ความคืบหน้าคดีการขโมยเงินของนายพันธ์สุธี มีลือกิจ ฝั่งของธนาคารกสิกรไทย ช่วยเหลือเงินให้นายพันธุ์สุธีเต็มจำนวน 9.8 แสนบาท และเมื่อวานนี้ กสทช. เชิญผู้เสียหายและตัวแทนจาก True เข้าหารือ
ทางบริษัท TrueMove H ยอมรับว่า "การอนุญาตให้เปลี่ยนซิมการ์ดโทรศัพท์ เกิดจากการประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส" โดยจะเพิ่มความเข้มงวดของการตรวจเอกสาร และอบรมพนักงานให้มากขึ้น
นอกจากนี้ TrueMove H ยังเยียวยาผู้เสียหาย โดยให้โทรฟรีเป็นเวลา 1 ปี และมอบโทรศัพท์มือถือให้ 1 เครื่อง
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงาน กสทช. บอกว่า สำนักงานจะตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการกระทำของ True ว่าละเลยหน้าที่ตรวจสอบเอกสารถือว่าเข้าข่ายผิดกรณีใดบ้าง และจะเร่งนำแนวความคิดเรื่องการสแกนลายนิ้วมือเพื่อออกซิมการ์ดมาใช้งาน โดยเป็น "ทางเลือก" ให้กับคนที่ต้องการความปลอดภัยมากกว่าปกติ คาดว่าจะออกเป็นประกาศ กสทช. ภายในปีนี้
ที่มา - ThaiPBS
Comments
อู้หู ใจป้ำกับลูกค้าสุดๆ ... เซอร์วิสกันขนาดนี้ย้ายค่ายเลยดีกว่า 555
my blog
ผมเพิ่งย้ายมาครับ (ฮา) อยู่เป็นเพื่อนกันก่อนนน
ผิดจริง แต่ชดใช้ขนาดนี้ คิดๆดูก็เหมาะสมนะครับ
เพราะความเสียหายที่เกิดต่อจากนี้มันคนละส่วนกัน
(ไม่งั้นถ้าเสียหายมากกว่านี้ตายเลย ค่าบริการนิดเดียวเมื่อเทียบกะค่าเสียหาย เพราะความปลอดภัยของ bank เช่น otp ดันมาผูกกะเบอร์ด้วย หรือว่าจะขึ้นค่าบริการนิดนึงแต่ปรับให้ปลอดภัยแน่นอน และจะรับผิดชอบถ้าเสียหายเท่านั้นนี้บาท)
ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดมากกว่า เห็นเกิดบ่อยๆ
KBank จะไปไล่บี้ True ต่อหรือเปล่าเนี่ย ?
KBank : แกๆ เราว่าแกต้องช่วยออกครึ่งนึงนะ ว่าไม๊ ?
True : เราให้ iPhone 6S กับค่าโทร 1 ปีแล้วนะเฟ้ย เราว่า เราก็ชดใช้ให้หมดสมแล้วนะแก
Kbank : $%#$%@#$$%#
ตามข่าวแจกรุ่นเก่าที่ไม่มี S ให้นะ
น่าจะเป็น 6Plus
ต้องไปไล่กับคนร้าย (หรือขอสิทธิการไล่มาจากผู้เสียหาย)
ผมสงสัยแนวคิดแบบนี้นะ ว่าทำไมทรูต้องออกค่าเสียหายในส่วนของธนาคาร?
