เท่าที่ผมรู้และมีข้อมูล เราสามารถ copy ข้อมูลจากบัตรนึงมาเขียนลงในอีกบัตรนึงได้ ไม่ว่าบัตรนั้นจะถูกเข้ารหัสไว้หรือไม่ เพราะเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจข้อมูลนั้น แค่ copy ไปเขียนลงในอีกบัตรนึงเฉยๆ โดยไม่ต้องถอดรหัส นั่นคือถ้าบัตรใบนึงเก็บค่าเงินสำหรับใช้บริการหนึ่งล้านบาท เราสามารถคัดลอกข้อมูลซึ่งแทนด้วยเงินหนึ่งล้านบาทไปใส่ในอีกบัตรนึงเพื่อให้เรามีเงินรวมเป็นสองล้านบาท (ด้วยบัตรสองใบ) ได้
จริงๆ แล้วที่ใช้บัตรกันปัจจุบันนี้ (อย่างบัตร BTS, MRT) เขามีวิธีป้องกันเรื่องแบบนี้ได้ยังไงครับ
ถ้าเป็น RFID ที่เก็บแค่ ID ของบัตรธรรมดาก็คง Copy ได้ ตรงนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
แต่ถ้าใช้ Smart Card ล่ะก็ ยากครับ
ไม่ใช่แบบนั้นครับ
บัตรนึงมีเงินเท่าไหร่ก็ตาม แล้วเอาไปก๊อบปี้ มันก็จะมีข้อมูลเดียวกับบัตรแรก สมมติ Code เป็น XXXX
พอบัตรแรกหรือบัตรก๊อบปี้ไปใช้ ข้อมูลเงินซึ่งเก็บในระบบ ซึ่งลิงค์กะ Code บนบัตร XXXX ก็จะถูกตัดออก
พอบัตรที่ไปใช้ทีหลัง ก็จะพบว่าเงินไม่เหลือแล้ว เป็นต้น
ระบบ BTS ก็เช่นกัน สมมติบัตร YYYY ตื้ดบัตรเข้า มันก็จะมันทึกไว้ว่า YYYY นี่ตื้ดเข้าที่ไหน อยู่ไหนระบบ
ถ้ามีบัตรที่ Copy Code YYYY นี้ไปตื้ดออก บัตรจริงก็จะตื้ดออกไม่ได้ เพราะระบบมันบันทึกว่า Code นี้ตื้ดออกไปแล้ว (ไม่ว่า YYYY จะอยู่บัตรจริงหรือบัตรปลอมก็ตามมันไม่รู้)
ถ้าบัตรหาย ก็ต้องยกเลิกบัตรนั้นทิ้งไป แล้วเอา Code บนบัตรใหม่ไปใส่ระบบแทน....
ต่างจาก SmartCard เพราะมันมี applet+memory เขียนโปรแกรม+ข้อมูลลงไปได้ ให้เดาก็คงเขียนข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่ใช้ เพราะฮะนั้นก๊อบไปก็ไม่น่าจะใช้ได้
ลักษณะนี้จะเหมือนกับกุญแจรถยนต์ทุกครั้งที่กดรีโมท key ก็จะ gen ใหม่ เพราะฉะนั้นก๊อบไปก็ไม่มีประโยชน์
ตัวบัตร RFID จะตัว chip ที่เก็บข้อมูล Identify ของบัตร ซึ่งคล้าย ๆ กะ Mac Address ของอุปกรณ์ Network เวลาจะนำข้อมูลในบัตรไปใช้ ก็จะ Verify กะ ID บัตรก่องอ่ะงับ ซึ๋ง RFID จะมี CPU แบบ Smart Card อ่ะนะ
iCyLand's Cool iSland