เทคโนโลยีอย่าง AI ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องนำมาแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนแต่จับต้องไม่ได้ แต่เพียงอย่างเดียว อย่าง Makoto Koike นักออกแบบ Embedded System ได้ตัดสินใจนำเอาระบบ Deep Learning บน TensorFlow ของกูเกิลมาใช้ในฟาร์มแตงกวาของพ่อแม่ตัวเอง เพื่อช่วยเรื่องการคัดแยกแตงกวาทั้งเรื่องของขนาด สี ฯลฯ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการคัดแยกลงไปได้ค่อนข้างมาก
คุณ Makoto Koike (ด้านหลัง) และพ่อแม่ในฟาร์มแตงกวา
ในกระบวนการคัดแยก Makoto ได้ใช้ Rasberry Pi 3 ที่ติดกล้อง เพื่อถ่ายรูปแตงกวาแต่ละรูป ก่อนจะส่งไปยังระบบเครือข่ายประสาทเทียม (neural network) บน TensorFlow เพื่อแยกแยะว่ารูปที่ได้มาคือแตงกวาหรือไม่ ก่อนจะส่งรูปต่อไปยังระบบประสาทเทียมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งรันอยู่บน Linux เพื่อคัดแยกคุณลักษณะต่างๆ ของแตงกว่าอย่างขนาดและสี ขณะที่เครื่อง Arduino Micro จะใช้ข้อมูลดังกล่าวมาคัดแยกแตงกวา ตามคุณลักษณะที่ตั้งไว้อีกที
ขณะที่การสอนระบบเครือข่ายประสาทเทียม Makoto ระบุว่าใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยใช้รูปภาพของแตงกวากว่า 7,000 ภาพ ที่มีคุณลักษณะภายนอกแตกต่างกัน โดยผลการใช้งานเบื้องต้นพบว่า AI สามารถคัดแยกแตงกวาได้ตรงการเกณฑ์ที่ตั้งไว้ถึง 90% ขณะที่มนุษย์มีความถูกต้องแค่ราว 75% เท่านั้น
ส่วนข้อจำกัดในการฝึก AI คือความละเอียดของภาพและความสามารถในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เพียงพีซีธรรมดาๆ ซึ่ง Makoto ระบุว่ากำลังรอที่จะนำ Cloud Machine Learning ของกูเกิลมาใช้งาน เพื่อลดข้อจำกัดตรงนี้ลงไป
ที่มา - Google Cloud Platform
Comments
สูดยอด คนรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาต่อยอดธุรกิจของพ่อแม่
ไม่มีลายเซ็น
เอ่อ ออกจะเป็นการใช้พลังงานเปล่าประโยชน์มาก
แล้วมันจะเสร็จไหมนี่ คัดตันหนึ่งมิต้อทำทั้งเดือนเหรอ
ค่าแรงในญี่ปุ่นแพงมากครับ อะไรที่ลดคนได้ ลด error ได้เขาทำทั้งนั่นแหละครับ
อีกอย่าง ใช้เครื่อง error 10% กับใช้คน error 25% ใช้เครื่องแล้ว error หายไป 15% นี่ถือว่าเยอะมากเลยนะครับ
นี่ยังไม่รวมถึงการที่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็งยกขึ้นยกลง อีกนะครับ
Destination host unreachable!!!
