ความพยายามลดการใช้เงินสดทั้งจากภาครัฐและเอกชนในช่วงปีที่ผ่านมาดูจะมีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ หลังมีบริการโอนเงินฟรีผ่าน PromptPay และบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เริ่มได้รับความนิยม แต่ล่าสุด BTS ที่เป็นจุดเติมเงินสำคัญของบัตร Rabbit ก็ประกาศหยุดรับเติมเงินด้วยบัตรเครดิตหากไม่เติมเที่ยวเดินทางไปพร้อมกัน
ประกาศหน้าสถานีดูจะสับสนเล็กน้อย แต่การใช้บัตรเครดิตเติมเงินยังคงใช้ได้ หากมีการเติมเที่ยวเดินทางไปด้วย การเติมเที่ยวขั้นต่ำ 15 เที่ยว ต้องใช้งานใน 30 วัน รวม 450 บาท
สำหรับคนที่ไม่ได้เดินทางด้วย BTS เป็นประจำแต่ใช้บัตร Rabbit เพื่อจ่ายเงินอย่างเดียว ก็จะไม่สามารถเติมเงินด้วยบัตรเครดิตที่สถานี BTS ได้แล้ว
Comments
ลงคลอง
เพื่อ?
//คิดในแง่ดีว่าคงเตรียมไล่คนให้ไปใช้บัตรแมงมุมแทน ///มองหาบัตรแมงมุม #where!!!
มุ้งมิ้ง~*
เพื่อขยายบริการให้ใช้ Rabbit card กับบริการอื่นๆนอก BTS ครับ
ผมเดาว่าการที่บริษัทให้เติมเงินผ่านบัตรเครดิตนั้น บริษัทแบกรับค่าธรรมเนียมอยู่ ซึ่งก็ไม่เป็นไรถ้าเติมเงินเพื่อใช้บริการ BTS เอง แต่ต่อใบถ้าบัตร Rabbit เอาไปซื้อของอื่นๆได้นอกเหนือจาก BTS ก็จะกลายเป็นว่าบริษัทแบกรับค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตแทนร้านค้าเหล่านั้น ...
ก็เลยรองรับการจ่ายด้วยบัตรเฉพาะกรณีเติมเที่ยว ซึ่งเป็นการใช้บริการของ BTS เท่านั้น
เอาจริงๆผมชอบเติมเงินไว้ทีละพัน เอาไว้ซื้อตั๋วหนังบ้าง ซื้อขนมบ้าง สะดวกดี ได้แต้มด้วย ตอนนี้มีแต้มอยู่เก้าร้อยกว่าแต้ม ยังไม่ได้ใช้เลย
มุ้งมิ้ง~*
ข่าวล่าสุดว่ามา มิ.ย. 60 ครับ
ผมจะได้ลดบัตรในกระเป๋าออกไปอีก 1 ใบ
คาดว่า ถ้าใช้แบบเติมเที่ยวจะไม่รองรับนะครับ ไอ้บัตรนั้นหนะ
ที่คาดเหตุผลกันไว้คร่าวๆ ก็น่าจะประมาณนี้ครับ คงต้องรอบีทีเอสแถลงอีกทีในวันประชุมผู้ถือหุ้น
ตามเหตุผลนี้พอจะเข้าใจได้ (ไม่ได้แปลว่ารับได้) แต่ที่ยังสงสัยคือ BTS จะไม่คิดค่าธรรมเนียมจากร้านค้าภายนอกเชียวหรือ และอีกอย่าง BTS น่าจะไม่ได้คืนเงินให้ร้านค้าเหล่านั้นทันทีด้วย (เดาว่า 1 เดือน)
ถ้าจะเอาทั้งหมดขนาดนี้ก็เห็นแก่ได้เกินไป (ในความเห็นส่วนตัว)
เห็นด้วยในประเด็นนี้ครับ
แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงดีลกับ BBL ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็น partner หลักตั้งแต่ต้น
