ธนาคาร Commonwealth Bank of Australia และ Wells Fargo ร่วมกับบริษัทฝ้าย Brighann Cotton ทดสอบระบบการค้าข้ามประเทศโดยเคลียร์เงินระหว่างธนาคาร (interbank) โดยใช้ blockchain เป็นเทคโนโลยีแกนกลางสำเร็จเป็นครั้งแรก
การทดสอบครั้งนี้ใช้ระบบ BRACKETS ของบริษัท Skuchain ที่จะสร้างเงื่อนไขการปล่อยเงินระหว่างหน่วยงานเมื่อเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าเป็นไปตามที่กำหนด โดยเลียนแบบจากระบบการค้าทุกวันนี้ที่อาศัยระบบ Letter of Credit (LC)
ระบบนี้ทดสอบด้วย blockchain ในวงปิดระหว่าง Brighann Cotton ในสหรัฐฯ, Brighann Cotton Marketing ในออสเตรเลีย, Wells Fargo ทำหน้าที่ธนาคารฝั่งผู้ขาย, และ Commonwealth Bank ทำหน้าที่ธนาคารฝั่งผู้ซื้อ ระบบเริ่มทำงานเมื่อทั้งสี่หน่วยงานเปิดสัญญาขึ้นมา หลังจากนั้นเรือที่ขนฝ้ายจะแจ้งตำแหน่งของตัวเอง เมื่อยืนยันตำแหน่งว่าถึงปลายทาง ระบบจะส่งคำสั่งให้ธนาคารฝั่งผู้ขายเดินหน้าจ่ายเงินตามสัญญา
กระบวนการนี้ทำให้ทุกหน่วยงานเห็นสัญญาตรงกัน และมีการติดตามข้อมูลที่เหมือนกันว่าสินค้าไปถึงจุดใดแล้ว กระบวนการจ่ายเงินใช้เวลาระดับนาที แทนที่จะใช้เวลาหลายวันเช่นเดิม
ที่มา - Commonwealth Bank
Comments
ดีจิงๆ
เหมือนจะใช้ blockchain แค่ในส่วนของเอกสาร (smart document) ที่พอเซ็นครบทุกคนแล้วก็กระจายตัวเอกสารไปอยู่ใน blockchain จะได้เห็นข้อมูลตรงกันทุกคน ซึ่งเอกสารนี้จะอัพเดทเรียลไทม์ว่าเรือ(สินค้า)อยู่ไหนแล้ว น่าจะแปลว่าใช้ตำแหน่ง GPS แทน B/L ส่วนที่เหลือก็เป็นขั้นตอนปกติในการทำ LC ไม่ได้มีการจ่ายเงินหรือเคลียร์ริ่งเงินด้วย blockchain แต่อย่างใด ผมเข้าใจประมาณนี้ถูกไหมครับ
ผมพยายามอ่านในเว็บของ Skuchain ไม่มีรายละเอียดเลยครับ แต่ก็เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบบนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
เสริมว่าผมไปดูข่าวต้นทางแล้ว เป็นการจ่ายแบบ Open account (โอนเงินตรง ไม่ได้เปิด LC) ครับ แต่เมื่อใช้ระบบนี้ทุกฝ่ายจะเห็นสัญญาฉบับเดียวกัน เห็นสถานะสินค้าเหมือนกัน ถ้าธนาคารผู้ซื้อล็อคเงินเตรียมโอนไว้แล้วเมื่อสินค้าถึงปลายทาง ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกับการเปิด LC ครับ
ผู้ซื้อจ่ายเงิน หรือเปล่าฮะ?
iPAtS
ธนาคารฝั่งผู้ขายถูกแล้วครับ คือธนาคารที่ปลายทาง(ฝั่งผู้ขาย) จะทำหน้าที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย เมื่อยืนยันได้ว่าผู้ขายทำการส่งสินค้าเรียบร้อย
ธนาคารฝั่งผู้ขายจ่ายเงิน แล้วเรียกเก็บจากธนาคารฝั่งผู้ซื้อ ซึ่งจะไปเรียกเก็บจากผู้ซื้ออีกทีครับ
อ๋อ เก็ทละ ;)
iPAtS