iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ผ่านวาระ 2 ไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่วาระ 3 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคมนี้ นอกจากนี้ iLaw ยังเชิญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างให้เขียนจดหมายถึง สนช. ทุกช่องทาง ทั้ง Facebook Twitter และอีเมลของสมาชิก สนช.
iLaw สรุปข้อคิดเห็นสำคัญต่อร่างนี้ไว้ 2 หัวข้อใหญ่ คือ
และใน (2) มีเพิ่มความผิดที่กระทบต่อการบริการสาธารณะ ความปลอดภัยสาธารณะ ยังมีความกำกวมสูงเช่นกัน ส่งผลให้ประชาชนไม่กล้าโพสต์หรือนำเข้าข้อมูลใดๆ เข้าสู่ระบบเลย
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ กรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ของ สนช. เผยว่า วันที่ 15 ธันวาคมนี้เป็นการประชุมวาระ 3 เป็นวาระสุดท้าย พร้อมยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ทำให้คนดีต้องเดือดร้อน จะครอบคลุมเฉพาะคนที่ทำผิดกฎหมายเท่านั้น
iLaw เคยจัดงาน "เกาะขอบสนามสนช. วิเคราะห์ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ" Blognone ได้เข้าร่วมและเขียนสรุปประเด็นสำคัญที่นาเป็นห่วงไว้แล้ว สามารถตามไปย้อนอ่านกันได้
ที่มา - iLaw และ Post Today
Comments
ILaw => iLaw
การปลอดภัย => ความปลอดภัย
ยืนยันว่า นยันว่า ?
ที่นา => ที่น่า
ประเทศนี้สิ้นหวังแล้ว
That is the way things are.
ถ้าเลือกเกิดได้น่ะ ผมจะ...
ประเทศยูกันดาออกกฎหมายที่ไม่เคยใช้กับตัวเองจะออกอะไรก็ได้ แย่จริงๆ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ผมว่าปล่อยผ่านไปก็ดีนะครับ เพราะถ้าเกิดผลกระทบที่เป็นผลเสียกันจริงๆ ตอนนั้นก็ค่อยออก action บางอย่างเพื่อเรียกร้องกันก็ได้ เพื่อจะได้เป็นข่าวไปเลย ออกแนวให้เห็นผลเสียกับตัวก่อน จะได้รู้สึก เพราะทุกวันนี้ ยังมีคนสนับสนุน (คณะทำงานชุดนี้) กับคนที่ไม่สนใจอะไรเลย อีกเยอะมาก
ถ้าปล่อยผ่านมันก็คล้ายๆ กับ "รับๆ ไปเถอะเดี๋ยวค่อยแก้"
แล้วพอแก้จริงก็แบบที่เห็นเนี่ยหล่ะครับ
ที่ผ่านมาก็โดนคดีกันไปหลายคนนะครับ ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว
lewcpe.com, @wasonliw
ก็ฟอร์มเดิมๆคือปลุกระดมมวลชน พยายามสร้างข้อกังขา ความหวาดกลัวล่วงหน้า.
เล่นกับความกลัวของคนง่ายสุดแล้ว . ตัวอย่างคดีธรรมกายนี่ใช่เลย
ทั้งเส้นทางกระจายเงิน เส้นทางสื่อสาร ปิดตายหมด ตรวจสอบอะไรไม่ได้ กลายเป็นหลุมดำ.
พลเมืองเน็ตนี่คืออะไร ผมไม่เข้าใจเลย คนเข้าไปอยู่ในเน็ตได้ตั้งแต่เมื่อใหร่ ??? เท้ายืนบนแผ่นดินกันทั้งนั้น
หรือเป็นแค่วาทกรรมชักจูงกลุ่มเป้าหมายคือคนที่ใช้งานอินเตอร์เนต ?? แนวเดียวกับการตลาดเฉพาะกลุ่ม
รถสำหรับคุณผู้หญิง . โฟมสำหรับผู้ชาย . เครื่องดื่มสำหรับคนวัยมัน . ทั้งที่จริงๆใส้ในก็อย่างนั้น
ถ้าปล่อยไว้ผมจะมั่นใจได้ยังไง ว่ากลุ่มพลเมืองเน็ตอะไรนี่ หัวโจกไม่มีอะไรอยู่เบื้องหลัง
เพราะเป็นใครก็ไม่ทราบ ตรวจสอบอะไรก็ไม่ได้ มีพฤติกรรมอย่างไรบ้างก็ไม่ทราบ มาชักจูงคนมีเป้าหมายอะไร
คนเข้าไปอยู่ในเน็ต... ครับ
การใช้สิทธิ์ตั้งข้อสงสัยแล้วโพสต์ออกมาเนี่ยหละครับที่เขากำลังจะริดรอนมันไปจากคุณ เพราะถ้าวันไหนเขารู้สึกว่า ข้อสงสัยของคุณมันขัดต่อความสงบภายในประเทศ บลาๆ คุณก็จะมีความผิดทันทีครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ถ้าการกระทำใดๆของผมขัดต่อความสงบของประเทศ จริง ผมขอติดคุกดีกว่า :V จบง่ายไม่วุ่นวาย
บางคนกลายเป็นซอมบี้ไปแล้ว ถ้ารู้ตัวทีมก็จะรอด
มันเป็นกลยุทธ์พื้นฐาณของหน่วยรบพิเศษที่ทั่วโลกเรียนกัน
คือการแทรกซึม - เปลี่ยนคนพื้นเมืองให้เป็นพวก แล้วทำตามเจตจำนงที่วางไว้ USSOCOM ทำได้หมด
ยกตัวอย่างกระเหรี่ยงคริสต์ในเมียนมานั่นก็ใช่ มีชาติอื่นหนุนหลัง
อเมริกาเป็นชาติที่มีทหารคุมทั้งโลกอยู่ ในภูมิภาคนี้ก็มี USSPACOM .
