ปัจจุบัน Tesla มีโรงงานที่ดำเนินงานเต็มรูปแบบอยู่เพียงแห่งเดียว คือโรงงานที่เมือง Fremont รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่ง Tesla กำลังเร่งสร้างโรงงานเพิ่มอีกโรง ในชื่อ Gigafactory ที่รัฐเนวาดา
โรงงาน Gigafactory นี้มีขนาดใหญ่มหึมา กินพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในโลก รองจากโรงงานประกอบเครื่องบินของ Boeing เท่านั้น โดย Tesla จะใช้โรงงานนี้ผลิตทั้งรถยนต์และเซลล์แบตเตอรี่สำหรับสินค้าของตน
Tesla เคยคุยไว้ว่าจำนวนการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนจาก Gigafactory จะมากกว่าทุกโรงงานในโลกรวมกันเลยทีเดียว ซึ่งล่าสุด Tesla ประกาศว่าขณะนี้ได้เริ่มเดินสายการผลิตเซลล์แบตเตอรี่แล้วแม้โรงงานยังสร้างไม่เสร็จ 100% ก็ตาม
เซลล์แบตเตอรี่ที่ Tesla ใช้มีชื่อเรียกว่า 2170 เป็นเซลล์แบตเตอรี่ที่พัฒนาร่วมกับพานาโซนิค (ทั้งสองบริษัทเป็นพาร์ทเนอร์ด้านแบตเตอรี่กันมานานมากแล้ว) ชื่อ 2170 มีที่มาจากขนาด 21 มม. x 70 มม. และจะนำมาใช้ใน Tesla Model 3 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ซึ่งแบตเตอรี่ในรถก็คือการนำเซลล์แบตเตอรี่หลายๆ ก้อนมาต่อวงจรเข้าด้วยกันนั่นเอง
สุดท้าย Tesla ยังระบุว่าการผลิตจำนวนมากขนาดนี้ จะทำให้ราคาแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ลดลงกว่า 30% เลยทีเดียว
ที่มา - Reuters, Electrek (ดูรูปเซลล์แบตเตอรี่ 2170 ได้ที่นี่)
We've flipped the switch on cell production at the Gigafactory
A video posted by Tesla (@teslamotors) on Jan 4, 2017 at 8:52pm PST
Comments
ลิงก์ที่มาเปิดไม่ได้ทั้งคู่นะครับ มีอักษรเกินมาแบบข่าวนู้นเลย
ผลิตได้เยอะดีมากครับ อิลอน แต่ผมสงสัยว่าแบตที่หมดสภาพการใช้งานในเทสลานานจะจัดการอย่างไรครับ
แม้โรงงานยังสร้างไม่เสร็จ 100%
แม่ -> แม้
รถไร้คนขับที่เปิดตัวแล้วในปัจจุบันอย่างเช่น เทสล่า สามารถนำมาวิ่งบนถนนในประเทศไทยได้มั้ย
ผมเห็นนำเข้ามาวิ่งหลายคนแล้ว มีป้ายทะเบียนด้วย
ซื้อมาขับเองก็หลักการแบบรถนำเข้าเองทั่วไปนะผมว่า แต่ให้เรื่องเปิดโหมด Auto นี่ กฎหมายไทยไม่รู้ครับน่าจะยังไม่เปิดให้ใช้แบบถูกกฎหมาย
หมายถึงขับในแบบ autopilot ใช่มั้ยครับ
ผมเดานะ เรื่อง adaptive cruise control (เร่ง เบรก ตามคันหน้า) อันนี้น่าจะใช้ได้
autosteer (หมุนพวงมาลัยเอง) อันนี้คงต้องเป็นพวกถนนที่เส้นแบ่งเลนชัดเจน
คือผมว่าใช้ได้ แต่เรื่องการตัดสินใจ (โดนมอไซเบียด ปาด) อาจจะยังไม่ดีพอ
เห็นเทสล่า โมเดล S วิ่งวิภา ทะเบียนไทย สองหน แต่น่าจะขับเอง
ผมนึกว่าจะเป็นแบต ก้อนใหญ่ๆ ซะอีก อันนี้แบบ ก้อนๆเล็กๆ แล้วเอามาต่อกัน ทำไมเป็นแบบนั้น ??
ระบายความร้อนได้ดีล่ะมั้งครับ
เค้าเรียกว่าเป็นเซลครับ เอาหลายๆ เซลมาต่อขนานรวมกันเป็น 1 Terminal ครับ เพื่อเพิ่ม capacity
ปกติพวก Battery Terminal มักใช้กับพวกต้องการกำลังไฟสูง เช่น บนดาวเทียม เครื่องบิน หรือบ้าน เป็นต้น
เดาว่าเพื่อความปลอดภัยด้วยครับ ตัวแบตทำเป็นแผ่นอยู่ใต้พื้น (มีแผ่นไทเทเนี่ยมป้องกันอีกที) เกิดมีตะปูดีดมาแทงทะลุแบต ถ้าทำเป็นก้อนเดียวกันก็ไปทั้งก้อน รถอาจจะวิ่งต่อไม่ได้เลย แต่ถ้าทะลุแค่เซลล์เดียวอาจจะมีระบบตัดไปจากเซลล์นั้น รถยังวิ่งต่อได้ปกติ ว่างๆ ค่อยเอาไปซ่อม
อันนี้เดาล้วนๆ ครับ