SpaceX เดินหน้าโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ด้วยการยิงดาวเทียมวงโคจรต่ำจำนวนมากถึง 4,425 ดวง
ดามเทียมจะโคจรที่ระดับความสูง 1,150-1,325 กิโลเมตรเหนือโลก แต่ละดวงหนักประมาณ 386 กิโลกรัม และดาวเทียมชุดแรกจะเริ่มที่ 800 ดวงเพื่อให้บริการในสหรัฐฯ และเมื่อยิงครบสี่พันดวงแล้วจะให้บริการอินเทอร์เน็ตระดับกิกะบิตได้ทั่วโลก
Comments
เป็น wifi ความเร็วสูงสินะครับ ทั่วโลกแบบนี้ ในไทยจะได้ใช้ด้วยใช่มั้ย
สูงประมาณนี้ก็ latency ประมาณ 200-300ms ?
@mamuang
ก็พอสำหรับการสื่อสารที่ไม่จำเป็นต้องทันทีทันใดมาก อย่าง chat หรือการคุยด้วยเสียงเหมือนกับคุยวิทยุสื่อสารหน่ะครับ
ไม่ถึงครับ น่าจะราวๆ 40-50ms เอง
ระยะทางไปกลับ 3000km
ความเร็วสัญญาณ 300000km/s
ก็ 1/100 วินาที (10ms) บวกเวลาสัญญาณ route กลับไปหาต้นทางระบบภาคพื้นไม่น่าจะนานมากขนาดนั้น (ยกเว้นเอาดาวเทียมระดับวงโคจร meo/geo เป็น backbone)
ต้องปล่อยจรวดกี่รอบเนี่ยกว่าจะปล่อยครบ
ดวงละ สี่ร้อยกิโล ก็ ข้าวสาร สามสี่กระสอบ...แบกไปรวดเดียวก้ได้ หลายดวงอยู่นะครับ
จรวด เทพ ของพี่อินเดียที่ส่งได้ทีละ 20 ดวง ก็ยังถือได้ว่างานหนักอยู่ดี
ติดจานเล่นได้เลย พอฝนตกจบ
ไทยเคยมี แต่ไม่นิยม เหมาะกับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มี 3g ซะมากกว่า
จริงๆแล้วจะทำแบบไหนมังงะ jormungand หรือเปล่าครับ :P
Elon Hekmatyar~
ยิงครอบคลุมขนาดนี้ แทบจะใช้มอนิเตอร์พื้นที่แบบ Realtime กันได้เลยทีเดียว แหม่ถ้ามาใช้งานจารกรรมคงมอนิเตอร์กันได้แบบในหนัง โดยไม่ต้องรอให้ดาวเทียมโคจรผ่าน
แบบนี้ก็ทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ไม่ได้สิครับ
judgement day is coming
คิดเล่น ๆ ส่วน จากภาพดาวเทียมอยู่ที่ 1150 km ซึ่งเป็นความสูง Low Earth orbit [LEO)
จากข้อมูลการบรรทุกและบริการของ SpaceX ที่ระดับ LEO นั้น FALCON 9 บรรทุกได้ 22,800 kg ส่วน FALCON HEAVY บรรทุกได้ 54,400 kg
ดังนั้นสามารถบรรทุกดาวเทียมของโครงการนี้ ที่หนัก 386 kg โดย FALCON 9 บรรทุกสูงสุดได้ 59 ดวง ส่วน FALCON HEAVY บรรทุกสูงสุดได้ 140 ดวง แล้ว
FALCON 9 ใช้เที่ยวบินอย่างต่ำ 75 รอบ ส่วน FALCON HEAVY ใช้เที่ยวบินอย่างต่ำ 32 รอบ
และด้วย SpaceX บอกค่าใช้จ่ายการปล่อยในปี 2018 ไว้ว่า FALCON 9 ใช้ 62 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน FALCON HEAVY ใช้ 90 ล้านเหรียญสหรัฐ
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำเฉพาะค่าส่งด้วยจรวด โดยใช้ FALCON 9 จะอยู่ที่ (62x75=) 4,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน FALCON HEAVY จะอยู่ที่ (90*32=) 2,880 ล้านเหรียญสหรัฐ