มันไม่มีคำว่าเปล่าประโยชน์หรอกครับ
ถ้าเริ่มคิดได้ ต่อไปมันก็มีการพัฒนาต่อเนื่องมันก็ทำให้เร็วขึ้นได้
แล้วถ้าไม่เอาเทคโนโลยีมาใช้ มันจะได้ของดีที่สุดเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ยังไง
ที่เค้าใช้เวลา3เดือนคือสอนให้ระบบมันสามารถคัดแยกอย่างแม่นยำได้ครับ โดยใช้รูปกว่า7000ในการอ้างอิง ส่วนตอนมันคัดแยกแตงกว่ามันสามารถให้ผลลัพธ์ได้เลยภายในเวลาไม่ถึงวิ
มันก็ทีละขั้นไปสิครับ ตอนนี้เป็นภาพนิ่ง พอได้พื้นฐานแล้ว
ต่อไปก็สามารถขยับขึ้นไปเป็นภาพเคลื่อนไหว
เดี๋ยวไปใช้ parallel ก็ไวขึ้นครับ
ทำไมต้นนึงต้องใช้เวลาทั้งเดือนหรอครับ อีกอย่างมันก็ใช้ทดสอบได้แล้วน่าจะสร้างเสร็จนะ
ai เป็นเรื่องของ software ครับ ปลายทางน่าจะเร็วขึ้นมากๆ ไม่ว่าจะด้วยการทำระบบใส่แตงกวาเอง หรือการเปลี่ยน hardware
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ที่เขาใช้เวลานาน 3 เดือนคือถ่ายภาพแตงกวา 7,000 ภาพ เครื่องไม่ได้ใช้เวลาประมวลผลนานขนาดนั้น
มันก็เหมือนกับที่อดัม สมิธ (Adam Smith) ว่าไว้ว่า
การแบ่งงานกันทำของแรงงาน นำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักร
เพราะงานของคน จะถูกซอยออกมาเป็นกระบวนการย่อย ๆ
จากนั้น กระบวนการย่อย ๆ เหล่านี้ จะมีการนำเครื่องจักรมาใช้ทำงานแทนคน
และมันจะถูกปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ
พ่อ ยกลังแตกกวามาวาง
แม่นั่งคิด + คัดแยก + หยิบลงตะกร้าคัดแยก
ลูก มาตรวจเช็คแตงกวาที่ถูกแยกประเภทอีกที
กลายเป็น
ลูกคิดค้นเครื่องจักรแยกประเภทแตงกวา
พ่อ ยกกองแตกกวาใส่เข้าไปในระบบ
ระบบสายพาน ดึงแตงกวาวิ่งเข้าไปในระบบคัดแยก (แทนมือแม่)
กล้อง เก็บข้อมูลเพื่อคัดแยก (แทนตาแม่)
ชุดประมวลผล ใช้ในการแยกแยะแตงกวา (แทนสมองแม่)
ตัวผลัก ผลักแตงกวาชนิดต่าง ๆ เข้าตะกร้าตามหมวดหมู่ของมัน (แทนมือแม่)
ลูก เหลือหน้าที่ตรวจ QC
ส่วนแม่จะว่าง ไปทำอย่างอื่นแทนได้ หรือ ไม่ก็ไปพักผ่อน
ช่วงแรก ๆ ที่ประดิษฐ์เครื่องจักรออกมา เครื่องมันอาจจะเงอะ ๆ งะ ๆ บ้าง (เป็นกันทุกเครื่อง)
แต่พอมันถูกปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นไปเรื่อย ๆ ผลิตภาพมันก็จะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
ตัวอย่างจากประวัติศาสตร์ ก็อย่างเช่น
เครื่องปั่นด้าย
ในสมัยโบราณ แรงงานคนต้องนำขนสัตว์ หรือ ใยจากพืช ไปปั่นตรงหน้าขาตัวเองเพื่อให้ออกมาเป็นด้าย
ต่อมาก็มีคนประดิษฐ์ไม้ปั่นด้ายขึ้นมา
จากนั้นก็กลายเป็นกงล้อปั่นด้ายแบบพลังมือหมุน
จากนั้นก็กลายเป็นกงล้อปั่นด้ายแบบพลังเท้าเหยียบ
จากนั้นก็เครื่องปั่นด้ายอัตโนมัติ พลังมือ
ตามมาด้วย เครื่องปั่นด้ายอัตโนมัติ พลังไอน้ำ
ตอนนี้ที่อังกฤษ เป็นระบบอัตโนมัติ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งกระบวนการไปหมดแล้ว
(จากเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพต่ำมาก ๆ ค่อย ๆ พัฒนากลายมาเป็นเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ)
หรืออย่างเครื่องจักรไอน้ำ
เครื่องรุ่นแรก ๆ ประสิทธิภาพก็ต่ำ ใช้ไปเสี่ยงระเบิดตูมตาม
รุ่นถัด ๆ มา ความเสี่ยงเรื่องเครื่องระเบิดก็ลดลง แต่ก็ใช้เชื้อเพลิงสิ้นเปลืองมาก ๆ
พอมันถูกปรับปรุงต่อไปอีก ท้ายที่สุดก็มาลงตัวที่เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์
(จากเครื่องจักรที่เงอะ ๆ งะ ๆ ประสิทธิภาพต่ำมาก ๆ ก็ค่อย ๆ พัฒนากลายมาเป็นเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพที่สูงมาก ๆ)
ตอนนี้ เครื่องแยกแตงกวา มันก็เหมือนกับอยู่ในขั้นตอนทำต้นแบบอยู่
พอเขาจัดรูปแบบได้ลงตัว + อัพเกรดอุปกรณ์ให้รองรับงานสเกลใหญ่ ๆ ได้
ลองนึก ๆ ดูว่าความเร็วมันจะมากขนาดไหน
แถมทำงานไม่มีเหน็ดไม่มีเหนื่อยอีกด้วย
นอกจากนี้ คนที่คิดเครื่องจักรสามารถ
1.นำเครื่องจักรไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในฟาร์มของตนเอง
2.ถ้าตนเองไม่มีฟาร์ม ก็สามารถนำไปเปิดเป็นบริษัทที่ขายเครื่องจักรก็ได้
เหมือนกับที่เจมส์ วัตต์ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำรุ่นปรับปรุง จากนั้นก็เปิดบริษัทกับหุ้นส่วน ขายเครื่องจักรนี้จนร่ำรวยมหาศาลไปเลย
อยากทำโรเจคแบบนี้ เห็นแล้วมีแรงฮืดเลยแหะ
กว่า -> กวา
ปราสาทเทียม ?
