Tags:
Node Thumbnail

BSA และ Economist Intelligence Unit (EIU) ออกรายงานการจัดอันดับอุตสาหกรรมไอทีของประเทศต่างๆ ในโลก (IT industry competitiveness index) จำนวน 66 ประเทศ ผลคือประเทศไทยอยู่อันดับ 42 ตกลงมาจากปีที่แล้วหนึ่งอันดับ

สหรัฐอเมริกายังเป็นแชมป์ด้วยคะแนนรวม 74.6 ส่วนคะแนนของไทยคือ 31.5

10 อันดับแรก

  1. สหรัฐอเมริกา
  2. ไต้หวัน
  3. สหราชอาณาจักร
  4. สวีเดน
  5. เดนมาร์ก
  6. แคนาดา
  7. ออสเตรเลีย
  8. เกาหลีใต้
  9. สิงคโปร์
  10. เนเธอร์แลนด์

ที่น่าสนใจคือญี่ปุ่นตกจากอันดับ 2 เมื่อปีก่อนลงไปอยู่อันดับ 12 ภายในปีเดียว ส่วนไต้หวันไต่จากอันดับ 6 ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ได้เช่นกัน

อันดับของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย

  • ไต้หวัน - 2
  • เกาหลีใต้ - 8
  • สิงคโปร์ - 9
  • ญี่ปุ่น - 12
  • ฮ่องกง - 21
  • มาเลเซีย - 36
  • ไทย - 42
  • ฟิลิปปินส์ - 47
  • จีน - 50
  • อินโดนีเซีย - 58
  • เวียดนาม - 61

วิธีการคิดคะแนนของ EIU ใช้เกณฑ์ 6 ชนิดโดยมีน้ำหนักแตกต่างกันไป ในเกณฑ์แต่ละอันมีตัวชี้วัดย่อยอีกหลายอย่าง ถ้าสนใจก็ดูในรายงานฉบับเต็มกันเอง คะแนนของประเทศไทยมีดังนี้ (คะแนนเต็ม 100 ทุกข้อ)

  • สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ - 78
  • โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที - 6
  • ทรัพยากรมนุษย์ - 43.4
  • สภาพแวดล้อมด้านกฎหมาย - 43.5
  • สภาพแวดล้อมด้านการวิจัยและพัฒนา - 0.2
  • ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไอที - 62.7

เห็นตัวเลขอันที่น้อยเวอร์ๆ มันน้อยจริงนะครับไม่ใช่พิมพ์ผิด ยกตัวเลขของประเทศอื่นมาเทียบ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของสวิตเซอร์แลนด์ได้ 93.3 แต้ม ส่วนไต้หวันเป็นแชมป์ด้านการวิจัยและพัฒนาที่ 74.3 แต้ม

นิตยสาร BusinessWeek สรุปสถานะของประเทศไทยแบบสั้นๆ ว่า

Thailand scores high for its overall business environment but lags in the development of its IT infrastructure.

การวัดคะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เค้าใช้ตัวชี้วัดย่อย 4 ตัวประกอบกันคือ

  • มูลค่าการใช้จ่ายซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการด้านไอที ต่อประชากร 100 คน
  • จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 100 คน
  • จำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ต่อประชากร 100 คน
  • จำนวนเซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100,000 คน

ส่วนการวัดคะแนนด้านการวิจัย ใช้ตัวชี้วัดย่อย 4 ตัว

  • งบประมาณด้านการวิจัยของรัฐบาลต่อประชากร 100 คน
  • งบประมาณด้านการวิจัยของเอกชนต่อประชากร 100 คน
  • จำนวนสิทธิบัตรด้านไอทีที่จดใหม่ในปีนั้น ต่อประชากร 100 คน
  • รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา (royalty and license fee) ต่อประชากร 100 คน

ที่ต้องสังเกตคือ EIU ให้น้ำหนักกับจำนวนสิทธิบัตรถึง 65% ของคะแนนด้านการวิจัย จึงไม่น่าแปลกใจที่คะแนนด้านนี้ของประเทศไทย (และอีกหลายๆ ประเทศ) จึงต่ำเรี่ยดินแบบที่เห็น