สังเกตว่าระบบจ่ายแรบบิทตามที่ต่างๆ ต้องเชื่อมกับเครื่อง EDC ของ BBL เท่านั้น
แต่ก็คิดว่า ไหนๆ ก็เอาตังเราไปก่อน เอาไปออกดอก ออกผลตั้งมาก แค่ 3% น่าจะใจใจหน่อย
ให้ MRT ไปเซ๊งได้ไหม
คุณชายต่อสัปทานให้ 30 ปีแล้ว
ก้มหน้ารับชีวิตคุณภาพกันต่อไป
ใช่แทนที่อีกไม่นานก็จะหมดแล้ว
เกลียดหมูนี่จริงๆ
ได้ยินคำว่าโปรโมชั่นใหม่ หรือประกาศอะไรใหม่ๆจาก BTS มักจะแย่ลงกว่าเดิมเรื่อยๆเลย
เสือนอนกิน ตัวจริงเสียงจริง ของประเทศไทย เป็นเพื่อนกับ AOT
โกยเต็มที่ ก่อนที่จะหมดสัมปทาน ซินะ
สัมปทานอีกนานครับ ตามเม้นบน
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
เพราะ rabbit ไม่ได้มีไว้จ่ายค่า BTS อย่างเดียว แต่เป็นบัตรเงินสดจ่ายที่ไหนก็ได้ ค่าธรรมเนียมที่ rabbit ต้องเสียให้ธนาคาร กับที่ร้านค้าเสียให้ rabbit หักลบกลบกัน rabbit เค้าอาจจะคิดว่าไม่คุ้มก็ได้นะ ถึงทำแบบนี้
e-money หรือบัตรเงินสดรายอื่นๆ เค้าก็ไม่ให้เติมผ่านบัตรเครดิตเหมือนกันนะ
อะไรๆ ก็ธรรมเนียม ซึ่งแพงด้วย 555
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ต้องโยนไปที่ วีซ่ากับมาสเตอร์ครับ ร้านค้าที่รับบัตรต้องเป็นคนจ่ายค่่ธรรมเนียมแทนลูกค้านะครับ
ซ้ำครับ
เคยต่อหลังคนเติมเงินบัตร rabbit ด้วยบัตรเครดิตทีนึง
อย่างนานอ่ะคุณ รูดโน่น เซ็นนี่ หลาย step มากๆ
ปรับระบบไม่ต้องเซ็นก็ได้ ถ้าอยากทำ หรือจะไปทำตู้เติมเงินก็ได้ BTS ก็ไม่ยอมทำอีก
+1 ตปท ปกติมีแต่ตู้ เติมผ่านบัตรกันเอง อัดจำนวนตู้เอา
เอาจริงๆ ทำ app/web ให้เติม online ยังได้เลยครับ
คนนั้นใช้สิทธิ์ส่วนลดด้วยรึเปล่า
เช่นdtac ศุกร์เสาร์อาทิตย์ กดรหัสที่มือถือ ส่งให้เค้าจด
แล้วลด 25บาทอะ
อันนี้ก็เสียเวลานะ เพราะผมก็ทำ
บางทีเค้าจดช้าจนมือถือจอดับ ก็ส่งมาให้ปลดหน้าจอให้ใหม่
อ้าว ปกติเติมบัตรเครดิตไว้ซื้อของประจำเลยนะ งั้นบอกลา Rabbit ละ อยากฆ่าตัวตายก็เชิญ
เอ่า นี่เติมด้วยบัตรประจำ เอาไว้ขึ้น BTS เนี่ยแหละไม่ได้ใช้อย่างอื่นเลย
ถ้ามีร้านค้ารับบัตรแรบบิทมากๆ การเอาบัตรเครดิตเติมเงินในแรบบิท ก็เทียบได้กับกดเงินสดจากบัญชีเครดิตมาใช้โดยไม่มีค่าธรรมเนียมกดเงิน แบงก์คงไม่ยอม ไหนจะค่าธรรมเนียมรูดบัตรที่แบกไว้อีก
ไม่เสมอไปหรอกครับ เอาบัตรเครดิตไปรูดในเซเว่นไว้เติมเข้าบัตรเซเว่นก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ครับ แบงก์อยากให้คนยิ่งรูดเยอะๆ รูดแล้วจ่ายขั้นต่ำฟันกำไรมากกว่า
