สภา Bundesrat ของเยอรมนี (เทียบได้กับวุฒิสภาของบ้านเรา) ลงมติเตรียมแบนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (internal combustion) หรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปัจจุบัน ภายในปี 2030 เพื่อเตรียมเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยรถยนต์ที่ไม่ปล่อยควันเสียออกสู่ภายนอก (รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน)
การลงมติของ Bundesrat ยังไม่มีผลบังคับในทางกฎหมาย แต่ก็จะมีอิทธิพลต่อการออกกฎหมายในระดับของ EU ต่อไป เนื้อหาในมติฉบับนี้ยังกระตุ้นให้ EU ปรับปรุงระบบภาษีเพื่อจูงใจให้คนใช้รถยนต์ที่ไม่ปล่อยควันเสีย และขึ้นภาษีรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลด้วย
Comments
เมืองไทยน่าจะเอาด้วยนะ กระตุ้นการเปลื่ยนแปลงหน่อย
เมืองไทยถ้าจะแก้กฏหมายอะไรก็คงต้องทำให้เสร็จก่อนรัฐบาลนี้จะหมดวาระ ไม่งั้นคงจะยากครับ เพราะนักการเมืองและนายทุนทั้งหลายถือหุ้นบริษัทน้ำมันกันทั้งนั้น
รถถังไฟฟ้ามีป่าวเอ่ย ฮ่าๆๆ
ผมเป็นห่วงว่ารถไฟฟ้าในไทยจะไม่เกิดเพราะไฟฟ้าเราไม่พอใช้มากกว่าครับ เพราะผมมองหุ้นบริษัทน้ำมัน ปตท. ตอนนี้รายใหญ่ๆเปอร์เซนต์เยอะๆก็พวกกองทุนรวมทั้งนั้น แล้วกองทุนพวกนี้เขาก็สนใจแค่หุ้นที่ทำกำไรได้ไม่ได้ยึดว่าจะต้องบริษัทแบบไหนอยู่แล้ว ถ้าคุณจะบอกว่าเกิดยากในยุครัฐบาลนักการเมือง,นายทุน ตอนบอร์ดปตท.ก็คนนี้ครับ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรมว.กระทรวงพลังงาน ปี 49 ดูจะใกล้ชิดรัฐบาลนี้นะครับ... หรือจะคนนี้ดีครับ พลเอกฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประสบการณ์จากสายทหารล้วนครับไม่เคยบริหารเอกชนมาก่อน หรือจะคนนี้ครับ พล.อ.ท.บุญสืบ ประสิทธิ์ สายทหารล้วนไม่เคยบริหารงานบริษัทเอกชนเช่นกัน ที่เหลือไปดูและพิจารณาต่อเอาละกันนะครับ ในยุคท่านผู้นำลาออกกันกี่บอร์ดเปลี่ยนคนเข้าที่ไหนบ้าง ถ้าเป็นรัฐบาลปกติคงเรียกว่าเอื้อประโยชน์แต่ถ้าเป็นรัฐบาลแบบนี้เรียกว่าทำเพื่อชาติ...
แก้ไขได้ครับ ด้วยวิธีดังนี้
ุ6. ให้ความรู้และ(บังคับ)ล้างสมอง สำหรับผู้ที่ไม้เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าหรือการใช้พลังงานทางเลือกในการผลัตไฟฟ้า เช่น Nuclear, พลังงานขยะ หรือแม้แต่พลังงาน Hydrogen ที่เคยดังในวงการรถยนต์ไทยเมื่อหลายปีก่อน แต่โดน Discredit แล้วเงียบหายไป
ที่พูดมานี้ ต่างประเทศทำไปกันก่อนแล้วทั้งนั้น และได้ผลมากด้วย ถ้าจะเอาไปประยุกต์ใช้ก็ทำได้อยู่แล้ว
Get ready to work from now on.