ถึงต้องยกภูเก็ตให้เป็นเมืองฝรั่งไป ปัจจุบันพวกรบพิเศษของทุกประเทศก็มีความสามารถนี้
ดังนั้นเวลาที่เห็นมีใครกระทำการที่นำไปสู่ความขัดแย้ง .
คิดไว้ให้มั่น ว่ามีสิทธ์เป็นฝีมือของหน่วยต่างชาติสูง มันเป็นเรื่องปรกติ. ชาติอื่นก็พูดภาษาไทยได้ .
ตัวอย่างที่ดังๆ kopassus ของอินโด ดังเรื่องทำให้ศัตรูของศัตรูกลายเป็นมิตร .
บังเอิญ - วัยรุ่นที่จับได้จากภาคใต้ เคยมีคนนึงเคยฝึกทหารจากอินโด
ผมไม่คิดสนเรื่องริดรอน เพราะทุกวันนี้คนเราก็เบียดเบียนคนอื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
แต่จะรู้ตัวหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ดูแค่ระบบประเทศดีขึ้นก็พอแล้ว
การตั้งข้อสงสัยพร้อมกับใส่ความก็ทำได้นะครับ .
ผมพูดว่า "นาย X เป็นขโมย " . กับผมพูดว่า "นาย X เป็นขโมยหรือไม่ "
ทั้งสองบทความนำไปสู่ผลเดียวกัน
คือทำให้ ชาวบ้าน สงสัยว่านาย X เป็นขโมย
แม้ข้อความที่สองอ้างได้อย่างบริสุทธ์ว่าเป็นการตั้งข้อสงสัยตามหลักสำนวนก็ตาม
นี่คือเสรีภาพของความชั่ว
เลิกโยงนู่นโยงนี่ให้วุ่นวาย แต่ข้อสรุปแสนบอบบางเถอะครับ
เผด็จการที่ยัดข้อหาให้ฝั่งตรงข้ามได้ง่ายๆนี่ไม่เรียกว่าชั่วเลย?
ชาวบ้านสงสัยนาย x ว่าเป็นขโมยก็ฟ้องศาลว่าผิดจริงหรือเปล่า ผิดไม่จริงนาย x ก็ฟ้องหมิ่นประมาท จบ กฎหมายหมิ่นประมาทก็มีอยู่แล้ว ไม่ต้องทำให้ซ้ำซ้อน
คนมีอำนาจเผด็จการอยากกำจัดฝ่ายตรงข้าม ใช้ 3 อำนาจที่ตัวเองมี ออกกฎหมาย ออกคำสั่ง จับ เข้าศาลของตัวเอง เรียกว่าความดี?
ผมว่าคุณศึกษาการปกครองแบบทหารให้น้อยลง เลิกคลั่งไคล้การทหาร แล้วหันมาศึกษารัฐศาสตร์เพิ่มขึ้นดีกว่าไม๊ครับ? การปกครองแบบทหารแทบจะไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เป็นสิ่งที่จำเป็นในการบริหารประเทศเลย?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
นี่มันเป็นยุคที่ทุนนิยมแทรกซึมไปทุกภาคส่วน แล้ว
คุณแค่ไม่มีปัญญามองความสัมพันธ์ของระบบ แค่พยายามมองเป็นนิยายคนละเล่ม .
ตีกรอบความสมบูรณ์ของตัวเองไว้ในบริบทสมมุติ .
ขนาดองกรณ์สงฆ์ที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภาเหมือนกัน (คล้ายลักษณะของรัฐคู่ขนาน)
พอถูกทุนแรกซึมก็กลายเป็นแบบ ธรรมกาย ปรากฎเห็นชัดเจนอยู่ ณ ตอนนี้ .
ทหารก็เหมือน low level programming . เป็นรากฐาณของ API อื่น . วินโดวส์เจ๊ง ก็ยังเปิด dos ได้ .
