ปัจจุบันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของประเทศยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการก้าวสู่ดิจิทัล การเลือกใช้ซอฟต์แวร์และนวัตกรรม แม้จะเป็นทางเลือกในการพัฒนาธุรกิจ แต่กลับพบว่าเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังใช้เวลากับการจัดการการบริหาร ดังนั้นหากเอสเอ็มอีต้องการเปลี่ยนแปลง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง 5 วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อจัดการบริหารในการเลือกใช้เทคโนโลยีด้านไอทีและซอฟต์แวร์
ปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากรูปแบบในการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่อนข้างฝืดเคือง ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการใช้เงินทุนที่เกินจำเป็น ในการประกอบธุรกิจหรือขยับขยายธุรกิจให้เติบโต อีกทั้งด้วยจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เอสเอ็มอีจึงจำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยมากนัก
ซึ่งผลการศึกษาจากไอดีซีและเอสเอพีพบว่า เกือบ 1 ใน 3 ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกพบว่า ผู้ประกอบกิจการมักจะเสียเวลาส่วนมากไปกับการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานในแต่ละวัน แทนที่จะวางแผนสำหรับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า 55% ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีมองเห็นแนวโน้มที่ดีของธุรกิจจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในขณะที่ 47% เชื่อว่าการให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของธุรกิจ ตัวเลขดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่า เกินครึ่งของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลเป็นอับดับแรกในการบริหารธุรกิจ
ดังนั้น ก้าวแรกที่สำคัญของเอสเอ็มอีในการสร้างมูลค่าและสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจควรมาจากกรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิทัล ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีควรดำเนินธุรกิจอย่างทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับองค์กรใหญ่ในปัจจุบัน แทนการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่เริ่มตกยุค ยกตัวอย่างเช่น MEMEBOX บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติเกาหลี ที่ใช้ประโยชน์จากโซลูชันของเอสเอพี ในการขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปพร้อม ๆ กับการขยายช่องทางซื้อขายจากออนไลน์มาสู่หน้าร้าน และยังช่วยสร้างความชัดเจนในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยบริหารในทุก ๆ เครือข่าย
ถึงแม้จะเจอกับสถานการกดดันต่าง ๆ นานา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เอสเอ็มอีเหล่านี้ก็ยังมีโอกาสยกระดับความคล่องตัวและความเร็วเพื่อบุกเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้ประสบการณ์ที่ตนเองมีเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ ได้ โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามาช่วย ทำให้มีข้อได้เปรียบด้านความเร็ว ค่าใช้จ่ายที่ลดลง และความเรียบง่ายในการดำเนินธุรกิจ
กรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิทัลถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม แทนที่จะรอโซลูชันที่สมบูรณ์แบบเพียงอย่างเดียว เอสเอ็มอีควรเริ่มต้นโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัน ดังนั้นเทคโนโลยีควรมีส่วนช่วยในการผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้น ไม่ใช่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ระบบดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมใหม่อีกต่อไป แต่มันคือความจำเป็นต่อการอยู่รอดของแต่ละองค์กร
ดังนั้นเพื่อผลักดันเอสเอ็มอีในยุคดิจิทัลให้เปลี่ยนแปลงตนเองและกลายเป็นดิจิทัลอย่างแท้จริงได้นั้น มีสิ่งที่ต้องทำอยู่ 5 ประการ
การที่ธุรกิจเอสเอ็มอีจะสามารถจากธุรกิจดั้งเดิมไปสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือเป็นสิ่งจำเป็นและต้องให้ความสำคัญอย่างมาก อีกทั้งยังต้องแสวงหาหน่วยงานที่จะสามารถช่วยผลักดันให้เติบโตก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนอกเหนือจากการผลักดันของภาคเอกชนแล้ว หน่วยงานภาครัฐเองก็ได้มีส่วนเข้ามาผลักดันเพิ่มมากขึ้น ทั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society : MDE ) และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เองก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและส่งเสริมให้เอสเอ็มอีก้าวสู่ดิจิทัลผ่านศูนย์ให้ความช่วยเหลือ เช่น One Stop Service และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ซึ่งจะช่วยให้เอสเอ็มอีมีโอกาสอยู่รอดและประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากขึ้น