ตามท่านนี้เลยครับ สิ่งเหล่านี้เป็น trend อนาคตทั้งนั้น ถ้าไม่รีบก้าวไปเชี่ยวชาญสิ่งเหล่านี้ก็ได้เป็นแค่คนจัดซื้อเทคโนโชลยีเท่านั้น
สร้างมาขายได้อีกนะครับ น้ำมันยังไงมันก็ต้องหมดโลก ไฟฟ้ายังไงก็มา
เปลื่ยนจากครัวโลกเป็น ผู้ผลิตไฟฟ้าให้โลก คิดว่าอย่างหลังมั่นคงกว่า เพราะอนาคตแรงงานก็กินไฟฟ้าเป็นอาหารนะครับ
ผมว่าข้อ 6 นี่ ยากนะ
เพราะถ้าให้มาตั้ง รฟฟพลังงานนิวเคลีย อยู่ข้างบ้านผมผมก็คงไม่เห็นด้วยนะครับ แม้จะยกข้อดีมา 2000 ข้อก็ตาม
แม้จะมีระบบป้องกันจากต่างดาว ผมก็ไม่เชื่อในระบบการตรวจสอบของไทย และผมก็เชื่อว่าการป้องกัน ไม่มีวิธีใด 100%
องค์กรระดับโลกตรวจสอบนิครับ
มี แผนมุ่งเป้าด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย เป้าหมายหนึ่งคือสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศได้ภายในปี 2563
เอกสารประกอบให้ดาวน์โหลดจาก สวทช. จะได้ต้นฉบับที่เป็นภาพสี
ด้วยศักยภาพหลายๆด้าน ผมคิดว่ายังทำไม่ได้ในเร็ววัน
ใครหวังให้มีในไทยในเร็ววัน ก็ดูเอาละกันครับว่ามีคนคอยขัดขาอยู่เยอะแค่ไหน
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ก็ไม่แปลก เพราะประเทศไทยยังมีคนแบบนี้อยู่ไง ประเทศถึงได้ไปไม่ถึงไหนสักที พัฒนาไม่ทันสิงคโปร์สักที ไม่หลุดจากปัญหาวงจรอุบาทว์ที่ไม่มีวันจบ เผลอๆจะโดนประเทศในอาเซียนแซงหน้าไปอีก แม้ว่ารัฐบาลจะส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม และผมว่าของพวกนี้ปรับตัวกันได้ง่ายมาก แค่จากรถธรรมดาเป็นรถ EV อย่างอื่นยังเหมือนเดิม
ทางที่ดี ไล่คนพวกนี้ออกไปซะ เอาคนหัวก้าวหน้าหรือคนรุ่นใหม่มาแทนที่ และต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะคนรุ่นเก่าไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงอะไรเลย แถมยังต่อต้านสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะด้วยผลประโยชน์ของตัวเองหรือเหตุใดที่กระทบก็ตาม
ผมว่าเรื่องพวกนี้ไม่ควรละเว้น และต้องจัดการอย่างไร้ความปราณีด้วยซ้ำ
Get ready to work from now on.
ผมตลกตรงที่บอกว่า EV เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงนี่แหละ มีแบตเตอรี่ มีมอเตอร์ มันรถ Tamiya ชัดๆ
ICE นี่แหละเทคโนโลยีชั้นสูงของจริง มีกี่โรงงานที่ผลิตได้ ทำมอเตอร์ง่ายกว่า ICE ไม่รู้ตั้งกี่เท่า
EV มันดูเหมือนง่ายครับ แค่ใส่ไฟฟ้าให้มอเตอร์ก็วิ่งได้ แต่นั่นมันแค่ผิวเผินครับ Battery เป็นไฟ DC 200กว่า Volt แต่ตอนจ่ายมอเตอร์ เป็น AC 3เฟส 600กว่า Volt แล้วมันไม่ใช่แค่ on กับ off ให้มอเตอร์ไปหมุนล้อ มันต้องควบคุม ความเร็วที่มอเตอร์โดยตรง เพราะรถEV ส่วนใหญ่จะเป็น Fixed gear ทุกอย่างทำผ่านกล่อง Inverter ซึ่งเป็น Power Electronic ในประเทศไทยคนที่มีความรู้ด้านนี้ นับคนได้เลย น้อยมากๆ ไม่น่าเกิน10คน ไอ้ตัวนี้แหละที่ในรถ hybrid มีอยู่ และแพงกว่า Battery เสียอีก เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงส่วนใหญ่ก็มาจากญี่ปุ่นทั้งนั้น อีกอย่างคือ มอเตอร์ต้องทำงานได้ทั้งในโหมด Motor และ Generator โดยการควบคุมผ่าน Inverter
Motor ที่อยู่ในรถ EV ก็ไม่ใช่มอเตอร์ทั่วไป ในโรงงานมอเตอร์ขนาด 100แรงม้า ขนาดตัวเท่าแม่หมู แต่ในรถEV มอเตอร์ 100แรงม้า ขนาดแค่ตัวเท่าลูกหมู
ครับ ยากที่ Controller แล้วถ้าเทียบกับ ICE ละครับ ผมว่ามันคนละชั้นกันเลยนะ ICE นี่ส่วนประกอบเป็นพันๆชิ้น ยังไม่นับ Controller
ยิ่งตอนนี้จีนและใกล้ๆบ้านเรา ก็ทำ EV กันได้แล้ว (อาจยังไม่ 100% แต่ก็ใช้งานได้) ในขณะที่ประเทศที่ทำ EV ได้ ยังทำ ICE กันได้ไม่ครบเลย ผมถึงบอกว่า EV มันซับซ้อนน้อยกว่า ICE เยอะครับ
คิดจะใช้รถไฟฟ้า ต้องตั้งโรงไฟฟ้าให้ได้ก่อน
ถ่านหินก็ไม่เอา นิวเคลียร์ก็โวยวาย
เอาไฟฟ้าอะไรดี ?