ผมว่าคุณต่างหากที่เข้าใจผิด หน่วยความมั่นคง คือพื้นฐาณของอธิปไตยของทุกชาติ . สิ่งอื่นกำเนิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้น .
ถ้าบังคับใช้ควบคุมความมั่นคงไม่ได้ ก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้ นโยบายไม่มีวันสัมฤทธ์ผล .
สิงคโปร์ก็เป็นรัฐตำรวจ ถึงกับจ้าง กรุข่า(หน่วยรบที่ดีที่สุดในโลก ) แต่จ้างมาเป็น "ตำรวจ" เท่านั้น .
หรือคุณจะบอกว่าสิงคโปร์บริหารประเทศไม่เป็น ?
edit: ไว้พรุ่งนี้หลังสามทุ่มนะครับ
edit2: ว่าจะมาตอบเรื่องความมั่นคงที่มีทั้งความมั่นคงของอธิปไตยภายใน อธิปไตยภายนอก เศรษฐกิจ แต่เห็นคุณคอมเม้นต์กับคนอื่นด้านล่างแบบนั้นผมคงไม่ตอบอะไรแล้วหล่ะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถึงขั้นชี้หน้าว่าคนอื่นไม่มีปัญญากันเลยทีเดียว ถ้าจะกล้าดูถูกคนอื่นซึ่งหน้าแบบนี้รบกวนช่วยเขียน resume บรรยายสรรพคุณความเก่งกาจของคุณประกอบด้วยก็ดีนะครับ เรียนจบที่ไหนมา เรียนจบสายไหนมา อายุเท่าไร ประสบการณ์ชีวิตมีมากน้อยแค่ไหน เผื่อคนอื่นได้มาอ่านจะได้ตกตะลึงในความล้ำลึกดุจมหาสมุทรของคุณขึ้นมาบ้าง
กลัวทุนนิยม ห่วงความมั่นคงจนละเลยเสรีภาพ แถมยกตัวอย่างเรื่องธรรมกายมาอีก มันเป็นการยกตัวอย่างที่ไม่ค่อยเข้าท่าอย่างแรง ทำไมประเทศอื่นที่มีกฎหมายรัดกุมชัดเจนสามารถจับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ แต่คุณกลับกลัวว่าประเทศเราจะทำไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเขียนกฎหมายคลุมเครือครอบคลุมไปทุกเรื่องเอาไว้ก่อน แล้วให้ตำรวจอัยการศาลไปตีความบังคับใช้กันตามใจกันเอาเอง ส่วนประชาชนก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะแสดงความคิดเห็นอะไรได้บ้าง
นี่หรือคือมาตรฐานที่ควรจะเป็นสำหรับประชาชน ?
กลัวตรวจสอบเส้นทางการเงินของธรรมกายไม่ได้ แต่ไม่สนใจที่คนบางคนถูกจับเพียงเพราะ share ข่าวและข้อความบางส่วนจากข่าวบน Facebook ของตัวเอง ?? แถมถูกจับแค่เพียงบางคนทั้ง ๆ ที่ share กันไปเป็นพันคน แบบนี้คือความถูกต้องของกฎหมายหรือเป็นแความถูกใจของใครบางคน
นี่ยังไม่อยากพูดเรื่ององค์กรสงฆ์ที่คุณว่ามาอีกนะ น่าจะลองสืบย้อนกลับไปดูบ้างว่าองค์กรสงฆ์ใครเป็นคนแต่งตั้งบรรดาศักดิ์มาตั้งแต่สมัยก่อนดูน่าจะดีกว่า ผมไม่เห็นว่าการแต่งตั้งแบบ top down ให้กับบางกลุ่ม จากนั้นให้ในกลุ่มไปเลือกหัวหน้ามาอีกที จะเหมือนระบบรัฐสภาตรงไหนเลยด้วยซ้ำ
อ่านแล้วเพลียมากเลย พูดตามตรง ปลงแบบหมดแรง
ปล. เดี๋ยวจะหาว่าผมเป็นพวกธรรมกายออกมาแก้ต่างให้อีก เลยต้องขอบอกไว้ก่อนว่าผมไม่นับถือธรรมกายเลยแม้แต่น้อย จริง ๆ ผมไม่ได้นับถือพระสงฆ์ไทยส่วนใหญ่เลยด้วยซ้ำ อาจจะมีนับถือแค่บางรูปที่จริยวัตรดีงามจริง ๆ แต่หลัก ๆ ผมนับถือแค่พระพุทธกับพระธรรมเท่านั้น
That is the way things are.
