เป็นประเด็นดราม่ากันมาหลายต่อหลายครั้งเรื่องการทำเว็บการ์ตูนมังงะเถื่อน ที่นำฉบับสแกนมาแปลให้อ่านกัน หลังต้นฉบับเพิ่งเสร็จได้ไม่นาน ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจกันได้ว่า เว็บเถื่อนเหล่านี้ทำให้ยอดขายของมังงะฉบับรวมเล่มตกลงไปไม่มากก็น้อย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา งานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของเว็บเถื่อนต่อรายได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์ มักเป็นเรื่องของภาพยนตร์ ซีรีส์หรือเพลงเสียส่วนใหญ่ ขณะที่การ์ตูนหรือมังงะแทบไม่มีเลย
เหตุนี้ทำให้ศาสตราจารย์ Tatsuo Tanaka จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Keio ทำงานวิจัยเรื่องผลกระทบต่อรายได้ของมังงะจากเว็บเถื่อน ก่อนจะพบว่า เว็บละเมิดลิขสิทธิ์เหล่านี้ ทำให้ยอดขายมังงะฉบับรวมเล่มของเรื่องที่ยังไม่จบลดลง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าสนใจคือ เว็บเหล่านี้กลับทำให้ยอดขายของมังงะเรื่องที่จบไปแล้วเพิ่มขึ้นแทน
อาจมองได้ว่า มังงะหลายๆ เรื่องที่จบไปแล้ว สำนักพิมพ์ไม่ได้มีการโปรโมทหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ ก็อาจทำให้คนอ่านลืมเลือนไปบ้าง และกลายเป็นเว็บมังงะละเมิดลิขสิทธิ์เป็นตัวช่วยโฆษณาแทน ทำให้ ศ. Tanaka ชี้แนะว่าท่าทีของเจ้าของลิขสิทธิ์อาจไม่ต้องสั่งปิดเว็บละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งเว็บ แต่ให้สั่งลบเฉพาะมังงะเรื่องที่ยังไม่จบแต่เพียงอย่างเดียว จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามงานวิจัยฉบับนี้ไม่ได้ชี้ชัดว่าในท้ายที่สุดแล้ว เว็บเถื่อนส่งผลเป็นบวกหรือเป็นลบต่ออุตสาหกรรมมังงะโดยรวม เนื่องจากไม่มีตัวเลขแน่ชัดถึงสัดส่วนยอดขายระหว่างมังงะเรื่องที่จบไปแล้วและเรื่องที่ยังไม่จบ
สำหรับใครที่สนใจอ่านงานวิจัยเต็มได้ที่นี่ (PDF)ครับ
ที่มา - TorrentFreak
Comments
หมายความว่ามังงะที่จะขายดีอาจเป็นเรื่องที่ไม่ยาวมาก และทำรวมเล่มออกมาช้ามากหน่อยหลังจบรายสัปดาห์/เดือน สินะครับ
I need healing.
แต่ทำให้ตัวไม่รวมเล่มขายไม่ออกครับ แบบพวก Boom C-Kid นี่เจ๊ง
ถ้าจะสร้างประโยชน์จริงจังตามข่าวนี้ก็คงต้องลงหลังรวมเล่มออกแล้วสินะ
ถ้าเป็นการ์ตูนเรื่องที่จบแล้วเท่านั้น ... ไม่น่าจะมีผลต่อพวกหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์นะครับ
เพราะหนังสือพวกนี้เค้าจะลงเฉพาะตอนล่าสุดของเรื่องที่ย้งไม่จบเท่านั้น
กลายเป็นเหมือนให้ลองอ่าน
พออ่านแล้วชอบ เลยเลือกซื้อเก็บ?
ก็มีส่วนแหละ สำหรับการ๋ตูนที่จบแล้ว เวลาจะอ่านย้อนหลังแล้วอยากอ่านต่อเนื่องกันยาว ๆ ยังไงคนน่าจะชอบอ่านจากหนังสือเป็นเล่มมากกว่าในจอคอมหรือโทรศัพท์เพราะมันสบายกว่ากันเยอะ ก็ถือเป็นผลดีกับเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นพวกการ์ตูนยังไม่จบ มันจะส่งผลเสียเจ้าของลิขสิทธิ์แทน
ปัญหาสำหรับนักอ่าน/นักสะสมคนไทยคือ พออ่านสแกนแล้วชอบแต่ไม่มีฉบับพิมพ์ออกมาให้ซื้อ หลายๆ เรื่องที่คนอยากซื้อแต่สนพ.ที่ถือลิขสิทธิ์ดองเอาไว้ไม่พิมพ์ซะงั้น แต่พอไพเรตเอามาพิมพ์ก็รีบออกมาขู่ แล้วก็รีบพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ออกมาขาย
นอกจากเว็บสแกนจะช่วยโปรโมตแล้ว สนพ. ไพเรต ก็ช่วยโปรโมตเหมือนกัน
ผมแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อเล่มภาษาอังกฤษเลยครับ (ถ้ามี)
นี่ก็ยังมีความฝันว่า Moyashimon ที่สำนักพิมพ์ที่ US เจ๊ง โดนซื้อต่อไปแล้ว จะกลับมาพิมพ์ใหม่ในสักวัน ชอบลายเส้น อ. แกเหลือเกิน
บางทีอยากซื้อเป็นพวก ebook เก็บมากเลยครับ แต่ในไทยนี่แบบ ebook คืออะไร ทำไมต้องมาอ่านกับพวกจอสี ๆ ปวดตาชมัด
ผมเคยคิดนานแล้วว่า ถ้าปรับตัว จากพิมพ์เป็นเล่มจริงรายสัปดาห์
เป็นแปลแบบ scan เลย edit แค่ช่องคำพูดแล้ว up ลง web
ดูย้อนตอนได้ ซอยหน้าย่อย ๆ หาโฆษณามาลงเยอะ ๆ
(ลดต้นทุนได้เยอะมาก ทุนกระดาษ ค่าพิมพ์ ค่าที่เก็บ ค่าสายส่ง หนังสือเสียหาย)
แล้ววัดดวงกับ รวมเล่ม พิมพ์แบบดีๆ ไปเลยเล่มละ 200+ เท่า pocketbook
จะเจ๊งกันทั่วหน้า เหมือนทุกวันนี้มั้ย ?