Solar Farmก็ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล - -"
Solar Farm เดียวนี้ก็โดนชาวบ้านร้องเรียนครับ ผมแนะน้ำให้พวกไม่เอาไรสักอย่างเลิกใช้ไฟฟ้าไปเลยดีว่าครับ
เขาเอาครับ แค่ไม่เอาอะไรที่(อาจ)กระทบเขา
อยากใช้ไฟฟ้า แต่ไม่เอาโรงไฟฟ้าใกล้ๆ
ตั้ง รฟฟนิวเคลีย อยู่ข้างบ้านคนไม่บ่นไม่โวยวาย อยากใช้พลังงาน น่าจะดีนะ
ถ้าจะมาตั้งข้างบ้านผม ผมก็โอเคนะ แต่ถ้าบ้านผมเกิดอยู่ข้างบ้านคุณล่ะ คุณจะทำยังไง
เราอย่าอยู่ใกล้กันเลย
หือ ตอบไม่ตรงคำถามเลย
แล้วถ้ามันรั่วไหลจากประเทศเพื่อนบ้านยังไงเราก็ได้รับผลกระทบครับ และประเทศเพื่อนบ้านก็ไม่มาถามความเห็นของคุณด้วย นั่นคือคุณหลีกหนีสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นไม่ได้หรอก
มันต้องมีสิ่งชดเชยด้วยครับ กับค่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เช่น ถ้าอยู่ๆ จะมาตั้งข้างบ้านผม ทำให้มูลค่าที่ดินแถวบ้านตกลงก็จ่ายค่าชดเชยมาให้ด้วย ระหว่างดำเนินงานอยู่มีความเสี่ยง ให้คนในรัศมีเท่าไหร่ๆ ใช้ไฟฟรี/subsidize ค่าไฟเท่าไหร่ๆ มีการตรวจวัดค่ามลพิษ/รังสีโดย 3rd party เป็นประจำ รายงานผลต่อ public สม่ำเสมอ แบบนี้ผมก็โอเคถ้าจะมาตั้งข้างบ้านครับ
ลองประกาศสิว่า จะตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กลางนิคมอุตสาหกรรม โรงงานทุกโรงในนั้นใช้ค่าไฟเรทลด 50% ผมว่าแห่กันไปจองเต็มตั้งแต่ 10 นาทีแรกเลย
มีกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าอยู่แล้วนะครับ
ผมสงสัยว่าที่คุณว่ามาในต่างประเทศมีแบบที่ว่าไหมครับ ที่ถามเพราะสงสัยว่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมันมากขนาดที่เขาจะให้สิ่งชดเชยขนาดนั้นเลยเหรอครับ อย่างเช่นเรทค่าไฟที่ลดลงไปครึ่งหนึ่ง
.