อนึ่ง เป็นการคำนวนหยาบจากคนที่ไม่มีความรู้ด้านการขนส่งอวกาศ จึงไม่ขอยืนยันความถูกต้องของข้อมูลครับ
Elon Musk เคยระบุว่าทั้งโครงการจะใช้เงิน 10,000 ล้าน USD ตัด 2,880 ล้านค่าส่งไป (คิด Falcon Heavy) จะเหลือ 7,120 ล้าน คิดเป็นดาวเทียมดวงละ 1.61 ล้าน (รวมค่าวิจัยพัฒนา)
ก็นับว่ายังอยู่ในระดับที่ "เป็นไปได้" ถ้าดาวเทียมเหมือนกันหมดทั้งสี่พันดวงต้นทุนก็น่าจะลดลงมาก
lewcpe.com, @wasonliw
น่าจะเป็นเช่นนั้น ราคาดาวเทียมน่าจะถูกกว่านั้นมาก ๆ เพราะค่าขนส่งที่คำนวณนี้คิดในกรณีที่ใส่ดาวเทียมอย่างเดียวเต็มขนาดบรรทุกและต้องปล่อยจำนวนรอบน้อยที่สุดด้วย ซึ่งไม่รู้ว่าจะปล่อยในลักษณะนี้จริง ๆ หรือไม่ แต่คิดว่าต่อให้มีปัญหาเรื่องงบจริง เขาก็คงปรับเปลี่ยนรายละเอียดแหละครับ
ดามเทียมจะโคจรที่ระดับความสูง -> ดาวเทียม
ดาวเทียมวงโคจรต่ำน่าจะไม่ค้างฟ้าแค่ที่อเมริกา จะลอยวนรอบโลกวันละหลายรอบ
เอาไปส่องประเทศอื่นหรือเปล่า
วงโคจรต่ำไม่สามารถค้างฟ้าได้อยู่แล้ว แต่จากในข่าวคือ 800 ดวงแรกให้บริการในสหรัฐฯ เท่านั้น นั่นหมายความว่า ถ้าโคจรหลุดออกนอกสหรัฐฯ ดาวเทียมจะหยุดให้บริการกับประเทศอื่นทันที (แปลจากเนื้อข่าวนะครับ)
ดาวเทียมโคจรต่ำ (LEO) กับโคจรระดับกลาง (MEO) มีเยอะมาก มันวิ่งผ่านหัวเราหลายๆรอบมานานแล้วครับ เรื่องพวกนี้มันห้ามกันไม่ได้อยู่แล้ว
จริงๆ ที่มี "ไม่เยอะมาก" นี่เฉพาะ GEO นี่ล่ะครับ เพราะมันต้องแย่งวงโคจรกัน (เราถึงต้องเร่งปล่อยไทยคมไปจองวงโคจร)
lewcpe.com, @wasonliw
มีหน่วยงานอะไร จัดการเรื่องการปล่อยดาวเทียมบ้างครับ ปล่อยไปเยอะๆ มันอยู่เหนือฟ้าประเทศอืน จะเป็นการรุกลำอาณาเขตเปล่า
ITU-R เป็นคนดูครับ
เห็นข่าวนี้ชวนให้ย้อนวันวานกับ IP-Star เมื่อสิบปีก่อน bw 256kbps พร้อมกับ ping อันมหาศาล
Internet ระบบสายดีกว่าหรือเปล่า หรือว่าตั้งใจจะทำ Internet ระหว่างดวงดาวในอนาคต
เรื่อง latency ผมว่ายังไงก็อาจจะเยอะอยู่แล้วเพราะห่างเป็นพันกิโล แต่ถ้าพัฒนาเรื่อง bandwidth ให้กว้าง speed ก็คงได้เยอะอยู่นะ
แต่ก็ยังคิดไม่ออกว่าจะทำยังไงให้ latency มันน้อยลงได้อีก
สำคัญคือความคล่องตัวของอุปกรณ์ไร้สายจะเข้าถึงได้ทั่วกว่า
เดินสายไฟเบอร์น่าจะเร็วสะใจกว่า ดาวเทียมเหมาะกับพื้นที่ห่างไกลซึ่งก็มีผู้ใช้บริการไม่เยอะ ไม่น่าคุ้มค่าดาวเทียม
ดาวเทียมส่งไปเยอะๆ ส่วนมากลอยอยู่กลางทะเลและพื้นที่ประเทศอื่น
จำได้ว่าไมโครซอฟท์เคยจะทำโครงการแนวๆนี้รู้สึกจะชื่อเทเลเดสิก
ผมว่าเค้าคงมองเผื่อนาคตครับ latency อาจจะมากกว่าแบบ fiber optic แต่ความคล่องตัวเหนือกว่ามาก ในอนาคตหากมี bw มหาศาล ให้บริการ ณจุดใดก็ได้บนพื้นโลก ผมว่ามันคือจุดขายสำคัญเลยนะครับแถมไม่ต้องกลัวสายขาดจากแผ่นดินไหวหรือภัยธรรมชาติ