กระทรวงพาณิชย์ลงนามจดหมายแสดงเจตจำนง (letter of intent) ระหว่างกระทรวงพาณิชย์โดยรองนายกรัฐมนตรสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กับ Alibaba ที่ Jack Ma มาร่วมงานลงนามด้วยตัวเอง ประกาศความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ช 4 ด้าน
ความร่วมมือเหล่านั้นได้แก่
ความร่วมมือครั้งนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมมืออีกจำนวนมาก ตั้งแต่กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงเศรษฐกิจดิจิตอล, กระทรวงวิทยาศาสตร์, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก, สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, และไปรษณีย์ไทย
ที่มา - BusinessWire
Comments
รองนายกรัฐมนตร => รองนายกรัฐมนตรี
บุคคลากร => บุคลากร
กระทรวงเศรษฐกิจดิจิตอล => กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ประเคนตลาด logistic และ e-Commerce ให้ Alibaba เรียบร้อยแล้วสินะ
นอกจากนี้ที่ไทยขาดดุลให้จีนมาตลอดก็คงขาดเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หล่ะนะ ส่วนประเทศที่ตัวเองได้ดุลอยู่ดันสร้าง propaganda มาให้คนเกลียดเพราะแค่ความเห็นทางการเมืองต่างกัน ไม่รู้ว่าคิดอะไรกันอยู่
#ทักษิณขายชาติ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทักษิณซื้อจักรวาลด้วยเศษเงินจะขายไปทำไมครับเขาต้องซื้อสิ XD
ฮาา
ส่วนผมตลกตรงที่เคยมีคนบอกว่าระบอบประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้นายทุนเข้ามาถือผลประโยชน์ได้อิสระ จากข่าวนี้ก็คงได้คำตอบไปว่าไม่เกี่ยวกับระบอบเลย แถมเผด็จการทำได้ง่ายกว่าด้วยซ้ำ ไม่ต้องลงมติ ไม่ต้องมีฝ่ายค้าน อยากทำอะไรก็ทำ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
มีกี่ประเทศในโลกที่ได้ดุลการค้ากับจีน
การที่ไทยได้ศึกษางานจากอาลีบาบาดีกว่าไปศึกษางานจากอเมซอลมากๆ เรามองจีนเหมือนพี่น้องคนจีนไทยเชื้อสายจีนมีเยอะ
ขนาดที่แนวทางของอเมชอลคือใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการทำงานของคน
ไทยได้ศึกษางานจาก Alibaba นี่คุณควร define คำว่าไทยด้วยนะครับ จะให้ดีน่าจะ define มาเลยว่าใครได้ประโยชน์อะไรจากดีลนี้บ้าง เท่าที่ผมเห็นก็คือแค่ข้อ 3 ที่สร้างประโยชน์ให้แก่'ไปรษณีย์ไทย' แต่สร้างแค่ไหนไม่มีใครรู้ ส่วนข้อ 4 ถ้าทำได้จริงนี่จะพูดว่าเป็นประโยชน์คงพูดได้ไม่เต็มปากเพราะสุดท้ายแล้วก็กลายเป็นแค่ทางผ่านให้ Alibaba เปิดประตูสู่ ASEAN อยู่ดีเพราะ e-Commerce ไทยตายหมดแล้ว