แบบ online ผมมองว่ายังไงก็สู้ scan เถื่อนไม่ได้ครับ
เพราะขั้นตอนงานก็ยังเยอะกว่าอยู่ดี
นอกจาก insert ช่องคำพูดแล้วยังต้องทำตัวอักษร effect ใหม่ แล้วก็ส่งกลับญี่ปุ่นตรวจงานอีก
ส่วนเถื่อน effect ไม่ต้องทำเพิ่ม ไม่ต้องส่งให้ใครตรวจอีก ยังไงก็รวดเร็วกว่า
กลุ่มคนที่เป็นปลิงยังไงก็ปลิงครับ ต่อให้ของแท้ออกเร็วแค่ไหนก็เถอะ
ผมเห็นมังงะของเมืองนอก (เล่มแท้เลยนะ) "ไม่แก้เอฟเฟค" ครับ แต่ใช้วิธีใส่โน้ตเข้าไปข้างๆ แทน (อาจจะขี้เกียจแก้หรืออยากเก็บลักษณะภาพไว้ก็ไม่ทราบได้) แต่เรื่องส่งตรวจก็ตามนั้น
ส่วนเรื่องปลิง ถ้าสองเว็บอัพขึ้นพร้อมกัน เว็บนึงของแท้ มีลิขสิทธิ์ ภาพสะอาด แปลถูกต้อง มีแถบโฆษณาข้างๆ กับอีกเว็บ ภาพสแกน แปลตรงมั่งไม่ตรงมั่ง มีโฆษณาข้างๆ เหมือนกัน ผมว่าคนก็ไปเว็บแรกกันนะ
เรื่องแปลเอฟเฟคนี่เห็นด้วยครับ ไม่น่าเปลืองเวลามาทำ ทำแล้วต้องรีทัชภาพเพิ่มเสียเวลาอีก
ส่วนเรื่องออนไลน์ ถ้าบนเงื่อนไขว่าฟรีทั้งคู่ก็น่าจะเป็นตามนั้นครับ
แต่ถ้ามีอันนึง "ไม่ฟรี" ขึ้นมาเมื่อไร ผมมองว่าจบข่าวค่อนข้างแน่
เพราะแบบที่จบแล้วมันประเมิณความเสียหายของกระเป๋าเงินได้ไง
และอีกอย่าง ผมว่าพวกการ์ตูนที่จบแบบตอนไม่เยอะนี่ สนุกกว่าพวกที่เขียนไปเรื่อยๆเยอะครับ
พวกเขียนไปเรื่อยๆนี่อาจจะดีต่อรายได้คนเขียนก็จริง แต่ในระยะยาวผมว่ามันทำลายวงการโดยรวมครับ
เพราะทุกวันนี้ยังไม่เคยเห็นเรื่องไหนทำยาวๆแล้วตอนหลังๆมันสนุกเหมือนตอนแรกๆเลยสักเรื่อง
One Piece ผมก็เลิกตามไปตั้งแต่มันเข้าGrand Line แล้ว รู้สึกมันยืดยาดอืดอาด น่าเบื่อ
Bleach ก็เลิกตามตั้งแต่พระเอกมันเริ่มมีพลังใหม่ๆนอกจากบังไคละ มันรู้สึกว่าเดี๋ยวสักพักก็มีพลังใหม่ๆมาเรื่อยๆอีก
และอีกหลายๆเรื่องที่เห็นจำนวนตอนแล้วรู้แนวผู้ผลิตว่าต้องการทำการตูนไม่รู้จบ ผมก็ไม่เข้าไปอ่านเลยด้วยซ้ำ
มันขายได้สำหรับกลุ่ม "นักสะสม" ไง คือเพิ่งมาเจอว่าการ์ตูนเรื่องนี้สนุก ก็เลยกลับไปซื้อ
แต่ในระยะยาวยังไงก็ไม่ดี เพราะกลุ่มที่ยังอุดหนุนนั่นก็คือลูกค้าเก่า ๆ แต่ลูกค้าใหม่แทบไม่มีเกิดขึ้น เหตุผลหนึ่งเพราะ Trend โลกมันเปลี่ยนไปด้วย ไม่ใช่เฉพาะมังงะที่ร่อแร่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศไทย) พวกแปลเถื่อนในอนาคตก็น่าจะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะลูกค้าที่มันมีแนวโน้มลดลงนี่แหละ
ผมเองเริ่มสะสมมังงะตั้งแต่เด็ก ตอนนี้เหลือซื้อไม่กี่เรื่องแล้ว แถมอยู่ ตจว. ยิ่งหาซื้อยากมาก ร้านการ์ตูนเหลือเพียงร้านเดียวแล้ว One Piece ตั้งอยู่ยังไม่อ่านอีกหลายเล่ม ก้าวแรก 2 เล่มล่าสุดก็ยังไม่ได้ซื้อ... มัวแต่เล่น Dota นี่แหละ
Trend อาจะเปลี่ยน แต่ผมว่าไมน่าจะตายจากไปนะครับ ไม่งั้นหนังสือนิยายต่างๆ ก็คงหายไปจากโลกแล้ว
ยังไงก็ไม่สนับสนุนให้ละเมิดนะ ^__^