ทรูเคยไปสัญญากับใครไว้หรือครับว่าจะเป็นผู้ปกป้องบัญชีธนาคาร หรือธนาคารไปใช้เอง
lewcpe.com, @wasonliw
ทีแรกผมก็คิดว่าทรูควรรับผิดชอบ แต่พอคิดอีกที ใครล่ะเป็นคนผูกบัญชีเข้ากับเบอร์ของตัวเอง ความรับผิดมันจำกัดอยู่แค่นั้น
ทรูไม่ต้องรับผิดชอบอะไรสักอย่างในส่วนเงินหายเลยครับ แต่ถ้าเจอแบบนี้กับผมชาตินี้ผมคงไม่ใช้ของทรูและบอกคนรอบตัวว่าอย่าใช้ครับ เพราะผมคงรู้สึกเขาไม่ได้แคร์ลูกค้าเพียงพอที่จะทำให้ผมเสียเงินให้
ปล.บางความรับผิดชอบต่อลูกค้ามันมีมากกว่าที่เขียนไว้ในสัญญาซึ่งผมเจอในบริการค่ายอื่นที่ไม่ใช่ทรู
เหตุเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อ ถ้าเทียบเป็นอุบัติเหตุรถยนต์ฝ่ายผิดต้องชดใช้ไม่ว่าเราจะไปชนกับจักรยานหรือปอร์เช่ก็ตาม แล้วแบบนี้มันต่างกันไหมครับจะ1,000หรือ1,000,000ที่เกิดขึ้นจากความประมาทของ พนง.
ตัวอย่างรถชนมันเห็นชัดเพราะ 1 ต่อ 1 มันแน่นอนว่าคนชนผิด
แต่เคสนี้ไม่เหมือน
- ธนาคาร ให้บริการ กับผู้เสียหาย ถ้าพนักงานธนาคารผิดต้องชดใช้เต็มถูกต้องแล้ว (ซึ่ง kbank ก็ชดใช้ แล้วค่อยไปไล่เอาจากคนร้าย)
- ค่ายมือถือ ให้บริการโทรศัพท์ทำผิดเพราะประมาท ต้องชดใช้ในส่วนที่ประมาทคือ สร้างเบอร์ให้คนอื่นไป แต่ไม่ใช่ผลต่อเนื่องเหมือนเคสนี้ที่คนร้ายเอาเบอร์ไปใช้ทำให้เกิดความเสียหายอื่นๆที่เป็นตัวเงินต่อ (แต่ประเด็นคือมันผิดที่พนักงานธนาคารรีเซ็ตรหัสให้ จะคำถามง่ายไปอะไรก็ตาม เพราะคนเสียหายอยู่เฉยๆไม่ได้ทำอะไร)
** ไม่งั้นค่ายมือถือเกิดให้บริการมือถือไม่ได้บางจังหวะ (ซื้อขายหุ้น หรืออื่นๆ ตามแต่คนจะอ้าง) เช่น dtac ทีเคยล่ม ก็ชดใช้ตายเลย ตอนนั้นจำได้ว่าชดเชยโดย ให้โทรฟรีตามเวลาที่ใช้ไม่ได้และบวกอีกนิดหน่อย
+1 เห็นด้วยกับคุณ secure ครับ
ยังรู้สึกว่ากรณีเครือข่ายล่มยังเทียบไม่ได้กับกรณีนี้ครับ กรณีนี้คือปล่อยให้คนอื่นสามารถละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราใด้(ความเสียหายกินความไปกว้างกว่าแค่โทรเข้าออก )การปล่อยให้เข้าถึงตัวตนของเราที่ลงทะเบียนกับซิมไว้ ควรเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งยวดกว่าการให้บริการเครือข่ายเสียอีกหรือเปล่าครับ เป็นจุดหนึ่งของการทำให้เกิดปัญหาบานปลายต่อลูกค้าได้อีกเยอะแยะจนอาจทำลายชีวิตของลูกค้าได้แบบในข่าว และค่าทำขวัญที่trueมีให้ต่อลูกค้าที่แล้วแต่คนจะคิดหรือคนจะตีราคา แต่ผมก็คิดว่าน้อยเกินไปอยู่ดี
บางเราใช้ความรู้สึกไม่ได้อ่ะครับ ทางทรู ก็มีกำกับท้ายข้อตกลงเสมอ เช่นไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย บราๆๆๆๆ เวลาเราเปิดใช้บริการอยู่แล้ว เหมือนกรณีฝากรถที่ห้างโลตัส เขาจะเขียนว่าไม่รับผิดชอบต่อทรัพสินภายในรถของคุณอยู่แล้วอ่ะครับ