ส่วนไทยกับจีนเป็นพี่น้องกันนี่ผมไม่รู้ว่าคุณถูกปลูกฝังมาหรือพูดวิเคราะห์การกระทำของจีนนะครับ การเข้ามาของจีนในไทย(และประเทศอื่นๆ)ยุคปัจจุบันเป็นการเข้ามาโดยต้องการแสวงหาผลประโยชน์ และสร้างดีลที่ไทยเสียผลประโยชน์มากกว่าทั้งนั้น ทั้งจากการเข้ามาของภาครัฐและภาคเอกชนจีน ประโยคที่คุณบอกว่า
เป็นคำตอบที่ชัดเจนในตัวมันเองนะครับ
แล้วทำไมเราถึงต้องไปศึกษาจาก Amazon ด้วยครับ?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ค่าลงทะเบียนเรียน แพ้ง แพง
ผมไม่สามารถโลกสวยพอในโลกธุรกิจครับ ขนาดบริษัทคนไทย(นาย C นามสมมุติ)ยังทำกับคนไทยด้วยกันเองได้ แล้วคุณจะมาหาพี่น้องกับคนที่คุณยังไม่รู้จักชื่อจริง ๆ หรอ ผมเห็นรัฐบาลไปหมอบกราบซะขนาดนั้น ผมยังไม่เคยเห็นอลิบาบาจะทำ CSR ในไทยด้วยซ้ำครับ ตัวเจ็กม่านอกจากเป็นคนรวยล้นฟ้ากับทำธุรกิจประสบความสำเร็จ และจับมือกับท่านผู้นำผมก็ยังไม่เห็นข่าวที่จะสร้างอะไรดีๆให้ไทยเราเลยครับ แต่เราแทบจะไปประเคนตลาดเราหวังว่าสินค้าเราจะได้ประดับร้านเขา ผู้ว่าผู้บริหารประเทศเราสิ้นหวังไปหรือเปล่า???
ปล.ผมมีเชื้อจีนกวางตุ้งนะ แต่ผมเห็นแค่คนในตระกูลผมยำกันเอง ผมก็ไม่หวังว่าคนที่คุณบอกว่าเป็นพี่น้องจะมาช้วยคนไทยได้หรอกครับ...
แล้วจีนมองเราพี่น้องหรอครับ ? แล้วทำไมต้อง Amazon ?
ยุคนี้มันเป็นเรื่องของ Global market แล้วครับ
คำถามคือไทยได้ประโยชน์อะไรจากอาลีบาบา
มองง่ายๆก็เหมือนไทยคือตลาด Local เหมือนจังหวัดหนึ่งๆในประเทศ
อาลีบาบาก็เหมือนเป็น 7-11 ที่มี Place ทั่วประเทศ เพียงแต่ว่าต่างกันตรงที่หน้าร้านจริงกับหน้าร้านออนไลน์
การที่เราได้ข้อเสนอจาก 7-11 เพื่อนำสินค้าเราไปขายที่ตลาดที่ใหญ่ขึ้นมันเสียหายตรงไหน?
เรื่องสินค้าจากจีนที่จะมาแข่งกับไทย มันก็ไม่ใช่ความผิดของการมุ่งสู่ตลาด Global เลยสักนิด
แต่ถ้าสินค้าไทยจะแข่งจีนไม่ได้ สินค้าจีนจะขายดีกว่า นั่นมันเป็นเพราะสินค้าของเรามันห่วยกว่า
เราต้องแก้ไข พัฒนาสินค้า พัฒนาการตลาด พัฒนากลยุทธ์
ไม่ใช่เรียกร้องให้ 7-11 หนีไปจากเรา
โอกาสมาแต่ทำไม่ได้เอง เค้าเรียกว่าห่วย
มันเสียหายตรงที่ตลาดนั้นมาเปิดในไทย และถ้าเราไม่สามารถสร้างสินค้าที่มีคุณภาพสู้ หรือเราไม่สามารถสู้ด้านราคากับสินค้าอื่นๆได้(ซึ่งไม่ได้อยู่แล้ว) เราจะตายภายในประเทศของเราเองครับ (นอกบ้านสู้ไม่ได้อยู่แล้ว ดันให้เค้ามาเปิศึกในบ้านอีก)
กลายเป็นว่า 7-11 นั้นจะมีแต่สินค้าจากจีน และสินค้าจากไทยจะมีเหลือนิดเดียว เพราะศักยภาพในการแข่งขันไม่เท่าเทียมกันครับ สุดท้ายสินค้าใน 7-11 อาจจะเหลือแต่ของ CP เจ้าเดียว
