Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อุปสรรคสำคัญสำหรับการเดินทางในอวกาศคือเชื้อเพลิงสำหรับขับเคลื่อนยาน ยานอวกาศที่เดินทางระยะไกลจำเป็นต้องแบกเชื้อเพลิงจำนวนมากจนบางครั้งน้ำหนักบรรทุกส่วนใหญ่ต้องใช้สำหรับการขนเชื้อเพลิง แต่ปัญหานี้อาจกลายเป็นอดีตเมื่องานวิจัยเครื่องยนต์ EmDrive ได้รับการ Peer Review และพบว่าสามารถใช้งานได้จริง

สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย เครื่องยนต์ EmDrive เป็นเครื่องยนต์ที่ถูกทำงานโดยการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงไมโครเวฟในพื้นที่ปิด การสะท้อนของคลื่นดังกล่าวเป็นตัวสร้างแรงผลักให้เกิดขึ้น สิ่งที่ทำให้เครื่องยนต์นี้พิเศษคือ มันไม่จำเป็นต้องอาศัยเชื้อเพลิงในลักษณะไอพ่นเพื่อสร้างแรงผลักในทิศทางตรงข้าม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็ถือเป็นการละเมิดกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตันอย่างจัง

ที่ผ่านมา เครื่องยนต์ EmDrive ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องยนต์ที่ "เป็นไปไม่ได้" แม้จะมีผู้สนใจออกแบบสร้างอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ทีมวิศวกรจากนาซ่าวิจัยและออก งานวิจัยที่ผ่านการ Peer review แล้ว ระบุว่า เครื่องยนต์ดังกล่าวมีแรงขับ (thrust to power ratio) ที่ 1.2 ± 0.1 millinewtons ต่อ kilowatt ในสุญญากาศ แม้จะน้อยมากเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์จรวดอื่นๆ แต่การที่มันไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงก็ทำให้สามารถเร่งความเร็วได้เรื่อยๆ ตราบใดที่แหล่งพลังงานไฟฟ้า (เช่น เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์/แผงเซลล์สุริยะ) ยังใช้งานได้อยู่

ทั้งนี้ ในเอกสารวิจัยยังไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า เหตุใดเครื่องยนต์นี้จึงสร้างแรงที่ละเมิดกฎของนิวตันได้ โดยนักวิจัยคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดจากแรงปฏิกิริยาของโฟตอนในระดับควอนตัม

ที่มา Wired , iflscience

หมายเหตุ : ผู้เขียนข่าวไม่ได้ศึกษามาด้านนี้โดยตรง หากแปล/เข้าใจเนื้อหาส่วนไหนผิดไป เสนอข้อแก้ไขมาได้เต็มที่ครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: 7elven
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 21 November 2016 - 23:18 #954982

นักวิจัยยังงงว่าใช้งานได้ยังไง เอ้ออ ดีแท้

By: tanapon000 on 22 November 2016 - 06:16 #954991
tanapon000's picture

ไฟฟ้า 1 MW ได้แรงขับเคลื่อน 1.2N น้อยมากจริงๆ

By: langisser
In Love
on 22 November 2016 - 11:27 #955031 Reply to:954991

ประมาณว่าใช้พลังงานเท่ากับที่เราใช้ทั้งบ้านแต่ขับเคลื่อนได้ 1 เซนรึเปล่าครับ

ก็คิดว่ามันน้อยนะ แต่นึกภาพไม่ออกว่าน้อยขนาดไหน

By: aixen
ContributoriPhoneAndroid
on 22 November 2016 - 22:25 #955146 Reply to:955031
aixen's picture

1000 W ไฟสำหรับ แอร์ 1 เครื่อง
1 Newton ประมาณว่า เอานิ้วจิ้มตาชั่งให้ได้ค่า 100g : แรงทั้งหมดที่ใช้จิ้มนั้นประมาณ 1 N

ในข่าวเห็นเขียนเป็น 1 kilowatt นะ


You're a Ghost, driving a meat coated skeleton made from stardust,
what do you have to be scared of ?