เช่นกัน ธุรกิจเด๋วนี้ต้องกันความเสี่ยงไว้ทุกทางอยู่แล้ว ที่ทำให้นี่ก็นับว่าเกินขอบเขตของบริษัทเขาแล้วแหล่ะครับ ผมก็รู้สึกว่าน้อย แต่ธุรกิจนี่เนอะ
ข้อความกำกับท้ายสัญญา ว่า ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ใช้ไม่ได้ทุกกรณีครับ
ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ข้อยกเว้นนั้นไม่เป็นธรรม ก็ไม่สามารถเอามาใช้ได้ครับ
เช่นกรณีจอดรถไว้ที่ห้าง หากมีการรับฝาก รวมถึงเก็บเงินค่าจอด
มีฎีกาตัดสินมาแล้วว่า ห้างต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายกับทรัพย์สินที่รับฝาก
การเขียนข้อความในท้ายสัญญาว่า เป็นเพียงการบริการที่จอดรถ ไม่ใช่การรับฝากดูแลทรัพย์สิน
หรือไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายของทรัพย์สิน ถือไม่มีผลให้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายครับ
แต่กรณีนี้ ชัดเจนนะครับ ว่าเขาเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการรับฝากเงิน (ยิ่งพูดยิ่งดูเหมือนผมเข้าข้างทั้งๆ ที่ผมก็ไม่ชอบใจนะครับ แต่ผมก็ว่าไปตามความแฟร์แหล่ะ)
รับผิดชอบได้เหมาะสมกับที่เป็น True ครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
true little, true late
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เป็นข่าวที่ตลกที่สุดตั้งแต่อ่านบลอกนันมา
เป็นผมคงบอก ขอเป็นเงินสดแทนได้มั้ย
เพราะว่าตูคงย้ายค่ายไปนานแล้วตั้งแต่วันเกิดเรื่อง
เหอๆ เค้าคงอยู่ใช้หรอกนะ
ตามกฎหมายแล้วทรูไม่ต้องชดใช้ครับ ที่จริงธนาคารต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองแต่แรกอยู่แล้ว และงานนี้ที่เงินมันโดนขโมยไปได้ตัวการหลักคือระบบ reset password ทาง call center ของ KBANK ที่วางระบบไว้หละหลวมด้วยครับ
เปรียบเทียบว่า
1. คุณเอากุญแจบ้านไปฝากในตู้เก็บของสาธารณะ
2. แล้วมีคนปลอมตัวเป็นคุณแบบง่ายๆ แค่ใส่หมวกใส่แว่นติดหนวด
3. จากนั้นเขาไปขอกุญแจตู้ดอกใหม่จากคนให้เช่าตู้ แล้วก็เอาไปเปิดตู้เอากุญแจบ้านคุณอีกที
4. สุดท้ายก็เอาไปเปิดบ้านคุณขนเงินออกไป
คำถามคือ ใครน่าโดนด่ามากที่สุด
ตอบ: คนให้เช่าตู้ครับ
งานนี้ธนาคารเป็นผู้เปิดประตูหลักเลยล่ะครับ ธนาคารเป็นผู้ให้ username กับ password โจรไปครับ
ผมว่าหลายคนยังหลงประเด็นอยู่นิดนึงในเรื่องบทบาทหน้าที่
1. ธนาคารเป็นผู้รับฝากเงินโดยให้คำรับประกันว่าจะดูแลเงินของเราให้ปลอดภัย บริษัทมือถือไม่ได้เป็นผู้รับ
2. ธนาคารออกแบบระบบของตัวเองหละหลวม 2 ประการใหญ่
2.1 ระบบ reset password ที่อ่อนเกินไป โจรเลยได้ username + password เข้าระบบได้
