อาชีพการขับรถ Uber กำลังเป็นอาชีพแขนงหนึ่งที่กำลังมาแรง มีคำศัพท์เรียกอาชีพลักษณะนี้ว่า Gig Economy ซึ่งหมายถึงอาชีพแบบพาร์ทไทม์ที่ไม่ต้องทำงานประจำเหมือนในอดีต
แม้ว่า Gig Economy มีจุดเด่นที่ทำงานเวลาไหนก็ได้ที่ต้องการ และถูกโฆษณาว่า "มีโอกาสสร้างรายได้" มากกว่างานแบบดั้งเดิม แต่ชีวิตจริงของผู้ประกอบอาชีพ Gig Economy ก็ไม่ได้สวยหรูขนาดนั้น และผู้ขับ Uber อาจต้องทำงานอย่างหนักกว่าเดิม เพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับการดำรงชีพของตัวเอง
Bloomberg มีสกู๊ปสัมภาษณ์ผู้ประกอบอาชีพขับรถ Uber อย่างจริงจังในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหลายคนต้องนอนค้างในรถเพื่อมาทำรอบรับผู้โดยสารในพื้นที่ที่ค่าโดยสารแพงมากพอ หลังจาก Uber ทยอยปรับลดราคาทุกปีจนคนขับ Uber เริ่มอยู่ไม่ไหว
คนขับ Uber หลายคนที่อยู่นอกเขตเมืองใหญ่อย่างซานฟรานซิสโก ประสบปัญหาว่าพื้นที่ของตัวเองมีค่าโดยสารราคาถูก ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย จึงต้องเข้ามาขับรับคนในเขตเมืองใหญ่หรือสนามบินที่มีอัตราจ่ายเงินสูงกว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนเหล่านี้ต้องขับรถจากบ้านเป็นระยะทางไกลๆ เข้ามาวนรับส่งคนในเขตเมืองตลอดทั้งวันจนถึงช่วงผับบาร์เลิกในตอนดึก ก่อนจะหาจุดจอดรถนอนหลับพักผ่อน เพื่อตื่นเช้ามืดมารับผู้โดยสารในช่วงเช้าต่อไป ทำงานเก็บเงินแล้วค่อยกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวในวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น (เฉลี่ยแล้วทำงานสัปดาห์ละ 70 ชั่วโมง หรือวันละ 14 ชั่วโมง)
กลุ่มคนขับ Uber เหล่านี้รวมตัวกันตามลานจอดรถของซูเปอร์มาร์เก็ต สนามบิน หรือโรงแรม ที่รู้กันว่าปลอดภัย ยามไม่มาไล่ และไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาวุ่นวาย ในบางเมือง คนขับรถบางกลุ่มใช้วิธีเช่าโรงแรมราคาถูกแล้วแชร์ห้องกัน หรือเลือกนอนพักในโฮสเทลราคาถูกเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
การรวมตัวกันมีประโยชน์ทั้งในแง่การระวังภัยให้กัน และสร้างสังคมคนขับที่อบอุ่นในอาชีพการงานที่เปลี่ยวเหงา ซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งที่คนขับ Uber ไปรวมตัวกันนอนพักถึงกับได้ชื่อเล่นว่าเป็น "Uber Terminal" โดยเหล่าคนขับมองว่าพนักงานในร้านค้าเหล่านี้เปรียบเสมือน "ครอบครัว" ของตัวเอง