By: nununu
Windows Phone
on 22 November 2016 - 22:32 #955150 Reply to:955146

ในข่าวเป็น 1 กิโลวัตต์ให้แรง 1.2 มิลลินิวตัน ถ้า 1 เมกะวัตต์ก็ให้แรงประมาณ 1.2 นิวตันถูกแล้วครับ

By: nununu
Windows Phone
on 22 November 2016 - 22:36 #955152 Reply to:955031

ถ้าคิดเฉลี่ยๆคอมพ์บ้านๆเครื่องละ 250 วัตต์ ก็ต้องเปิดคอมพ์ประมาณ 4,000 เครื่อง ถึงจะเท่ากับ 1 เมกะวัตต์ที่ออกแรงได้ 1.2 นิวตัน
แรง 1.2 นิวตันก็ออกแรงประมาณถือไอโฟนเครื่องนึง (หนัก 120 กรัม) ต้านกับพื้นโลกครับ
แม้แรงจะดูน้อยนิดเมื่อเทียบกับพลังงานที่ใช้
แต่ในอวกาศที่ไม่มีแรงต้าน แรงที่ให้ไปจะสะสมเป็นความเร่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแล้วจะทำความเร็วเท่าไรก็ได้ (แค่ใช้เวลาเร่งนาน)

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 23 November 2016 - 10:12 #955200 Reply to:955152
TheOrbital's picture

และหากใช้โซล่าเซลล์ ก็จะเก็บเกี่ยวพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้เรื่อยๆ แค่แบกแบตเตอรี่ไปให้เพียงพอก็พอ ไม่ต้องกังวลเรื่องใช้ไฟมากไฟน้อย น้ำหนักแบตเตอรี่ก็ไม่มีผลมากนักเพราะในอวกาศไร้น้ำหนัก

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 7 December 2021 - 01:09 #955209 Reply to:955200
hisoft's picture

และหากใช้โซล่าเซลล์ ก็จะเก็บเกี่ยวพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้เรื่อยๆ

มันเสื่อมได้นะครับ แล้วไปไกลไม่ได้เท่าไหร่ด้วย แสงหาย ?

น้ำหนักแบตเตอรี่ก็ไม่มีผลมากนักเพราะในอวกาศไร้น้ำหนัก

น้ำหนักไม่มีผลแต่มวลมีผลนะครับ มวลยิ่งมากการเปลี่ยนแปลงความเร็วก็ยิ่งต้องใช้แรงมาก ถ้าเทียบกับข่าวนี้ก็แบกยิ่งมากก็ยิ่งเร่งไม่ไปครับ

By: absulation
AndroidWindows
on 22 November 2016 - 07:34 #954996
absulation's picture

นักถึงเครื่องจักรนิรันดร์

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 22 November 2016 - 09:18 #955009
panurat2000's picture

โดยนักวิจัยคาดการณ์ว่าเกิดจากอาจจะแรงปฏิกิริยาของโฟตอน

เกิดจากอาจจะ ?

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 22 November 2016 - 09:29 #955010 Reply to:955009
Holy's picture

แก้แล้วครับ

ไม่เจอกันนาน คิดถึงนะครับ :)

By: netfirms
iPhoneAndroidWindows
on 22 November 2016 - 10:24 #955023
netfirms's picture

นึกถึง GN Drive ใน GUNDAM

By: wwwangel
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 22 November 2016 - 21:30 #955138 Reply to:955023
wwwangel's picture

เหมือนผมเลย


-- ^_^ --

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 22 November 2016 - 22:43 #955155 Reply to:955023

Gn drive มันจำลองดวงอาทิตย์ในdrive นิครับ เหมือนสร้างดวงอาทิตย์ขนาดเล็กไว้ในเตาโดยปล่อยของเสียออกมาเป็นอนุภาคgn

By: loptar on 22 November 2016 - 11:28 #955033
loptar's picture

จุดเริ่มต้นสู่การเดินทางอันเป็นนิรันดร์

By: PowerBerry
Android
on 22 November 2016 - 14:31 #955061

หม้อตุ๋นเป็ดอันเลื่องลือก็อาจจะเป็นจริงได้แต่ตอนนั้นไม่สามารถตอบคำถามได้ว่ามันทำงานได้อย่างไร

By: zda98
Windows Phone
on 22 November 2016 - 21:39 #955142

แต่ใน สูญญากาศผมว่าแรงแค่นี้ก็มากพอให้ขับเคลื่อนได้แล้วนะครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 22 November 2016 - 22:59 #955157 Reply to:955142
hisoft's picture

