มหาวิทยาลัย United Nations University เผยรายงานพบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชียตะวันออกและอาเซียนเพิ่มจำนวนมากถึง 63% ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี คิดเป็นจำนวน 12.3 ล้านตัน
โดยตัวเลขเฉลี่ยน้ำหนักขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อจำนวนประชากรในเอเชียคิดเป็น 10 กก./คน ประเทศที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือฮ่องกง มี 21.7 กก./คน ตามด้วยสิงคโปร์ คิดเป็น 19.95 กก./คน และ ไต้หวัน 19.13 กก./คน
ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อจำนวนประชากรน้อยคือ กัมพูชา 1.10 กก./คน เวียดนาม 1.34 กก./คน ฟิลิปปินส์ 1.35 กก./คน
ในรายงานระบุสาเหตุหลักที่ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมาก คือ มีสินค้าจำพวกนี้มากขึ้น มีผู้บริโภคสินค้านี้เพิ่มขึ้น ระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์ลดลง การนำเข้าสินค้าทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้ไม่ได้ตระหนักว่าควรจะเอาอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วไปไว้ที่ไหนที่ไม่ใช่ถังขยะ ไม่มีนโยบายกระตุ้นที่ดีพอ รัฐบาลไม่มีกฎหมายจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะด้วย
United Nations University แนะว่าควรเอาแบบอย่างประเทศที่จัดการขยะประเภทนี้ได้ดีที่สุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ผู้อ่านสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มที่ ที่นี่
ที่มา - Engadget
Comments
มหาวิทยาลัย United Nations University เผยรายงานพบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์
*ผมว่าถ้ามีคำว่า มหาวิทยาลัย แล้วตัดคำว่า University ออกดีกว่า(มันอ่านแล้วแปลกๆ)
ไม่ควรตัดครับ เพราะมหาลัยบางที่ University มันอยู่กลางคำเลยเช่น มจธ. มันจะผิดไปทันทีครับ
บ้านเราอาจจะฟังแล้วดูแปลก แต่ประเด็นคือในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา ถ้าพยายามตัดออกแล้วแปลไทย อาจจะไปสมัครเรียนกันคนละที่เลยนะครับ
ยกตัวอย่างเช่น California State University กับ University of California ถ้าพยายามแปลเป็นไทยทั้งคู่จะได้ชื่อเดียวกัน
แต่จริงๆ คนละมหาวิทยาลัยเลยนะครับ
+1
UPenn != Penn State U
UNC != NC State U
เอาแบบไทย มีอะไรไม่ให้คนรู้สึกว่าไม่ควรโยนมันลงถังขยะเฉยๆ เลยครับ? ถ้าเครื่องไม่อยู่สภาพขายต่อได้นี่ก็คงโยนลงถังกันหมด ถ่านไฟฉายยังแทบไม่เห็นคนแยกเลย
จริง ๆ ถ้ามีการแยกขยะดี ๆ เราอาจจะเห็นตัวเลขที่แท้จริงที่สูงกว่าก็เป็นได้
เห็นเมื่อก่อนมีข่าว มีการเอากาละมังไปแลกถึงบ้าน
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
เคยเสนอตอน อบต ประชุมเสนอโครงการที่จะทำประจำปี
มีแต่คนหัวเราะ
ผมแยกถ่านไฟฉายกับแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพนะ แต่ปัญหาคือตอนนี้เต็มบ้านละ ไม่รู้จะเอาไปทิ้งที่ไหน - -*
ปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์มันมาจาก เทคโนโลยีมันไปไวมาก และที่สำคัญมันเจ๊งไวกว่าแต่ก่อนมาก
ทีวีสมัยก่อน ใช้กันเป็น 10 ปี เดี๋ยวนี้ไม่กี่ปีก็เสื่อมกันแล้ว แล้วไหนจะของถูกๆจากจีนที่แทบจะเป็นของใช้ครั้งเดียวทิ้งอีก