จ่ายขั้นต่ำโอกาสเป็นหนี้เสียสูงครับ
ต้องตั้งสำรองวุ่นวาย
ถ้าจ่ายเต็ม 100% ทุกรอบ แบงก์ไม่ได้อะไรเลยนะครับ
แบงก์ต้องทำสัญญากับแต่ละค่าย (Visa/Master/etc.) ถึงเวลาเรารูด ร้านค้าจ่ายค่าธรรมเนียม 3% ส่วนค่าธรรมเนียมบัตรรายปีถ้าใช้ตามเงื่อนไขก็มักยกเว้นได้ ไม่ได้คุ้มค่ากับค่าโฆษณา ค่าจ้างคนมากมาย ยังมีโปรโมชั่นแลกคะแนนที่เป็นค่าใช้จ่ายแบงก์อีก แบงก์เขาก็หวังฟันกำไรจ่ายพวกที่จ่ายขั้นต่ำนี่แหละครับ
ผมไม่เห็นด้วยนะ ไม่งั้นการพิจารณาอนุมัติบัตรคงง่ายกว่าทุกวันนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมมันนิ่งกว่า predictable กว่า เสี่ยงน้อยกว่า
แบงก์ไม่ได้อยากให้คน Default (ล้มละลาย จ่ายหนี้ไม่ได้) ครับ แบงก์อยากให้คนเป็นหนี้แต่มีเงินจ่าย
ลองดูเอกสารชี้แจงผลประกอบการของบริษัทสำหรับไตรมาสที่ 4 งวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ของ KTC หน้า 5 ก็ได้ครับ จะเห็นว่ารายได้ดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินคิดเป็น 62% ของรายได้รวม หรือถ้าเอาแค่เฉพาะบัตรเครดิตก็ 33% ในขณะที่ค่าธรรมเนียมจากร้านค้า และค่า Interchange และอื่นๆ รวมแล้วคิดเป็น 22% เท่านั้น
เพื่อปรับความเข้าใจให้ตรงกัน ผม"ไม่ได้"บอกว่าแบงก์ไม่ชอบค่าธรรมเนียมนะครับ ช่วงหลายปีหลังนี้แบงก์ไปเน้นรายได้จากค่า Fee เยอะมาก เพราะไม่ต้องตั้งสำรอง ไม่มีความเสี่ยงแบบที่คุณว่าก็จริงครับ ซึ่งส่วนนั้นได้จากการไปขยายฐานเครื่อง EDC อะไรก็ว่าไป แต่ในมุมของการใช้บัตรแล้ว แบงก์ชอบให้คน"จ่ายขั้นต่ำ" มากกว่าจ่ายเต็ม 100% และย่อมมากกว่า "ไม่จ่าย" แน่นอนครับ
ถามว่าทำไมแบงก์ไม่อนุมัติบัตรให้ง่ายกว่านี้ คำตอบคือ ลูกค้ากลุ่มที่แบงก์ไม่อนุมัติคือกลุ่มที่แบงก์คิดว่า "ได้ไม่คุ้มเสีย" คือให้วงเงินไป เอาไปรูดเต็ม แต่อาจจะทนจ่ายดอกได้แค่ไม่กี่เดือนก็จ่ายไม่ไหว ฟ้องเอาเงินต้นก็จ่ายไม่ได้ ดอกเบี้ยยังไม่คุ้มต้นทุนที่ลงไปครับ ส่วนพวกที่อนุมัติคือ พวกที่จ่ายไหวแน่ๆ (จ่าย 100% ได้) กับ พวกที่น่าจะจ่ายไหว (จ่าย 10-100% สลับกันไป) ซึ่งนี่คือกลุ่มรายได้หลักของเขาเลยครับ
ผมว่าแบงค์ชอบคนเป็นหนี้จะตาย คนไม่ทีหนี้ไม่ค่อยอนุมัติผ่าน แต่คนเป็นหนี้ในเรตที่จ่ายไหวกลับอนุมัติผ่านโคตรง่ายเลย ไม่แปลกหรอก ktc จะมีรายได้จากดอกเบี้ย