ตัวรายงานฉบับเต็มมีให้โหลดฟรี (เพราะ BSA สปอนเซอร์ให้) ดาวน์โหลดได้จาก How technology sectors grow: Benchmarking IT industry competitiveness 2008

ที่มา - Economist Intelligence Unit, BusinessWeek

Get latest news from Blognone

Comments

By: wiennat
Writer
on 17 September 2008 - 14:58 #65042

มูลค่าการใช้จ่ายซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการด้านไอที ต่อประชากร 100 คน

เจออันนี้เข้าไปก็กระอักเลือดแล้ว เล่นแผ่นละ 190 ตลอดงาน


onedd.net

By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 17 September 2008 - 15:49 #65049 Reply to:65042

XP ของผม ของแท้นะ แต่แผ่นเดียวใช้กันทั้งบ้าน หุหุ

ก็มันแพงจริงๆ นี่นา

CMDEVHUB

เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 17 September 2008 - 15:51 #65050 Reply to:65049
Ford AntiTrust's picture

เป็นผม ผมจะไม่รู้สึกภูมิใจเท่าไหร่ ในการออกมาผู้แบบนี้ -_-'

Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework

By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 17 September 2008 - 15:59 #65054 Reply to:65050

ผมก็ไม่ได้ภูมิใจอะไรหรอกครับ
แต่ผมไม่มีเงินที่จะซื้อให้ครบทุกเครื่องหรอกครับ
ถึงแม้ OS ทางเลือกจะมีมากมาย
ลำพังผมพอใช้งานได้แหละ แต่ พ่อ+แม่ เขาใช้งานไม่ได้
เข้าใจคนแก่หน่อยเหอะครับ

ยังไงซะ ถ้าหากราคามันพอจะจับจองได้แบบไม่ลำบากนัก ผมยินดีที่จะซื้อของแท้ให้ครบทุกเครื่องแน่นอน

CMDEVHUB

เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ

By: p-joy on 17 September 2008 - 16:13 #65058 Reply to:65054

ประเด็นคุณ Ford เขาไม่ได้หมายถึงความจำเป็นในการใช้นี่ครับ ประเด็นคือการเขียนแบบนี้มันจะเป็นการสนับสนุนให้คนคิดในแง่
บวกหรือเปล่า

By: Kerberos
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 17 September 2008 - 18:49 #65070 Reply to:65049
Kerberos's picture

เรื่องอย่างนี้ไม่ต้องเอามาพูดก็ได้ เงียบๆ ไว้ จริงๆ กำลังทำผิดอยู่นะ ไม่ใช่เรื่องเอามาพูดแล้วขำ

ไม่ตายไม่เลิก

By: mossila
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 17 September 2008 - 14:58 #65043
mossila's picture

นี่ไทยยังนำเวียดนามอยู่หรือเนี่ย

อย่าเข้าไปอ่านนะ บทความของ Rookie

By: scalopus
ContributorAndroidUbuntu
on 17 September 2008 - 15:02 #65046 Reply to:65043
scalopus's picture

วันนี้ยังนำอยู่ พรุ่งนี้ไม่รู้


Warun.in.th

By: p-joy on 17 September 2008 - 16:20 #65060 Reply to:65046

เห็นพูดกันแบบนี้มาตั้งแต่ผมเป็นเด็ก ๆ นั่นแหละ ได้ยินตั้งแต่เรียน ป. 5 ก็ 26 ปีมาแล้ว เหมือนเรื่องเปลี่ยนสีเสื้อครุยของ
สามพระจอมเกล้าเลย พูดกันทุกปี รู้สึกจะพูดกันมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี ตอนนี้ก็ยังเป็นข่าวลือที่ลูกพูดให้พ่อฟัง พ่ออาจจะตอบว่า
"อืม สมัยพ่อก็มีข่าวนี้เหมือนกัน"

By: ploysics
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 17 September 2008 - 15:02 #65045
ploysics's picture

สภาพแวดล้อมด้านการวิจัยและพัฒนา - 0.2

อ่า อืม - - น้อยดีจริงๆ

By: gab
Windows PhoneAndroidWindows
on 17 September 2008 - 15:20 #65047 Reply to:65045
gab's picture