สำหรับผมน้อยกว่าเยอะมากครับ
โทษทีครับ ผมอ่านผิด เลยเข้าใจผิดไป
ผมแค่ยกตัวอย่างเฉยๆ ครับ ไม่ได้บอกว่ามีประเทศไหนทำจริงๆ
ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ถ้าคุณบอกจะไปตั้งข้างบ้านคนอื่นเฉยๆ มันคงไม่มีใครเอาเพราะมันมีความเสี่ยงเพิ่ม แต่ถ้าคุณชดเชยอย่างเหมาะสม (ซึ่งผมยอมรับว่าไม่ได้หาข้อมูลประเทศอื่น) คนที่ยินดีจะรับความเสี่ยงแลกกับผลประโยชน์ชดเชยก็มีครับ
โรงไฟฟ้าขยะ Solar cell กังหันลม พวกยังต้านเลย แล้วที่สำคัญโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมันเหมือนเป็นอาหารเสริม กินก็ดี ไม่กินไม่เป็นไร แต่โรงไฟฟ้าใหญ่ ๆ ที่เป็น Base load นี้คืออาหารหลัก เพราะไม่งั้นจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบโดยรวม
เรื่องของน้ำมัน มันเกี่ยวพันกับผลประโยชน์มหาศาล ไม่แค่ไทยหรอกครับ
รถไฟฟ้าในไทย กลัวเรื่องเดียวเลยตอนนี้
เรื่องน้่ำท่วม ผมว่าได้มีโดนช็๋อตตายคารถกันบางละ ทั้งคนขับและคนช่วย
สร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเลยดีไหมครับ แซวขำขำนะครับ
เขมรเขามีละรถไฟฟ้าอะ555
ไหนครับ รถไฟฟ้าเขมร?
นาทีที่ 3
นาทีที่ 6.10
ค่ายใหญ่จะยอมง่ายๆ หรือเปล่า เห็นหลายค่ายลงทุนดีเซลไปเยอะ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ขึ้นอยู่กับว่าใครมีอะไรในมือครับ ยักษ์ใหญ่โตโยต้าเค้าลงแรงกับไฮบริดไปเยอะ ก็บอกว่าควรยึดไฮบริดไปก่อนอีกเป็นสิบปี เพราะตอนนี้ infrastructure ยังไม่พร้อม บลาๆ ส่วนนิสสันมี Leaf แล้วก็บอกว่าสนับสนุนเต็มที่ (source) ตั้งแต่ตอนนี้มันก็วัดกันละว่าใครขยับก่อน ทำอะไรมากแค่ไหน
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ปิดตำนานซุปเปอร์คาร์ ...
นึกภาพว่าเอา Bugatti Veyron ไปใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้า ... มันจะขายออกไหมเนี่ย
ยังมี Mercedes Benz กับ McLarren ที่ผลิตรถ Supercar ไฟฟ้านะครับ
Get ready to work from now on.
mclarenยังไม่มีครับ ตอนนี้เห็นแต่hybrid แต่อนาคตก็ไม่แน่
แสดง ว่าคุณไม่รู้จัก rimac concept one
ยาก SMEไทย ที่ทำชิ้นส่วนเครื่องยนต์สันดาปในปัจุบันที่มีกว่า1,000บริษัทที่จ้างคนไทยไม่ต่ำกว่าหลักแสนคน จะล้มหายตายจากไปเพราะรถไฟฟ้าใช้ชิ้นส่วนน้อยกว่าเครื่องยต์สันดาป
คนตกงานหลักแสน
เราดันไปหลงเชื่อนายทุนต่างชาติไปผูกเศรษฐกิจประเทศเรากับระบบยานยนต์ข้ามชาติ จนเราดิ้นไปไหนไม่ได้
แล้วยังมีเรื่อง โรงไฟฟ้า ที่สร้างใหม่ไม่ได้อีก
SEM ก็ต้องรู้จักปรับตัวเพื่ออนาคตไม่ใช้ นอนนับวันตาย ถ้าหากปรับตัวไม่เป็นผมว่าจะตายไปก็ไม่แปลกหรอก เพราะโลกมันหมุนทุกวัน
คุณใช่พวกที่หลุดมาจากพันทิปรึเปล่าครับ เห็นต้นปีเมนต์แบบนี้ปาวๆ เดี๋ยวนี้หายจ้อยไปหมดเลย ไม่นึกว่าจะมาเจอในนี้อีก