ปกติการป้องกันเรื่องแบบนี้คือการตั้งกำแพงภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าบางอย่างไม่ให้เข้ามาแข่งกับสินค้าในประเทศ แต่จากการที่เรามีสัมพันธ์อันดีกับจีนมากเกินไป ทำให้เราทำแบบนั้นได้ลำบากครับ แถมจะโดนเอาคืนซะด้วย
อันนี้ผมเห็นด้วยนะครับ ควรแก้นานแล้วด้วย แต่มันเป็นเชิงทฤษฎีครับ เชิงปฏิบัติยังไม่รู้เลยว่าใครจะแก้ให้ แก้ตอนไหน หรือแม้แต่แก้แล้วจะสู้เค้าได้หรือเปล่าครับ ศักยภาพมันต่างกันเกินไป
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ยังไงผมมองว่ามันก็คือโอกาสแหละครับ ไม่ใช่ปัญหา
ส่วนถ้าถามว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้เป็นหน้าที่ใคร ก็หน้าที่ของเจ้าของธุรกิจครับ
เจ้าของต้องพัฒนาเอง ไม่รอคนยื่นปลาให้ ออกหากินเอง
ส่วนการแข่งขันในด้านต้นทุนหรือค่าแรง ถ้าเราสู้ไมไ่ด้ ก็ต้องปรับ ปรับได้หลายทางไม่ว่าจะปรับ Position ของสินค้าขึ้นให้ตรงกับกลุ่มที่ต้องการ หรือการใช้เครื่องจักร หรือการลดแรงงานคนโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย
ถ้ามีปัญหาเรื่องต้นทุนก็หาทางควบรวมหรือหาคนลงทุนเพิ่ม
ปัญหาจะมีจริงๆแค่ SME ที่เล็กมากๆ แต่ผมมองว่าพวกนี้ก็ไม่กระทบ เพราะพวกนี้กลุ่มลูกค้าคือพวกที่ไม่สั่งของออนไลน์ทางเน็ตอยู่แล้ว
ผมยังมองไม่ออกว่าเรื่องนี้เป็นโอกาสมากกว่าปัญหาอย่างไรนะครับ
ถ้าเรื่องโอกาสที่ไทยจะไปขายยัง Global Market ผ่าน Alibaba เนี่ย ไทยเองมีโอกาสนั้นตั้งนานแล้วนะครับ
เรื่องนี่มันเป็นเรื่อง Alibaba ต้องการแข่งขันใน Local Market ของไทย(และขยายสู่ ASEAN) เป็นหลักำ ผมไม่เข้าใจว่าธุรกิจที่รายได้ดี กำไรดีอยู่แล้ว ทำไมต้องลงงบพัฒนา(ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล)เพื่อไปแข่งกับคู่แข่งที่ไม่จำเป็นต้องแข่งด้วยซ้ำในตลาดบ้านตัวเองครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอออกความเห็นบ้าง ในฐานะเจ้าของกิจการข้ามชาติที่ประกอบการมา 17 ปีแล้ว
ผมไม่เข้าใจความเห็นของคุณเหมือนกัน อ่านดูผมเห็นแต่ "นามธรรม" ที่เป็น "นโยบาย" (Concept) ทั้งนั้น แต่ไม่มีแนวทาง "รูปธรรม" ที่พอจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นถึง "วิธีทำ" ได้เลย
ที่ว่า "ถ้าเราสู้ไม่ได้ ก็ต้องปรับ..." และประโยคที่ตามมาได้แก่...
ผมอ่านออกเป็น 2 นโยบายเท่านั้น คือปรับ Position และลดการใช้แรงงาน ทีนี้มาดูกันเป็นข้อๆ นะครับ
"ปรับ Position" ปรับไปไหนครับ? กลุ่มที่ต้องการคืออะไร? ใคร? การปรับนั้นใช้อะไรบ้าง? (เมล็ดเงินลงทุน เวลา) ความเสี่ยงในการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ?
