หลังจากบริษัทการเงิน Lehman Brothers ของสหรัฐล้มละลายและเป็นข่าวใหญ่โต ขั้นตอนถัดมาก็คือขายทรัพย์สินทอดตลาดเพื่อหาเงินมาใช้หนี้
ผู้ซื้อคือธนาคาร Barclays ของสหราชอาณาจักร (อันเดียวกับที่เป็นสปอนเซอร์พรีเมียร์ลีกนั่นละครับ) ได้ซื้อศูนย์ข้อมูลที่นิวเจอร์ซีย์ และอาคารสำนักงานใหญ่ของ Lehman Brothers ที่นครนิวยอร์กคิดเป็นมูลค่าถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์ (Barclays ซื้อทั้งหมด 1.75 พันล้าน คือมีอย่างอื่นอีกนิดหน่อย) ในขณะที่ทรัพย์สินอื่นๆ ของบริษัทกลับได้ราคาไม่ดีมากนัก
ศูนย์ข้อมูลในนิวเจอร์ซีย์มีพื้นที่ใช้สอย 140,000 ตารางฟุต และเพิ่งสร้างใหม่หลังจากศูนย์ข้อมูลเดิมถูกทำลายในเหตุการณ์ 9/11
ก่อนหน้านี้เมื่อ JPMorgan เข้าซื้อกิจการของ Bear Stearns มูลค่าของศูนย์ข้อมูล 2 แห่งของ Bear Stearns ก็มีราคาดีเช่นกัน คือขายได้ 270 ล้านดอลลาร์
ในยุคที่ cloud computing กำลังมาแรงแบบนี้ อาชีพผู้ดูแลศูนย์ข้อมูลอาจกลายเป็นมนุษย์ทองคำในอนาคตอันใกล้ก็เป็นได้ น้องๆ คนไหนใกล้จบลองหาลู่ทางไว้ก็ดีครับ
ที่มา - Data Center Knowledge ผ่าน Slashdot
Comments
ราคาที่แพง คงจะไม่ใช่ Data Center หรอกมั้งฮะ แต่อาจจะเป็นข้อมูลที่อยู่ข้างในนั้น เช่น ข้อมูลการเงินย้อนหลัง ซึ่งข้อมูลพวกนี้ ขายกันแพงมาก. (เดา)
Warun.in.th
ที่ขายมีแต่ตัวตึกกับอุปกรณ์เท่านั้นครับ ข้อมูลทางการเงินนี่ sensitive สุดๆ ไปเลยครับ ทำลายทิ้งยังดีกว่าขาย (ผมเข้าใจว่ามีกฎหมายคุ้มครองด้วยนะ)
ในเมืองไทยจะขายมั่งรึเปล่านะ
(เหมือนตอนปรส. ตอนปี 2540)
Oakyman.com
ในไทยก็ขายครับ แต่ว่าส่วนใหญ่จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารใหญ่ๆ ที่เปิดให้เช่าครับ
นี่คงเป็นเหตุผลนึงมั้งครับที่ เฟดไม่ปล่อยกู้ ไม่ค่อยมีผลกระทบมากเท่า AIG
ก่อนจะเป็นมนุษย์ทองคำ ต้องเริ่มขั้นแรกด้วยการเป็นมนุษย์หิมะก่อน
เมื่อวานไปนั่งที่ Data Center ทั้งวันเลยครับ กลับมาไข้ขึ้นเลย หนาวๆร้อนๆ
เลิกเขียนเว็บละ ดีมั้ย - -"
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ปิดท้ายข่าวได้ดีมากครับ ใครกุมศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์ไว้สามารถเอาไปต่อกรในตลาด Cloud Computing ได้ ถ้าไม่ใช้เองก็ปล่อยให้คนอื่นเช่าต่อไป และตำแหน่งผู้ดูแลศูนย์ข้อมูลจะเพื่องฟูมาก ศูนย์ข้อมูลมันใหญ่มาก จำนวนผู้ดูแลก็ต้องมากขึ้นด้วย ในยุค Cloud ยิ่งต้องการการดูแลแบบ 24/7 และการรับประกันแบบ Five-Nines ก็ยิ่งต้องการผู้ดูแลที่ชำนาญคอยอุ้มชูระบบเวลามันงอแง และตำแหน่งผู้ดูแลระบบสำหรับยุค Cloud นี้ก็ไม่ได้จำกัดแค่ดูแลศูนย์ข้อมูล เพราะทางฝั่งบริษัทลูกค้าก็ยังพึ่งพาผู้ดูแลระบบที่คอยดูแลระบบซอฟต์แวร์และฐานข้อมูล รวมถึง Virtual Machine (เช่น AMI ที่เป็น Xen DomU ที่รันบน Amazon EC2) ที่ติดตั้งบน Cloud เช่นกัน
นอกจากนี้ ตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Computing ก็จะเป็นที่ต้องการเช่นกัน อย่างที่ IBM กับ Google เคยเปิดคอร์สเขียนโปรแกรมแบบขนานให้กับมหาลัยชั้นนำในอเมริกาไปนั้นก็เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการใช้ Hadoop ในการเขียนโปรแกรมแบบขนานให้รันบนเซิร์ฟเวอร์ฟาร์มขนาดใหญ่ที่กระจายตัวตามศูนย์ข้อมูลนั่นเอง หรือแม้แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์มของ Google และ Amazon ก็เป็นที่ต้องการในตลาด ตอนนี้ เพื่อนบ้านของเราอย่างสิงคโปร์เองก็ต้องการนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมากเพื่อพัฒนา SaaS application สำหรับศูนย์ข้อมูลของโครงการ AxSaaS เช่นกัน
Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ไทยจะมีกับเค้ามั้ยเนี่ย
Data center เมืองไทยมีหลายที่มากอย่าง
ห้อง grid computing อาจารย์สุกรีไง
บรรยากาศกาศ 25 องศา ที่จริงเหมาะกับคนชอบอากาศหนาวเย็นนะ
หมายเหตุ
รับจ้างออกแบบห้องdata center แต่ไม่รับเฝ้า ไม่ชอบหนาว
รับจ้างจริงๆ เปล่าครับ ปีนี้ได้งบมา 9.5 ล้าน ทำ Datacenter แต่ ..
เริ่มตั้งแต่ปรับหน้าดิน จนถึงตอกเสาเข็ม ......