ประสาทเทียม
นี่แค่ขั้นต้น ต่อไปคัดส้ม คัดเห็ดก็เริ่มต้นได้ไม่ถึงเดือน แล้วใช้ได้ตลอดไปไม่มีงอแง ไม่มีป่วย
ผมไม่เห็นว่าจะลดเวลาคัดไปได้ตรงไหนเลย ช้ากว่าคนเยอะ แต่ก็เข้าใจว่าเพิ่งเริ่มต้น แต่ก็อีกนั่นแหละถ้าผลผลิตที่ต้องคัดแยกมีจำนวนไม่มากพอที่จะลงทุนทำเป็นระบบที่ใหญ่แล้วก็เร็วกว่านี้มันก็ไม่คุ้มอยู่ดี คิดๆดูแล้วเหมือนจะเป็นแค่การโฆษณามากกว่าการใช้งานจริง
เอาทรัพยากรคนไปทำอย่างอื่นแทนน่ะครับ จากที่แม่เขาต้องนั่งหลังขดหลังแข็งแยกแตงกวา
ถ้าใน Scale เล็ก (ที่เจ้าของนั่งคัดแยกเองหรือมีลูกจ้างไม่กี่คน) อย่างน้อยๆ มันก็เปิดทิ้งไว้ทั้งคืนได้นะครับ คนก็ไปนอนพัก ตื่นเช้ามายกลังขึ้นรถได้เลย
ค่าแรงแพงด้วยครับ
I need healing.
ถ้าทำระบบ feed อัตโนมัติได้ (ซึ่งเป็นอีกเรื่องนอก scope ของ AI) ผมว่าก็ไม่ช้านะครับ อันนึงไม่กี่วินาที ชั่วโมงนึงน่าจะได้หลายร้อย
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าผมเป็นพ่อแม่เค้า คงภูมิใจน่าดู
นาย A
- มองว่าเทคโนโลยีตอนนี้ยังไม่สมบูรณ์ ศึกษาขั้นตอนจากคนนำเสนอไอเดียอย่างละเอียด ปรึกษาคนรอบข้าง และนำความรู้ที่ได้ไปออกแบบพัฒนาปรับปรุงต่อยอดในแบบฉบับของตนเองเพื่อความสมบูรณ์ของระบบยิ่งขึ้นในอนาคต
- ใช้ตัวอย่างนี้เป็นแรงกระตุ้น แรงบันดาลใจให้เกิดไอเดียคล้ายๆ กันเพื่อผลิตผลงานที่สามารถนำมาใช้กับครอบครัวตัวเองได้
นาย B
- มองว่าเป็นเรื่องที่ดูแล้วไม่คุ้ม ไม่เห็นน่าจะสนับสนุนยกย่องตรงไหน เสียเวลา เสียพลังงานโดยใช่เหตุ ทำแบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว
- คนที่ทำแค่ต้องการสร้างภาพให้ตัวเองดูดี หรือแค่อยากอวดฉลาดแค่นั้นแหละ ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรเลย เสียเวลาอ่านจริงๆ
ก็เลือกแล้วกันครับว่าอยากเป็นนาย A หรือ นาย B