จะบอกว่า R&D C&D ไทยไม่ค่อยมีตรงนี้เหรอ รึจะแปลได้ว่าขยันนำเข้า เพราะคนไทยไม่ค่อยใช้ของไทย เลยไม่ค่อยมีใครคิดอะไรออกมา

By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 17 September 2008 - 15:55 #65052 Reply to:65047

ผมว่าทุกคนเขาอยากคิด อยากสร้างแหละ แต่เขาไม่ได้อิ่มทิพย์ จะคิดจะสร้างอะไร เคยมีใครสนับสนุนไหมเนี่ย เอาแบบที่พร้อมที่จะสนับสนุน และรับทุกๆ โครงการไปพิจารณา บลาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ผมว่า ที่สำคัญที่สุด คนรับงานส่วนใหญ่ เขามองผลลัพธ์มากกว่ามองวิธีการ เอาแค่ face detect ผลลัพธ์เหมือนกันเลย แต่วิธีการไม่เหมือนกัน เขาก็ไม่รับแล้ว...

บ่นไปงั้นแหละครับ "เขา" สนใจแต่คนที่คิด 1+1=2 ได้ แต่ไม่สนใจคนที่ "เอา" 1+1=2 ไปพัฒนาต่อ

"เขา" หมายถึงใครไม่รู้ แต่ผมมีอยู่ในใจ

CMDEVHUB

เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ

By: p-joy on 17 September 2008 - 16:36 #65063

บทความเป็นการเมืองชัวร์ ค่อนข้างไม่เชื่อว่า บราซิล เม็กซิโก จีน อินเดีย จะได้อันดับต่ำขนาดนั้น
มาเลเซียที่ลงทุนเยอะมาก ๆ อันดับไม่ขึ้นเลย ส่วนไทยซึ่งเข้าใจว่าแทบไม่ได้ทำอะไรเลยในช่วงปีที่ผ่านมาอันดับไม่ลด

คงมีคำถามในใจใครหลายคนว่าการวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบนี้เชื่อถือได้แค่ไหนกัน

By: Kerberos
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 17 September 2008 - 19:13 #65071 Reply to:65063
Kerberos's picture

มาแนวไม่ตรงกับที่ตัวเองคิด แล้วสรุปไปว่าการวัดเชิงปริมาณไม่ดีอีกแล้ว

ความเชื่อๆ ครับ ความเชื่อเท่านั้นที่ทำให้เราพอใจเนอะ

ถ้าไม่มั่นใจต้องทำวิจัยมาแย้ง แล้วตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการที่มี impact factor ให้ได้ แล้วจะได้รับการยอมรับครับ

ไม่ตายไม่เลิก

By: p-joy on 17 September 2008 - 20:08 #65074 Reply to:65071

ไม่ได้มีตรงไหนบอกว่าไม่ดีนะ บอกว่าน่าเชื่อถือได้แค่ไหนกันอาจจะน่าเชื่อถือมากก็ได้ ไม่ได้ฟันธง e-เจิมไงบอกว่าแบบสอบถามทำเกิน 3 เดือนเชื่อไม่
ได้แล้ว

วารสารที่มี IF ก็ใช่ว่าจะดีกว่า โอเคดีกว่าอันที่ไม่มี แต่สรุปได้ยากว่า IF ที่สูงกว่าจะดีกว่า IF ที่ต่ำกว่า ถ้าเกิดวารสารที่ IF สูง แต่การอ้างอิงไปอยู่บทนำ
ซะเกือบหมด การอ้างอิงนั้นก็จะเป็นการอ้างถึง ไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ เลย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น

ประเด็นคือเมื่อเราได้รับเอกสารวิจัย เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ผลการวิจัย ถ้าผลการวิจัยแบบนี้มีผลกระทบต่อเรา ก็แย้งไปได้ผ่านกระทรวงไหนหล่ะ
รัฐบาลที่แล้วแล้ว ก็แย้งไปเยอะแยะ คงเกินหน้าที่ที่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบระดับเราจะไปทำอะไรแข่งกับเขา หรือไปแย้งเขา ทำได้ก็แค่เพียงคุยสนุก ๆ เท่านั้น