"ลดการใช้แรงงาน" เครื่องจักรได้ฟรีหรือเปล่าครับ? ให้คนงานออกไปไหน? ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเลิกจ้าง?
อ่านดูมันเป็นวิธีแก้ปัญหาเก่าหนึ่งปัญหาด้วยการสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีกหลายปัญหาทั้ง 2 นโยบายโดยที่มองเห็นได้ไม่ชัดว่าจะมีประโยชน์อะไรกับการแข่งขันในขอบเขตตลาดบน Alibaba
แนวทางแก้ไขปัญหาความเสี่ยงในกรณี "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" ล่ะครับ?
ทีนี้มาดูที่คุณกล่าวว่า... "ถ้ามีปัญหาเรื่องต้นทุนก็หาทางควบรวมหรือหาคนลงทุนเพิ่ม"
"ควบรวม" กับใคร? ใครจะควบรวมกับใครได้ง่ายๆ กันสักกี่คู่ครับ ธุรกิจหนึ่งแสนราย จะควบรวมอะไรได้ง่ายๆ กันกี่ % ครับ ใครจะบอกได้ว่าการควบรวมที่ว่านั้น ไม่ใช่การ "กอดคอกันตาย" ครับ
"หาคนลงทุนเพิ่ม" ไม่ใช่หาแค่คนลงทุนนะครับ หลายกรณีที่ "เงิน" น่ะมี แต่หา "คนนั่งบนยอด" ไม่ได้ก็มากมาย (ผมเองก็เจอปัญหานี้ หา CEO/CFO ไม่ได้ ธุรกิจใหม่ก็ไม่ได้เกิดซะที) ถ้ามีแต่นโยบายหลวมๆ ใครจะกล้านั่งบริหารครับ ใครจะรับผิดชอบความไม่สำเร็จในอนาคตได้ไหว? ใครจะกล้า? คนลงทุนเองเขาก็ไม่ลงทุนในธุรกิจที่เห็นได้ไม่ชัดถึง Margin โตๆ ที่มี Potential สูงๆ แน่นอน ดังนั้น "การหาคนลงทุนเพิ่ม" ในสภาวะที่เห็นกันอยู่ว่าเพราะธุรกิจนั้น "กำลังหนีตาย" นั้นย่อมไม่ใช่ง่าย
ทั้งกรณี "เครื่องจักร" และ "หาคนลงทุน" นั้น ผมบอกได้เลยว่า 2 นโยบายนี้ นำไปใช้คิดกับการสร้างธุรกิจเกิดใหม่ได้ง่ายกว่านำไปคิดกับธุรกิจที่ดำเนินมาอยู่แล้วและกำลัง "หนีตาย" ครับ
สำหรับเรื่อง "คนลงทุน" นั้น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกองทุนหรือ VC (Venture capital) จะช่วยผมอธิบายมุมมองของนักลงทุนได้ดีกว่าที่ผมกล่าวมาครับ
ผมไม่มีความเห็นใดๆ กับประโยคสุดท้ายเกี่ยวกับ SME ครับ
แต่ทั้งหมด ผม "คิดว่า" ผมพอจะเข้าใจมุมมองของคุณจากที่คุณกล่าวในตอนต้นว่า "ยังไงผมมองว่ามันก็คือโอกาสแหละครับ ไม่ใช่ปัญหา" เมื่อมาสังเกตรวมกับประโยคสุดท้ายที่กล่าวถึง "SME ที่เล็กมากๆ" ซึ่งคุณกล่าวว่า "เพราะพวกนี้กลุ่มลูกค้าคือพวกที่ไม่สั่งของออนไลน์ทางเน็ตอยู่แล้ว" จาก 2 ข้อความนี้ ผมตีความได้ว่า คุณน่าจะมองในมุมมองระดับแม่ค้าขายกล้วยทอด จึงมองเห็นว่า "เป็นโอกาส" ที่พวกเขาจะได้ขายของ Online ได้บ้างโดยอาศัย Alibaba platform (ว่างั้น?)