งั้นคงแปลว่าไม่ใช่ผมคนเดียวที่คิดแบบนี้ ผมก็ตามข่าวเทคโนโลยีทุกวัน บริษัทไหนไม่ปรับตัว ปรับตัวไม่ทันก็เห็นล้มหายตายจากไปตั้งเยอะแยะ อย่ามาอ้างว่าหลุดจากพันดริฟเลย
คนที่ตกงานก็สามารถไปทำงานอย่างอื่นได้นี่ครับ ถ้าเป็นจริงแสดงว่าระบบรถไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมาก
ผลิตรถยนต์ได้เท่าเดิมแต่มีกำลังคนที่สามารถไปทำงานผลิตอย่างอื่นได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสังคม
SMEไทย หันมาทำชิ้นส่วนมอร์เตอรไฟฟ้าไม่ได้ ? ปัญหาจริงๆของบ้านเราคือการต่อรองกำไรนั้นแหละ
โรงผลิตเครื่องยนต์ ไม่ต้องการลงทุนเพื่อ ปรับสายการผลิต
บ. ผลิตรถยนต์ที่ยังไม่พร้อม ต่อรองยืดเวลาเตรียมตัว
ชาวบ้านไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าเพราะจะอ้างเรียกเงินชดเชย
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
โลกยังคงต้องใช้น้ำมัน ในรถไฟฟ้าเองก็ยังต้องใช้วัสดุที่สกัดจากน้ำมันดิบ
ปัญหาไม่ใช้ต้องการหรือไม่ แต่เป็นราคาน้ำมันแพงขึ้นเลยต้องการตัวเลือกอื่นมากกว่า
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
+1
วันนึงน้ำมันก็ต้องหมดไป นี่ยังไม่รวมผลกระทบจากเผาไหม้ ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอีกนะครับ
ผมว่าการขยับตัวนี้น่าจะเป็นผลดีต่อทุกคน ยกเว้นบ.ผลิตรถบ้านเราหละ ที่งอแงเพราะไม่อยากปรับตัว
ดิ้นหนักกว่าคือ บ.น้ำมัน
รถยนต์ไฟฟ้า กับรถขับเคลื่อนได้ตัวเองมันมีอะไรที่เปลี่ยนโลกได้แบบที่เรานึกไม่ถึงได้เลยนะครับ
รถยนต์ไฟฟ้าช่วยลดขนาดรถยนต์ให้เล็กลงได้มาก เนื่องจากเอาระบบหลายส่วนออก เช่นระบบส่งกำลัง, น้ำมัน, หล่อลื่นส่วนใหญ่, ระบายความร้อนออก ที่เพิ่มน่าจะเป็นสมองกล กับแบตเตอรี่รวมถึงการชาร์จไฟ
ผมเชื่อว่ารถไฟฟ้าต่อไปจะเปลี่ยนระบบพวงมาลัยให้รถมีวงเลี้ยวแคบมากๆ หรือหมุนรอบตัวได้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหารถในเมืองได้ไม่น้อย
สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ อย่าขวางผู้ประกอบการที่จะสร้าง หรือนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าแค่นี้ก็พอแล้ว
ทางเบนซ์กะบีเอ็มยังเชียร์เครื่องยนต์ดีเซลอยู่เต็มที่
OM 654 ลงทุนพัฒนาไป 3 พันล้านเหรียญ คงใช้ยาวๆ (ในต่างประเทศ) ครับ แต่ในไทยดัน Plug-in Hybrid เหลือเกิน
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
รถไฟฟ้ายังไงก็ยังต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น by-product จากปิโตรเลียมอยู่ดีครับ น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเบรค น้ำมันเกียร์ น้ำมันไฮโดรลิค ซึ่งถ้าทุกคนเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าของพวกนี้จะกลายเป็น main-product แทน หากน้ำมันใสขายไม่ได้ ราคาน้ำมันหล่อลื่นก็จะต้องสูงขึ้นเพื่อมาเป็นรายได้ของโรงกลั่น จนกว่ารถไฟฟ้าจะไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเลยผมว่ามันก็ไม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่