Bloomberg สัมภาษณ์ Walter Laquian Howard คนขับ Uber รายหนึ่งในชิคาโก ที่มาขับรถแบบเต็มเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2015 โดยใช้วิธีเช่ารถจากบริษัท Uber และต้องหารายได้ต่อวันให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เขาเล่าว่าในช่วงแรกเขาขับ Uber เป็นอาชีพเสริม ตอนนั้น Uber มีโปรโมชั่นหลายอย่างที่จ่ายเงินพิเศษให้คนขับ เขาจึงรู้สึกว่ารายได้ดีจนลาออกมาทำเป็นงานประจำ แต่หลังจากนั้น Uber ทยอยลดค่าจ้างลง จากเดิมที่เขาได้ชั่วโมงละ 40 ดอลลาร์ ก็ลงมาอยู่ที่ชั่วโมงละ 12.5 ดอลลาร์ ทุกวันนี้เขาต้องตื่นมากลางดึกทุก 3 ชั่วโมงเพื่อเปิดฮีทเตอร์ในรถยนต์
ถึงแม้ Uber จะพยายามโฆษณาว่าคนขับของตัวเองทำงานพาร์ทไทม์ รับเป็นอาชีพเสริม แต่ Bloomberg วิเคราะห์สถิติและพบว่า ครึ่งหนึ่งของรายได้ของ Uber มาจากคนที่ทำงานจริงจัง มากกว่าสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง (ถ้าคิดเฉพาะวันธรรมดาคือวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป) ซึ่ง Uber ยืนยันในสถิตินี้
ประเด็นที่ถกเถียงกันมากใน gig economy คือสถานะของคนทำงานว่าเป็น "พนักงาน/ลูกจ้าง" (employee) หรือไม่ ซึ่ง Uber มองว่าเป็น "คู่สัญญา" (contractor/partner) ส่งผลให้ Uber ไม่ให้สิทธิประโยชน์อย่างประกันสังคม-ประกันสุขภาพแก่คนเหล่านี้ เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันและมีกรณีฟ้องร้องเกิดขึ้นหลายครั้ง
อีกประเด็นหนึ่งของเศรษฐกิจแบบ gig economy คือการโฆษณาเกินจริงว่าคนขับจะมีรายได้ต่อชั่วโมงเท่าไร ซึ่งในความเป็นจริงอาจมีเพียงแค่ 10% ที่ทำได้ ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะ Uber แต่ยังรวมไปถึงคู่แข่งอย่าง Lyft และบริษัทลักษณะเดียวกันอย่าง Instacart ด้วย
ที่มา - Bloomberg
Comments
ช่วงแรกๆในไทยมันก็ได้นะ เห็นว่าได้เงินกันวันละหลักพันเลย
พวกนี้มาขับทั้งวัน แล้วรู้จัก รู้จักเลือกช่วงที่รถขาด ได้กันวันละ 5000 เลยก็มี
แต่พอหลังๆเห็นว่า uber ไม่ค่อยให้เงินพิเศษกันแล้ว ก็ได้ไม่เท่าไร
ก็..เค้าทุ่มตลาดก็แบบนี้แหละครับ
น่าสนใจว่าคนที่ "ลาออก" มาขับ Uber ด้วยผลตอบแทนระยะสั้นแบบนี้แต่เดิมเขาทำงานอะไรมาก่อน
lewcpe.com, @wasonliw
+1
ถ้าในไทย เท่าที่เคยคุยก็เป็นเซลล์บ้าง เป็นช่างวิ่งออนไซท์บ้างงานอะไรก็ตามที่มีค่าคอม แต่ช่วงหลังๆของขายไม่ดีเขาก็ต้องเริ่มดิ้นกันน่ะครับ พอลองมาทำๆดูเออรายได้มันดี บางคนก็เลยออกมาทำเต็มตัว แต่สำหรับคนที่งานมั่นคงดีแล้วออกมาทำก็มีครับ แบบเบื่องานรูทีน แต่ไม่รุลองเทอมจะออกแนวแมงเม่ารึป่าวนะครับ