" กฎหมายรัดกุม จับอาชญากรได้ " นั่นไงละครับ
ไทยจึงต้องมีกฎหมายที่รัดกุมไม่ให้อาชญากรมี ช่องทางละเว้น
ช่องทางที่รัดกุม . ก็แปลว่าต้องครอบคลุมกว้างที่สุด
เหมืองข้องปลา จะคัดปลาดีปลาร้าย ก็ต้องเริ่มจากเห็นปลาในบ่อเสียก่อน
ถ้าปิดตาก็คงจับปลาไม่ได้ ถ้ามัวแต่จับปลาขอบบ่อก็คงไม่เจอปลาร้าย
อาชญากร ก็เป็นประชาชน มีบัตรประชาชน เหมือนคุณ และผม
"ช่องทางที่รัดกุมก็แปลว่าต้องครอบคลุมกว้างที่สุด"
คนที่คิดแบบนี้มีสองพวกครับ
จากสำนวนที่คุณเขียนมา ผมเดาว่าคุณอาจจะเป็นทั้งสองแบบครับ คือยังไม่มีทั้งประสบการ์ณทำงานและบ้าพลังด้วยอีกตะหาก
ส่วนจากประสบการ์ณของผม แม้จะไม่ได้ทำงานด้านกฏหมายแต่ก็ทำเกี่ยวข้องกับการออกนโยบายที่มีผลบังคับใช้ต่อองค์กร ผมพบว่าการเขียนให้กว้างและคลุมเครือนำมาซึ่งปัญหามากมายไม่รู้จบ เพราะทุกคนต่างมีเหตุผลของตัวเองแม้แต่โจรปล้นเงินก็ยังมีเหตุผลของเขานะครับ
สุดท้ายและสำคัญที่สุด คือ การเขียนกว้างๆจะทำให้คนตัดสินความดูเป็นคนขาดความชอบธรรม เพราะไม่ว่าตัดสินอย่างไรก็ไม่มีทางถูกใจทุกคนได้ ก็มันไม่มีบันทัดฐานมาแต่แรกแล้วนี่นา แล้วการใช้เส้นสาย คอนเนคชั่นก็จะตามมาเป็นปัญหางูกินหางวนไปเข้าสู่วงจรอุบาทว์เดิมๆที่คุณกลัวแบบพระธรรมกายนั่นล่ะครับ
แค่พื้นฐาณคุณก็เข้าใจผิดแล้ว ยิ่งคิดยิ่งเข้ารกเข้าพงนะผมว่า
กฎหมายมันไม่ได้เหมือนโยบายบริษัท นโยบายไม่ใช่กฎ
ย้ำอีกที นโยบาย ไม่ใช่กฎ .
กฎหมาย . ไม่ใช่ . คำตัดสิน
กฎหมาย . ที่เขียน . เพื่อให้ตำรวจ . นำคดีเข้าสู่กระบวนการ . ยุติธรรม .
แปลว่า . รับฟ้อง . รับแจ้ง .
ด่วน . ตัดสิน . เทียน . เอาเอง . เพื่อ ?
คุณเคยอยู่ในคณะกรรมการออกนโยบาย หรือ กฏ หรืออะไรบ้างหรือเปล่าครับ? ถ้าไม่ ผมว่าผมไม่ขอเสียเวลามาคุยกับคุณแล้วดีกว่าครับ ท่าทางแปลกๆ ครับ บ่องตงๆ
"หน่วยความมั่นคง คือพื้นฐาณของอธิปไตยของทุกชาติ . สิ่งอื่นกำเนิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้น"
ญี่ปุ่น สิงคโปร์ คงถึงกาลปวสานพรุ่งนี้แน่ๆ 555 อะลกอริทึ่ม แปลกๆ
งั้นสรุปว่าคุณไม่ได้สนเรื่องริดรอนสิทธิเพราะว่าคุณเห็นเป็นเรื่องธรรมดาที่ยอมรับได้ แต่มันก็แปลกเพราะไม่ว่าคุณกำลังคิด หรือเลือกแบบไหน คุณก็กำลังใช้เสรีภาพที่คุณบอกไม่สนใจมันอยู่ดีครับ
ประเด็นอื่นผมไม่แตกต่อนะครับ เพราะคุณแสดงออกได้ชัดเจนอยู่แล้วว่ามีชุดความคิดแบบไหน
แต่มันน่าเศร้าใจครับว่า เดินไม่เคยสุดสายโซ่ ก็ยัง ไม่รู้ว่าตัวเองถูกล่าม
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ถ้าคุณจะใช้วาทกรรมเรื่องสิทธิเล่นเน็ต
ผมก็ขอให้ย้อนกลับไปดูเมื่อ 10 ปีก่อน ทุกคนมีสิทธิเล่นเน็ต เหมือนทุกวันนี้หรือไม่มี
คุณจะเห็นได้ว่าเสรีภาพ(เล่นเน็ต) ที่ขยายตัวอย่างไร้ขีดจำกัด มันขยายตัวไปเรื่อยๆ
จนเกินเส้นกลายเป็นอนาธิปไตยหรือ "หลุมดำ" ที่ควบคุมไม่ได้ . ทุกวันนี้มิจฉาชีพใน facebook เกลื่อนไปหมด .