ส่วนเรื่องลดโลกร้อน ผมว่าการย้ายมลพิษที่ออกจากท่อไอเสียรถยนต์ไปอยู่ที่โรงงานผลิตไฟฟ้ามันไม่ได้ลดปัญหามลภาวะเท่าไหร่ครับ แถมการส่งพลังงานไฟฟ้าจากระยะทางไกลด้วยสายมันย่อมมีการสูญเสียและปลดปล่อยความร้อนออกมา คิดภาพจำนวนโรงไฟฟ้าและสายส่งที่จะมาซับพอร์ตรถยนต์หลายสิบล้านคันในประเทศเรามันจะต้องมีเยอะขนาดไหน
ผมว่าเรื่องมลพิษมันลดได้เยอะนะ โรงงานไฟฟ้ามันควบคุมมลพิษได้มากกว่าพยายามควบคุมมลพิษจากรถเป็นล้านคันครับ ส่วนเรื่องไฟฟ้าถ้าภาครัฐสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์ตามครัวเรื่องก็ช่วยได้มากครับ
loss ในระบบสายส่งคือตัวปัญหาครับ ทีนี้ต้องมาเทียบ carbon foorprint กันแล้วแหละว่าคาร์บอนที่ผลิตมาจากโรงไฟฟ้ากับเครื่องยนต์สันดาปตรงๆ อย่างไหนจะก่อมลพิษมากกว่ากัน
อ้อล้มบอกไป ผมไม่เข้าใจเหตุผลการกฟผ.อย่างมากในเรื่องของการห้ามติดตั้งระบบสำรองแบตเพื่อจ่ายไฟในเวลากลางคืน ทั้งๆที่รู้กันอยู่ว่าทุกวันนี้คนไทยใช้ไฟเยอะขึ้นเป็นบ้าเป็นหลังขนาดนั้น
ถ้าเป็นแนวคิดรถไฮโดรเจนของ toyota จะเอาไฟจาก solar farm มาผลิตไฮโดเจนเลย เพื่อที่จะลดขั้นตอนลด loss จากการ แปลงไฟจาก DC to AC แล้ว step up ขึ้นสายส่ง step down ลงมาใช้ตามบ้าน แต่ก็หมายความว่า ต้องมีถังบรรจุ และใช้รถขนเหมือนรถแก๊ส
แล้วทำไมไม่เอาไฟจาก Solar farm มาป้อน EV ตรงๆเลยละครับ ?
จะไปแยกน้ำสร้าง H2 ให้มัน loss ทำไม แล้วยังเอา H2 มาใส่แปลงกลับเป็นไฟฟ้าอีก ?
อันนั้นมันก็ทำได้อยู่แล้วในส่วนของรถ EV ไงครับ แต่แดดมันไม่ได้มีตลอดวัน และ Solar Farm มันก็อยู่นอกเมือง แต่ผมพูดถึงแนวคิดของรถ ไฮโดรเจน ที่เก็บพลังงานในรูปแบบของ ไฮโดรเจน มันก็ต้องมีแหล่งที่มาของพลังงาน
ถือว่าแลกเปลี่ยนกันนะ ผมคิดว่าคุณทราบว่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานทุกครั้งมันมี loss คำถามคือ เราจะแปลงไฟฟ้าให้กลายเป็น H2 แล้วแปลง H2 ให้กลายเป็นไฟฟ้าอีกทีทำไม ? ในเมื่อเราเอาไฟฟ้าไปใช้กับ EV ตรงๆได้
เพราะตอนแรกคุณบอกว่าใช้ fuel cell เพราะลดการ loss จากการแปลง DC > AC
คำถามน่าสนใจ เลยลองคำนวณเล่น ๆ ดู
ผมใช้ Tesla Model X P90 kW·h จากวิกิ เพราะดูแล้วเป็นรุ่นที่ประสิทธิภาพแบตต่ำสุดละ วิ่งได้ 402 km ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
จากข้อมูลของ อบก. ล่าสุด (พฤศจิกายน 2558) Thailand Grid Mix Electricity ใช้ค่า Emission Factor ที่ 0.5813 kgCO2eq/kWh ดังนั้นเอารถรุ่นนี้มาชาร์จไฟบ้านเรา จะปล่อยก๊าซคาร์บอนเทียบเท่า 90*0.5813 = 52.37 kgCO2eq หรือ 130.27 gCO2eq/km