แรงแค่ไหนมันก็พอครับ แต่มันช้ารึเปล่านั่นก็อีกเรื่อง

By: Iterator
Android
on 22 November 2016 - 22:00 #955144

ไม่รู้ว่าแรงพอที่จะใช้ สำหรับงาน ปรับเคลื่อนดาวเที่ยม ให้อยู่ในวงโคจรได้หรือเปล่า ถ้าได้น่าจะช่วยให้งานออกแบบ ดาวเทียม มีทางเลือกอีกมาก ปัจจุบัน ดาวเทียมยังต้องขนเชื้อเพลิงสันดาป อายุดาวเทียมมักถูกกำหนดด้วย ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้รักษาวงโคจร

ใช้ solar cell มาสร้าง microwave สร้างแรงขับ

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 22 November 2016 - 22:30 #955149
darkleonic's picture

ความเร็วแค่นี้มันจะไปไหนได้เหรอครับ ทุกเหวี่ยงกันแทบตายเพื่อไม่ให้โดนพระอาทิตย์ดึงกลับ


I need healing.

By: nidlittle
iPhoneWindows
on 23 November 2016 - 10:21 #955201 Reply to:955149

อย่างน้อยก็ประหยัดเชื้อเพลิงตอนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่โดนแรงดึงดูดจากดาวได้ล่ะนะ แล้วถ้าวิจัยต่อก็อาจจะหาวิธีเพิ่มให้มันแรงขึ้นได้ ถือว่าเป็นก้าวแรกละกัน

By: Configuleto
AndroidWindows
on 23 November 2016 - 03:39 #955173
Configuleto's picture

ผมว่าคุณ Scott Manley พูดถึงเรื่องนี้ไว้เข้าใจง่ายดี

By: movement41
Windows PhoneAndroidWindows
on 23 November 2016 - 08:28 #955186

มันละเมิดกฎข้อ3ยังไงหรอครับ การใส่ไฟฟ้าเข้าไฟก็เป็นพลังอย่างหนึ่ง

By: nununu
Windows Phone
on 23 November 2016 - 08:42 #955188 Reply to:955186

กฏนิวตันข้อสามมองที่แรงครับ จรวดปกติเราอัดเชื้อเพลิงไปด้านหลัง แรงระเบิดผลักให้เราไปด้านหน้า
แต่ EMdrive เราใส่พลังงานเข้าไปด้านหลัง แต่ยังไม่รู้ว่าอะไรผลักเราไปข้างหน้า แต่รู้ว่าผลมันทำให้เราไปข้างหน้า

By: osmiumwo1f
ContributorWindows PhoneWindows
on 23 November 2016 - 13:03 #955234 Reply to:955188
osmiumwo1f's picture

ผมว่าเรายังไม่ควรฟันไปว่า EM drive มันแหกกฎนิวตันข้อที่ 3 เพียงเพราะเราไม่รู้ว่าอะไรผลักเราไปข้างหน้าครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 23 November 2016 - 18:46 #955288 Reply to:955234
hisoft's picture

+1 ครับ บางทีมันอาจจะแค่เหนี่ยวนำอะไรบางอย่างแล้วมีแรงสะท้อนกลับมาก็ได้เพียงแต่ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร

By: movement41
Windows PhoneAndroidWindows
on 23 November 2016 - 21:10 #955314 Reply to:955288

ผมก็คิดอย่างนั้นการที่เราไม่รู้ไม่ได้แปลว่าไม่มีอะไรไปกระทำ

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 24 November 2016 - 09:47 #955395 Reply to:955234
Holy's picture

ปรับให้ชัดเจนขึ้นแล้วครับ

By: mosdelta
AndroidWindows
on 23 November 2016 - 10:00 #955199
mosdelta's picture

อาจจะมีพลังงานที่มองไม่เห็นอยู่ ก็ เป็นได้

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 23 November 2016 - 10:24 #955203

เพิ่งเห็นคลิปมอเตอร์เฮอคิวลิสเมื่อวาน ยังงงอยู่เลย วันนี้มาเจอ EmDrive อีก โอย ปวดหัว


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!