ขายครีมเถื่อน ขายสินค้าไม่เสียภาษี นำเข้าของผิดกฎหมาย .
และเสรีภาพ (เล่นเน็ต) ที่ขยายตัวไม่จำกัดนี้ มันมาเมื่อ 8-10 กว่าปีเท่านั้นเอง
ในขณะที่เสรีภาพพื้นฐาณประการอื่น (ที่มีมามากกว่า 10-20 ปี)
และไม่มีการขยายตัว ยังใช้กฎหมายพื้นฐาณควบคุมได้
เพราะ "เทคโนโลยี ขยายตัว จนเกินขอบเขต" . " กฎหมายจึงพัฒนาตาม "
เพื่อให้เกิด "สมดุลของสิทธิและเสรีภาพ"
ในอนาคต ถ้าหาก "เสรีภาพในการทิ้งขยะ" ของประชาชนเพิ่มเป็น 120 ล้านคน
ก็จะมีกฎหมายออกมาริดรอนสิทธิ "ในการทิ้งขยะอย่างไรก็ได้"
จนคนต้องออกมาประท้วงอีกเช่นกัน และก็จะมีคนใช้วาทกรรม ”ล่ามโซ่" อีกเช่นเคย
เรียกร้องอยากเป็น "ประเทศพัฒนา" แต่กลับไม่พร้อมจะพัฒนา "วัตร"
เอาเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นไปเทียบกับเรื่องการทิ้งขยะ ... สุดยอด analogy แห่งปี ไม่ลึกล้ำจริงเปรียบเทียบแบบนี้ไม่ได้แน่นอน
ดูจากการที่ยกตัวอย่างเรื่องทิ้งขยะนี่น่าจะอายุไม่ถึง 35 ปี แต่ก่อนประเทศไทยทิ้งขยะกันตามใจฉันกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากนัก ถนนหนทางบาทวิถีนี่เต็มไปด้วยขยะ ขับมอเตอร์ไซค์วิ่งเห็นถุงก๊อบแก๊บปลิวกันเป็นเรื่องปกติ จนรัฐต้องออกมาตรการต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาแก้ไข ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็กินเวลาไปหลายปีเหมือนกัน
ไม่รู้ว่าไปเอาคำนี้มาจากไหน "เสรีภาพในการทิ้งขยะ" ทุกวันนี้ตัวบทกฎหมายมีบทลงโทษเขียนกำกับเอาไว้หลายมาตราหลายพระราชบัญญัติ ใช้กำกับหน้าที่ทั้งส่วนหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป กำหนดไว้เป็นจุดสัดส่วนทางน้ำทางบก แยกประเภทเป็นขยะอันตรายหรือขยะทั่วไป
แน่นอนว่ากฎหมายย่อมต้องสามารถถูกพัฒนาไปได้อีกในอนาคต อาจจะเพิ่มความละเอียดในการแยกประเภทมากยิ่งขึ้นเพื่อการ recycle ควบคุมของเสียจากบ้านเรือนประชาชนมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ต้องว่ากันไปตามความเหมาะสม และแน่นอนว่าย่อมต้องมีความชัดเจน
สมดุลของสิทธิและเสรีภาพย่อมต้องมี แต่สิ่งที่จะสร้างสมดุลนั้นได้มีเพียงแค่สิ่งเดียวคือคนในสังคมเท่านั้น ไม่ใช่ให้คนบางคนมีสิทธิ์ขาดเหนือคนอื่น มาออกคำสั่งที่คลุมเครือ แล้วบอกว่าทุกคนต้องปฏิบัติตามทั้ง ๆ ที่คนอีกจำนวนมากในสังคมไม่ยอมรับ
แบบนี้เขาเรียกการบังคับด้วยกำลัง ไม่ใช่ความเห็นชอบที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม
ปล. อย่าให้รู้นะครับว่าทุกวันนี้แอบใช้ VPN เข้า web xxx ทั้ง ๆ ที่รัฐห้ามไม่ให้คุณเข้า ถ้าทำก็ไม่ต้องมาพูดอะไรให้มากความอีก แล้วก็อย่าลืมเรื่อง resume ด้วยนะครับ กล้าดูถูกคนอื่นเสียขนาดนั้น หวังว่าเรื่องแค่นี้ก็น่าจะกล้าเปิดเผยนะ
That is the way things are.