สมมติในอนาคตอูเบอร์สามารถดำเนินกิจการได้ในไทย มีกฎหมายรองรับชัดเจน ก็ควรมีกฎหมายออกมาคุ้มครองค่าตอบแทนที่คนขับเหล่านี้จะได้รับด้วย
แต่จะว่าไปก็ลำบากนะครับ เพราะทั้งคนขับ และผู้โดยสารก็ถือเป็นผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มทั้งสิ้น
ผมมองความเป็นไปได้อย่างนึงคือ
ถ้ามันเข้า กฎหมายปุ๊ปอาจจะไม่สามารถสร้าง
ราคาต่อระยะทางได้แบบในปัจจุบัน
พวกลาออกมาทำเต็มเวลานี่ผมว่ามันผิดคอนเส็ปเดิมนะ
เขาบอกว่า ใช้เวลาว่างและรถที่มี ให้เกิดประโยชน์เอามาวิ่งหาเงินดีกว่าจอดทิ้งไว้เฉยๆ
มันควรจะเป็นว่า คนทำงานประจำแล้วใช้เวลาว่างในวันหยุดหรือหลังเลิกงานที่ไม่รู้จะทำอะไรออกมาขับรถหาเงินเล็กๆน้อยๆดีกว่านอนจอดรถอยู๋บ้านเฉยๆ หรือว่ามีแจ้งเตือนเข้ามาว่า ช่วงนี้มีค่าSurgeให้ ออกไปขับกัน
ทั้งเรื่อง เลือกเวลาขับได้ตามใจ โอกาสสร้างรายได้มากขึ้น
ผมว่าควรจะเอามาเป็นรายได้เสริมมากกว่ารายได้หลัก
ลาออกจากงานประจำมาทำแบบนี้ก็เหมือนกับลาออกมาขับแท็กซี่ แค่ระบบมันทันสมัยกว่าหน่อยนึง บริษัทใจป้ำแจกเงินพิเศษให้เพราะมันอยู่ในช่วงแรกคนขับน้อย ถ้ามีคนขับเยอะ เขาแจกเงินพิเศษให้ไปตลอดไม่ได้อยู่แล้ว
แต่จากบทความ รายได้ของUBER ราว50% มาจากคนขับFull time นะซิครับ
ถ้าไม่มีพวกFull time รายได้หดไปเยอะเลยนะครับ
ไม่เกี่ยวกับรายได้หนิครับ เขาพูดถึงว่าคนที่มีงานทำอยู่แล้วน่าจะทำต่อไป โดยให้ทำ Uber เป็นรายได้เสริมแทน ซึ่งก็ตรงกับจุดประสงค์ของบริษัทนี้แต่แรก เพราะดูแล้วไม่น่ายั่งยืน ส่วนตัวคิดว่าความคุ้มครองก็ไม่มี ส่วน Uber จะได้เท่าไหร่โดยมาจาก Full หรือ Part ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนขับเองครับ
หลังจากทุ่มตลอดจนทิ้งตลาดก็สนกำไรอย่างเดียวแล้วพอกับซี...
มันเป็นหลักง่ายของสตาร์ทอัพส่วนใหญ่
คือเข้ามาแก้ปัญหาก่อน
จากนั้นเมื่อคนติดก็เข้าควบคุมทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้
รอเวลาแค่คุมเกมเองเท่านั้น ระหว่างนี้ก็หาวิธีสู้กับกฏหมายไปเรื่อยๆ
แล้วแต่ว่าที่ไหนจะแข็งจะอ่อน บ้านเราจะรู้เท่าทันเขาไหมอีกหลายๆ เรื่อง
ส่วนตัว ไม่ชอบ Gig Economy เท่าไหร่
มันเป็นการเล่นคำเพื่อจะเปลี่ยนสภาพคนทำงาน
จากลูกจ้าง(Employee)ที่มีสวัสดิการ สหภาพแรงงาน มีระบบกฎหมายคุ้มครอง ฯลฯ
มาเป็นการทำงานแบบไม่มีสวัสดิการและกฎหมายคุ้มครองใดๆทั้งสิ้น
โดยเชิดชูทางจิตวิทยาว่า ชีวิตดี๊ดี มีอิสระ โน่นนั่นนี่
น่ากลัวว่า ระบบกำลังจะย้อนกลับไปยุคสมัยก่อนโน้นนน ไม่มีสหภาพแรงงาน ไม่มีกฎหมาย
คนทำงานต้องทำวันละ 14-16ชม. เพื่อให้มีรายได้แค่พอเลี้ยงตัวไปวันๆ ...