ปกติคนที่ทำบัตรเงินสด จะมีรายได้จากดอกเบี้ยที่ได้จากเงินที่กองไว้ในบัตรนะครับ ซึ่งกรณีนี้ผมคิดว่า คงดีลค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตได้ไม่คุ้มกับรายได้ดอกเบี้ยที่ได้จากเงินสดที่กองไว้ หรือไม่ก็คนถือเงินไม่สามารถผลตอบแทนได้มากกว่าค่าธรรมเนียมบัตรกระมัง
ปกติหลายประเทศที่ทำบัตรเงินสด จะมีบริการพ่วงกับบัตรเครดิตเพื่อให้เติมเงินเข้าบัตรแบบอัตโนมัติเมื่อมูลค่าในบัตรลดลงน้อยกว่าขั้นต่ำที่ตั้งไว้ด้วยซ้ำ
ทางที่ดี RABIT น่าจะออกบัตรเครดิตของตัวเอง แล้วพ่วงบริการเติมเงินเข้าบัตร RABIT แบบอัตโนมัติไปเลยนะครับ แบบนี้น่าจะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าตัวเองได้สุดๆไปเลย
ที่เคยเห็นของ เกาหลี ญี่ปุ่น พวกนี้จะเติมเงินด้วยบัตรเครดิตไม่ได้ทั้งนั้นเหมือนกันครับ
ก็หวังว่ายกเลิกการเติมด้วยบัตรเครดิตแล้ว แปลว่าไม่ต้องแบกรับค่าธรรมเนียมแล้ว ก็ควรจะลดค่าธรรมเนียมให้ฝั่งร้านด้วย จะได้มีร้านรับเยอะๆขึ้น
เอ...แบบนี้ก็ต้องหนีไปเติมเงินในร้านที่รับกาตุ่ยแทนน่ะสิ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
พรุ่งนี้ประกาศรับเติมผ่าน พร้อมเพย์
จริงๆ ก็ make sense อยู่นะครับ
เพราะอาจมีคนหัวใส รูดบัตรเครดิตเก็บแต้ม แล้ว รูดบัตร rabbit เก็บแต้มอีกที
งั้นก็ดีครับ ผมจะได้เติมทีละ 100 และไม่ไปใช้กับที่อื่นอีกเลยเหมือนกัน
เซ็งนะครับ เพราะผมเติม rabbit ด้วยบัตรเครดิตประจำ (ส่วนใหญ่ก็เอาไว้ใช้กับ BTS นี่แหละ แต่ไม่ชอบเติมเป็นเที่ยว เพราะส่วนใหญ่ใช้ MRT มากกว่า)
ดีแล้วครับที่ยังบอกกันล่วงหน้า
พรุ่งนี้ผมจะได้ไปรูดบัตรเติมเงินไว้ 4000 (สูงสุดที่เติมได้)
แล้วก็ใช้ไปยาวๆ เลย อนุญาตให้เอาเงินไปหมุนได้ก่อนเลย
แต่ถ้าเงินหมดเมื่อไหร่ แล้วไม่เปลี่ยนนโยบาย ผมก็บ้ายบายบัตร rabbit ล่ะครับ เตรียมไปใช้บัตรแมงมุมเอาละกัน ลาก่อนแรบบิต
เรื่องนี้ตัวแปรสำคัญที่คนไม่ค่อยนึกถึงคือ visa / mastercard ที่คอยสูบเงินออกนอกประเทศไทย ทุกครั้งที่เรารูดบัตร ธุรกิจเครื่องรับบัตรเครดิต (EDC) ธนาคารแข่งขันกันสูงมาก ไม่แพ้ธุรกิจบัตรเครดิตเลย ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมาก็คงหนีไม่พ้น ธนาคารกสิกร และธนาคารกรุงเทพ เจ้าตลาดเครื่อง EDC ทั่วฟ้าเมืองไทย ที่แข่งกันลดค่าธรรมเนียมที่เก็บจากร้านค้า ซึ่งบางครั้งต้องยอมขาดทุน เพราะต้องการรักษาฐานลูกค้าไว้ บางคนงง ว่าจะขาดทุนยังไง