โดยเหตุผลที่ผมยกความไม่น่าเชื่อถือการรายงานฉบับนี้ก็คือเรื่องของ บราซิล เม็กซิโก จีน อินเดีย รวมถึง มาเลเซีย

ไว้เป็นรัฐมนตรีมาเลเซียก่อนจะทำเรื่องแย้งไป ว่าฉันทำอะไรตั้งเยอะแยะ ทำไมอันดับฉันไม่ดีขึ้นเลย

By: mk
FounderAndroid
on 17 September 2008 - 19:19 #65072 Reply to:65063
mk's picture

ถ้าอ่านตัวรายงานฉบับเต็ม เค้ามี methodology ไว้ละเอียดนะครับ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ลองแจ้งไปทาง Economist ดูครับ

ตัวเลขหลายๆ ตัวในรายงานเค้าไม่ได้หาเอง แต่ว่าเอามาจากแหล่งอื่นๆ อย่าง IDC หรือ WorldBank

By: khajochi
WriteriPhoneIn Love
on 17 September 2008 - 18:01 #65068
khajochi's picture

ชอบคำนี้ .. "Thailand scores high for its overall business environment but lags in the development of its IT infrastructure."

---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature


แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com

By: mokin
Contributor
on 19 September 2008 - 00:19 #65285 Reply to:65068
mokin's picture

ชอบเช่นกันครับ แต่ทำอย่างไหรเราจะตามมาเลเซียได้ท่านน่า
- อันดับลดเพราะม็อบปล่าวล่ะเนี้ย (สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ)
- กับน่าจะเป็นใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน

ผมว่าคนไทยเก่ง แต่ทำงานตามคำสั่ง ขอแค่เสร็จ กับ มีนายที่ไม่มีวิสัยทัศน์ด้านไอที
มาช่วยกันใช้ซอฟแวร์ถูกลิขสิทธิ์หรือฟรีแวร์กันครับ อันดับจะได้ไล่ทัน มาเลเซีย

อย่าท้อแท้ที่จะเรียนรู้ และจงเป็นครูสอนผู้อื่นต่อ

By: LawrenceX on 17 September 2008 - 23:43 #65106

+10 "Thailand scores high for its overall business environment but lags in the development of its IT infrastructure."

By: javaboom
WriteriPhone
on 18 September 2008 - 00:44 #65120
javaboom's picture

เอาน่ายังไงอาหารไทยก็อร่อยครับ และหญิงไทยก็สวยกว่าชาติอื่นๆ คนไทยใจดี ขัดแย้งกันบ้างในบางเรื่อง แต่เดี๋ยวก็ดีกันครับ โกรธง่ายหายเร็ว ไม่หายโกรธวันนี้ก็ต้องมีสักวันน่ะครับ ... แล้วมันเกี่ยวอะไรกับไอทีเนี่ย :)

มองแบบเข้าข้างตัวเองและปลอบใจตัวเองก็พูดได้ว่า ไทยเดินช้าแต่ก็เดินไปเรื่อยๆ

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: adamy
iPhoneAndroidBlackberryUbuntu
on 18 September 2008 - 01:07 #65123

ผมว่าก็ตรงดีนะครับ ... คิดว่าเป็นสภาพความเป็นจริงของภาคอุตสาหกรรม IT ณ ปัจจุบันครับ ประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัจจัยพื้นฐานทางด้านนี้ (ถึงแม้สินค้าส่งออกด้าน IT จะเยอะระดับโลกก็ตาม ซึ่งทั้งหมดนั่นเป็นของต่างชาติทั้งสิ้น แต่จ้างคนไทยทำงานให้ในรูปแบบของ Craftman มากกว่าคนวิจัยและผลิตครับ) แต่อย่างน้อยประเทศไทยก็ยังพัฒนาทางด้านนี้ไปได้เรื่อยๆซึ่งนั่นทำให้ปัจจัยต่างๆทางด้านการวิจัยสามารถที่จะโตขึ้นมาได้ในอนาคต (คือแบบว่าเห็นฝรั่งขี้ ก็ขี้ตามฝรั่ง ... ซักพักเดี๋ยวก็จะขี้เองได้เป็นน่ะครับ)

