความบางกว่าและจุไอออนได้มากกว่า ทำให้แบตเตอรี่แบบ Lithium-metal สามารถให้พลังงานได้เทียบเท่า Lithium-ion ในไซส์เพียงครึ่งเดียว และให้พลังงานได้ถึง 2 เท่าในไซส์ที่เท่ากัน
ทาง SolidEnergy ระบุเครื่องมือใช้ที่ผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion ในปัจจุบันสามารถใช้ผลิตแบตเตอรี่ชนิดใหม่นี้ได้เลย ซึ่ง Lithium-metal ก็พร้อมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว และคาดว่าจะแบตเตอรี่แบบใหม่นี้จะถูกบรรจุอยู่ในโดรนภายในสิ้นปีก่อน ตามมาด้วยสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สวมใส่ในช่วงต้นปี 2017 ก่อนที่จะนำไปใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าต่อไปในช่วงปี 2018
ที่มา - SolidEnergy, MIT News via Engadget
Comments
มองเห็นภาพต่อไปจะมีมือถือ CPU แรงที่ราคาถูกแต่แดกแบตไม่เกรงใจ กับ CPU แรงเท่ากันแต่ประหยัดไฟแต่แพงบรรลัยแบบ PC โผล่ขึ้นมาในหัวเลยแฮะ....
สุดท้าย ต้องชาร์ตทุกวันเหมือนเดิม เอวัง
ก็แบบนั้นเลยมันเลยจะเข้าสูตรแบบ PC เดิมๆ เลย เอี๋ยวอาจมีแบต 1000w จ่ายเต็มแบบ PSU ของ PC มาขายก็ได้ใครจะรู้...
ต้องรอดูปัจจัยด้านราคาแหละครับว่า Li-metal (ยังไม่รู้จะเรียกตัวย่อทางการว่าอะไร) จะกดราคาลงมาเท่า Li-ion ได้ไหม
ถ้าเท่าหรือใกล้เคียงผมว่ารูปการณ์แบบนี้คุณว่ามาไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ครับ
ในที่สุด มันก็ถือกำเนิดสักที
สิ่งที่ลูกค้าจะได้คือมือถือที่บางลงไปอีกพร้อมแบ็ตความจุเท่าเดิม
I need healing.
+1
ผมว่าได้มือถือขนาดเท่าเดิมที่แบตอึดขึ้นมากกว่า เพราะเครื่องบางเกินก็ถือลำบาก
บางที่ผมว่าผู้ผลิตไม่ได้คิดอะไรแบบเราๆครับ ดูอย่างจะเอาพอร์ต 3.5mm ออกมั่งละ จะให้มันบางไปถึงไหน
ถ้าเป็นหุ่นกระป๋องอะใช่ แต่ผลไม้...
ข่าวลือต่อไป iphone all new บางเฉียบ ตัดพอร์ตทุกอย่าง ความจุแบต เท่าเดิม นวัตกรรมใหม่
ปล.i6 ลั่น
แต่เรามี Lithium-metal (เพื่อ)
ตามมาสมาร์ทโฟน > ตามมาด้วยสมาร์ทโฟน?
รถไไฟ้าน่าจะมาเร็วขึ้น ธุรกิจน้ำมันก็ต้องเตรียมลงทุนประเภทอื่น
ก่อนแก่ตายนี่จะทันได้เห็นสมาร์ทโฟนที่แบตอยู่ได้เป็นเดือนมั้ยนะ
55
ห้าห้า ดูเหมือนแค่ฟีเจอร์โฟนก็ยังไม่ถึงนะ ^^'
..: เรื่อยไป
ไม่เห็นครับ เพราะแบตดีขึ้นแค่ไหน ผู้ผลิตก็ยิ่งลดให้มันบางลงเรื่อยๆ
lewcpe.com, @wasonliw
อาจจะมีก็ได้นะครับ พวก niche market ที่ไม่หวั่นแม้มือถือจะขนาดเท่ากระติกน้ำแต่ขอให้ batt อยู่ได้ทั้งเดือน
เผลอๆ อีกไม่กี่ปี มือถืออาจบางกว่าผ้าอนามัยผู้หญิงที่โฆษณาอยู่ซะอีก แค่ภาพมือถือตอนหล่นลงพื้นแทบไม่อยากจะคิดเลยว่าจะเละขนาดไหน
Get ready to work from now on.
เอ แล้วเวลาชาร์จล่ะ ต้องใช้เวลาเพิ่มเป็นสองเท่าด้วยหรือเปล่า?
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมมักจะช๊าจมือถือในเวลาเดิมๆ ของแต่ละวันดังนั้นถ้าความจุเพิ่มก็ต้องอยู่ให้ได้ 2 วันไปเลยเป็นอย่างน้อย
ถ้าอยู่ได้วันครึ่ง สุดท้ายก็ช๊าจวันละครั้งเหมือนเดิม
ยังมีข้อดีตรงลดจำนวนรอบการชาร์จไปได้เกือบครึ่ง แบตอายุยืนขึ้นครับ
พวก application ที่กินแบตเยอะๆ เช่น AR, always on Siri รวมไปถึง wearable อะไรพวกนี้ มันก็จะ practical ขึ้นไงครับ
เราอาจจะชาตทุกวันเหมือนเดิม แต่มันทำอะไรได้เยอะขึ้นมาก :D
หวังว่าราคาจะไม่แรง จะเป็นการก้าวกระโดดอีกขั้นของวงการแบตฯเลย
มันจะร้อนกว่าเดิมไหม?
