Depa เดินหน้าจับมือ สาธารณรัฐเกาหลี เร่งสนับสนุน Digital Startup หวังสร้างระบบนิเวศที่เอื้อแก่นักพัฒนาทางดิจิทัลของไทย ทั้งในด้านองค์ความรู้ และส่งเสริมการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ
เราทุกคนต่างเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ที่พัฒนาและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เข้ามามีบทบาทสำคัญและสร้างผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคดิจิทัล 4.0 ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ตและสมาร์ตโฟน โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ Thailand 4.0 ภายใต้ความท้าทายที่ต้องผลักดันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศให้ก้าวสู่ดิจิทัล ควบคู่กับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้ประกอบการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
การสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ก้าวสู่ดิจิทัลนั้น เป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดัน ให้ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมดิจิทัลมีศักยภาพการแข่งขันในทุกด้าน ผ่านการดำเนินงานและสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง กลุ่มประชารัฐ โดยร่วมกันผลักดันให้เกิดการสนับสนุนและ มาตรการต่างๆ ดังนี้
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA เดินเครื่องเร่งสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพ และกลุ่มผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้วย 4 มาตรการ หวังผลักดันด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เสริมสร้างความเชื่อมั่นผ่านระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA เดินหน้าสานต่อพันธกิจส่งเสริม สตาร์อัพ ไทย นำผู้ชนะโครงการ Digital Start UP 40 ทีม ร่วมกิจกรรม “Level Up Camp” หวังยกระดับทักษะแบบรอบด้าน ก่อนก้าวนำเสนอผลงานให้นักลงทุน
DEPA ขานรับนโยบายภาครัฐ เร่งนำเทคโนโลยี Big Data รุกพัฒนาโครงการ Phuket Smart City อย่างบูรณาการ ตั้งเป้าให้ จังหวัดภูเก็ตเป็น Smart City ทั้งด้านการค้า การลงทุน
วันนี้ไม่ว่าจะมองไปทางใดเรื่องของ Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ ถือเป็นหนึ่งในเรื่องพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่มากขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน เพื่อเกิดบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในพื้นที่นั้น และส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปลอดภัยได้มากขึ้น
ในการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่ยุค Thailand 4.0 ได้นั้น อีกหนึ่งกลไกทื่สำคัญคือการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถมีแหล่งเงินทุนที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจได้ในระยะยาว...
ซิป้าจับมือร่วมกับสถาบันการเงิน สนับสนุนผู้ประกอบการด้านไอซีทีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระยะเวลา 2 ปี เฉลี่ยวงเงิน 10,000 ล้านบาท หวังผู้ประกอบการเข้าโครงการค้ำประกัน 400 ราย
ซิป้าเดินหน้าผลักดันโครงการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ด้วยการสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบ หวังสร้างกลไกสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้า และสร้างโอกาสในการสร้างรายได้จากซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) จัดกิจกรรมกระบวนการเร่งพัฒนาศักยภาพสตาร์ตอัพสู่สากล โดยเชิญชวนสตาร์ทอัพมาร่วมพูดคุยกับ David Passiak นักการตลาดที่มีดิจิตอลเอเจนซี่อยู่ในซิลิคอนวัลเล่ย์ และเป็นเจ้าของผลงานหนังสือหนังสืออย่าง Red Bull to Buddha: Innovation and the Search for Wisdom หนังสือสร้างแรงบันดาลใจทางธุรกิจ และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมี Empower: How to Co-Create the Future และ Disruption Revolution: Innovation, Entrepreneurship, and the New Rules of Leadership
สำหรับคอนเซปต์งานเสวนาครั้งนี้คือ Co-Create the Future ที่เชื่อว่าการมีส่วนร่วมคือปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตทางธุรกิจที่สำเร็จอย่างยั่งยืน
ซิป้าเดินหน้ายุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายกระทรวงดีอี (DE) ผลักดันแพลตฟอร์มท่องเที่ยวหนุนธุรกิจขนาดเล็ก ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ ขจัดปัญหาขาดโอกาสทางการค้า ด้วยการเชื่อมต่อทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น ที่พัก งานบริการ รถรับส่ง และทัวร์ สู่รูปแบบบริการแบบสากล
ซิป้า ล้ำ เปิดประสบการณ์ใหม่นักท่องเที่ยว ด้วย แอปพลิเคชันอินเตอร์แอคทีฟ แบบ 3 มิติ “SEE THRU THAILAND” หวังสร้างประสบการณ์ใหม่ให้การท่องเที่ยว ด้วยการมีส่วนร่วม และช่วยให้การเดินทางง่ายขึ้น นำร่องงการใช้งาน 10 จังหวัด...