แต่ส่วนที่น่ารันทดคือปัจจัยพื้นฐานครับ

* มูลค่าการใช้จ่ายซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการด้านไอที ต่อประชากร 100 คน
* จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 100 คน
* จำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ต่อประชากร 100 คน
* จำนวนเซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100,000 คน

จากที่เห็นๆแล้ว ... มูลค่าการซื้อขายเราสู้ชาวบ้านได้ยาก ... อาจจะด้วยเราซื้อของเถื่อนกันมาก ในส่วน ซอฟต์แวร์ แถมด้วย Hardware ที่ขายในบ้านเรานั้นมีราคาถูก และเป็นสินค้าที่ออกจะควบคุมมากๆเลยทีเดียว (คือถ้าวันนี้ตลาดบอกว่าให้มีัแต่ HDD ของ WD รุ่น 500GB ... ก็จะสามารถซื้อคุ้มแค่ WD 500GB เท่านั้น ตัวอื่นไม่ราคาสูงลิ่วก็หาของไม่ได้เลย) ทำให้ตลาดไม่ได้ขยายวงกว้างเท่าไหร่ ... เพราะตลาดขายฮาร์ดแวร์ไม่มีการแข่งขันกัน ส่วนบริการด้าน IT นั้นบ้านเราอาจจะสำรวจได้ยาก เพราะบริการด้าน IT ในเมืองไทยไม่ค่อยมีเพราะคนยังไม่เชื่อในส่วนนี้เท่าไหร่ ส่วนถ้าชาวบ้านตาสีตาสาเค้าก็จะเรียนรู้ที่จะ Format แล้วก็ลง WinXP ปลอมใหม่แล้วก็ลง MSN แล้วก็ Winamp แล้วก็ Word ปลอม แล้วก็จบ ... มันก็มีอยู่เพียงเท่านี้ ... ดังนั้นแทบจะไม่มีบริการเลยก็เป็นได้

จำนวนผู้ใช้ Broadband ในไทยสถิติมีนาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 600000 คน ... เพราะว่าประเทศไทยติดปัญหาที่ตลาดเป็นตลาดที่แข่งขันกันน้อยราคาลงช้าเพราะยังถือเป็น Luxury อยู่ ไม่ใ่ช่ปัจจัยพื้นฐานทางด้านการโทรคมนาคม (ระหว่างที่โทรศัพท์มือถือนั้นมีกันแทบทุกคน) แต่ถ้ารวมคนใช้เน็ตทั้งประเทศแล้ว 20.5% ถือว่าไม่เลวนักสำหรับประเทศการเกษตรเดิมอย่างประเทศไทยครับ

ส่วนท้ายสุดคือจำนวนเซอร์เวอร์ ... อันนั้นก็คงอยู่ที่การที่พัฒนาบุคลากรที่ดีๆมาเพิ่มการผลิตครับ ... ซึ่งการศึกษาไทยยังทำไม่ได้ครับ (อันนี้ใช้ประสบการณ์ส่วนตัวจากที่รับสมัครโปรแกรมเมอร์มา 200 คนได้แล้วครับ ... ส่วนใหญ่จบตรีมาแต่เขียนอะไรไม่ไ้ด้เลย ... มาร้องให้หน้าคอมตอนให้ทดสอบงานก็มี ฮาๆ) ... ดังนั้นหมายถึงว่าบุคลากรของเรายังไม่พร้อมที่จะผลิตงาน ... ผลิตไปก็สู้ตลาดไม่ได้ทั้งที่ตลาดเกือบจะเป็นตลาดแนวราบที่ทุกๆคนมีสิทธ์ในการแข่งขันกันได้อยู่แล้ว

อีกส่วนที่น่าสังเกตุคือประเทศไทยเป็นประเทศที่มีค่านิยมผิดๆกับอินเตอร์เน็ตครับ ... ส่วนใหญ่จะมองในเชิงลบมากกว่าบวก (เช่นเดียวกับที่มองดาราเป็นพวกเต้นกินรำกิน และมองคนขายไก่ KFC เป็นขี้ข้าสังคม) ดังนั้นยังเป็นเรื่องยากที่จะทำใ้ห้คนเห็นคุณค่าของการใช้อินเตอร์เน็ตสำหรับ Service ต่างๆและการติดต่อสื่อสารครับ