สิ่งหนึ่งที่มันต่างออกไปคือการเข้ามาด้วยความสมัครใจครับ อย่างเช่นพวกประกันสังคมคนทำฟรีแลนซ์ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้เช่นกัน ส่วนการที่จะออกมาโดยหวังพึ่งรายได้ตรงนี้เป็นรายได้หลัก ตรงนั้นก็เป็นเรื่องที่คนประกอบอาชีพอิสระจำเป็นเป็นต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงกันเอาเอง
สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์สายเสรี ไม่พูด และ พยายามไม่พูดคือ หลักการ "เพชรแลกน้ำ" (Water-Diamond paradox) ครับ
"คนเราจะยอมแลกเพชรทั้งกำมือ เพื่อน้ำเพียงแก้วเดียวเมื่ออยู่ในทะเลทราย"
พูดง่ายๆคือ มันเป็นการอ้างว่าความสมัครใจแลกเพชรเอง
ทั้งๆที่จริงๆ เค้าอยู่ในสถานการณ์บังคับ
ดังนั้นการอ้างว่า ตลาดเสรีจะสมดุลไปเอง จึงไม่เกิดขึ้นจริง
มีแต่คนจนที่จะจนลง เพราะต้องเอาเพชรไปแลกน้ำ
ส่วนคนรวยก็ยิ่งรวยขึ้น เพราะได้เพชร โดยจ่ายน้ำเพียงแก้วเดียว
แล้วเราก็ชื่นชมเค้าว่า "นักธุรกิจ นักลงทุนที่เก่งกาจ"
หลักการแบบที่ว่ามันจะเป็นจริงต่อเมื่อมีคนขายน้ำคนเดียวนี่ครับ ช่วงภาวะเศรษฐกิจแย่ๆ มันก็มีเหตุการณ์แบบนี้เรื่อยๆ ที่ไม่มีคนซื้อทำให้คนขายต้องขายทุกราคา นักลงทุนเจ๊งหุ้นปี 40 ก็แบบนี้
มันดูแปลกๆ ถ้าจะเอามาอธิบายอเมริกาทุกวันนี้ที่อัตราการว่างงานต่ำสุดในรอบหลายปีแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
งั้นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์สายไม่เสรี ไม่พูด และ พยายามไม่พูดคือ หลักการ "เพชรแลกปืน"(Gun-Diamond paradox) ครับ (ไม่อยากแลกก็เจอลูกตะกั่ว) XD
น่าสนใจครับ ถ้าสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์สายเสรี ไม่พูด และ พยายามไม่พูดคือ หลักการ "เพชรแลกน้ำ" ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่ามีสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์สายไม่เสรีไม่อยากพูดและพยายามไม่พูดถึงบ้างมั้ยครับ
ผมพยายามคิดตามยังไงมันก็ไม่เข้าเค้าเลยครับ
คุณสามารถเลือกเองได้ว่าจะทำงานกับ Gig หรือจะทำงานแบบเดิม
แต่เท่าที่เห็นคือคนส่วนใหญ่เลือกไป Gig เอง ไม่ใข่ Uber บังคับให้ไป
ทำไปทำมา ดันไปโทษ Uber ซะงั้น
มันเป็นพวก illusion of choice หรือ False dilemma หนะครับ
เรื่องเศรษฐกิจ เท่าที่ตาม
สังคมทั่วโลกโดยรวม กำลังจะกลายเป็นรวยสุดๆ กับ จนสุดๆ ไม่มีคนชั้นกลาง
คนรวยที่มีทรัพย์สิน-ทุน ที่งอกเงยได้สูงกว่า จุดอิสระภาพทางการเงิน มากๆ
จนไม่ต้องทำอะไรมาก ก็รวยขึ้นแบบทบต้นเรื่อยๆ
กับ
คนจนที่ติดลบ เป็นหนี้ที่ใกล้จุด ทาสทางการเงิน
ชนิดทำงานหนัก รายได้น้อย และมีดอกเบี้ยหนี้ที่ต้องจ่าย
จนชนิดหมดเดือนชนเดือน แล้วรอแก่ตัวแล้วพบว่ามีเงินเก็บไม่พอเกษียณ
สภาพที่คนจนเอาเพชรไปแลกน้ำจนเพชรหมด แล้วยังไม่มีน้ำจะกินด้วย
จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นั้นน่าคิด .. soft reset? hard reset?, บางส่วน? หรือ ทั้งหมด?
