ด้วยความเร็วของอินเทอร์เน็ตและความง่ายในการเข้าถึง เรามักพบเห็นข่าวปลอมหรือบทความลวงโลกเป็นจำนวนมาก (hoax) ล่าสุด Google ได้เพิ่มแท็ก Fact Check หรือตรวจสอบข้อเท็จจริงสำหรับข่าวหรือบทความใหม่บน Google News เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยเฉพาะในช่วงใกล้การเลือกตั้งผู้นำสหรัฐ ที่ความถูกต้องของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ
ปกติแล้วข่าวหรือบทความที่ขึ้นบน Google News จะมาพร้อมกับแท็กอย่าง Local Source, Feature, Opinion เป็นต้น โดยแท็ก Fact Check ที่เพิ่มมาใหม่นี้เป็นลิงก์ของข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูล
Google ระบุว่าผู้สร้างคอนเทนต์บน Google News สามารถเพิ่มแท็ก Fact Check ลงบนบทความหรือข่าวตัวเองได้ โดยการใช้มาร์คอัพ ClaimReview ของ Schema.org ซึ่งหาบทความที่เพิ่มแท็กนี้ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ ClaimReview Google มีสิทธิเอามาร์คอัพออกหรือกระทั่งนำบทความลงจาก Google News ได้
ทั้งนี้แท็กใหม่นี้จะเริ่มใช้งานในสหรัฐและสหราชอาณาจักรก่อน และสามารถใช้งานได้ทั้งบนเว็บและแอพพลิเคชัน
ที่มา - TechCrunch, Rappler
Comments
Google ระบุว่าผู้สร้างคอนเทนต์บน Google News สามารถเพิ่มแท็ก Face Check > Fact Check
น่าสนใจมาก
แบบนี้ข่าวจาก CNN, MSNBC, Fox คงโดนปลดออกหมดเพราะมั่วข่าวตัดต่อข้อความสาดโคลนเข้าข้างฝ่ายที่ตัวเองสนับสนุนกันสุดๆ
ผมมองว่าตัวสำนักข่าวก็ประกาศตัวเลือกข้างอยู่แล้วนะครับ เพราะฉะนั้นคนเสพข่าวก็จะรู้เลยว่าข่าวในนี้ต้องเลือกข้างใช้วิจารญาณตัวเองด้วย ไม่เหมือนของไทยเลือกข้างแต่บอกตัวเองเป็นกลางมันตลกมากเลย...
ผมมองวว่ากูเกิลไม่ควรเอาลงเพราะว่ามันอาจเป็นข่าวเท็จแต่ควรมีลิงค์อื่นประกอบข่าวไปด้วยเลย เพราะแม้แต่ตัวกูเกิลเองก็หาความจริงเบื้องหลังความเท็จได้ยากอยู่ดี
ไม่ได้ประกาศตัวเลือกข้างแบบชัดเจนอย่างนั้นครับ น่าจะคล้ายๆ กับของไทยนี่แหละครับเพียงแต่ไม่ได้ประกาศว่าตัวเองเป็นกลางแล้วก็ไม่ได้ประกาศว่าอยู่ฝั่งไหน แต่ดูการนำเสนอข่าวก็จะพอเข้าใจได้ว่าสื่อไหนเชียร์ฟากไหนอยู่ครับ
ผมหา reference ไม่เจอแล้วแต่มีอยู่วันหนึ่งครับเขาออกมาพาดหัวประกาศตัวว่าอยู่ข้างฮีลี คลินตัน ในศึกเลือกปธน. อเมริกาเลยครับ แต่ผมหาไม่ได้จริงเพราะบังเอิญดูจาก daily does ช่อง VoiceTV แต่ที่แน่ๆ Fox news สนับสนุน Tump เพราะดึงเจ้านายตัวเองมาเป็นหัวหน้าทีมหาเสียงเลยถ้าผมจำไม่ผิด
ฝรั่งเองก็เหมือนคนไทยนี่แหละมีเชื่อข่าวข้างเดียวเหมือนกัน
ผมว่าข่าวการเมืองไม่น่าโดนครับ ถ้าจะโดนก็คงแนวๆ ข่าวประเภทกินน้ำมะนาวรักษามะเร็งมั้งครับ
Fact check ช่วงนี้ในสหรัฐนั้นเป็นวลีดังของคุณฮิลลารี่ครับ มาทำช่วงนี้ภาพเลยออกมาดูเหมือนเลือกทำขึ้นมาเพื่อช่วยคุณฮิลลารี่ไปน่ะครับ
ฮิลลารีแกเถียงสู้ทรัมพ์ไม่ได้เพราะปากทรัมพ์ก็พอ ๆกับชูวิทย์พูดไปเรื่อย
เลยชอบตอบว่าให้ไป fact check ในเวบของแกเอง เอาตามจริงหลายประเด็นผมว่าเพราะตอบไม่ได้มากกว่า
Google เองผมก็เห็นเลือกข้างไปเรียบร้อยแล้ว
Spell Check
สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูบ -> สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูล
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แอบฮานะเนี่ย 555