ก็ขาดทุนให้ Visa/MasterCard ไงคับ เส้นทางของเงินจะเป็นดังนี้ เวลาเรารูดบัตร 100 บาท เงินวิ่งออกจากบัตรของธนาคารผู้ออกบัตร มาที่ วีซ่า/มาสเตอร์ โดยจะถูกหักค่าธรรมเนียม สมมติว่า 2% คือ สองบาท จากนั้น visa/mastercard จะส่งเงินไปที่ธนาคารเจ้าของเครื่อง EDC เพื่อให้นำส่งให้กับร้านค้า บางครั้ง ธนาคารได้รับเงินมา 98 บาท แต่คิดค่าธรรมเนียมให้กับร้านค้า แค่ 1 บาท ต้องจ่ายเงินให้ร้านค้า 99 บาท ทั้งๆที่ตัวเองได้เงินมาแค่ 98 บาท มันก็ขาดทุนน่ะสิ แต่ในช่วงหลังๆ ประชาชนใช้เงินสดกันน้อยลง+visa/mastercard ปรับขึ้นค่าธรรมเนียม จึงทำให้ธนาคารเจ้าตลาด edc รับภาระขาดทุนไม่ไหว จึงต้องไปขึ้นค่าธรรมเนียมกับร้านค้า คราวนี้ร้านค้าก็โวย ถ้าขึ้นค่าธรรมเนียม ก็จะไม่รับบัตรฯ มาเอาเครื่องคืนไป หรือเรียกธนาคารอื่นมาเสนอ ซึ่งนอกจากสองธนาคารนี้แล้ว kbank/BBL ไม่มีธนาคารไหนกล้าให้ค่าธรรมเนียมแบบขาดทุน ร้านค้าก็ต้องยอมให้ปรับขึ้น เพราะถ้าร้านค้าไม่รับบัตรก็จะขายของไม่ได้ คนไม่ซื้อ นี่คือที่มาที่ไป ดังนั้นจะจบปัญหานี้ได้คือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้ transaction ของการชำระเงินด้วยบัตรฯ ไม่ต้องวิ่งผ่าน visa/mastercard ก็ต้องมองไปที่แบงค์ชาติว่าจะทำระบบได้ไหม ซึ่งตอนนี้ transaction ของบัตรเดบิต ทำได้แล้ว หากเป็นรายการ domestic จะไม่ต้องวิ่งผ่าน visa/mastercard เหลือแต่บัตรเครดิต ที่ยังทำไม่ได้ ถ้าหากทำได้ครบ ก็จะลดค่าธรรมเนียมได้อีกเยอะ ไม่ต้องแบ่งให้พวกฝรั่ง
บัตร debit วิ่งผ่าน ITMX นี่ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ใช่ครับ ผมคิดอีกมุมนึง อย่าให้ ITMX ยก transaction ของบัตรเครดิตมาประมวลผลเลย เพราะทุกวันนี้บัตรเครดิตมันเฟื่องฟูเพราะ Visa/MasterCard ให้เงินสนับสนุนสถาบันการเงิน จัดโปรโมชั่น จัดการตลาด คือถ้าริเริ่มจะทำจริง คนที่จะวิ่งมาพบแบงค์ชาติคนแรกคือ ทูตเศรษฐกิจของสหรัฐ คนนี้ต้องมาขอล๊อบบี้ล้มเลิกโครงการแน่นอน 555+ เพราะบ่อเงินบ่อทองกำลังจะถูกยึดไป
ถึงกับต้องสมัครล็อคอินมาตอบ
คือ ไม่มีใครสงสัยวันที่ 1 เมษาเลยหรอ
April fools day 5555
อันนี้คือเชื่อจริงจังว่าเขาเล่นตลก หรือตลกเพราะวันมันตรงกันหรือครับ?
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าน่าจะตลกเพราะวันมันตรงกันน่ะครับ
บ ใหญ่โตขนาดนี้ ไม่น่ามาเล่นมุขฝืด ๆ แบบนี้นะครับ