2.2 ไปใช้ระบบที่ตัวเองไม่เคย audit ไม่มีอำนาจควบคุม มาเป็น 2nd factor authentication
ตามกฎหมายแล้วผู้รับฝากเงินต้องจ่ายเต็มอยู่แล้วครับ จากนั้นจะไปไล่เบี้ยต่อก็ว่าไป แต่ไปบอกให้ลูกค้าไปเรียกร้องจากทรูเองเนี่ยผิดเต็มๆ
ดังนั้นแทนที่จะใช้โทรศัพท์เป็น 2nd factor ก็น่าจะแจก Token แทน
ใช่ครับ งานนี้ธนาคารต้องชดใช้ทั้งหมด ไม่ผิดแน่
แต่คนที่น่าโดนด่ามากที่สุดคือทรู เพราะดันเชื่อการปลอมตัวแบบโง่ๆ ซะงั้น
ที่จริงต้องระวังกลายเป็นคนโง่กันทุกคนนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้ข้อมูลที่เราเคยเชื่อว่าลับ มันไม่ลับอีกต่อไปแล้ว เช่น เลขประจำตัวประชาชน ยิ่งสามารถเชื่อมอ้อมๆ กับเลขโทรศัพท์ ผ่านทาง PromptPay ได้ยิ่งน่ากังวล เพราะใครก็ตามที่รู้ข่อมูลส่วนตัวเราแม้ไม่ลับ แต่รู้หลายๆ อย่าง ก็กลับถูกมองว่าน่าเชื่อถือไปซะงั้น
เปรียบเทียบผิดไปหน่อย
ใครต้องรับผิดชอบส่วนไหนก็คิดกันครับ
จับคนร้ายยังไม่ได้อีกเหรอครับ
นั่นสิ
ข่าวมีแต่เล่น ทรู กิสิกร และยกป้าย
แต่งานสอบสวน นี่ไม่มีข่าวมาให้เห็นเลย ว่าจับคนร้าย อายัดเงินคืนได้ไหม
มีข่าวว่ารู้ตัวคนร้ายและออกหมายจับแล้วครับ
เป็นเด็กเพิ่งออกจากสถานพินิจ
ช่วงท้ายๆ
http://morning-news.bectero.com/m/main.php?m=newsdetail&cname=economy&nid=85685
เอาที่พี่สบายใจเลยครับ ชดเชยได้สุดยอดมากเลย #ประชด
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผุ้เสียหายไปค่ายอื่นหมดละครับ
ถ้าไม่เป็นข่าว ผุ้เสียหายจะได้เงินคืนหรือเปล่าน๊อออ
อย่างกรณี ยกเลิกเบอร์เติมเงิน แล้วขอเงินคืน
เอไอเอส ถามกลับมาอย่างหน้าตาเฉย ว่ากฎหมายข้อไหน?
นี่ถ้าเป็นผม ผมหล่ะคงปล่อยเงินเสียเปล่าแน่นอน
ทรูเหมือนจะพลาดตรงที่ไม่ยอมออกมารับหน้าตั้งแต่แรก นี่เล่นเงียบไปเลยทำให้คนก็คิดกันไปต่างๆ นาๆ
ยุคนี้ การเงียบ กลายเป็นการสารภาพไป โดยปริยายครับ 555
แค่สำเนาบัตรประชาชน ใบเดียวถึงขั้นยอมทำซิมใหม่ให้โดยไม่มีการตรวจสอบ ผมว่าโคตรแย่เลยครับ ต่อไปมีพร้อมเพย์อีก นี่ไม่ยิ่งน่ากลัวหรอ ทั้งๆที่สัญญานของเดิม active อยู่ คุณตัดและยอมให้ซิมใหม่โดยไม่ตรวจสอบ หลายท่านที่เคยมีส่วนกับองค์กร นี้คงจะรู้ถึงคุณภาพของพนักงานที่โตไม่ทันธุรกิจดี โคตรห่วย และจัดการภายในเละเทะมาก
ผลกรรมตกที่กสิกรที่ไว้ใจะใน 3 เครือข่ายมากไป จะว่าไปแบงค์ก็ไม่ต่างกันเท่าไร ถ้าคุณไป ธ.กรุงเทพ คุณจะเจอป้าโคตรดุเอะอะไม่ครบไม่ได้ไม่ยอม (ยกเว้นซ๊้กัน) ส่วนกสิกรแค่ไปทุกๆวัน ตีสนิทกันหน่อยมีมาดรวย สาขาแถวบ้านผม เจอคนร้าย แสร้งซื้อประกัน วงเงินสูง ดีลถึง ผจก. ได้ เซ็นกู้โอดีทะเบียนบ้านปลอม โดนไป 20 ล้านครับ
คือ อะไรที่มันไม่ตามกฏ หรือกลัวเสียลูกค้า มันก็คือช่องโหว่ให้แก่มิจฉาชีพนั่นเอง