สิ่งที่คนกังวลกันอยู่ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องเสรีภาพที่มากเกินไปอย่างที่คุณว่ามาครับ แต่เป็นเรื่องของการเขียนกฎหมายมาแบบกว้างๆ จนดูสุ่มเสี่ยงและเอื้อต่อการนำไปใช้อำนาจโดยมิชอบ ซึ่งมันต้องมาถกกันแยกย่อยในแต่ละประเด็นแต่ละมาตรา ซึ่งผมว่าคนที่นี่ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับเรื่องที่ต้องพัฒนากฎหมายให้ทันยุคสมัยและสภาพสังคมอย่างที่คุณว่ามานะครับ
โอย...มันก็บันเทิงดีครับ ยิ่งช่วยให้ผมเห็นชุดความคิดมากขึ้นไปอีก เอาเป็นว่า สิทธิ กับเสรีภาพ มันคนละอย่างกัน รับความจริงเรื่องนี้ให้ได้ก่อนครับ
ผมว่าโลกอินเตอร์เน็ตมันอาจจะอยู่ยากไปสักหน่อยสำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินเสียงความคิดของคนอื่นครับ แถมยังรับความแตกต่างไม่ได้ เสียงมันจะคอยปลุกให้ต้องตื่นจากความฝันทุ่งลาเวนเดอร์ขึ้นมาพบว่ามันมีคนอื่นอีกมากที่คิดอะไรแปลกๆ แบบผม แบบคุณ และอีกหลายคนๆ
มันน่าเศร้าตรงที่ แทนที่จะพยายามปิดหูตัวเอง กลับพยายามปิดปากคนอื่นแทน
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ผมว่ามันเริ่มจากกฎหมายที่ไปแยกคนออกจากเน็ต (ด้วย พรบ.คอมพิวเตอร์) นะครับ :P
มันก็เลยลามกลายเป็นว่า คนบนเน็ตกับคนเดินดินเป็นคนละคนกัน
Blognone ให้เสรีภาพในการคอมเมนต์ได้ ก็เหมือนเราๆ ในโลกอินเตอร์เน็ตตอนนี้อ่ะคับ แต่ถ้าปล่อยกฎหมายนี้ผ่านไป บางทีคุณอาจจะกลับมาเมนต์แบบนี้ไม่ได้นะฮะ เพราะมันไม่อิสระแล้ว
เขาคงไม่เดือดร้อนหรอกมั้งครับ เพราะเห็นว่ายอมติดคุกแต่โดยดี
ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ทำให้ "คนดี" ต้องเดือดร้อน .... คำนิยามของ "คนดี" แต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน เป็นไปได้ ช่วยกำหนดกฎเกณฑ์ ที่เป็นรูปธรรม ออกมาหน่อยเถอะครับ ว่า ความหมายของคำว่า "คนดี" ของท่าน มีอะไรบ้าง อะไรที่ทำแล้ว จะไม่เป็นคนดี ....
The Dream hacker..
คนดี=ทำตามกฎ,คล้อยตาม,เชื่อฟัง,ทาส
คนดี = เป่านกหวีด
เขียนกฏหมายให้มันชัดเจน ไม่กวม มันมีปัญหามากนักหรือไง
concept ตอนออกร่าง(.....)ช่วงแรกๆที่สนช.เข้ามาทำหน้าที่ก็เห็นพูดออกสื่อชัดว่าออกให้กว้างๆ ไม่ให้เฉพาะเจาะจงตั้งแต่แรก
ก็นะ.... ระดับสติปัญญาของ baby boomer ก็ตามวัยแหละครับ
ยากครับ
กฎหมายปัจจุบันเขียนมาให้นักกฎหมายอ่าน เขียนด้วยภาษากฎหมายไม่ได้ใช้ภาษาไทยเขียนด้วยซ้ำ คนไทยส่วนใหญ่อ่านไม่รู้เรื่อง
ตามนั้นแหละครับ กตหมายเดี๋ยวนี้เอาไว้ตีความ ตีไปตีมาตามความต้องการของศาล
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อันนี้คนละเรื่องครับ ภาษากฎหมายอ่านยากเรื่องหนึ่ง เขียนให้กว้างไว้นี่อีกเรื่องหนึ่ง
อย่างเรื่องมาตรา 14 ที่บอกว่าจะใช้จับเว็บ phishing ผมยืนยันว่าเขียนให้เจาะจงกว่านี้ได้แน่ๆ (ข้อมูลเท็จที่จงใจให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่ากำลังทำธุรกรรมกับหน่วยงานอื่น อะไรแบบนั้น)
lewcpe.com, @wasonliw
คนดี มันก็แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาวัด
ข่าววัดธรรมกายอย่างเยอะ
จะจับแล้วน้า~
อ๊ะ เลื่อนไปก่อนน้า~
ให้โอกาสอีกทีน้า~
กลบข่าวได้มิดเลย
คงเป็นความบังเอิญ...
