ดร. Jenny Radesky ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้เผยแพร่งานวิจัยสำรวจที่ชี้ว่า การใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตภายในบ้าน เป็นสาเหตุที่ทำให้ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว โดยเฉพาะช่วงที่ควรจะต้องอยู่กับครอบครัวแย่ลง (ต้นทางใช้คำว่า contaminated) รวมถึงก่อให้เกิดความเครียด
ผู้ปกครองหลายคนที่ทำแบบสำรวจให้เหตุผลว่า อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้พวกเขาทำงานและติดต่องานจากที่บ้านได้มากขึ้น รวมถึงช่วยแก้เบื่อจากงานบ้านและการเลี้ยงลูกไปได้บ้าง แต่ก็ต้องภายใต้ตัวเลือกระหว่างเด็กๆ ในบ้านและอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ ซึ่งความพยายามชั่งน้ำหนักระหว่าง 2 สิ่งนี้เองที่งานวิจัยชี้ว่าเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้นมา โดยเฉพาะช่วงที่ผู้ปกครองง่วนอยู่กับงาน และเด็กๆ ร้องเรียกหาความสนใจ จนบางครั้งมีการขึ้นเสียงใส่เด็กๆ ด้วยซ้ำไป
ดร. Radesky ได้แนะนำผู้ปกครองที่พยายามจะลดการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ลงว่า ให้กำหนช่วงเวลาหรือพื้นที่ภายในบ้าน ที่จะไม่แตะต้องสมาร์ทดีไวซ์เหล่านี้ หรือพยายามสังเกตการใช้งานของตัวเอง และลดการใช้งานลงหากรู้สึกว่าใช้มากเกิน รวมถึงให้ระวังการใช้งานที่จะนำไปสู่ความเครียด อาทิ อ่านอีเมล์งานหรืออ่านข่าวต่างๆ
ที่มา - CBS News, ภาพ Thumbnail จาก FreePik, ภาพท้ายข่าวจาก PhotoPin
Comments
ง่วงอยู่กับงาน ?
ครับ, บ่ายแก่ๆแบบนี้ผมก็ง่วง...
/me : ไปหากาแฟกินดีกว่า~
อู...คุณภาณุรักษ์โดนเล่นซะแล้ว
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมเป็นคนนึงครับที่ 'ง่วงอยู่กับงาน' 5555
หมายถึงอยู่กับงานแล้วง่วงรึเปล่าครับ
น่าจะเป็น ง่วน แต่ว่าไปผมก็ง่วงอยู่กับงานเหมือนกัน
ภายใต้ตัวเลือก?
กำหน -> กำหนด
Dream high, work hard.
ถ้าเปลี่ยนจาก "สมาร์ทดีไวซ์" เป็น "โทรทัศน์" หรือ "คอมพิวเตอร์" เป็นต้นเหตุให้ปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวลดน้อยลง ผลวิจัยก็อาจออกมาได้ในแนวทางเดียวกัน เพราะยุคก่อนหน้าโทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ ก็ได้รับความนิยมเหมือนกัน
ปัญหาจะไม่เกิดเลยถ้ารู้จักแบ่งเวลา
ผมว่าโทรทัศน์ไม่น่าจะเข้าข่าย นึกถึงภาพครอบครัวนั่งกินข้าวระหว่างดูทีวี หรือกลุ่มเพื่อนนั่งดูบอลพรีเมียลีคด้วยกัน คือในสภาพการเป็นดีไวซ์ที่ใช้งานได้พร้อมกันหลายคนแล้วมันดูจะมีผลดี แต่ถ้าเป็นทีวีหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคนแยกห้องกันผลก็น่าจะไม่ต่างจากสมาร์ทดีไวซ์
..นึกถึงหลานบางทีก็จะมาขอเล่นเกมด้วย โดยผลัดกันเล่น ผมรู้สึกว่าถ้าเราใช้อุปกรณ์ในจุดประสงค์ที่ต่างไป ผลมันก็ต่างออกไป และผมว่าใช่ถ้าแบ่งเวลาถูกปัญหาก็จะเบาลง
จากผลการวิจัยของผมเองพบว่า รีโมททีวีเป็นต้นเหตุของปัญหาสงครามภายในครอบครัว
บ้านผมดูเหมือนจะทำให้คุยกันได้มากขึ้นมากกว่าแหะ เพราะนอกจากคุยที่ไหนก็ได้แล้วยังหาเรื่องในเน็ตมาคุยกันมากขึ้นอีก
ผมว่ามันก็เป็นต้นเหตุของปัญหาจริง ๆ นะ
That is the way things are.
บ้านผมเป็นครับ เมื่อก่อนว่าผม เอาแต่ก้มหน้ามองจอ ตอนนี้ตรงข้ามกันเลย
มันเป็นตามยุค...อีกสักพักทุกความสัมพันธ์ก็กลับมา...ความเป็นสัตว์สังคมไม่ไปไหน
ปัญหาน่าจะมากกว่าโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ เพราะสมาร์ตดีไวซ์ มันติดตัวกับเราทุกที่ทุกเวลา
พอคนในครอบครัวติดสมาร์ทโฟนแล้วผมพอใจมากครับ ไม่ต้องมาวอแว ชวนคุย พอดีคนในครอบครัวคุยเก่งกันมาก เราก็พวกไม่ค่อยพูด
คุยเก่งพอทน แต่คุยเยอะๆเม่มขุดคุ้ยหาเรื่องมาทะเลาะ
ผมแคปไว้แล้วครับ
รูปแบบพฤติกรรมเปลี่ยนไปจริงๆ นะ
วันเกิดทุกปีพอกลับถึงบ้าน...คุณแม่ต้องมาสุขสันต์วันเกิด
2-3 ปีมานี่...คุณแม่จะ post สุขสันต์วันเกิดใน facebook แทน...
...นี่ขนาดว่าอยู่บ้านเดียวกัน...T_T
แบบนี้แสดงว่าที่บ้านผมนี่ดีกว่าเยอะครับ แต่ก่อนเป็นยังไงตอนนี้ก็เป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เพราะไม่เคยมีการอวยพรวันเกิดใดๆ สำหรับคนในครอบครัวอยู่แล้ว :D
มีส่วนจริง บางทีไปทานข้าวกับครอบครัวใหญ่ๆ(แบบไปปู่ย่า น้าอาหลายครอบครัว) สุดท้ายก็จะมีคนเอาแต่เล่นมือถือ ไม่ได้พูดคุยกันเท่าไร บางทีคำพูดมันขาดตอน ไม่เหมือนเมื่อก่อน ไม่รู้จะคุยอะไรก็จะขุดเรื่องนู้นเรื่องนี้มาเล่ากัน ทำให้รู้จักคนในครอบครัวมากขึ้น แต่ตอนนี้พอขาดตอนทีไรก็จะspace out กันทันที
แต่ในอีกมุม ครอบครัวที่อยู่ห่างไกลก็ได้พูดคุยกันมากขึ้น ญาติผู้ใหญ่ผม line video call กันประจำ พ่อผมก็คุยกับเพื่อนเก่าที่อยู่คนละจังหวัด คนละประเทศกันประจำ ก็เลือกกับว่าเราจะใช้ประโยชน์จากมุมไหนนั่นแหละ
จริง รุ่นอาม่า อาแปะนี่ facetime, skype กันมันส์ไปเลย
เป็นงานวิจัย ต่อไป
อาการลงแดง จากการถูกห้ามเล่น สมาร์ทดีไวซ์