สังคมทั่วโลกกำลังจะกลายเป็นรวยสุดๆกับจนสุดๆ<== จริงเหรอครับ มีแหล่งอ้างอิงไหมครับ ถ้าเป็นแบบนั้นแปลว่าประเทศพัฒนาทั้งหลายกำลังจะกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนาเหรอครับ
ถ้าแนวคิดแบบนี้คือของ Thomas Piketty ที่ว่าทุนจะเติบโตได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่มีใครตามทัน ใช่ไหมครับ
แล้วการปิดกั้นความเปลี่ยนแปลงมันช่วยอะไรหรือครับ ช่วยให้ทุนเดิมๆ เติบโตไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสู้กับความเปลี่ยนแปลงหรือทุนใหม่?
lewcpe.com, @wasonliw
เพชรแลกน้ำกลางทะเลทรายนี้ผมว่าคุ้มนะครับ จะเอาเพชรไปทำอะไรถ้าเราจะอดน้ำตายอยู่แล้ว ที่น่ากลัวที่สุดคือไม่มีที่แลกเพชรเป็นน้ำนี้สิครับ หรือไม่ก็เค้าไม่ยอมแลกด้วย เพราะกลางทะเลทรายน้ำสำคัญกว่าเพชรเป็นไหน ๆ ถ้าคนยอมแลกเอาเพชรมาแล้วอดน้ำตายเดียวเราก็ได้เพชรคืนนะครับ
เท่าที่ตามข่าว
ปี 2006 มีการประกาศว่า Top 1% ของโลกมีทรัพย์สินในครอบครอง
มากกว่า คน 40% ท้ายของโลกครอบครอง รวมกัน
ปี 2015 ประกาศว่า Top 1% มากกว่า 50%ท้าย รวมกัน
ข่าวล่าสุดคือต้นปีนี้
แค่ 8คน Top ก็มากกว่า 50%ท้าย รวมกัน
http://uk.businessinsider.com/worlds-eight-richest-as-wealthy-as-half-humanity-oxfam-tells-davos-2017-1
จริงๆ เรื่อง richer get richer ของ capitalism
นั้นมีมานานแล้ว
แล้วเค้าก็(เคย)คิดระบบ soft reset กลายๆหลายๆแบบ คือ
1) ภาษีอัตราก้าวหน้า (คนรวยควรจ่ายภาษีหนักกว่าคนจน)
2) ภาษีที่ดิน เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน
3) ภาษีมรดก เมื่อตายก็เก็บคือเข้ากองกลาง(รัฐ) เพื่อจัดสรรกระจายในสังคมต่อไป
ฯลฯ
แล้วที่มัน Inequality มันถ่างใน 20 ปีหลัง
คือ นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมสายหลัก
เชียร์ให้คิดว่า
รัฐไม่ควรให้คนรวยเสียภาษีหนักกว่าคนจน
ให้เปิดเสรีการเงิน
ฯลฯ
ทำให้ คนรวยได้รับการลดหย่อนภาษี
ทำให้จนจ่ายภาษีคิดเป็น % จากรายได้แล้ว น้อยกว่า คนรวย
(บัฟเฟตยังเคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้)
เมื่อก่อน ถ้าจะตายก็ผองถ่ายไปเป็นมูลนิธิ
พอเปิดเสรีการเงิน ก็เปิดทางผองถ่ายทรัพย์สินไปต่างประเทศอีกทาง
ฯลฯ
พูดง่ายๆคือ ดันถอด soft reset ที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อน design เอาไว้ ออกไป
ผลคือ ระบบมันจะตัน แล้วอาจจะต้อง hard reset
ถ้าคิดว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา
ระบบจะปรับสมดุลเอง ตามเศรษฐศาสตร์เสรีสายหลัก
ผมเชื่อว่า เตรียมรอ
Top 1% มากกว่า 60%ท้าย
Top 1% มากกว่า 70%ท้าย
Top 1% มากกว่า 80%ท้าย
กันได้เลย
ใครอยู่ % ที่เท่าไหร่จากท้าย
ก็คิดกันดูเล่นๆว่า sooner or later ที่จะเป็นตาเรา
(หรือ อาจจะ hard reset ก่อน?)
เสรีสุดโต่ง มันคือ การฆ่ากันตาย
ไม่ใช่ กีฬามวย ที่มีกติกาและข้อจำกัด
ที่ฮาคือ ปัญหานี้ ต้นตอคือ นักเศรษฐศาสตร์เสรี และ นายทุน
เพราะระบบเสรี มันทำให้ ทรัพย์สินมันอุดตันในระบบเศรษฐกิจ ในมือคนรวย
มันจึงไม่มีเงินหมุนในระบบเศรษฐกิจโดยรวม จนเป็น stagnation
แต่ประชาชนกลับมี false conscience ไล่ด่ารัฐ และต่อต้านการขึ้นภาษีให้คนรวย!!!