หลายครั้งที่บังเอิญมีข่าวจับกุม...แต่งงาน...เลิกกัน
ในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะ...จนนักข่าวไม่มีเวลามาสนใจ
หรือ...นักข่าวก็ตั้งใจที่จะไม่สนใจ
จะมีการรวมตัว F5 ที่เว็บไหนก็บอกนะครับ ผมจะไปแจมด้วย
ชักชวน DDoS อาจมีความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์
กด F5 มันผิดกฎหมายด้วยเหรอครับ
และผมชวนไป F5 ครับไม่ใช่ DDoS
ถ้าไม่เข้าใจคำว่า DDoS ก็ไปปลูกสะระแหน่ก็ได้นะครับ ไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว
แล้วก็บอกพวกที่แสดงตัวในช่อง Vice ด้วยว่าที่แฮกไปมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงประเทศอะไรเล๊ย อำนาจมันอยู่ที่ปืนโน่นไม่ใช่คีย์บอร์ด
มันก็เปลี่ยนไม่ได้ทั้งนั้นแหละครับ ที่มาเรียกร้องกันอยุ่ในนี้ก็ไม่ได้หรอก เป็นได้แค่แฟลช
ถ้าไม่รู้จัก DDoS ก็อ่านบทความนี้นะครับ
ความเข้าใจอย่างย่อต่อ DDoS ในฐานะเครื่องมือประท้วงทางการเมือง
ผมอ่านความเห็นคุณ rattananen แล้ว ผมเข้าใจว่าความเห็นเขาเป็นความเห็น "เอาฮา" นะครับ
ดูท่าท่านอื่นคงจะไม่เห็นในมุมฮาแบบที่ผมเห็น ผมเลยขอ Jam
ผมอ่านและเข้าใจแบบนี้...
"กด F5 มันผิดกฎหมายด้วยเหรอครับ" --> เป็นคำพูดแบบตีหน้าเซ่อ ไว้ใช้พูดกับผู้ถือกฏหมายมาเอาผิดเขา
"ผมชวนไป F5 ครับไม่ใช่ DDoS" --> เป็นคำพูดแบบตีหน้าซื่อๆ แกล้งเข้าใจว่า F5 และ DDoS เป็นคนละเรื่องกันอย่างสิ้นเชิง
รวมๆ แล้ว ผมรู้สึกว่า เขาพูดเอาฮาครับ
ที่จริงผมตั้งใจอาศัยความกำกวมของกฏหมาย ชวนไปทำผิดโดยไม่ผิดกฏหมายน่ะครับ
แต่พอกลับไปอ่าน reply ตัวเองอีกที ดูแล้วมันโดนอย่างน้อยข้อหาปลุกระดม
อันนี้ผมพลาดเอง
ส่วน "ช่อง Vice" คืออะไรนี้ผมไม่รู้นะครับ ถ้าอยากบอกอะไรกับใคร ไปบอกด้วยตัวเองจะง่ายกว่านะครับ
งานนี้ท่าจะไม่รอด เพราะดูแล้วเกมเมอร์ไม่กระทบเท่าไหร่เหมือน Single Gateway
ถ้า..กฎหมายจะมีปัญหาและต้องแก้ไขเมื่อ ไปอยู่ภายใต้การควบคุมของอีกฝ่าย แสดงว่ามันไม่ดีจริง
งั้นปล่อยมันผ่านมาเถอะ ...... ถึงตอนนั้นคงหัวร้อนกันบ้าง
ในเมื่อเขาไม่ได้ฟัง "เสียงส่วนใหญ่" เรียกร้องไปก็เท่านั้น
กฏหมายเขียนไว้กว้างๆ ไปตัดสินที่ศาลจะพิจารณาอีกที
(คล้ายๆว่า ฟ้องง่าย แต่ตัดสินแล้วแต่ศาล)
ก็ไม่รู้ว่าจะดีมั๊ย อาจจะทำให้คนระวังในการโพสมากขึ้นก็ได้มั้ง
คือมันยัดข้อหาง่ายไงครับ สองข้อหาที่ยัดแล้วแทบจะพูดคุยกันต่อไม่ได้เลยคือข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงและข้อหาเกี่ยวกับศีลธรรมอันดี
ข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงคือสอบสวนลับ ออกมาก็ตัดสินคว่าผิดได้เลย แถมไม่ต้องเปิดเผยวิธีการสอบสวนด้วย
ข้อหาเกี่ยวกับศีลธรรมอันดี อันนี้ยิ่งแล้วใหญ่ ให้เหตุผลแทบตายว่ามันไม่ทำให้ใครได้รับความเดือดร้อยังไงก็เจอคำว่า "มันขัดต่อศีลธรรมอันดีของประเทศ" ตามด้วยประโยคยอดฮิต "ไม่พอใจก็ไปอยู่ประเทศอื่น"
ไม่ใช่ครับ การเขียนกฎหมายกว้างทำให้ความผิดมันกว้าง
ศาลมีหน้าที่พิจารณาว่าเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ไม่ใช่ว่ากฎหมายบอกว่าผิดแล้วศาลมองว่าไม่ผิดแล้วไปปล่อยเอาตามใจชอบ อย่างกรณีนี้เก็บล็อก กฎหมายเปิดทางให้เจ้าหน้าที่สั่งเก็บล็อกได้ไม่จำกัด ผมเก็บไม่ไหว โดนฟ้อง ก็ผิดตามกฎหมาย