“พระมหาชนก” บทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงตั้งพระทัยดัดแปลง “ชนกชาดก” ให้เป็นพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ด้วยแนวคิดเพื่อมุ่งสอนให้ประชาชนของประเทศ ได้ตระหนักถึงความเพียรเพื่อที่จะฝ่าฝันทุกอุปสรรคให้ผ่านพ้น
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA แถลงผลสำรวจตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ประจำปี 2558 เน้นสำรวจตลาดเกม และแอนิเมชั่น รวมมูลค่าตลาดทั้งสองแล้วมีมูลค่า 12,745 ล้านบาท เติบโตจากปี 2557 ประมาณ 12.4% อย่างไรก็ตามทั้งเกมและแอนิเมชั่นยังพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่สัดส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยคนไทยมีเพิ่มมากขึ้น
หมายเหตุ:สำรวจตลาดเฉพาะธุรกิจที่มีการจดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้าเท่านั้น ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการทั้งหมด และต้องเข้าใจว่าธุรกิจประเภทนี้มีผู้ที่ทำงานอิสระที่ไม่ได้มาจดทะเบียนเป็นจำนวนมาก
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันทรัพย์สินทางซอฟต์แวร์ไทย พร้อมเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าใจถึงการรักษาสิทธิ์ คุ้มครองสิทธิ์ในผลงานอย่างตอเนื่อง
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศเพื่อให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ด้วยการเดินหน้าพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยให้สามารถแข่งขันและดำเนินธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันในการรักษาผลงานแนวคิดจากฝีมือคนไทย
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ประสานงานกรมสรรพากร ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็ก (SMEs) ที่ต้องการใช้ซอฟต์แวร์พัฒนาธุรกิจให้สามารถลดหย่อนภาษี 3 รอบบัญชี
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ และเพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้กำหนดมาตรการทางภาษีในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ SMEs มีการนำผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านซอฟต์แวร์จากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น
ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา เมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ตซิตี้ (Smart City) เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมาก เพราะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล หรือ Digital Thailand ในเชิงพื้นที่ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับเมืองเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวกคล่องตัวให้แก่วิถีชีวิตของประชาชนและธุรกิจมากขึ้น
การก้าวสู่สังคมยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าหากัน ทำให้เกิดกระแสเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) และกำลังถูกพูดถึงในวงกว้าง และทำให้เกิดปัจจัยต่อการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลเป็นอย่างยิ่ง และยังส่งผลให้มีการเปิดตัวของแอพพลิเคชันและซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น Airbnb, Spotify, Uber และ Grab Taxi เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งหากมองไปข้างหน้า สังคมไทยคงหลีกหนีแนวโน้มนี้ไม่พ้น Tech Startup ต้องเกิดขึ้น เอสเอ็มอีต้องปรับตัว…
ปัจจุบันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของประเทศยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการก้าวสู่ดิจิทัล การเลือกใช้ซอฟต์แวร์และนวัตกรรม แม้จะเป็นทางเลือกในการพัฒนาธุรกิจ แต่กลับพบว่าเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังใช้เวลากับการจัดการการบริหาร ดังนั้นหากเอสเอ็มอีต้องการเปลี่ยนแปลง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง 5 วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อจัดการบริหารในการเลือกใช้เทคโนโลยีด้านไอทีและซอฟต์แวร์
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ได้เปิดตัวโครงการ Digital Startup พร้อมรับสมัครสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มคนรุ่นใหม่และคนทั่วไปที่สนใจ Tech Startup ให้สามารถพัฒนาธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ
