SpaceX สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้งโดยส่งจรวด Falcon 9 สู่อวกาศ และสามารถนำลงจอดแนวตั้งได้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ใช้จรวดที่เคยใช้แล้วขึ้นไปบนอวกาศ
SpaceX และ Blue Origin ทำงานเรื่องจรวดรีไซเคิลกันมาก่อนหน้านี้ เป้าหมายคือต้องการประหยัดงบประมาณ ที่คาดว่าจะประหยัดงบได้ 30% และแทนที่จะให้จรวดที่เคยล้มเหลวเป็นขยะในมหาสมุทร ก็สู้นำมันรีไซเคิลใหม่ดีกว่า อ่านข่าวเก่าได้ ที่นี่
ช่วงเวลาส่งจรวดคือ วันพฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น 6:27pm โดย Falcon 9 บรรจุดาวเทียมสื่อสาร SES 10 น้ำหนัก 11,700 ปอนด์ไปด้วย
ภาพจาก SpaceX
ที่มา - Popular Science
Comments
จะได้เข้าสู่ยุคท่องอวกาศกันซะที (แต่ไม่รู้ตอนไหนนะ)
ผมว่าน่าจะเรียก Reuse มากกว่า Recycle นะครับ
เห็นด้วยนะ
เห็นด้วยครับ "reusable rockets"
เมื่อเช้านี้เห็นในทวีตเตอร์ ตัว Falcon 9 ก็กลับมาลงจอดเรียบร้อย และนำ ดาวเทียม SES-10 ขึ้นสู่วงโคจรเรียบร้อย
ท่องอวกาศกัน เย้ๆๆ
จะออกเดินทางท่องอวกาศอันไกลโพ้น
อยากให้พัฒนา เทคโนโลยียืดอายุและรักษาสภาพ
เพื่อเราจะได้มีเวลา.มีความสุขและค้นหาสิ่งต่างๆได้ตามใจต้องการ
ไม่แน่ใจว่าต้องใช้เคมี สะสาร หรือ นาโนบอตเทคโนโลยี
ถ้าบอกแค่ "เอากลับมาใช้ใหม่" .. มันต่างกับ SRB ยังไง?
ไม่รู้ละเอียดนะ แต่ srb กว่าจะไล่น้ำทะเลออก กว่าจะเติมเชื้อเพลิงแข็ง ดูแล้วยากกว่าแค่ refill falcon 9 แน่ๆ
เครื่อง ก็ต่างกันละครับ
การลงจอดกลับมา SRB ลงน้ำ กางร่มชูชีพ เรือลากกลับมา
เท่าที่ฟังๆ ความเหน.. งั้นมันก้อไม่น่าจะใช่ "ครั้งแรกในโลก" ตามที่พาดหัว, เพียงแต่มันทำได้ดีกว่ามากในหลายๆ ด้าน :?
เข้าใจว่า SRB นี่ยังไปไม่ถึงส่วนที่เรียกว่าอวกาศนะครับ รอผู้รู้มาคอนเฟิร์มอีกทีฮะ
SRB ไปไกลสุดยังไม่ถึง 100 โล, แต่ 1st stage ของ falcon9 มีบางทีไปไกลสุดเกิน 100 โล
ผมว่ามันโหดตรงลงแนวตั้งได้นี่แหละ ทำได้ไงฟะ