ส่วนเจ้าหน้าที่จับทั้งที่ไม่ผิดตามกฎหมายอันนั้นเป็นอีกเรื่องครับ
lewcpe.com, @wasonliw
มันมีโอกาสทำให้การตัดสินการกระทำแบบเดียวกัน ผลออกมาไม่เหมือนกันครับ
เพราะถ้าเขียนไว้กว้างๆ ทำให้แต่ละศาลตีความต่างกันได้ครับ
เอาจริง พวกท่านๆ อยากทำไรก็ทำไปเหอะ ไม่ต้องออกข่าวหรอก จะลงจากอำนาจเมื่อไรค่อยมาบอก
หาทางไปอยู่ประเทศที่เจริญแล้ว ดีกว่าครับ แก้อะไรไม่ได้ก็เอาตัวเองออกไปแทน แต่ก็ไม่ง่ายสำหรับทุกคนและประเทศโลกที่3 แบบเรา
เรื่องนี้หลายคนยังสับสนคือบางที่ยังไปเหมารวมว่าเป็น single gateway ซึ่งมันคนละเรื่องกันเลย ก็ยังดีที่ blognone ไม่ลงว่าอย่างนั้น
ที่ผมอ่านมาสรุปปัญหาคือการเขียนกฎหมายคลุมเครือใช่ไหม? หรือเพราะว่าโดนจำกัดเสรีภาพมากขึ้นเลยโวยกัน
เรื่องความคลุมเครือเพราะข้อความเจ้าปัญหาว่า "ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี" เนี่ย ผมก็เห็นว่าในกฎหมายควบคุมสื่อทั่วไปมันก็มีกันนะครับ
อย่างการประกอบกิจการภาพยนตร์
มาตรา ๒๓ ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องดำเนินการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง และเกียรติภูมิของประเทศไทย
หนังสือพิมพ์
มาตรา 36 เมื่อได้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามตามความในมาตรา 34 เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจดำเนินการดังต่อไปนี้
...
ซึ่งประเทศไทยก็ใช้กฎหมายเหล่านี้กันมานานมากแล้ว ตกลงมันคืออะไร
TV นี่ผมไปโพสท์แสดงความเห็นอะไรบนจอไม่ได้นี่ครับหรือถึงได้ก็มีหน่วยงานกำกับดูแลทักท้วงก่อนว่าอะไรได้ไม่ได้
จะโพสต์หรือแสดงความเห็นอะไรบนอินเตอร์เน็ตเราก็ต้องมีความยับยั้งชั่งใจและความรับผิดชอบระดับนึงนั่นแหละครับ ซึ่งอันนี้มันก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
แต่เรื่องข้อความกฎหมายที่ผมว่ามา ที่ผ่านมามันก็ไม่ได้ไปจำกัดเสรีภาพของสื่ออะไรขนาดนั้น สื่อก็ไม่ได้โวยวายเรื่องกฎหมายมันคลุมเครืออะไร สื่อที่ตรงข้ามกับรัฐบาลพวกทีวีหนังสือพิมพ์ผมก็ยังเห็นด่ารัฐบาลกันอยู่ รัฐก็ไม่ได้ฟ้องด้วยข้อหานี้กัน
ไม่มี SG แต่มีการขอความร่วมมือ(ที่ปฏิเสธไม่ได้)กับ ISP แทน ฮาาา
ผมว่ามันก็เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนะครับ พวกบล็อกเว็บโป๊เปิดไปเจอดวงตาพญามารอะไรอย่างนี้
ปัญหาคือรอบนี้ไม่ต้องรอคำสั่งศาลแล้วครับ
"ซึ่งประเทศไทยก็ใช้กฎหมายเหล่านี้กันมานานมากแล้ว ตกลงมันคืออะไร"
มันเทียบกันไม่ได้เลยนะครับ ทั้งกิจการภาพยนต์และหนังสือพิมพ์ มันคือสื่อทางเดียวทั้งสิ้น มันใช้ควบคุม/ป้อนข้อมูล/ล้างสมองมวลชนได้อยู่ในตัวด้วยการควบคุมผู้ผลิตสื่อด้วย 2 มาตรานั่นเท่านั้นก็สมบูรณ์แบบ
แต่สื่อยุคใหม่คือ Internet เป็น "สื่อ 2 ทาง" ซึ่งผู้เสพสื่อสามารถละเลงความคิดเห็นของตนเอง (เช่นที่ผมทำอยู่ตอนนี้) หรือพ่น Garbage กลับออกไปได้ทันที
"ตกลงมันคือ" การพยายามใช้วิธีเก่าๆ แบบที่เคยใช้กับสื่อเก่าๆ มาเขียนเป็นกฏหมายเพื่อบังคับใช้กับสื่อยุคใหม่
สรุปได้ดีมากเลยครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