โครงการนี้เป็นโครงการระยะยาวแบ่งเป็น 5 ระยะ ระยะแรกคือการตั้งคณะทำงานจากตัวแทนสตาร์ทอัพทุกภาคส่วนและระดมความร่วมมือจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ระยะที่สองเป็นการจัดฝึกอบรม 2 หลักสูตร คือระดับพื้นฐานและระดับกลาง รวมถึงจัดอบรมสัมมนากับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเสริมความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระยะที่สามคือพัฒนาต้นแบบธุรกิจ ระยะที่สี่คือเข้าสู่ตลาดสากล และระยสุดท้ายคือการเพิ่มมูลค่าการลงทุน
จากข่าวกรรมการร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลเสนอให้ยุบ SIPA หรือ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาตินั้น มีแหล่งข่าวเผยว่าตามร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระบุชัดเจนว่าไม่มีการยุบ SIPA แต่เป็นการโอนไปเป็นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแทน แหล่งข่าวยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า ปัญหาสั่งสมใน SIPA ด้าน พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ก็ยืนยันว่าไม่เคยพูดเรื่องยุบ แต่พูดเรื่องการปรับโอน
วันนี้ พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ออกมาแจงว่ามีความเห็นจากคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ยุบ SIPA หรือ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ด้วยเหตุผลว่ากำลังตั้งสำนักงานใหม่ให้ทำหน้าที่นี้ คือ สำนักงานส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และตัว SIPA เองก็มีปัญหาด้วย
ส่วน ศุภชัย จงศิริ รักษาการผู้อำนวยการ SIPA ระบุว่า ปัญหาใน SIPA คือความไม่รู้ของบุคลากรในการจัดซื้อจัดจ้างแบบราชการ ทำงานแบบเอกชนมากไปหน่อย แต่ก็ได้แก้ไขไปมากแล้ว อย่างไรก็ตาม ทาง SIPA เตรียมจัดตั้งสำนักงานใหม่ สานต่องานตามนโยบาย Thailand 4.0 ต่อไป
ที่มา - ผู้จัดการ
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เตรียมตั้ง ชมรมผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลรายใหม่ (Tech Startup Club) ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 40 แห่งทั่วประเทศไทยภายในปีนี้ เพื่อสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลรุ่นใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรม
นายศุภชัย จงศิริ รักษาการผู้อำนวยการ SIPA บอกว่าในนิยามของ SIPA มองว่า Tech Startup คือธุรกิจใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีแล้วมาทำธุรกิจ โดยรวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่มีไอเดียแต่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ ไปจับกลุ่มกับผู้ที่สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นผู้ประกอบการต่อไป ขณะนี้ไทยยังมี Tech Startup ไม่มาก เพราะปัญหาการขาดกำลังคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และขาดทักษะในการสร้างธุรกิจใหม่บนพื้นฐานของนวัตกรรมดิจิทัล
สำหรับชมรม Tech Startup Club จะเป็นเครือข่ายความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยปีนี้ SIPA ตั้งเป้าเปิดชมรม 40 แห่ง, มีบุคคลากรที่มีความพร้อมเป็นผู้ประกอบการใหม่ 800 ราย และเกิด "แนวคิดดิจิทัล" รูปแบบใหม่ 300 โครงการ ตอนนี้ SIPA กำลังอยู่ระหว่างการคัดเลือกสถาบันศึกษาที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ
หลังจากทำธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 5 ปี ล่าสุด Red Hat ขยับตัวครั้งใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจในประเทศไทยเห็นความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมากขึ้น ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนในภาคส่วนต่างๆ
ด้วยเทรนด์การมใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่มากขึ้นในหลายธุรกิจ ทำให้ในช่วงปีที่ผ่านมา Red Hat ได้กระตุ้นการรับรู้ของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สด้วยการเข้าไปจับมือกับ SIPA เพื่อแนะนำให้ผู้คนในแวดวงไอทีได้เริ่มใช้งาน OpenStack ด้วยการจัดอบรมและให้ใบรับรอง Certified System Administratorsของ OpenStack กับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ โดยทาง Red Hat ย้ำว่าการย้ายจากซอฟต์แวร์แบบมีกรรมสิทธิ์ (proprietary) ไปสู่ซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สจะช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้ตั้งแต่ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ไปสู่ระดับภูมิภาค