Lenovo เรียกเสียงฮือฮาอย่างมากจาก Yoga Book แท็บเล็ตที่ใช้คีย์บอร์ดแบบสัมผัส ไร้ปุ่มจริง ตัวสินค้ามีระบบปฏิบัติการให้เลือกเป็น Android และ Windows แต่ล่าสุด Lenovo บอกว่าจะออก Chromebook และอุปกรณ์ 2-in-1 ที่ใช้แผ่นสัมผัสแบบเดียวกันด้วย
Lenovo บอกว่า Yoga Book เป็นเพียงสินค้าตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยีนี้ และยังมีอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ใต้แบรนด์ Yoga Book ตามมา นอกจากนี้ยังจะใช้กับ Chromebook รุ่นถัดไปด้วย เรื่องนี้ Jeff Meredith ผู้บริหารของ Lenovo บอกว่าระบบปฏิบัติการตัวถัดไปคือ Chrome OS แน่นอน
เบื้องหลังการพัฒนาคีย์บอร์ดแบบสัมผัสตัวนี้ใช้เวลาถึง 2 ปี และมุ่งเป้าลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการพิมพ์บนหน้าจอสัมผัสอยู่แล้ว ที่มาของแผ่นสัมผัสตัวนี้มาจากสถิติของ Lenovo เองที่พบว่าผู้ใช้มักเลิกใช้ปากกาสไตลัสบนจอสัมผัสหลังเวลาผ่านไปไม่กี่เดือน จึงหาวิธีการป้อนข้อมูลแบบใหม่ๆ ที่น่าจะตรงใจผู้บริโภคมากกว่า
Meredith ยังบอกว่าผู้ใช้ Yoga Book ต้องหัดเรียนรู้การพิมพ์บนแผ่นสัมผัสสักระยะหนึ่งถึงคุ้นเคย ลักษณะเดียวกับคนที่เคยใช้ BlackBerry มาก่อนแล้วต้องหัดพิมพ์บนจอสัมผัส
ที่มา - PCWorld
Comments
อยากลองกดซักครั้ง!
คงยาก ที่จะพิมพ์โดยไม่มองคีย์บอร์ดได้
ระบบไม่ดีจริงพิมพ์ยากนะอย่างน้อยๆต้องวัดแรงกดได้ เพราะเวลาพิมพ์ปกติมือคนส่วนใหญ่เวลาหยุดพิมพ์มันจะวางลงปุ่มหลายๆปุ่ม(พักมือ) โดยเฉพาะเล่นเกมนี้ค้างยาวมันจะแยกออกไหม
ขาดฟิวลิ่งในการพิมพ์
ที่ผมคิดไว้นะ ปุ่มมันน่าจะยืดหยุ่น กดไปก็จะมีเสียงแก๊กๆ อะไรประมาณนี้ และผมคิดว่ามันดีและทำความสะอาดง่ายด้วย
ได้เวลาถอยเครื่องใหม่ซะแล้วมั้งเนียะ
มันไม่ใช่แค่เสียงพิมพ์ กับสัมผัสการกดอ่ะดิ
คือมันแยกแยะระยะห่างระหว่างกันไม่ค่อยจะได้ ยกเว้นว่าทำซอฟต์แวร์ซัพพอร์ตจุดนี้มาดี แต่น่าจะยาก ยังไงก็ไม่ชิน ถึงจะไม่เคยหัดพิมพ์สัมผัสมาก่อนก็เถอะ
มันมี haptic feedback นี่ครับ
ปัญหาอยู่ตรงที่ปกตินิ้วเราวางอยู่บนปุ่มแล้วครับ พอจะให้ปุ่มนั้นทำงานเราถึงกดลงไปอีกทีนึง
ถ้าเครื่องมันมีการแยกแยะการสัมผัสด้วยแรงกดได้แบบ Apple force touch นั่นก็คงดีขึ้นครับเพราะวางนิ้วไว้ได้เลย แต่ก็ติดอีกปัญหานึงอยู่ดีว่าไม่รู้ว่านิ้ววางอยู่บนปุ่มไหน ตรงปุ่มรึคร่อมปุ่มหรือไม่เพราะไม่สามารถสัมผัสขอบปุ่มได้
จะน่าสงสัยมากเลยสำหรับคนพิมพ์สัมผัสอยู่แล้วว่าจะใช้วิธีไหนแยกการสัมผัสแป้นเหย้า ( ฟหกด ่าสว ) ( ASDFJKL; ) เพราะคนพิมพ์สัมผัสย่อมนำนิ้วกล้บมาอยู่ในตำแหน่งแป้นเหย้าเสมอเพื่อการก้าวครั้งต่อไปของการพิมพ์
อีกเหตุผลที่ทำไมจะต้องมีปุ่มสัมผัสเล็กๆ บนตัว ด.เด็ก และไม้เอก หรือ ตัว F,J เพื่อที่ผู้พิมพ์สัมผัสโดยไม่มองแป้นจะได้วางตำแหน่งมือบนแป้นเหย้าได้ถูกต้อง)