ทีนี้ลองเทียบกับรถยนต์ทั่วไป สมมติประหยัดน้ำมันสุด ๆ เลย ที่ 20 km/litr แปลว่าจะวิ่งให้ได้ระบะเท่ากับรถเทสล่ารุ่นนี้ ก็ต้องใช้น้ำมัน 402/20 = 20.1 litr
และจากข้อมูลของ อบก. เจ้าเดิม ผมเลือกใช้พลังงานแบบ Motor Gasoline - uncontrolled เพราะมีค่า EF ต่ำสุดในตารางนั้นแล้วคือ 2.2376 kgCO2eq/litr ก็จะได้ว่ารถยนต์ดังกล่าวจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเทียบเท่า 20.1*2.2376 = 44.97576 kgCO2eq หรือ 111.88 gCO2eq/km ซึ่งน้อยกว่า tesla พอสมควรครับ
หรือในทางกลับกัน ถ้ารถยนต์ทั่วไปมันไม่ได้ปะหยัดน้ำมันขนาดนั้น ผมก็ลองคำนวณกลับให้ดังนี้ (402*2.2376)/52.37 = 17.176 km/litr พูดง่าย ๆ คือถ้ารถยนต์กินน้ำมัน 17.176 km/litr พอดี จะปลดปล่อยก๊าซเท่ากับ Tesla รุ่นนี้ครับ
ส่วนตัวผมคิดว่า Tesla ดูดีกว่าหลายขุมครับ เพราะรถยนต์เชื้อเพลิงน่าจะตัน ๆ มาซักพักแล้ว แต่รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่งเริ่มเอง เดี๋ยวคงพัฒนาแบตให้ดีขึ้นได้เรื่อย ๆ ช่องว่างตรงนี้ก็น่าจะถ่างออกไปเรื่อย ๆ
ป.ล. ความจริงคือ Tesla บอกว่าวิ่งได้ระยะทาง "อย่างน้อย" ต่อการชาร์จหนึ่งครับ กลับกัน อัตราการกินน้ำมันของรถยนต์มักเป็นอัตรา "สูงสุด" ที่รถสามารถจะทำได้ (รถผม Mazda 2 Skyactive อายุ 3 ปี ได้ 15 km/litr ก็น้ำตาไหลแล้ว ตอนซื้อมาใหม่ ๆ อยู่แถว 16-17 มั้ง ขับในเมืองไม่ต้องพูดถึง หล่นลงไปเป็น 10-11 เลยล่ะ)
ป.ล.2 Elon เคยกล่าวไว้ว่า จะทำให้ Tesla วิ่งได้ 1,000 km ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งให้ได้ในปี 2017 อันนี้เป็น "ระยะทางสูงสุดที่วิ่งได้" ซึ่งในข่าวบอกว่าตอนนี้วิ่งได้ 800 km แล้ว (Model S)
ป.ล.3 อันนี้ยังไม่คิดเรื่องการปลดปล่อยอันเนื่องมาจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบและการแปรรูป การประกอบ การขนส่ง และการกำจัดซาก ของรถทั้งสองประเภท ซึ่ง Tesla น่าจะมีค่าที่ดีกว่า เนื่องจากชิ้นส่วนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
ป.ล.4 ค่าที่ผมคิดได้นี้ ขัดกับข่าว ผู้ใช้รถ Tesla Model S ที่สิงคโปร์ถูกปรับเพราะรถปล่อยมลภาวะมากเกินไป!? อยู่พอสมควร อาจเพราะผมคิดแค่คร่าว ๆ วิธีคิดเลยต่างกัน และการปลดปล่อยก๊าซจากการผลิตไฟฟ้าของสิงคโปร์กับของไทยห่างกันมาก
ป.ล.5 ผมไม่ได้คิด loss จากสายส่งเลย บอกตรง ๆ ไม่รู้จะคิดยังไง ๕๕๕
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เห็นภาพมาก
แต่โรงงานทำแบตเตอรี่นี่โหดกว่าคาร์บอนพวกนี้มากมาย เคยได้ยินพนักงานในโรงงานแบตเตอรี่แล้วสยองเลย
นี่ขนาดยังไม่ได้เป็นรถไฟฟ้าเต็มตัวนะ ถ้ารถไฟฟ้าระดับประเทศคงน่ากลัวกว่านี้มาก