จากมุมมองดังกล่าว งั้นก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ไม่ผิด ที่จะ Upgrade position ของกล้วยทอด ให้มันมี Package สวยหรูขึ้น พร้อมพอที่จะขาย Online โดยที่การสั่งทำ Package กล้วยทอดนั้นใช้เม็ดเงินลงทุนแค่หลักหมื่นเท่านั้น ซึ่งในระดับหลักหมื่นสำหรับคุณ ไม่ถือว่าเป็นการ "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" (แต่สำหรับแม่ค้าขายกล้วยทอดล่ะ?) และถ้าแม่ค้าไม่สามารถละลาย Cash flow ระดับหมื่นมาลงทุนกับเรื่อง Packaging ก็หาผู้ลงทุนร่วม ซึ่งก็เพราะระดับหมื่นนั้นไม่ใช่เงินเยอะสำหรับคุณอีกเช่นกัน (แต่สำหรับแม่ค้า?) ซึ่งทำให้ผมพอสรุปได้ว่า นโยบายของคุณ คิดจากมุมมองของธุรกิจขนาดเล็กมากๆ ที่ไม่มีโอกาสในการขาย Online อยู่แล้ว แต่ดันคิดด้วยกำลังเงินในกระเป๋าของคุณแทนที่จะคิดด้วยกำลังเงินในกระเป๋าของธุรกิจขนาด Tiny นั้นๆ
ส่วนคำพูดอื่น มันอ่านเหมือนพยายามจะพูดให้อ่านดูเป็นแนวคิดที่จะใช้กับธุรกิจใหญ่โตกว่ากล้วยทอด แต่มันก็ไม่ใช่...
ผมไม่ออกความเห็นอะไรไปทั่ว ถ้าผมไม่สนใจในเรื่องนั้นจริงๆ (และ/หรือเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นจริงๆ)
แต่นี่ ผมอยากอ่านความคิดเห็นดีๆ นะครับ แต่มันต้อง ....อืมมม์.... (ผมไม่อยากใช้คำต่อไปนี้เลย เพราะเดี๋ยวจะโดนคุณ lew และคุณ mk ตำหนิเอา แต่ไม่รู้จะหาคำไหนมาใช้แทน) มันต้องไม่เพ้อเจ้อ ไม่เป็นรูปธรรมได้เลยแบบนี้ ถ้าคุณมีภาพอันเป็นรูปธรรมในหัวที่ชัดเจนกว่านี้ คงต้องรบกวนคุณพิมพ์อธิบายความเห็นของคุณเพิ่มเติมเสียแล้วล่ะครับ จะเป้นประโยชน์ต่อคนอื่นไปด้วยครับ
แค่เรื่องภาษี ผมว่ารัฐก็ปวดหัว แล้วครับ
ทำไมไม่สนับสนับสนุนให้ใช้ lnwshop ล่ะครับ
ส่งเสริมคนไทยด้วยกันก่อน เผื่อจะไประดับโลกกัยเขาบ้าง
อยู่ดีๆไปขึ้นกับ Alibaba เฉยเลย เรามันหมดหนทางขนาดนั้นเลยหรอ เฮ้อ
ประเคนให้จีนซะงั้น แทนที่จะดันของไทยไปสู้
แล้วพวกเว็บ thaitrade อะไรพวกนั้นหล่ะ ไม่โฆษณาส่งเสริมแล้วรึ
ว่าแต่ตอนนี้บ้านเรามีเว็บ online shopping อันไหนที่เป็นทางการบ้างครับ แบบว่าของคนไทยอ่ะนะ
Tarad.com
lnwshop ครับ
แต่ผมว่าตลาด C-2-C ยังไงก็แพ้ fb,ig ตามเคย (แล้วก็มีพวกโดนโกงอยู่เรื่อยๆเหมือนเดิม)
เรียบร้อยโรงเรียนจีน ของแท้ ไม่ใช่แค่คำพูดเปรียบเปรย ...