ผมว่ามันควรจะหยุดบาง แล้วทำให้ใช้งานปกติที่มนุษย์โดยเฉลี่ยเค้าใช้กัน ข้ามวันได้เสียที
Gen4 ก็น่าจะเป็น Li-Air สินะ
บางแล้วดียังไงอ่ะครับมือถือ นอกเสียจากทำให้ร่วงง่าย
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
สามารถใช้งาน Airplane mode ได้ดีขึ้นครับ >_<
มือถือต่างๆ ที่เราใช้ เช่น ไอโฟน ใช้ Li-on Gen ไหนครับ 2 ใช่ไหมครับ
ผมสงสัยใครรู้
- ใครเป็นเจ้าของ สิทธิบัตร มหาวิทยาลัย อาจารย์ นึกษาศึกษา ผู้ร่วมสนับสนุน ?
- ใครจะได้เงิน ถ้าขายให้เอกชน หรืออนุญาตให้ผลิต ตามไลน์เซ่น
- ผู้สนับสนุนเงินทุนวิจัยได้อะไรตอบแทนลักษณะใหนหรือเปล่าครับ
- มีการฟ้องร้องบ่อยๆ สิทธบัตรเอกชนแบบนี้ไหม
คือ MIT มีงานวิจัยเยอะมากๆ เลยสงสัยว่าถ้างานวิจัยทำเงินได้ MIT จะรวยขนาดใหน
อันนี้ตอบตามความเข้าใจส่วนตัวนะครับ อาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว
ถ้าในแง่ของมหาวิทยาลัยแล้ว ชื่อเสียงและผลงานสำคัญกว่ารายได้ครับ เพราะรายได้จะเข้ามาเองถ้ามหาวิทยาลัยสามารถผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพและมีงานวิจัยอันเป็นที่ประจักษ์ครับ
ได้ครับ คงแล้วแต่นโยบายแต่ละมหาวิทยาลัย อย่าง Google เองสองผู้ก่อตั้งก็ไป license สิทธิบัตรที่ตัวเองทำระหว่างเรียนปริญญาเอกกลับมา โดยมหาวิทยาลัยได้หุ้น
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่คิดว่าจะได้เห็นแบตประเภทนี้ใน 1-2ปี นี้
เห็นบรรทัดที่ว่า "Lithium-metal ก็พร้อมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว" ผมว่าอีกประมาณ 1 ปีก็น่าจะได้เห็นละครับ
ตอนเห็นหัวข่าวก็คิดว่า มาให้ฝันค้างอีกละ (จริงๆ ก็มีงานวิจัยสายนี้บางตัวเคยเคลมว่าทำได้ถูกลงมั่งละ ขั้นตอนผลิตน้อยลงมั่งละ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ออกมา)
แต่พอเห็นเคลมว่าพร้อมผลิตเชิงพานิชย์ก็พอมีหวังหน่อย คือถ้าแค่ใช้โรงงานเดิมแค่ปรับวัตถุดิบ/ปรับกระบวนการเล็กน้อยก็น่าจะเป็นไปได้มากขึ้น
เห็นข่าวแบตเตอร์รี่มาหลายข่าว ทุกวันนี้ก็ยังเป็นแบบเดิมอยู่มานานแล้วครับ
เนื้อข่าวก็ใกล้เคียง บางอย่างรอพร้อมเชิงพาณิช บางอย่างพร้อม แต่ก็ยังไม่เห็นได้ใช้สักที
น่าเอาไปทำแบ็ทรถไฟฟ้า
เอามาใส่ใน UPS หรือระบบเก็บไฟจากแสงอาทิตย์ก็น่าจะคุ้มค่านะ
Get ready to work from now on.
ระบบเก็บไฟจากแสงอาทิตย์ส่วนมากนี่น่าจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องพื้นที่แบตเตอรีรึเปล่าครับ?
UPS นี่ก็น่าจะแค่พวกระดับบนๆ หน่อย แบบตามบ้านนี่ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าเค้าซีเรียสเรื่องขนาด UPS ว่าอยากได้ตัวเล็กลงไปสักครึ่งนึงกันรึเปล่า (หรือลดได้ก็ลดลงไม่ถึงครึ่งเพราะส่วนที่เป็นแบตปกติก็แค่ราวๆ ครึ่งเดียวของปริมาตร UPS ตามบ้าน?) แล้ว UPS ทั่วไปก็มักจะไม่ได้ใช้แบตลิเทียมกันเสียด้วยสิครับ
แต่แน่นอนว่าถ้าระดับพวกศูนย์ข้อมูลนี่คงช่วยได้เยอะ แต่ส่วนมากก็ยังใช้แบตกรด-ตะกั่วกัน? https://www.blognone.com/node/66640
อยากให้มันเบาหน่อย.. เวลาแบกไปเปลี่ยนแบตจะได้ไม่หนักมาก (พูดเหมือนเปลี่ยนเดือนละสามรอบ ถถถถถ)
iPAtS
เอามาลองเล่นเลย รู้สึดแบตไม่พัฒนามานานแล้ว
ผมสงสัย ดูรูปแล้ว Li-Po ไปอยู่ Gen ไหนอ่ะ?