คนขับรถก็มีรายได้เท่าคนขับรถ การเป็นอูเบอร์จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นได้ไง
แค่มีคนมากินหัวคิวเพิ่มขึ้น ผู้โดยสารอาจจะเรียกรถได้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่น่าต่างจากโทรเรียกรถ
แต่ก่อนส่วนแบ่งเยอะครับ
ส่วนแบ่งเยอะในช่วงแรกน่าจะมาจากการที่อูเบอร์ระดมทุนได้มาก ก็เริ่มทำการตลาดแบบจูงใจยอมขาดทุน
อันนี้ในแง่คำอธิบายของแอปพวกนี้เขาจะบอกว่าตัวแอปจัดสรรคนขึ้นรถได้มากกว่า รถว่างน้อยลงครับ
ซึ่งในทางทฤษฎีก็เป็นไปได้จริงๆ เพราะคนขับแท็กซี่ไม่เคยรู้ว่าคนเรียกอยู่ตรงไหนเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีใครเห็นภาพรวมในเมือง แต่แอปพวกนี้มองเห็น ดึงคนขับเข้าพื้นที่คนเรียกเยอะแต่คนขับน้อยได้ เรื่องไม่ต่างจากการโทรก็คงจริง ถ้าศูนย์โทรมีข้อมูลมากพอและสามารถสร้างเงื่อนไขจูงใจให้รถเข้าไปยังพื้นที่ได้ (surge pricing?) แต่ราคาแท็กซี่ที่ตายตัวก็ทำให้ทำไม่ได้อยู่ดี
ในทางปฎิบัติจริงหรือไม่อันนี้ยังไม่แน่ใจ ว่ารถว่างต่างกันไหม คงต้องสุ่มตัวอย่างรถสองแบบมาเทียบกันครับ ว่าบริการจริงคนละกี่ชั่วโมงในแต่ละวัน
แต่เล่าให้ฟังได้ว่าผมเคยออกจากห้องอาหารแห่งหนึ่งในมาเลเซียแล้วกด Uber ครับ ตัวแอป Uber จับคู่รถที่กำลังส่งคนมาลงที่ห้องที่ห้องอาหารแห่งเดียวกันให้ บอกในแอปเลยว่ามีคนมาลงตรงนี้ ให้ขึ้นต่อจากเขาไปเลย
lewcpe.com, @wasonliw
ส่วนตัวคิดว่าอยากให้เป็นแค่ส่วนเสริมในอาชีพต่อไปครับ สำหรับในไทยผมเจอหลายคนพูดคล้ายกันว่า ช่วงนี้อยากได้เงินไปเที่ยวบ้าง เตรียมเก็บเงินกลับบ้านช่วงสงกรานต์บ้าง บลาๆ สำหรับกฎหมายในไทยอยากให้เพิ่มมาเป็นส่วนเสริมที่รองรับ การที่มีคู่แข่งเยอะๆเจ้าเก่าๆจะได้ปรับปรุงบริการ ภาพรวมคนใช้จะได้ ได้ผลประโยชน์
ประโยคสุดท้ายเป็นเท็จครับ "การที่มีคู่แข่งเยอะๆเจ้าเก่าๆจะได้ปรับปรุงบริการ"
แซวๆ ครับตามลักษณะความเป็นจริง
คงบางเรื่องมั้งครับ อย่าง Internet ประเทศไทย ถ้าไม่มี 3BB เข้ามาปลิ้ดชีพเรื่องความเร็วและราคา ดูสิว่า ToT กับ True จะเป็นอย่างไร
เคยคิดว่าบริการแบบนี้จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ อาจจะลดจำนวนรถวิ่งเปล่าๆ จากท้องถนน ลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากการขับวนหาผู้โดยสาร แต่เอาเข้าจริงเรื่องรายได้ก็ทำให้ไม่ต่างกันเท่าไรอยู่ดี
ลาออกจากงานประจำมาทำฟรีแลนซ์ ไม่ว่าอาชีพไหนก็ต้องรับความเสี่ยงอยู่แล้วหรือปล่าวครับ ???