ทำแบ็ตเตอรี่อาจปลดปล่อยเยอะนะครับ แต่ไม่ใช่ Hotspot ของ Life Cycle แน่ ๆ Hotspot มันไปกองอยู่ที่การใช้เชื้อเพลิงนี่แหละ เพราะอายุการใช้งานรถมันนานมาก (บ้านเรา 10++ ปี) จึงเผาผลาญเชื้อเพลิงเยอะมาก
การผลิตแบตลูกนึงการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปกองที่การผลิตตะกั่ว จากการหาข้อมูลและคำนวณคร่าว ๆ ถ้าแบ็ตรถยนต์ธรรมดาหนักราว 17+ kg จะมีตะกั่วอยู่ราว 10 kg ซึ่งผลกระทบจากการผลิตตะกั่ว 10 kg อยู่ที่ราว ๆ 8 kgCO2eq ครับ ซึ่งถ้าไปเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงรถยนต์ธรรมดาที่ปล่อยคาร์บอน 111.88 gCO2eq/km จะได้ว่า ขับรถไป 8/(111.88/1000) = 71.5 km ก็ปล่อยคาร์บอนเท่ากับการผลิตแบตเตอรี่ทั้งลูกแล้วครับ
แล้วถ้าแบตเตอรี่ถูกนำไปรีไซเคิลด้วย ค่าการปลดปล่อยก็จะลดลงไปมหาศาลเลยครับ (อย่างน้อยครึ่งนึงแน่ ๆ)
นี่เป็นเหตุผลที่ประเทศต่าง ๆ พยายามบีบผู้ผลิตรถยนต์ให้ทำรถให้ประหยัดน้ำมัน (เพราะเป็น Hotspot) และออกมาตรการรีไซเคิลให้รัดกุม แต่อนิจจา ประเทศไทยยังตามหลังเขาอยู่ ยังไม่สนใจเรื่องรีไซเคิลเท่าไหร่ รอวันขยะล้นเมืองแบบจริงจังเท่านั้นเอง...
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
สงสัย (แบบขี้เกียจค้น) นิดนึง แบตรถยนต์ไฟฟ้านี่แบตตะกั่วเหรอครับ?
อ้อ คิดว่าไม่น่าใช่ตะกั่วนะครับ ลืมอธิบายไปครับว่าที่คำนวณให้ดู จะได้เห็นภาพว่า Hotspot มันไปกองที่การใช้เชื้อเพลิง ส่วสการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ มันขี้ประติ๋วน่ะครับ ผมเลยอัสสัมชัญเอาว่า ของเทสล่ามันก็คงไปกองที่เดียวกันนั่นแหละ ต่อให้แบตจะเป็นอย่างอื่นก็เถอะ ขออภัยที่ไม่ได้อธิบายไว้ครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มาเพิ่มข้อมูลให้ครับว่าเคยมีคนทำงานวิจัยแล้ว ลดได้ 51-53% ต่อให้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินมาป้อนยานยนต์ไฟฟ้าก็เถอะ แต่อันนี้อิงจากการผลิตรถของ Tesla ซึ่งรวมการ Recycle แบตตอนหลังไว้ด้วย ทำให้ Carbon Footprint ลดลงนะครับ
โอ้ววววว นี่มันใช่เลย ลดไปเยอะมาก ๆ ปกติทำ LCA เพื่อหา Hotspot และปรับปรุง ถ้าลดได้ 5-10% นี่แทบร้องไห้แล้ว นี่ล่อไปครึ่งนึงเลยโหดมาก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มันลดมลภาวะในเมืองแน่ๆล่ะครับ
ผมไม่ค่อยชอบนักหรอก เวลาเดินในกรุงเทพแล้วโดนอัดควันใส่ 555
ฝั่งยุโรป เขามองว่ารถพวกนี้ emission-free เลยครับ
คงยากนะครับ
เพราะพรีอุส มีปัญหา
นำเข้าชิ้นส่วนแล้วสำแดงภาษีผิด
ที่การเมืองเค้าเอามาเล่นกันว่า
ประธานต้านคนโกง มาโกงภาษีซะเอง
เลยยกเลิกการขายไปเงียบๆนะครับ
ถือเป็นกรรมหนักของประเทศ
ที่บ้านเมืองนี้ หาใครดีไม่ได้ เลยซักคน
แค่ทำให้คนไทยเข้าใจว่าประเทศนี้ไม่ได้มีคน"ดี"ไปซะหมดทุกเรื่องประเทศก็เจริญขึ้นอีกเยอะครับ