แต่เดี๋ยวก็ตามทันครับ ... ถ้าทุกประเทศทั่วโลกมี Fibre กันทุกบ้านฟรีั ทุกที่ทั่วโลกใช้แต่ Internet ในการติดต่อสื่อสาร ประมาณเดียวกับถ้าทั้งโลกผลิตแต่รถยนต์ นั่งแต่รถยนต และรถยนต์ฟรีหมดทุกคัน ... เราคงจะัไม่นำเข้า ขี่จักรยานกันทั้งประเทศหรอกมั้งครับ

แค่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เท่านั้นเองครับ : )

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

:: Take minimum, Give Maximum ::

By: oakyman
ContributorAndroid
on 18 September 2008 - 02:38 #65131 Reply to:65123

ผมล่ะอยากเห็นจริงๆ คนที่จบตรีด้านคอมมาแล้วเขียนโปรแกรม "ไม่เป็นเลย" เนี่ย
(อาจจะไม่นับพวกจบมานานแล้ว เปลี่ยนสาย เลยไม่ได้ใช้)

Oakyman.com

By: plynoi
WriterAndroidUbuntu
on 18 September 2008 - 10:51 #65168 Reply to:65131

เพื่อนผมเยอะครับ ท่องเก่ง ไม่ต้องเีขียนไรได้ ได้เกียรตินิยม

By: platalay
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 18 September 2008 - 03:17 #65141 Reply to:65123

แต่เดี๋ยวก็ตามทันครับ … ถ้าทุกประเทศทั่วโลกมี Fibre กันทุกบ้านฟรีั ทุกที่ทั่วโลกใช้แต่ Internet ในการติดต่อสื่อสาร ประมาณเดียวกับถ้าทั้งโลกผลิตแต่รถยนต์ นั่งแต่รถยนต และรถยนต์ฟรีหมดทุกคัน … เราคงจะัไม่นำเข้า ขี่จักรยานกันทั้งประเทศหรอกมั้งครับ

ถ้าทุกประเทศมี fiber ฟรีทุกบ้าน ตอนนั้นประเทศไทยคงจะพึ่งมี net 8M ในราคาที่ชาวบ้านพอจ่ายไหว

By: invisibleMind on 18 September 2008 - 09:07 #65159

ผมว่าแต่ละประเทศย่อมจะมีค่านิยมและพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับเรื่อง กฎหมายลิขสิทธิ์ ผมเองเห็นด้วยครับ ที่มึนควรจะพัฒนาขึ้น สามารถมีผลบังคับใช้ไดจริงๆ แต่เอาแค่ในระดับที่ทำธุรกิจก็พอ ภาคการศึกษา กับการใช้งานส่วนตัว ควรจะผ่อนปรนบ้าง เพราะคนที่เค้าพัฒนาออกมา เค้านั่งหลังขดหลังแข็ง เพื่อให้ได้มันออกมา แต่ก็ถูกคนเอาเปรียบ เอาของเค้าไปคัดลอก คนที่ทำ เค้าคงจะไม่สามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ ถ้าคนขยันกับคนชี้เกียจทำงานได้เท่ากัน ใครจะนั่งทำงาน ถ้าคนมีความรู้ กับคนที่ไม่มีความรู่ทำงานได้เท่ากัน ใครจะเรียนหนังสือ

By: p_gallery on 18 September 2008 - 11:48 #65181

ส่วนตัว อ่านแล้วก็เลยอยากจะถามตัวเองว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ในอุตสหกรรมนี้ การเรียนการสอนในระบบของเราเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเพื่อนบบ้าน และ ในอนาคตลูกหลานของเราจะอยู่และทำมาหากินกับเขาได้ไหม เราควรจะมองกว้างๆ และยาวๆ ครับ อยากให้คนที่ทำหน้าที่พัฒนาบ้านเมื่อสนใจจริงๆ จังๆ เสียทีครับ